โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา

ดัชนี เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา

รื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา (Orde van Oranje-Nassau) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์เนเธอร์แลนด์ สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน..

13 ความสัมพันธ์: ชาวดัตช์พ.ศ. 2435พระเจ้าวิลเลิมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์พระเจ้าวิลเลิมที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์สงครามโลกครั้งที่สองประเทศลักเซมเบิร์กประเทศเนเธอร์แลนด์นาซีเยอรมนีเอ็มมาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ สมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊คเครื่องอิสริยาภรณ์4 เมษายน

ชาวดัตช์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาและชาวดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2435

ทธศักราช 2435 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1892 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาและพ.ศ. 2435 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวิลเลิมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์

ระเจ้าวิลเลิมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์ (Willem II der Nederlanden; 6 ธันวาคม พ.ศ. 2335 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2392) เป็นพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์ แกรนด์ดยุกลักเซมเบิร์ก ดยุกแห่งลิมบืร์ค ตั้งแต่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2383 จนกระทั่งสวรรคตเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2392 พระเจ้าวิลเลิมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2335 ทรงเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ กับสมเด็จพระราชินีวิลเฮ็ลมีเนอแห่งปรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2357 พระเจ้าวิลเลิมที่ 2 ได้ทรงหมั้นกับเจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์ พระธิดาพระองค์เดียวในพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักรกับสมเด็จพระราชินีแคโรไลน์แห่งสหราชอาณาจักร แต่การหมั้นต้องถูกยกเลิดเนื่องจากพระราชมารดาของเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ไม่ต้องการให้เจ้าหญิงเสด็จไปเนเธอร์แลนด์ ต่อมาเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2359 ที่พระราชวังฤดูหนาวในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก พระเจ้าวิลเลิมที่ 2 ได้อภิเษกสมรสกับแกรนด์ดัชเชสอันนา ปัฟลอฟนาแห่งรัสเซีย พระขนิษฐาพระองค์เล็กในซาร์อะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย การอภิเษกสมรสทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัสเซียกับเนเธอร์แลน.

ใหม่!!: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาและพระเจ้าวิลเลิมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวิลเลิมที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์

ระเจ้าวิลเลิมที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์ (Willem III der Nederlanden, พระนามเต็ม วิลเลิม อาเลกซันเดอร์ เปาล์ เฟรเดอริก โลเดอไวก์ ฟัน โอรันเยอ-นัสเซา, ประสูติ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2360, สวรรคต 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าวิลเลิมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์ และอันนา ปัฟลอฟนาแห่งรัสเซี.

ใหม่!!: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาและพระเจ้าวิลเลิมที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์

้าหญิงวิลเฮลมินาและพระมารดาราชินีเอ็มม่าแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ (HM Queen Wilhelmina of the Netherlands, วิลเฮลมินา เฮเลนา พอลีน มารี ฟาน ออรันเย-นัสเซา; 31 สิงหาคม พ.ศ. 2423 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505) พระองค์ทรงเป็นธิดาของสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์ และ สมเด็จพระราชินีนาถเอ็มมาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ พระนางทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 ถึงปี พ.ศ. 2491 และสมเด็จพระราชชนนี (พระอิสริยยศ เจ้าหญิง) ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาและสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลักเซมเบิร์ก

ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg; ลักเซมเบิร์ก: Lëtzebuerg; Luxembourg; Luxemburg) หรือชื่อทางการคือ ราชรัฐลักเซมเบิร์ก (Grand Duchy of Luxembourg; ลักเซมเบิร์ก: Groussherzogtum Lëtzebuerg; Grand-Duché de Luxembourg; Großherzogtum Luxemburg) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป มีพรมแดนด้านตะวันออกติดกับประเทศเยอรมนี ด้านใต้ติดกับฝรั่งเศส และด้านตะวันตกติดกับเบลเยียม.

ใหม่!!: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาและประเทศลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มมาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ สมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์

้าหญิงเอ็มมาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ (Her Majesty Queen-Dowager Emma, Princess of Waldeck and Pyrmont.) (อเดลเฮด เอ็มมา วิลเฮลมินา เทเรเซีย แห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์)(2 สิงหาคม พ.ศ. 2401 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2477) เป็นพระมเหสีแห่งสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์เป็นพระราชินีตั้งแต่ พ.ศ. 2433 ถึง พ.ศ. 2441 และ สมเด็จพระราชชนนีตั้งแต..

ใหม่!!: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาและเอ็มมาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ สมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊ค

รื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฏโอ๊ค (Eechelaafkrounenuerden; Ordre de la couronne de Chêne; Eichenlaubkronenorden) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของลักเซมเบิร์ก.

ใหม่!!: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาและเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊ค · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องอิสริยาภรณ์

รื่องอิสริยาภรณ์ คือ เหรียญ และตรา อันเป็นเครื่องประดับยศของฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) และจากนั้นได้แพร่หลายไปยังประเทศที่มีราชวงศ์ เครื่องอิสริยาภรณ์จากประเทศที่มีกษัตริย์เรียกว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส่วนประเทศที่ไม่มีกษัตริย์เรียกว่า เครื่องอิสริยาภรณ.

ใหม่!!: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาและเครื่องอิสริยาภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

4 เมษายน

วันที่ 4 เมษายน เป็นวันที่ 94 ของปี (วันที่ 95 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 271 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาและ4 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งราชวงศ์นัสเซา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »