โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เตียวเป๋า

ดัชนี เตียวเป๋า

ตียวเป๋า (Zhang Bu, ? — ค.ศ. 264) ขุนศึกแห่งง่อก๊กในช่วงปลายของ ยุคสามก๊ก เตียวเป๋ามีส่วนสำคัญในการโค่นล้ม ซุนหลิม ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินที่กุมอำนาจในราชสำนักและสถาปนา ซุนโฮ ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมกับ เตงฮอง ขุนศึกชั้นผู้ใหญ่ที่รับใช้ง่อก๊กมาถึง 4 สมัยแต่เตียวเป๋ากลับถูกพระเจ้าซุนโฮประหารชีวิตด้วยพระองค์เองเมื่อ..

6 ความสัมพันธ์: ยุคสามก๊กรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กง่อก๊กซุนหลิมซุนโฮเตงฮอง

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ใหม่!!: เตียวเป๋าและยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

ลในยุคสามก๊ก แสดงรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก รายชื่อนี้แสดงชื่อไทย อังกฤษ และจีน ของแต่ละคน บุคคลเหล่านี้นำไปสู่วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก เนื่องจากสามก๊กภาษาไทย อ่านชื่อคนด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน แต่ภาษาอังกฤษอ่านแบบภาษาจีนกลาง การออกเสียงจึงไม่เหมือนกัน.

ใหม่!!: เตียวเป๋าและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ง่อก๊ก

ง่อก๊ก หรือ ตั้งอู๋ (東吳) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าซุนกวน ในระหว่างปี พ.ศ. 765 - พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222-280) ง่อก๊กครอบครองพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน ง่อก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 4 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ซุน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: เตียวเป๋าและง่อก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ซุนหลิม

ซุนหลิม (Sun Chen, ค.ศ. 231 – ค.ศ. 258) ชื่อรองว่า จื่อถง เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งง่อก๊กในรัชสมัย พระเจ้าซุนเหลียง – พระเจ้าซุนฮิว ซุนหลิมเกิดเมื่อ..

ใหม่!!: เตียวเป๋าและซุนหลิม · ดูเพิ่มเติม »

