โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เขตผู้ว่าการลิโวเนีย

ดัชนี เขตผู้ว่าการลิโวเนีย

ตผู้ว่าการลิโวเนีย (Лифляндская губерния, Liflyandskaya guberniya. Gouvernement Livland, Livländisches Gouvernement), (Vidzemes guberņa, after the Latvian inhabited Vidzeme region) เป็นส่วนหนึ่งของ เขตผู้ว่าการบอลติกของจักรวรรดิรัสเซีย พื้นที่ของเขตผู้ว่าการลิโวเนียในอดีตปัจจุบันปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศลัตเวีย และ ประเทศเอสโตเนี.

8 ความสัมพันธ์: มหาสงครามเหนือรีกาสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์จักรวรรดิรัสเซียตาร์ตูประเทศลัตเวียประเทศเอสโตเนียปาร์นู

มหาสงครามเหนือ

มหาสงครามเหนือ (Great Northern War; Северная война; Stora nordiska kriget) เป็นสงครามครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ปีคริสต์ศักราชที่ 1700 ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 10 กันยายน ปีคริสต์ศักราช 1721 รวมระยะเวลาทั้งหมดเป็น 21 ปี นำโดยจักรวรรดิรัสเซียแห่งฝ่ายพันธมิตรเข้าปะทะกับจักรวรรดิสวีเดนในภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปเหนือ ก่อนจะนำมาด้วยชัยชนะของฝ่ายพันธมิตรและการก้าวขึ้นมามีอำนาจสูงสุดของรัสเซียเหนือคาบสมุทรบอลติก รวมถึงการเข้ามามีอิทธิพลในยุโรปของรัสเซียจวบจนปัจจุบัน ส่วนสวีเดนต้องตกอยู่ใต้ "ยุคแห่งเสรีภาพ" อันมีระบบรัฐสภาปกครองประเทศอันเนื่องมาจากเหตุสวรรคตของพระเจ้าชาลส์ที่ 12นำไปสู่ยุคไร้พระมหากษัตริย์ของสวีเดนถึง 54 ปี สงครามนี้นำด้วยกองทหารสองเหล่าทัพ โดยมีฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้เปิดฉากต่อสู้ก่อน นำโดยพระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย พระเจ้าเฟรเดอริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ และพระเจ้าออกัสตัสที่ 2 แห่งแซกซ์-โปแลนด์-ลิทัวเนีย ซึ่งต่อมาได้ถอนกำลังออกในปี ค.ศ. 1700 และปี ค.ศ. 1706 ตามลำดับ แต่ในปี ค.ศ. 1709ก็ได้นำกองทัพเข้ามาสมทบต่อจนสิ้นสงคราม นอกจากนี้ยังมี พระเจ้าจอร์จที่ 1นำทัพจากฮาโนเวอร์เข้ามาร่วมสงครามในปี ค.ศ. 1714 และได้นำทัพจากบริเตนใหญ่เข้ามาสมทบภายหลังในปี ค.ศ. 1717 รวมทั้งพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งบรานเดนบูร์ก-ปรัสเซียที่นำกองทัพเข้ามาสมทบในปี ค.ศ. 1715 อีกด้วย ส่วนทางด้านฝ่ายสวีเดนนั้นนำด้วยพระเจ้าชาลส์ที่ 12 โดยมีกองทัพแห่งโฮลชไตน์-ก็อธธอร์ป รวมทั้งทัพโปแลนด์-ลิทัวเนียที่นำโดยกษัตริย์สตานิสลอว เลซซิงสกีในปี ค.ศ. 1704 ถึงปี ค.ศ. 1710 และกองทัพคอสแซคภายใต้การนำทัพของอีวาน มาเซปปา รองผู้บัญชาการทัพสูงสุดแห่งชนชาติยูเครน รวมถึงสุลต่านอาห์เมดที่นำทัพออตโตมันร่วมสงครามกับฝ่ายสวีเดนแล้วมุ่งหน้าปะทะกับกองทัพรัสเซียเป็นหลักอีกด้วย สงครามเปิดฉากด้วยการที่กองทัพพันธมิตรแห่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ แซกโซนี โปแลนด์-ลิทัวเนีย และรัสเซียกรีฑาทัพเข้าโจมตีโฮลชไตน์-ก็อธธอร์ป ลิโวเนีย และอินเกรียอันเป็นดินแดนของจักรวรรดิสวีเดนซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าชาลส์ที่ 12ที่ในสมัยนั้นยังทรงพระเยาว์ จึงขาดความรู้และประสบการณ์เป็นอย่างมาก ฝ่ายสวีเดนจึงได้แต่ตั้งหน้ารับการโจมตีของฝ่ายพันธมิตรอยู่ท่าเดียว จนกระทั่งยุทธการนั้นจบลงด้วยสนธิสัญญาสงบศึกแห่งทราเวนดอล นับตั้งแต่นั้นมหาสงครามเหนือก็ได้เริ่มขึ้น และกลายเป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์ยุโรปเลยทีเดียว หลังจากระยะสงครามที่ยืดเยื้อมาถึง 21 ปีแล้ว จักรวรรดิสวีเดนได้เริ่มทำสนธิสัญญาสตอกโฮล์มเพื่อสงบศึกกับฮาโนเวอร์และปรัสเซียในปี ค.ศ. 1719 ต่อมาในปี ค.ศ. 1720 ได้ทำสนธิสัญญาสงบศึกเฟรเดริกส์เบิร์กกับฝั่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ แต่ก็ยังยืนกรานที่จะเปิดสงครามกับรัสเซียต่อไป จนกระทั่งปี ค.ศ. 1721 สวีเดนแพ้สงครามในที่สุด จนสวีเดนต้องทำสนธิสัญญาสงบศึกนีสตาดกับรัสเซีย โดยสนธิสัญญาทั้งสามฉบับสวีเดนต้องเสียสินทรัพย์และดินแดนเป็นจำนวนไม่น้อยเป็นค่าปฏิกรรมสงครามเลยทีเดียว ท้ายที่สุดแล้วสวีเดนจึงต้องสูญเสียอำนาจในการปกครองดินแดนหลายๆ ส่วน นอกจากนั้นยังโดนลดอำนาจในคาบสมุทรบอลติกลงและยังต้องเปลี่ยนระบอบการปกครองเพราะสิ้นราชวงศ์ในสงครามอีกด้วย ส่วนรัสเซียนั้นหลังจบสงครามก็ได้เริ่มต้นยุคแห่งการแผ่ขยายอำนาจออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ก่อนที่จะหยุดลงในสองศตวรรษหลังจากนั้นเอง แต่อิทธิพลของรัสเซียที่มีต่อยุโรปและต่อประชาคมโลกยังคงมีอยู่ แม้จะน้อยลงบ้างก็ตาม.

ใหม่!!: เขตผู้ว่าการลิโวเนียและมหาสงครามเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

รีกา

ทัศนียภาพกรุงรีกาจากโปสต์การ์ดในปี พ.ศ. 2443 รีกา (Rīga) เป็นเมืองหลวงของประเทศลัตเวีย ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลบอลติก บนปากแม่น้ำเดากาวา (Daugava) มีพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ที่ละติจูด 56°58′เหนือ กับลองจิจูด 24°8′ตะวันออก กรุงรีกาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในกลุ่มรัฐบอลติก และเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม การศึกษา การเมืองการปกครอง ธุรกรรม พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมในแถบนี้ นอกจากนี้ ศูนย์ประวัติศาสตร์รีกา (Historic Centre of Riga) ยังได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นแหล่งมรดกโลกด้ว.

ใหม่!!: เขตผู้ว่าการลิโวเนียและรีกา · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์

นธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่ลงนามเมื่อวันที่ 3 มีนาคม..

ใหม่!!: เขตผู้ว่าการลิโวเนียและสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ใหม่!!: เขตผู้ว่าการลิโวเนียและจักรวรรดิรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ตาร์ตู

ตาร์ตู (Tartu) เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศเอสโตเนีย ตรงกันข้ามกับเมืองหลวง กรุงทาลลินน์ ที่เป็นเมืองทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศ ตาร์ตูถือว่าเป็นเมืองศูนย์กลางความรู้และวัฒนธรรม โดยเฉพาะมีมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ เมืองตั้งอยู่ห่างจากกรุงทาลลินน์ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 186 กม.

ใหม่!!: เขตผู้ว่าการลิโวเนียและตาร์ตู · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลัตเวีย

ลัตเวีย (Latvia; Latvija) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐลัตเวีย (Republic of Latvia; Latvijas Republika) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับอีก 2 รัฐบอลติก คือ เอสโตเนียทางทิศเหนือ และลิทัวเนียและเบลารุสทางทิศใต้ จดรัสเซียทางทิศตะวันออก ส่วนทางทิศตะวันตกนั้น ลัตเวียมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับสวีเดน กรุงรีกา เมืองหลวงของลัตเวียเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเมืองที่อยู่ในกลุ่มรัฐบอลติก.

ใหม่!!: เขตผู้ว่าการลิโวเนียและประเทศลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอสโตเนีย

อสโตเนีย (Estonia; Eesti) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเอสโตเนีย (Republic of Estonia; Eesti Vabariik) เป็นรัฐอธิปไตยในภูมิภาคบอลติก ในยุโรปเหนือ มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับอ่าวฟินแลนด์ ทิศตะวันตกติดกับทะเลบอลติก มีพรมแดนทางทิศใต้ติดกับประเทศลัตเวีย (ระยะทาง 343 กิโลเมตร) และทางทิศตะวันออกติดกับประเทศรัสเซีย (ระยะทาง 338.6 กิโลเมตร) เอสโตเนียมีพื้นที่ 45,227 ตารางกิโลเมตร (17,462 ตารางไมล์) (อันดับที่ 131 ของโลก) ประเทศเอสโตเนียปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเทศมณฑลจำนวน 15 เทศมณฑล โดยมีเมืองหลวงชื่อว่า ทาลลินน์ โดยเอสโตเนียมีจำนวนประชากรของประเทศที่น้อยที่สุดในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป เอสโตเนียประกาศเอกราชครั้งแรกในปีพ.ศ. 2461 ก่อนจะถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียต นาซีเยอรมนี และสหภาพโซเวียตอีกครั้งหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เอสโตเนียกลับมาเป็นรัฐเอกราชอีกครั้งหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ต่อมาเอสโตเนียก็เข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือและสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: เขตผู้ว่าการลิโวเนียและประเทศเอสโตเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ปาร์นู

ปาร์นู (Pärnu; Pernau, Parnawa, Pērnava) เป็นเมืองท่าทางทะเลของประเทศเอสโตเนีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ บนอ่าวปาร์นู เป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมท่องเที่ยวในฤดูร้อน มีรีสอร์ตและโรงแรม ร้านอาหาร และชายหาด หลายแห่ง ตั้งเป็นเมืองราวปี..

ใหม่!!: เขตผู้ว่าการลิโวเนียและปาร์นู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Governorate of LivoniaLivonia Governorate

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »