โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เขื่อนอิไตปู

ดัชนี เขื่อนอิไตปู

ื่อนอิไตปู เขื่อนอิไตปู (Itaipú) เป็นเขื่อนคอนกรีตขนาดใหญ่ซึ่งในอดีตจัดได้ว่าเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อนที่เขื่อนสามหุบเขาของจีนจะแล้วเสร็จ เขื่อนอิไตปูสร้างขึ้นในปี..

14 ความสัมพันธ์: ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริการีโอเดจาเนโรวัตต์หอไอเฟลอ่างเก็บน้ำคอนกรีตประเทศบราซิลประเทศจีนประเทศปารากวัยแม่น้ำปารานาเขื่อนเขื่อนซานเสียต้าป้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเซาเปาลู

ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา

วาดของชนกลุ่มน้อยหลากหลายกลุ่มในอเมริกา ก่อนยุคศตวรรษที่ 20 ชาวอินเดียนแดง ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา หรือ อินเดียนแดง หรือ ชนพื้นเมืองชาวอเมริกัน (Indigenous people of the Americas หรือ Red Indian หรือ Native American) เป็นกลุ่มคนที่อาศัยในทวีปอเมริกามานานก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามาอพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกราก ในอดีตได้มีสงครามเกิดขึ้นมากมายในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ในการแย่งชิงดินแดน การต่อสู้ รวมถึงการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างชาวยุโรป กับชาวอินเดียนแดง ในปัจจุบันชาวอินเดียนแดงบางกลุ่มอาศัยรวมอยู่กับชาวอเมริกันทั่วไป และบางกลุ่มได้จัดตั้งพื้นที่อาศัยในเขตสงวนอินเดียนแดง คำว่าอินเดียนแดงนั้น ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Indian หรือ Native American โดยในอดีตได้ใช้คำว่า Red Indian แต่ได้เลิกใช้แล้วโดยถือว่าเป็นคำไม่สุภาพในการกล่าวถึง แบ่งออกเป็น 3 เผ่าใหญ่ ได้แก่ เผ่ามายา เผ่าแอซแทค และเผ่าอิน.

ใหม่!!: เขื่อนอิไตปูและชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

รีโอเดจาเนโร

รีโอเดจาเนโร (Rio de Janeiro) หรือ รีอูจีฌาเนย์รู (เสียงอ่านภาษาโปรตุเกส) มีความหมายว่า "แม่น้ำเดือนมกราคม") หรือมักเรียกโดยย่อว่า รีโอ (Rio) เป็นเมืองหลวงของรัฐรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล โดยเป็นเมืองที่กล่าวขานกันว่างดงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และเป็นที่รู้จักในด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะชายหาดกอปากาบานา (Copacabana) และอีปาเนมา (Ipanema) เทศกาลรื่นเริงประจำปีของบราซิล และรูปปั้นพระเยซูขนาดใหญ่ที่รู้จักในชื่อ กริชตูเรเดงโตร์ บนยอดเขากอร์โกวาดู รีโอเดจาเนโรตั้งอยู่ที่ละติจูด 22 องศา 54 ลิปดาใต้ และลองจิจูด 43 องศา 14 ลิปดาตะวันตก รีโอมีประชากรประมาณ 6,150,000 (..

ใหม่!!: เขื่อนอิไตปูและรีโอเดจาเนโร · ดูเพิ่มเติม »

วัตต์

วัตต์ (watt, สัญลักษณ์ W) เป็นหน่วยเอสไอของกำลังตั้งชื่อตาม เจมส์ วัตต์ ตัวอย่างพลังงานในหน่วยวัตต์ เช่น หลอดไฟที่ใช้ตามบ้านใช้ 100 วัตต์ ขณะที่ เขื่อนฮูเวอร์ผลิตสองพันล้านวัตต์ 1 วัตต์ มีค่าเท่ากับ 1 จูล ของ พลังงาน ต่อ วินาที วัตต์ (watt หรือ W)คือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เป็นตัวบอกพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดที่ใช้ในการทำงาน เช่น หลอดไฟ 100 วัตต์ หมายความว่า หลอดไฟกินไฟ 100 จูลต่อวินาที.

ใหม่!!: เขื่อนอิไตปูและวัตต์ · ดูเพิ่มเติม »

หอไอเฟล

หอไอเฟล (Tour Eiffel, ตูร์แอแฟล) เป็นหอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนช็องเดอมาร์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส เป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตั้งชื่อตามกุสตาฟ ไอเฟล สถาปนิกและวิศวกรชั้นนำของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ออกแบบหอคอยนี้ หอไอเฟลสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานแสดงสินค้าโลก ในปี..

ใหม่!!: เขื่อนอิไตปูและหอไอเฟล · ดูเพิ่มเติม »

อ่างเก็บน้ำ

อ่างแก้ว อ่างเก็บน้ำในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำ (reservoir) หมายถึง ทะเลสาบที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อเก็บน้ำสำหรับการใช้ในหลากหลายจุดประสงค์ อ่างเก็บน้ำถูกสร้างขึ้นจากคอนกรีต ดิน หิน สิงที่อยู่รอบๆ แม่น้ำหรือลำธาร เพื่อเป็นเขื่อนที่แข็งแรง เมื่อเขื่อนสร้างเสร็จสมบูรณ์ กระแสน้ำจะเติมเต็มเขื่อน เขื่อนซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ (มากกว่าเป็นการปรับตัวของอ่างน้ำตามธรรมชาติ) อาจถูกเรียกว่า ที่เก็บน้ำขนาดใหญ.

ใหม่!!: เขื่อนอิไตปูและอ่างเก็บน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

คอนกรีต

การเทคอนกรีต สำหรับหล่อพื้น คอนกรีต (คอน-กรีด) (Concrete ในภาษาอังกฤษอ่านว่า คอนครีท) เป็นวัสดุผสมที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (เช่น หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ โดยอาจจะมีสารเคมีเติมเพิ่มเข้าไปสำหรับคุณสมบัติด้านอื่น เมื่อผสมเสร็จคอนกรีตจะแข็งตัวอย่างช้าๆ ซึ่งน้ำและซีเมนต์จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกันในลักษณะที่เรียกว่าการไฮเดรชัน โดยซีเมนต์จะเริ่มจับตัวกับวัสดุอื่นและแข็งตัว ซึ่งในสถานะนี้จะนิยมเรียกกันว่าคอนกรีต ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหลังจากที่ผสม และยังแข็งแรงขึ้นภายหลังจากการแข็งตัว โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจะเริ่มคงที่ คอนกรีตมีใช้กันในงานก่อสร้างหลายชนิด ซึ่งรวมถึง อาคาร ถนน เขื่อน สะพาน อนุสาวรีย์ และงานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งมีเห็นได้ทั่วไป คุณสมบัติหลักของคอนกรีตคือการรับแรงอัดสูง ในขณะที่สามารถรับแรงดึงได้ต่ำ (ประมาณ 10% ของแรงอัด) โดยเมื่อต้องการให้คอนกรีตสามารถรับแรงดึง จะมีการเสริมวัสดุอื่นเพิ่มเข้าไปในคอนกรีตโดยจะเรียกว่า คอนกรีตเสริมแรง หรือคอนกรีตเสริมเหล็กที่เรียกกัน (โดยเสริมแรงด้วยเหล็ก) วัสดุเหล่านี้จะช่วยรับแรงดึงภายในคอนกรีต ซึ่งงานโครงสร้างอาคารส่วนใหญ่นิยมใช้คอนกรีตเสริมแรงแทนที่คอนกรีตเปลือย นอกจากนี้ในงานก่อสร้างยังมีการใช้วิธีการที่เรียกว่า คอนกรีตอัดแรง โดยทำการใส่แรงเข้าไปในคอนกรีตหล่อสำเร็จที่หล่อมาจากโรงงาน โดยเมื่อนำไปใช้งาน แรงที่ใส่เข้าไปในคอนกรีตจะหักล้างกับน้ำหนักของตัวคอนกรีตเองและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้คอนกรีตสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มมากขึ้น โดยงานสะพานและทางยกระดับ นิยมใช้คอนกรีตอัดแรง มนุษย์เริ่มใช้คอนกรีตในการก่อสร้างตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ในอดีต ชาวกรีกและชาวโรมันใช้คอนกรีตในการก่อสร้างป้อมปราการทางการทหารและสถานที่สำคัญต่างๆมากม.

ใหม่!!: เขื่อนอิไตปูและคอนกรีต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบราซิล

ราซิล (Brazil; Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil; República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาม และแคว้นเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี) ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ.

ใหม่!!: เขื่อนอิไตปูและประเทศบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: เขื่อนอิไตปูและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปารากวัย

ปารากวัย (Paraguay; กวารานี: Paraguái) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐปารากวัย (República del Paraguay; กวารานี: Tetã Paraguái) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในทวีปอเมริกาใต้ ตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำปารากวัย มีอาณาเขตจรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ จรดประเทศบราซิลทางทิศเหนือ และจรดประเทศโบลิเวียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อประเทศปารากวัยมีความหมายว่า "น้ำซึ่งไหลไปสู่น้ำ" (water that goes to the water) โดยมาจากคำในภาษากวารานี: ปารา (pará) แปลว่า มหาสมุทร, กวา (gua) แปลว่า สู่/จาก, และ อี (y) แปลว่า น้ำ วลีในภาษากวารานีมักจะอ้างถึงเมืองหลวงอาซุนซีออน แต่ถ้าเป็นในภาษาสเปนจะอ้างถึงทั้งประเท.

ใหม่!!: เขื่อนอิไตปูและประเทศปารากวัย · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำปารานา

250px แม่น้ำปารานา (Río Paraná; Rio Paraná) เป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับสองในทวีปอเมริกาใต้รองจากแม่น้ำแอมะซอน แม่น้ำปารานามีความยาวประมาณ 3,200 กิโลเมตร ต้นกำเนิดแม่น้ำอยู่ในประเทศบราซิล ไหลผ่านปารากวัยและอาร์เจนตินา ก่อนที่จะไหลออกมหาสมุทรแอตแลนติกที่ปากแม่น้ำรีโอเดลาปลาตา แม่น้ำปารานาเป็นแม่น้ำที่สำคัญสายหนึ่งเพราะเรือขนาดใหญ่สามารถแล่นผ่านไปได้ไกลกว่า 1,600 กิโลเมตร จนสามารถแล่นเข้าไปได้ไกลถึงกรุงอาซุนซีออนในประเทศปารากวัยได้.

ใหม่!!: เขื่อนอิไตปูและแม่น้ำปารานา · ดูเพิ่มเติม »

เขื่อน

ื่อน (dam) เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่สำหรับกั้นทางน้ำ เพื่อใช้ในการเก็บกักน้ำและป้องกันอุทกภัยรวมถึงผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนบนของเขื่อนจะประกอบไปด้วยส่วนที่เรียกว่าทางน้ำล้น สำหรับให้น้ำที่สูงกว่าระดับที่ต้องการไหลผ่านมาที่ฝั่งปลายน้ำ มากกว่าครึ่งหนึ่งของแม่น้ำสายหลักทั่วโลกจะมีเขื่อนกั้นไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในทางใดทางหนึ่ง.

ใหม่!!: เขื่อนอิไตปูและเขื่อน · ดูเพิ่มเติม »

เขื่อนซานเสียต้าป้า

ื่อนซานเสียต้าป้า ด้านเหนือน้ำ แผนที่ ภาพเปรียบเทียบก่อนและหลังสร้างเขื่อน เขื่อนซานเสียต้าป้า หรือ เขื่อนสามหุบเขา หรือ เขื่อนสามผา (Three Gorges Dam) เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (พ.ศ. 2550) ของประเทศจีน ลักษณะของเขื่อนเป็นแบบเขื่อนคอนกรีตถ่วงน้ำหนัก (Concrete gravity dam) กั้นขวางแม่น้ำแยงซี ปัจจุบันเขื่อนซานเสียต้าป้ากำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง เขื่อนซานเสียต้าป้า เป็นเขื่อนแรกของจีนที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อเต็มในภาษาอังกฤษของโครงการก่อสร้างเขื่อนนี้ คือ “Three Gorges multipurpose water control project” มีประวัติการก่อสร้างยาวนาน ตั้งแต่สมัย ดร.ซุน ยัตเซ็น ในปี พ.ศ. 2462 และเริ่มศึกษาโครงการฯ เมื่อปี พ.ศ. 2473 สภาประชาชน ลงมติให้ก่อสร้างได้ในปี พ.ศ. 2535 ในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีหลี่เผิง วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างเขื่อน ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลักและป้องกันน้ำท่วม ซึ่งในขณะที่สร้างเขื่อนนั้น มีผู้อพยพจากน้ำท่วมบริเวณโดยรอบมีถึงประมาณ 1.35 ล้านคน.

ใหม่!!: เขื่อนอิไตปูและเขื่อนซานเสียต้าป้า · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

รื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกังหันไอน้ำที่ทันสมัยของสหรัฐฯ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ เครื่องปั่นไฟ (electric generator) คืออุปกรณ์ที่แปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า อุปกรณ์ดังกล่าวจะบังคับกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านวงจรภายนอก แหล่งที่มาของพลังงานกลอาจจะเป็นลูกสูบหรือเครื่องยนต์กังหันไอน้ำ หรือแรงน้ำตกผ่านกังหันน้ำหรือล้อน้ำ หรือเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือกังหันลม หรือข้อเหวี่ยงมือ หรืออากาศอัด หรือแหล่งพลังงานกลอื่นๆ โดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นจะเป็นวิธีหลักที่ใช้ในการกำเนิดไฟฟ้าเพื่อจ่ายเข้าโครงข่ายพลังงานไฟฟ้าของประเทศ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของ Ganz รุ่นแรกๆใน Zwevegem, West Flanders, Belgium การแปลงย้อนกลับของพลังงานไฟฟ้ากลับไปเป็นพลังงานกลจะกระทำโดยมอเตอร์ไฟฟ้า มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีความคล้ายคลึงกันมาก มอเตอร์หลายตัวสามารถขับเคลื่อนเครื่องจักรเพื่อผลิตไฟฟ้าและบ่อยครั้งที่ได้รับการยอมรับให้เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า alternator ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ในห้องโถงของสถานีผลิตไฟฟ้ากำลังน้ำ ทำในบูดาเปสท์ประเทศฮังการี.

ใหม่!!: เขื่อนอิไตปูและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

เซาเปาลู

นตัวเมืองเซาเปาลู right right right เซาเปาลู (São Paulo) เป็นเมืองหลวงของรัฐเซาเปาลู ประเทศบราซิล เมืองนี้เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลกตามจำนวนประชากร ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิล นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีความมั่งคั่งที่สุดในประเทศ ชื่อเซาเปาลูเป็นภาษาโปรตุเกส มีความหมายว่า "นักบุญพอล" เซาเปาลูมีเนื้อที่ 1,523 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 10,886,518 คน ซึ่งทำให้เมืองนี้เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ และซีกโลกใต้ (เขตมหานคร: ประมาณ 19 ล้านคน) เซาเปาลูเดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1554 โดยคณะมิชชันนารีนิกายเยซูอิตชาวโปรตุเกส ต่อมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 โปรตุเกสก็เริ่มเข้ามาขยายอำนาจในอเมริกาใต้ (ภายในเขตที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาตอร์เดซียัส) โดยส่งคณะนักสำรวจเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้และค้นหาทองคำ เพชร และทรัพยากรอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนทำให้เซาเปาลูขยายตัวมากขึ้น จนในที่สุดก็ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1711 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คลื่นผู้อพยพจากประเทศอิตาลี โปรตุเกส สเปน เยอรมนี และประเทศอื่น ๆ ก็เริ่มเข้ามาในเซาเปาลูเพื่อทำงานในไร่กาแฟภายในรัฐ จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การค้ากาแฟตกต่ำลง ผู้ประกอบการจึงเริ่มหันไปลงทุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมในเมือง โดยในครึ่งแรกของศตวรรษ นอกจากชาวยุโรปแล้ว ชาวญี่ปุ่นและชาวอาหรับก็อพยพเข้ามาด้วย และตลอดศตวรรษเดียวกันนี้ เศรษฐกิจที่เฟื่องฟูของเซาเปาลูก็เป็นตัวดึงดูดให้ประชากรจากรัฐอื่น ๆ ที่ยากจนในบราซิลเข้ามาทำงานในเมืองนี้เช่นกัน.

ใหม่!!: เขื่อนอิไตปูและเซาเปาลู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อิไตปู

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »