เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เครื่องหมายกำหนดจังหวะ

ดัชนี เครื่องหมายกำหนดจังหวะ

เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (time signature) เป็นรูปแบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในสัญลักษณ์ดนตรีตะวันตกเพื่อกำหนดการเคาะ ว่าในแต่ละบาร์มีกี่จังหวะ และค่าตัวโน้ต (note value) จะเท่ากับหนึ่งจังหวะ ในการบรรเลงดนตรี เครื่องหมายกำหนดจังหวะจะปรากฎในตอนแรก อย่างเช่น อ่านว่า ซี หรือ ซีเต็ม จะมีความหมายเท่ากับเครื่องหมายกำหนดจังหวะที่เป็นตัวเลข หรือ อ่านว่า สามสี่ มีความหมายว่า บทเพลงนั้นมีอัตราจังหวะห้องละ 3 จังหวะเคาะ และกำหนดให้ใช้โน้ตตัวดำมีค่าเท่ากับ 1 จังหวะ หลังจากเครื่องหมายกำหนดจังหวะจะตามด้วยเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงหรือกุญแจประจำหลัก หมวดหมู่:สัญกรณ์ดนตรี.

สารบัญ

  1. 3 ความสัมพันธ์: กุญแจประจำหลักเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงเครื่องหมายประจำจังหวะ

  2. ทฤษฎีดนตรี

กุญแจประจำหลัก

กุญแจซอลคาบเส้นที่สอง หมายความว่าโน้ตที่คาบเส้นที่สองจะต้องเล่นเสียงซอล กุญแจประจำหลัก (clef; clé แปลว่า กุญแจ) คือสัญกรณ์ทางดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้แสดงถึงระดับเสียงของตัวโน้ตที่บันทึก กำกับไว้ที่ตำแหน่งเริ่มต้นของบรรทัดห้าเส้น ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกชื่อและระดับเสียงของตัวโน้ตที่อยู่บนเส้นนั้น.

ดู เครื่องหมายกำหนดจังหวะและกุญแจประจำหลัก

เครื่องหมายตั้งบันไดเสียง

รื่องหมายตั้งบันไดเสียงชุดหนึ่ง เครื่องหมายตั้งบันไดเสียง หรือ คีย์ดนตรี หรือ คีย์ (key signature) คือกลุ่มของชาร์ปหรือแฟลต (หรือเนเชอรัลในบางกรณี) ที่กำกับบนบรรทัดห้าเส้น เป็นตัวบ่งบอกให้เล่นตัวโน้ตสูงขึ้นหรือต่ำลงครึ่งเสียง (semitone) ตามตำแหน่งที่กำหนดหากไม่มีเครื่องหมายอื่นอยู่ก่อน แทนที่จะเป็นเสียงตัวโน้ตปกติ การกำหนดบันไดเสียงเช่นนี้จะมีผลทั้งบรรทัดจนกว่าจะมีการเปลี่ยนคีย์ใหม่ เครื่องหมายตั้งบันไดเสียงมักพบได้ทั่วไปถัดจากกุญแจประจำหลักในตำแหน่งเริ่มบรรทัดใหม่ หรือปรากฏที่ส่วนอื่นบนบรรทัดเช่นหลังจากดับเบิลบาร์ (double bar) เป็นต้น.

ดู เครื่องหมายกำหนดจังหวะและเครื่องหมายตั้งบันไดเสียง

เครื่องหมายประจำจังหวะ

รื่องหมายประจำจังหวะ คือ เครื่องหมายที่ใช้สำหรับกำหนดอัตราจังหวะของเพลง โดยใช้ตัวเลขเป็นเครื่องหมายเพื่อบอกค่าของจังหวะต่าง ๆ จะบันทึกไว้ตอนหน้าของบทเพลง เป็นเลข 2 ตัว คือมีตัวบน และตัวล่าง เลขตัวบน หมายถึง อัตราจังหวะใน 1 ห้องดนตรี ว่าจะมีทั้งตัวโน้ตหรือตัวหยุดเมื่อรวมกันแล้วจะเท่ากับตัวเลขตัวนี้พอดีต่อ 1 ห้อง ส่วนเลขตัวล่าง หมายถึง ค่าของตัวโน้ตที่กำหนดว่าตัวโน้ตตัวใดจะมีค่าเท่ากับ 1 จังหวะ คือนับเป็น 1 จังหวะ รวมทั้งตัวหยุดประจำตัวโน้ตตัวนั้นด้วย โดยมีการกำหนดดังนี้.

ดู เครื่องหมายกำหนดจังหวะและเครื่องหมายประจำจังหวะ

ดูเพิ่มเติม

ทฤษฎีดนตรี

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Time signature