ซุนโฮ

ซุนโฮ (Sun Hao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งง่อก๊ก ได้ชื่อว่าเป็นฮ่องเต้ที่เป็นทรราชย์มากที่สุดผู้หนึ่งจนอาณาจักรล่มสลาย เป็นราชโอรสในพระเจ้าซุนเหลียง ราชโอรสในพระเจ้าซุนกวน ขึ้นครองราชย์หลังจากที่ พระเจ้าสุมาเอี๋ยนหลังจากที่กลืนจ๊กก๊กไปแล้ว ก็หมายจะถล่มง่อก๊ก พระเจ้าซุนฮิวตกพระทัยจนประชวรและสิ้นพระชนม์ลง บรรดาขุนนางง่อก๊กครั้นเมื่อถวายพระศพพระเจ้าซุนฮิวเสร็จแล้ว ก็มีความเห็นตรงกันว่า ควรเชิญซุนเปียน ราชบุตรขึ้นครองราชย์สืบไปตามประเพณี แต่บั้นเฮ็กและเตียวเป๋าขุนนางผู้ใหญ่ คัดค้านเพราะมีความเห็นว่า ถ้าเป็นซุนเปียนเกรงว่าบ้านเมืองจะไปไม่รอด จึงเห็นว่าควรทูลเชิญซุนโฮ ผู้เป็นราชนัดดาในพระเจ้าซุนกวนขึ้นครองราชย์จะสมกว่า เพราะมีสติปัญญาเฉียบแหลมกว่า จึงมีพิธีราชาภิเษกขึ้นในวันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนเก้า เมื่อได้ครองราชย์แล้ว พระเจ้าซุนโฮก็สถาปนาซุนเปียนเป็นเจ้าเจี๋ยงอ๋อง ให้ขุนพลเตงฮองเป็นต้ายสุมา จากนั้นก็ทรงมีพฤติกรรมวิปริต มิได้ตั้งอยู่ในธรรม ทรงฟังแต่คำของยิมหุน ขันทีในวัง เอียงเหียงและเตียวเป๋าได้เข้าไปทูลห้ามเตือนหลายต่อหลายครั้ง พร้อมกล่าวว่า ถ้าพระองค์ขืนประพฤติองค์เช่นนี้ ไม่ช้าแผ่นดินนี้จะต้องตกเป็นของสุมาเอี๋ยนอย่างแน่นอน พระเจ้าซุนโฮกริ้ว จึงสั่งให้ประหารขุนนางทั้งสอง จากนั้นมาก็ไม่มีใครกล้าเพ็ดทูลห้ามปรามอีกเลย วันหนึ่ง พระเจ้าซุนโฮแปรพระราชฐานจากกังตั๋ง ไปประทับอยู่ยังเมืองบู๊เฉียง ก็ทรงใช้จ่ายพระราชทรัพย์ในการสร้างพระราชวังแห่งใหม่อย่างฟุ่มเฟื่อย จากการขูดรีดภาษีราษฎร พร้อมเสพสมกามากับเด็กสาววัยรุ่นมากมาย ต่อมาได้ทรงให้โหรหลวงทำนายดวงชะตา โหรทำนายว่า ต่อไปภายภาคหน้า พระเกียรติยศจะขจรขจายไปถึงลกเอี๋ยง พระเจ้าสุมาเอี๋ยนต้องมาสยบกับแทบพระบาท พระเจ้าซุนโฮดีพระทัยนัก จึงฮึกเหิมหมายจะบุกตีนครลกเอี๋ยง จึงเรียกบรรดาขุนนางมาประชุมถึงการบุกไปตีลกเอี๋ยง หอกหยก ขุนนางคนหนึ่งจึงทูลคัดค้านไปพร้อมกับสั่งสอนพระองค์ให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรม ทำนุบำรุงราษฎร บ้านเมืองจะดีกว่า พระเจ้าซุนโฮทรงกริ้วไล่หอกหยกออกจากราชการ พร้อมกับดึงดันแต่งตั้งให้ลกข้องเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพไปประชิดเมืองซงหยง ปากทางเข้าอาณาจักรไต้จิ้น พระเจ้าสุมาเอี๋ยน จึงมีบัญชาให้เอียวเก๋า เจ้าเมืองซงหยงตั้งพร้อมเตรียมรับศึก เอียวเก๋าเป็นผู้มีเมตตาธรรม ไม่ชอบออกทัพจับศึก จึงคิดผูกไมตรีกับลกข้อง ท้ายที่สุดลกข้องก็ปลาบปลื้มในน้ำใจเอียวเก๋า มีหนังสือไปยังพระเจ้าซุนโฮว่า ทางฝ่ายนี้มิได้คิดร้ายขออย่าได้สู้รบกันเลย พระเจ้าซุนโอก็กริ้ว สั่งปลดลกข้องออกจากตำแหน่ง และยกให้ซุนอี้เป็นแม่ทัพแทน ในเวลานั้น ขุนนางคนใดไม่เห็นด้วยกับพระองค์ ก็จะถูกปลดหรือถูกประหารชีวิตไปหมดสิ้น ทางฝ่ายเอียวเก๋า เมื่อทราบว่าลกข้องถูกปลดออกจากแม่ทัพใหญ่แล้ว มีหนังสือทูลไปยังพระเจ้าสุมาเอี๋ยน เป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วที่จะบุกตีง่อก๊ก แต่กาอุ้นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไม่เห็นด้วย เอียวเก๋าจึงเดินทางกลับลกเอี๋ยง และลาออกจากราชการ ไปพักอาศัยอยู่ยังบ้านเดิม จนกระทั่งสิ้นชีวิต ก่อนสิ้นชีวิตเอียวเก๋าได้กราบทูลว่า บัดนี้เห็นควรแต่งตั้ง เตาอี้ เป็นแม่ทัพใหญ่ทำการนี้แทน ท้ายที่สุดเตาอี้ก็สามารถเอาชนะง่อก๊กได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 823 แผ่นดินจีนจึงควบรวมเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง หลังจากแตกแยกเป็นสามก๊กนานถึง 60 ปี สำหรับ พระเจ้าซุนโฮ ทอดพระเนตรความพ่ายแพ้ของอาณาจักรพระองค์เองบนกำแพงเมือง และได้ทรงยอมแพ้ ถวายบรรณาการแด่พระเจ้าสุมาเอี๋ยน พระเจ้าสุมาเอี๋ยนก็แต่งตั้งให้เป็นอุ้ยเบ้งเฮา ขุนนางง่อก๊กทั้งหลายก็แต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกันไป เป็นอันอวสานของอาณาจักรง่อ หรือ อู๋ ที่ดำรงมานานกว่า 58 ปี (พ.ศ. 765- พ.ศ. 823) หลังจากนั้นอีกต่อมา 4 ปี พระเจ้าซุนโฮก็สวรรคตด้วยพระชนมายุ 43 พรรษา ครองราชย์ได้ 12 ปี.

ใหม่!!: เตียวเป๋าและซุนโฮ · ดูเพิ่มเติม »

เตงฮอง

ตงฮอง (Ding Feng) เป็นแม่ทัพแห่งง่อก๊ก ชาวเมืองโลกั๋ง มักจะได้รับมอบหมายงานพร้อมกับชีเซ่ง เช่นในตอนที่จิวยี่สั่งให้ไปฆ่าขงเบ้ง(แต่ไม่สำเร็จ) และในตอนที่สกัดขบวนของเล่าปี่และซุนฮูหยินที่ยกกลับเกงจิ๋ว (แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่กล้าสังหารซุนฮูหยิน) สมัยยังหนุ่มเขามีชื่อเสียงจากการต่อสู้ในกองทัพอยู่เรื่อย ๆ ว่าเป็นคนที่กล้าหาญที่สุดในกองทัพ เตงฮองมีความดีความชอบมากมายในศึกหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดคือการต่อต้านการโจมตีของ จูกัดเอี๋ยนแห่งวุยก๊ก หลังจากซุนฮิวขึ้นเป็นฮ่องเต้ต่อจากซุนเหลียง เตงฮองได้ช่วยซุนฮิวสังหารซุนหลิม ผู้สำเร็จราชการที่คุกคามฮ่องเต้ ทำให้เขาได้รับตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ รูปเตงฮองจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: เตียวเป๋าและเตงฮอง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »