โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฮาเก้น-ดาส

ดัชนี ฮาเก้น-ดาส

ก้น-ดาส (Häagen-Dazs) คือเครื่องหมายการค้าไอศกรีม ก่อตั้งโดยรูเบน (Ruben) และโรส แมททัส (Rose Mattus) ที่เมืองเดอะบร็องซ์ รัฐนิวยอร์ก ในปี 1961 ฮาเก้น-ดาสเริ่มต้นขึ้นด้วยไอศกรีมเพียง 3 รสชาติ ได้แก่ รสวานิลลา ช็อคโกแลต และรสกาแฟ และบริษัท ฮาเก้น-ดาสก็ได้ เปิดตัวร้านขายปลีกร้านแรกขึ้นที่เมืองบรุกลิน รัฐนิวยอร์ก ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ปี..

18 ความสัมพันธ์: บรุกลินชาวยิวช็อกโกแลตกาแฟภาษาสวีเดนภาษาเดนมาร์กยูนิลีเวอร์รัฐนิวยอร์กวานิลลาสงครามโลกครั้งที่สององศาฟาเรนไฮต์ซันเดประเทศโปแลนด์ประเทศเดนมาร์กไอศกรีมไอศกรีมแท่งเดอะบร็องซ์เนสท์เล่

บรุกลิน

รุกลิน (Brooklyn ตั้งชื่อตามเมืองในเนเธอร์แลนด์ว่า Breukelen) เป็นหนึ่งใน 5 เบอโรในนครนิวยอร์ก ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของควีนส์ ทางปลายสุดของลองไอแลนด์ เป็นเมืองอิสระจนกระทั่งรวมกับนิวยอร์กในปี 1898 บรุกลินถือเป็นเบอโรที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของนิวยอร์กซิตี ด้วยจำนวนผู้อยู่อาศัย 2.5 ล้านคน และหากแยกเป็นเมืองแล้ว ถือว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและบรุกลิน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวยิว

ว (ภาษาฮิบรู: יהודים) หรือที่เรียกว่า ชาวยิว (Jewish people) เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่นๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4 ถึง 17.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

ช็อกโกแลต

็อกโกแลต ช็อกโกแลต (chocolate; ช็อก(กะ)เล็ต) คือผลิตผลที่ได้มาจากเมล็ดของต้นโกโก้เขตร้อน ช็อกโกแลตเป็นส่วนผสมของของหวานหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นไอศกรีม ลูกอม คุกกี้ เค้ก หรือว่าพาย ช็อกโกแลตถือได้ว่าเป็นของหวานอย่างหนึ่งที่ถูกใจคนทั่วโลก ช็อกโกแลตทำจากการหมัก คั่ว และบดอย่างละเอียดของเมล็ดโกโก้ซึ่งได้มาจากต้นโกโก้เขตร้อน (tropical cacao tree) ซึ่งมีต้นกำเนิดจากอเมริกากลางและเม็กซิโก ต้นโกโก้นั้นค้นพบโดยชาวอินเดียนแดงและชาวอัซเตก (Aztecs) แต่ในปัจจุบันได้แพร่กระจายและปลูกไปทั่วเขตร้อน เมล็ดของต้นโกโก้นั้นมีรสฝาดที่เข้มข้นมาก ผลผลิตของเมล็ดโกโก้รู้จักกันในนาม "ช็อกโกแลต" หรือบางส่วนของโลกในนาม "โกโก้" ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดโกโก้รู้จักภายใต้หลายชื่อที่แตกต่างกันไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก ในอเมริกา อุตสาหกรรมช็อกโกแลตได้จำกัดความไว้.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและช็อกโกแลต · ดูเพิ่มเติม »

กาแฟ

กาแฟดำ ซึ่งบรรจุในถ้วย กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดซึ่งได้จาก ต้นกาแฟ หรือมักเรียกว่า เมล็ดกาแฟ คั่ว มีการปลูกต้นกาแฟในมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก กาแฟเขียว (กาแฟซึ่งยังไม่ผ่านการคั่ว) เป็นหนึ่งในสินค้าทางการเกษตรซึ่งมีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก กาแฟมีส่วนประกอบของคาเฟอีน ทำให้มีสรรพคุณชูกำลังในมนุษย์ ปัจจุบันกาแฟเป็นเครื่องดื่มซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เป็นที่เชื่อกันว่าสรรพคุณชูกำลังจากเมล็ดของต้นกาแฟนั้นถูกพบเป็นครั้งแรกใน เยเมน แถบอาระเบีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือของ เอธิโอเปีย และการปลูกต้นกาแฟในสมัยแรกได้แพร่ขยายในโลกอาหรับ หลักฐานบันทึกว่าการดื่มกาแฟได้ปรากฏขึ้นราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อันเป็นหลักฐานซึ่งเชื่อถือได้และเก่าแก่ที่สุด ถูกพบในวิหาร ซูฟี ในเยเมน แถบอาระเบีย จาก โลกมุสลิม กาแฟได้แพร่ขยายไปยังทวีปยุโรป อินโดนีเซีย และทวีปอเมริกา ในระหว่างที่กาแฟเริ่มเดินทางจากทวีปอเมริกาเหนือและตะวันออกกลางสู่ทวีปยุโรป กาแฟได้ถูกส่งผ่านไปยังซิซิลีและอิตาลีในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากนั้นผ่านตุรกีไปยังกรีซ ฮังการี และออสเตรียในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากอิตาลีและออสเตรีย กาแฟได้แพร่ขยายไปยังส่วนที่เหลือของทวีปยุโรป กาแฟได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมหลายแห่งตลอดประวัติศาสตร์ ในแอฟริกาและเยเมน มันถูกใช้ร่วมกับพิธีกรรมทางศาสนา ผลที่ตามมาคือ ศาสนจักรเอธิโอเปีย ได้สั่งห้ามการบริโภคกาแฟตลอดกาล จนกระทั่งถึงรัชสมัยของ จักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 มันยังได้ถูกห้ามใน จักรวรรดิออตโตมันระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องจากสาเหตุทางการเมือง และมีส่วนเกี่ยวพันกับกิจกรรมทางการเมืองหัวรุนแรงในทวีปยุโรป ผลกาแฟ ซึ่งบรรจุเมล็ดกาแฟ เป็นผลผลิตจากไม้พุ่มไม่ผลัดใบขนาดเล็กใน จีนัส Coffea หลายสปีชีส์ โดยสายพันธุ์ที่มีการปลูกโดยทั่วไปมากที่สุด ได้แก่ Coffea arabica และกาแฟ "โรบัสต้า" ที่ได้จากชนิด Coffea canephora ซึ่งมีรสเข้มกว่า สายพันธุ์ดังกล่าวมีความทนทานต่อราสนิมใบกาแฟ (Hemileia vastatrix) ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง สายพันธุ์กาแฟทั้งคู่มีการปลูกในละตินอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปแอฟริกา เมื่อสุกแล้ว ผลดังกล่าวจะถูกเก็บรวบรวม นำไปผ่านกรรมวิธีและทำให้แห้ง หลังจากนั้น เมล็ดจะถูกคั่วในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรสชาติที่ต้องการ และจะถูกบดและบ่มเพื่อผลิตกาแฟ กาแฟสามารถตระเตรียมและนำเสนอได้ในหลายวิธี กาแฟเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของโลก โดยในปี คริสต์ศักราช 2004 กาแฟเป็นสินค้าการเกษตรส่งออกที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งในจำนวน 12 ประเทศ และเป็นพืชที่มีการส่งออกอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก ในปี คริสต์ศักราช 2005 กาแฟได้รับการโต้เถียงบางส่วนในด้านการเพาะปลูกต้นกาแฟและผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และมีการศึกษาจำนวนมากที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกาแฟกับข้อจำกัดทางยาอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ากาแฟให้คุณหรือให้โทษกันแน.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและกาแฟ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสวีเดน

แผนที่แสดงบริเวณที่มีผู้พูดภาษาสวีเดน ภาษาสวีเดน (svenska) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกเหนือ (หรือภาษาสแกนดิเนเวีย) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก สาขาของภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ภาษาสวีเดนเป็นภาษาราชการภาษาเดียวของสวีเดน เป็นภาษาราชการหนึ่งในสองภาษาของฟินแลนด์ (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาฟินแลนด์) และเป็นภาษาราชการภาษาเดียวของหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งเป็นเขตการปกครองตนเองของฟินแลนด์ ภาษาสวีเดนสามารถใช้แทนกันกับภาษาสแกนดิเนเวียอีก 2 ภาษาคือ ภาษาเดนมาร์ก และภาษานอร์เวย์ ภาษาสวีเดนมาตรฐาน เป็นภาษาประจำชาติที่วิวัฒนาการมาจากภาษาย่อยของสวีเดนกลางในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และมีความมั่นคงในช่วงตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในขณะที่ภาษาย่อยตามภูมิภาคที่สืบมาจากภาษาพื้นเมืองในชนบทยังคงมีอยู่ ภาษาพูดและ ภาษาเขียน มีมาตรฐาน และมีอัตราความสามารถในการอ่านและเขียน 99% ในกลุ่มผู้ใหญ่ ภาษาพื้นเมืองบางภาษาต่างจากภาษามาตรฐานทั้งเรื่องไวยากรณ์และคำศัพท์ และไม่สามารถเข้าใจกับภาษาสวีเดนมาตรฐานได้เสมอไป ภาษาพื้นเมืองเหล่านี้จะจำกัดเฉพาะพื้นที่ชนบทและส่วนใหญ่คนพูดเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีความเคลื่อนไหวทางสังคมต่ำ ถึงแม้ว่าจะไม่สูญพันธุ์ในเร็ว ๆ นี้ ภาษาพื้นเมืองเหล่านี้ได้ถดถอยในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะมีการวิจัยเป้นอย่างดี และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นส่งเสริมการใช้ ภาษาสวีเดนมีลักษณะเด่นในเรื่องฉันทลักษณ์ ซึ่งจะแตกต่างกันตามชนิดต่าง ๆ มีทั้งเสียงเน้นที่ต่างกันตามแต่ละคำ และ เสียงวรรณยุกต์ ภาษาสวีเดนมีเสียงสระค่อนข้างมาก โดยที่มีเสียงสระถึง 9 เสียงที่ต่างกันด้วยความยาว และลักษณะเสียง ทำให้มีหน่วยเสียงสระ (vowel phoneme) ถึง 17 หน่วย นอกจากนี้ ภาษาสวีเดนยังมีเสียง voiceless dorso-palatal velar fricative ซึ่งสามารถพบได้ในภาษาพื้นเมืองหลายภาษา รวมถึงภาษามาตรฐานชั้นสูง และไม่ปรากฏในภาษาอื่น.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและภาษาสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเดนมาร์ก

ษาเดนมาร์ก (dansk แดนฺสฺก) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกเหนือ(หรือภาษาสแกนดิเนเวีย) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก สาขาของภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ภาษาเดนมาร์กเป็นภาษาราชการภาษาเดียวของเดนมาร์ก และเป็นภาษาราชการหนึ่งในสองภาษาของเกาะกรีนแลนด์และหมู่เกาะแฟโร ซึ่งมีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก นอกจากนี้ภาษาเดนมาร์กยังพูดกันในหมู่ชนกลุ่มน้อยทางตอนเหนือของประเทศเยอรมนี ในประเทศไอซ์แลนด์ ภาษาเดนมาร์กเป็นภาษาต่างประเทศภาษาที่สอง(ต่อจากภาษาอังกฤษ)ที่มีการเรียนการสอนกันในสถาบันการศึกษาแพร่หลายที.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและภาษาเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิลีเวอร์

ูนิลีเวอร์ (Unilever) เป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นผู้ผลิตอาหาร เครื่องดื่ม ผงซักฟอก และสินค้าเพื่อสุขอนามัยส่วนบุคคล เป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่มียอดขายสูงสุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล มียอดขาย 44.3 พันล้านยูโร ในปี 2010 ยูนิลีเวอร์เป็นบริษัทข้ามชาติสัญชาติอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ โดยเกิดจากการควบรวมกิจการของบริษัทลีเวอร์บราเธอร์ ผู้ผลิตสบู่สัญชาติอังกฤษ และบริษัทมาร์การีน ยูนี ผู้ผลิตเนยเทียมสัญชาติเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี ค.ศ. 1930 ปัจจุบันยูนิลีเวอร์เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แบบสองตลาด โดยมีสำนักงานใหญ่ที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร ใช้ชื่อว่า ยูนิลีเวอร์ พีแอลซี (Unilever PLC) และสำนักงานใหญ่ที่รอตเทอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้ชื่อว่า ยูนิลีเวอร์ เอ็น.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและยูนิลีเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนิวยอร์ก

รัฐนิวยอร์ก (New York) เป็นรัฐที่อยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา เป็นรัฐที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากรัฐแคลิฟอร์เนีย และรัฐเทกซัส รัฐนิวยอร์กอาณาเขตติดต่อกับ รัฐเวอร์มอนต์ รัฐคอนเนตทิคัต รัฐแมสซาชูเซตส์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ รัฐโรดไอแลนด์ และ รัฐเพนซิลเวเนีย และในทิศเหนือติดต่อกับประเทศแคนาดา กับรัฐควิเบกและรัฐออนแทรีโอ เมืองขนาดใหญ่ในรัฐนิวยอร์กได้แก่ นครนิวยอร์ก (ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ) บัฟฟาโล รอเชสเตอร์ ยังเกอรส์ และ ซีราคิวส์ ในขณะที่เมืองหลวงของรัฐคือ ออลบานี สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงได้แก่ น้ำตกไนแอการา และในเขตนครนิวยอร์ก.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและรัฐนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

วานิลลา

ฝักวานิลลา วานิลลา (vanilla) เป็นกลิ่นที่ได้จากฝักของกล้วยไม้สกุล Vanilla ต้นกำเนิดจากเม็กซิโก ชื่อวานิลลามาจากคำในภาษาสเปนว่า "ไบย์นียา" (vainilla) ซึ่งแปลว่า ฝักเล็ก ๆ วานิลลามักถูกนำมาใช้แต่งกลิ่นในการทำอาหารประเภทของหวานและไอศกรีม การใช้วานิลลาในการประกอบอาหารทำโดยกรีดฝักวานิลลาออกและขูดนำเอาเมล็ดในฝักไปใช้ประกอบอาหาร หรือนำทั้งฝักไปต้มน้ำและช้อนออก วานิลลาแท้มีราคาสูงมาก จึงทำให้มีการประดิษฐ์กลิ่นวานิลลาสังเคราะห์ที่ราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามกลิ่นที่ได้จากวานิลลาสังเคราะห์มีความเข้มของกลิ่นไม่เท่ากับของจริง ประเทศผู้ผลิตวานิลลาที่ใหญ่ที่สุดคือ มาดากัสการ.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและวานิลลา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

องศาฟาเรนไฮต์

Countries that use Celsius. องศาฟาเรนไฮต์ คือชนิดสเกลค่าวัดอุณหภูมิชนิดหนึ่ง ที่ถูกตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน กาเบรียล ฟาเรนไฮต์ (1686-1736) โดยที่ค่าสเกลองศาฟาเรนไฮต์นี้ มีจุดเยือกแข็งอยู่ที่ 32 องศาฟาเรนไฮต์ โดยปกติจะเขียนว่า 32 °F และมีจุดเดือดที่ 212 องศาฟาเรนไฮต์ โดยที่มีระยะห่างระหว่างจุดเยือกแข็งกับจุดเดือดของน้ำคือ 180 องศา โดยที่ 1 องศาในสเกลองศาฟาเรนไฮต์นี้ มีค่าเท่ากับ 5/9 ของ 1 เคลวิน (ซึ่งก็คือ 1 องศาเซลเซียส) และที่ลบ 40 องศาฟาเรนไฮต์เท่ากับติดลบ 40 องศาเซลเซี.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและองศาฟาเรนไฮต์ · ดูเพิ่มเติม »

ซันเด

ซันเด (Sundae) เป็นไอศกรีมจำนวนตั้งแต่หนึ่งลูกหรือมากกว่า ราดด้วยน้ำเชื่อมและมีเครื่องโรยหน้าวางอยู่ข้างบน เช่น สปริงเคิลส์, วิปครีม, ถั่วลิสง, เชอร์รีมารัสชิโน หรืออาจจะเป็นผลไม้ เช่น กล้วย หรือ สับปะรด หลักฐานที่มาของซันเดตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด ยังไม่แน่ชัด อย่างไรก็ดี ในภาษาอังกฤษใช้คำสะกดว่า "sundae" ซึ่งคล้ายกับคำว่า "sunday" ที่แปลว่าวันอาทิต.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและซันเด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเดนมาร์ก

นมาร์ก (Denmark; แดนมาก) (Danmark) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิก มีแผ่นดินหลักตั้งอยู่บนคาบสมุทรจัตแลนด์ ทางทิศเหนือของประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางบกเพียงประเทศเดียว ทางทิศใต้ของประเทศนอร์เวย์ และตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสวีเดน มีพรมแดนจรดทะเลเหนือและทะเลบอลติก เดนมาร์กมีดินแดนนอกชายฝั่งห่างไกลออกไปสองแห่ง คือหมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ ซึ่งแต่ละแห่งมีอำนาจปกครองตนเอง เดนมาร์กเป็นประเทศองค์ประกอบที่มีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป แต่ยังไม่เข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโร เดนมาร์กเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและประเทศเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ไอศกรีม

อศกรีมแบล็กวอลนัต ไอศกรีม (ice cream) หรือภาษาปากว่า ไอติม เป็นของหวานแช่แข็งชนิดหนึ่ง ได้จากการผสมส่วนผสม นำไปผ่านการฆ่าเชื้อ แล้วนั้นนำไปปั่นในที่เย็นจัด เพื่อเติมอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับการลดอุณหภูมิ โดยอาศัยเครื่องปั่นไอศกรีม ไอศกรีมตักโดยทั่วไปจะต้องผ่านขั้นตอนการแช่เยือกแข็งอีกครั้งก่อนนำมาขายหรือรับประทาน ไอศกรีม (อ่านว่า ไอ-สะ-กฺรีม) มาจากคำภาษาอังกฤษว่า ice-cream   พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้เขียนเป็นภาษาไทยว่า ไอศกรีม ซึ่งเป็นคำที่เขียนกันมาแต่เดิม.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและไอศกรีม · ดูเพิ่มเติม »

ไอศกรีมแท่ง

250px thumb ไอศกรีมแท่ง หรือภาษาปากว่า ไอติมแท่ง เป็นน้ำหวาน ซึ่งมักเจือสีสังเคราะห์ และแช่ให้แข็งเป็นแท่งพร้อมด้ามสำหรับถือรับประทานได้ ด้ามเช่นว่านั้นอาจเป็นไม้หรือวัสดุอื่น เช่น พลาสติก และที่ปราศจากด้ามเลยก็มี เช่น เสียบในซองพลาสติก (plastic sleeve) แทน.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและไอศกรีมแท่ง · ดูเพิ่มเติม »

เดอะบร็องซ์

แผนที่นครนิวยอร์ก โดยสีเหลืองเป็นเดอะบร็องซ์ เดอะบร็องซ์ หรือเรียกย่อว่า บร็องซ์ (The Bronx) เป็นหนึ่งในเบอโรในนครนิวยอร์ก ตั้งอยู่ในเคาน์ตีบร็องซ์ โดยเดอะบร็องซ์ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของเมือง และเป็นเบอโรเดียวของนครนิวยอร์กที่ไม่ได้อยู่บนเกาะ บร็องซ์มีประชากรประมาณ 1.35 ล้านคน ดนตรีฮิปฮอปถือกำเนิดขึ้นในส่วนทางใต้ของเดอะบร็องซ์ในช่วง คริสต์ทศวรรษ 1970 โดยคำว่า "ฮิปฮอป" จะมีชื่อเล่นว่า "เดอะบูกกีดาวน์บร็องซ์" ชื่อของเบอโรจะใช้ชื่อคำว่า "เดอะบร็องซ์" ในขณะที่ชื่อของเคาน์ตีจะใช้เพียงแค่ว่า "บร็องซ์" บร็องซ์คือที่ตั้งของ Yankees Stadium สนามของทีมเบสบอลที่ดังที่สุดในอเมริกาและเป็นเจ้าของหมวก NY ที่ดังไปทั่วโลก หมวดหมู่:นครนิวยอร์ก หมวดหมู่:เดอะบร็องซ์.

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและเดอะบร็องซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เนสท์เล่

ตราสัญลักษณ์ของเนสท์เล่ เนสท์เล่ (Nestlé) เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านโภชนาการและสุขภาพ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ฮาเก้น-ดาสและเนสท์เล่ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ฮาเกน-ดาซส์ฮาเก้น ดาส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »