เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เครื่องกำจัดเกลือ

ดัชนี เครื่องกำจัดเกลือ

รื่องกำจัดเกลือ (Desalter) เป็นกระบวนการหนึ่งในโรงกลั่นน้ำมันเพื่อแยกเกลือออกจากน้ำมันดิบ โดยใช้หลักการใช้น้ำทำการละลายเกลือในน้ำมันดิบและแยกน้ำซึ่งจะละลายเกลือออกจากกัน โดยใช้การสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นเพื่อใช้ตรึงแยกหยดน้ำซึ่งละลายเกลือออกจากน้ำมันดิบ โดยปกติแล้ว กระบวนการกำจัดเกลือมักจะเป็นกระบวนการแรกในการกลั่นน้ำมัน เครื่องกำจัดเกลือสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบศักย์คงที่ และแบบมีการเปลี่ยนแปลงศักย์ตามช่วงการทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกลือแร่หลุดออกไปทำปฏิกิริยากลายเป็นกรด ทำให้เกิดการกัดกร่อนกับระบบซึ่งเป็นโลหะ คำว่า "เครื่องกำจัดเกลือ" สามารถหมายถึง เครื่องทำน้ำทะเลให้เป็นน้ำจิด ซึ่งสามารถบำบัดน้ำกร่อยที่เกิดจากเกษตรกรรม โดยเป็นการทำน้ำให้สะอาดสำหรับการบริโภคของคนและสัตว์ หรือเพื่อลดความเค็มของน้ำก่อนที่จะผ่านพรมแดนระหว่างประเทศ ซึ่งมักจะเป็นเงื่อนไขในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เครื่องกำจัดเกลือยังถูกใช้ในการบำบัดน้ำในอ่างเก็บน้ำบาดาลในพื้นที่อันได้รับผลกระทบจากฝูงปศุสัตว.

สารบัญ

  1. 2 ความสัมพันธ์: ปิโตรเลียมน้ำบาดาล

ปิโตรเลียม

แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.

ดู เครื่องกำจัดเกลือและปิโตรเลียม

น้ำบาดาล

น้ำใต้ดินแบ่งเป็น 3 โซนได้แก่ soil zone, intermediate zone และ the upper part of capillary fringe น้ำบาดาล (groundwater) คือน้ำที่ถูกกักเก็บหรือสะสมตัวอยู่ใต้ดิน อาจสะสมตัวอยู่ตามรอยแตก รอยแยกของชั้นหิน หรืออาจสะสมตัวอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดกรวด หรือเม็ดทรายใต้ผิวดิน น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลแย่งออกได้เป็น 2 โซนคือ unsaturated zone เป็นโซนที่มีทั้งน้ำและอากาศ และ saturated zone เป็นโซนที่มีแต่น้ำเท่านั้นโดยส่วนนี้จะเป็นส่วนของน้ำใต้ดินที่แท้จริง.

ดู เครื่องกำจัดเกลือและน้ำบาดาล

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Desalter