โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฉุนชินหวัง

ดัชนี ฉุนชินหวัง

ฉุนชินหวัง เป็นพระอิสริยยศของอ๋องชั้นเอก ซึ่งจักรพรรดิเสียนเฟิงทรงสถาปนาขึ้นในปี..

6 ความสัมพันธ์: อี้เซฺวียนอ๋องจักรพรรดิผู่อี๋จักรพรรดิเสียนเฟิงจักรพรรดิเต้ากวังไจ้เฟิง

อี้เซฺวียน

ฉุนชินหวัง ซึ่งมีพระนามเดิมว่าอี้เซฺวียน (16 ตุลาคม ค.ศ. 1840 – 1 มกราคม ค.ศ. 1891) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 7 ในจักรพรรดิเต้ากวงกับจวงซุ่นหวงกุ้ยเฟย์ เป็นพระราชบิดาของจักรพรรดิกวังซวี่และเป็นพระอัยกาของจักรพรรดิผู่อี๋.

ใหม่!!: ฉุนชินหวังและอี้เซฺวียน · ดูเพิ่มเติม »

อ๋อง

อ๋อง (หวัง หรือ หวาง) แปลเป็นภาษาไทยคือกษัตริย์ เป็นตำแหน่งสูงสุดของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์เซี่ยจนถึงราชวงศ์โจว ซึ่งสมัยนั้นจีนยังไม่รวมเป็นจักรวรรดิที่เป็นปึกแผ่น ซึ่งแต่ละแคว้นก็จะมีอ๋องเป็นเจ้าผู้ครองแคว้น ซึ่งต่อมาฉินอ๋องเจิ้งแห่งแคว้นฉินทรงรวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่น พระองค์ถือว่าพระองค์มีคุณงามความดีเหนืออ๋องในอดีตทั้งมวล ทรงเห็นว่าตำแหน่งอ๋องไม่ยิ่งใหญ่เพียงพอสำหรับพระองค์ ฉินอ๋องเจิ้นจึงทรงพระราชดำริคำเรียกขึ้นใหม่คือ ฮ่องเต้ ฉินอ๋องเจิ้นทรงใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกแห่งจักรวรรดิจีนอันยิ่งใหญ่ ในยุคชุนชิวและจ้านกว๋อ (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีอ๋องอยู่เพียง 5 พระองค์เท่านั้นที่ได้รับการยกย่องเป็น ปาอ๋อง หรือ ปาจู๋ (霸, Bà) แปลได้ว่า "อ๋องผู้ยิ่งใหญ่" ได้แก.

ใหม่!!: ฉุนชินหวังและอ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิผู่อี๋

มเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ พระราชสมภพ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2449 มีพระนามเต็มว่า หรือ เฮนรี่ ผู่อี๋ (พระนามอังกฤษที่เรจินัล จอนสตันถวายให้) เป็นจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ชาวแมนจูแห่งราชวงศ์ชิง และเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ชิง (นับเริ่มแต่จักรพรรดิซุ่นจื้อ) และเป็นองค์สุดท้าย (末代皇帝) ของประเทศจีนมีพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเซวียนถ่ง จากปี..

ใหม่!!: ฉุนชินหวังและจักรพรรดิผู่อี๋ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเสียนเฟิง

มเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิงขณะทรงแก้ไขพระราชกิจ สมเด็จพระจักรพรรดิเสียนฟงขณะทรงพักผ่อนพระอิริยาบถ จักรพรรดิเสียนเฟิง พงศาวดารไทยเรียก สมเด็จพระเจ้าฮำหอง เป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 9 (นับจากจักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อ) แห่งราชวงศ์ชิง เป็นราชโอรสองศ์ที่ 4 ของจักรพรรดิเต้ากวง มีนามเดิมว่า อ้ายซินเจว๋หลัว อี้จู่ หรือองค์ชาย อี้จู่ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) ขึ้นครองราชย์ได้ทั้ง ๆ ที่มิใช่รัชทายาทองค์เอกที่วางตัวไว้ แต่ว่าพระองค์สามารถเอาชนะใจพระราชบิดาได้ด้วยการออกล่าสัตว์ และพระองค์ไม่สังหารสัตว์ที่มีลูกอ่อน นอกจากนี้ยังมีคนกล่าวกันว่าพระราชวรกายของพระองค์อ่อนแอมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์แล้ว จึงมักประชวรบ่อย ๆ ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) ทันทีที่จักรพรรดิเต้ากวงสวรรคต ด้วยพระชนมายุ 19 พรรษา ซึ่งในระหว่างที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ใหม่ ๆ พระราชประเพณีจีนห้ามจักรพรรดิองค์ใหม่มีมเหสีหรือพระสนม และต้องไว้ทุกข์เป็นเวลานานถึง 27 เดือน แต่ก่อนที่จักรพรรดิเต้ากวงจะสวรรคตมีพระมเหสีองค์แรกแล้ว คือ พระชายาสะโกตา ซึ่งสิ้นพระชนม์ก่อนที่จักรพรรดิเต้ากวงจะสวรรคต เมื่อจักรพรรดิเสียนเฟิงครองราชย์แล้วทรงสถาปนานางสะโกตะเป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี่ยวเต๋อเซียน เมื่อผ่านช่วงไว้ทุกข์ไปแล้ว จึงมีการเลือกพระสนม โดยองค์ประธาน คือ พระนางคังฉินไท่เฟย(康慈皇贵太妃) พระมเหสีองค์หนึ่งของสมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง ที่ทรงดูพระราชวังหลัง ซึ่งพระอัครมเหสีองค์แรกของสมเด็จพระจักรพรรดิเสียงเฟิง คือ พระอัครมเหสีหนิวฮู่ลู่ หรือ ซูอันไทเฮา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก พระนางคังฉินไท่เฟย ในสมัยพระองค์เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ซึ่งส่งผลให้เกาะฮ่องกงตกเป็นของจักรวรรดิอังกฤษโดยสมบูรณ์ และมาเก๊าตกเป็นของโปรตุเกส และกบฏไท่ผิง โดย หง ซิ่วฉวน ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศและราชวงศ์ จักรพรรดิเสียนเฟิง มีพระมเหสีองค์รองอีกหนึ่งพระองค์ ที่ต่อมามีบทบาทอย่างมากในประวัติศาสตร์ภายหลัง คือ พระมเหสีเย่เฮ่อนาลา หรือ ซูสีไทเฮา พระองค์สวรรคตในปี พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1861) ด้วยพระชนมายุเพียง 30 พรรษา ด้วยพระโรคที่รุมเร้าจากทรงกลัดกลุ้มในปัญหาของบ้านเมือง และจักรพรรดิองค์ใหม่ คือ องค์ชายไจ้ฉุน หรือพระนามตอนขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิถงจื้อ.

ใหม่!!: ฉุนชินหวังและจักรพรรดิเสียนเฟิง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเต้ากวัง

ักรพรรดิเต้ากวัง พงศาวดารไทยเรียก สมเด็จพระเจ้าเตากวาง เป็นองค์ชายรองในจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง เดิมมีพระนามว่า เหมียนหนิง (綿寧) (แปลว่า อาทิตย์อัสดง) แต่ได้เปลี่ยนพระนามใหม่ภายหลังขึ้นครองราชย์ว่า หมิ่นหนิง (旻宁) (แปลว่า ท้องฟ้า หรือ จักรวาล) จักรพรรดิเต้ากวัง ประสูติจากมเหสีที่มีชื่อว่า จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย(孝淑皇后) แต่พระมารดาได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระองค์ยังเยาว์วัย จักรพรรดิเจี่ยชิงพระราชบิดาจึงได้สถาปนาพระมเหสีองค์ใหม่ขึ้นเป็นจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย (孝和皇后) ซึ่งเป็นบุตรสาวของอูนาลา ขุนนางพวกเดียวกับเหอเซิน ที่ทรงไม่ไว้วางพระทัย แต่ทรงทำไปด้วยด้วยเหตุผลทางการเมือง นั่นทำให้จักรพรรดิเต้ากวังเมื่อยังทรงพระเยาว์ก็ไม่โปรดในตัวพระนางด้วยเช่นกัน แม้จะมีศักดิ์เป็นพระมารดาเลี้ยงก็ตาม แต่ได้ทรงเปลี่ยนทัศนะที่มีต่อพระนางใหม่ เมื่อครั้งหนึ่งที่ได้เสด็จไปไหว้บรรพกษัตริย์ที่สุสานราชวงศ์ชิงด้วยกัน และได้มีโจรกบฏกลุ่มหนึ่งมาจับตัวพระองค์และพระนางไปพร้อมกับสามัญชนกลุ่มหนึ่ง พวกกบฏบังคับให้พระองค์และพระนางบอกว่าใครเป็นใคร หากเงียบ ก็จะให้จ้วงแทงพระนางด้วยมีด พระนางก็ปิดปากเงียบไม่ยอมบอก นั่นจึงทำให้พระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระนางเสี้ยวเหอมากและยอมรับพระนางในที่สุด จักรพรรดิเต้ากวัง ขึ้นครองราชย์ภายหลังการสวรรคตอย่างกะทันหันของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานหลบร้อนไปยังเมืองเฉิงเต๋อ ซึ่งได้มีพระราชโองการแต่งตั้งไว้ในพินัยกรรม แต่เนื่องจากการที่สวรรคตในที่ห่างไกลเมืองหลวง จึงทำให้ องค์ชายสี่ เหมี่ยนซิน พระโอรสองค์เล็กพระนางเสี้ยวเหอของคัดค้านว่า เป็นพินัยกรรมปลอม และเตรียมการจะก่อกบฏ พระองค์จึงทรงวางแผนโยนไปให้พระนางเสี้ยวเหอตัดสินและได้ขอกำลังทหารส่วนหนึ่งมาคุ้มกัน ซึ่งพระนางเสี้ยวเหอได้ยอมรับว่า พินัยกรรมนั้นเป็นของจริง และได้พระราชทานอภัยโทษประหารองค์ชายเหมี่ยนซินไว้ ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวัง ได้ทรงหาทางกำจัดขุนนางกังฉินและบรรดาขุนนางที่ไม่เอาการเอางาน จึงทำให้เหล่าขุนนางลับหลังจะนินทาพระองค์อยู่เสมอ ๆ และทำให้ขุนนางแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่ายต่างก็สนับสนุนพระโอรสอันเกิดจากพระมารดาที่เป็นชนเผ่าเดียวกับตน แต่พระองค์ก็ได้หาทางบริหารประเทศอย่างเต็มที่ ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศเป็นปึกแผ่น ดูเหมือนเข้มแข็ง แต่ภายในอ่อนแออันเกิดจากการฉ้อราฎร์บังหลวงที่เป็นระบบกันมานานแต่สมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ในรัชสมัยนี้พระองค์ได้ออกนโยบายให้ทุกคนในวังประหยัด โดยมีพระองค์เป็นแบบอย่าง และเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือ สงครามฝิ่นกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) และ พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ยุคล่าอาณานิคม ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และนำมาสู่การสูญเสียเกาะฮ่องกงและการล่มสลายของราชวงศ์ชิงในภายหลัง จักรพรรดิเต้ากวังมีอุปนิสัยส่วนพระองค์คือ โปรดปรานปืนเป็นพิเศษ ได้สวรรคตในปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) และผู้ครองราชย์สืบไปคือ องค์ชายอี้จู่ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า จักรพรรดิเสียนเฟิง.

ใหม่!!: ฉุนชินหวังและจักรพรรดิเต้ากวัง · ดูเพิ่มเติม »

ไจ้เฟิง

ฉุนชินหวัง ซึ่งมีพระนามเดิมว่าไจ้เฟิง (12 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1883 – 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1951) เป็นพระโอรสพระองค์ที่ 5 ของเจ้าชายอี้เซฺวียนกับพระชายาหลิว พระองค์เป็นพระอนุชาต่างพระชนนีของจักรพรรดิกวังซวี่และเป็นพระบิดาของจักรพรรดิผู่อี๋.

ใหม่!!: ฉุนชินหวังและไจ้เฟิง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ฉุนอ๋องเจ้าชายชุนเจ้าชายฉุน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »