เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ฮวัง กโย-อัน

ดัชนี ฮวัง กโย-อัน

วัง กโย-อัน (15 เมษายน 2500) เป็นอดีตรักษาการประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีประเทศเกาหลีใต้ และนักกฎหมาย ฮวังได้ขึ้นดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดี หลังรัฐสภาเกาหลีใต้ถอดถอนพัก กึน-ฮเย ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2559 ทำให้อำนาจบริหารทั้งหมดถูกถ่ายโอนให้กับฮวังตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ มาตรา 71 และในวันที่ 10 มีนาคม 2560 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับรองการถอดถอนพักออกจากตำแหน่ง มีข้อส้งเกตจากนักวิเคราะห์การเมืองของเกาหลีใต้หลายคนมองว่า ฮวัง ไม่น่าจะขึ้นมาเป็นผู้สมัครในการเลือกตั้งที่จะมาถึงได้ เนื่องจากเขาใกล้ชิดกับรัฐบาลของพักมากเกินไป เนื่องจากในช่วงที่รัฐสภาถอดถอนอดีตประธานาธิบดีพัก ฮวังเป็นสมาชิกระดับสูงเพียงไม่กี่คนในคณะรัฐบาลที่ออกมาปกป้องเธอจากข้อครหาเรื่องการคอร์รัปชั่น และในที่สุดฮวังประกาศว่าตนจะไม่ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงเดือน พฤษภาคม 2560 และเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2560 เขาได้สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่รักษาการประธานาธิบดีหลังจาก มุน แจ-อิน ชนะเลือกตั้งและได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันดังกล่าว ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดี มีเหตุการณ์ที่ตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลีเหนือ และในช่วงกลางเดือน เมษายน..

สารบัญ

  1. 13 ความสัมพันธ์: ช็อง ฮง-ว็อนพัก กึน-ฮเยมุน แจ-อินยู อิล-โฮรองประธานาธิบดีสหรัฐประธานาธิบดีเกาหลีใต้ประเทศเกาหลีใต้นักการเมืองอิสระนิติศาสตรบัณฑิตแบปทิสต์โซลเดอะสเตรตส์ไทมส์เนติบัณฑิต

  2. นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้
  3. ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยซ็องกยุงกวัน

ช็อง ฮง-ว็อน

็อง ฮง-ว็อน (เกิด 9 ตุลาคม ค.ศ. 1944) เป็นนายกรัฐมนตรีประเทศเกาหลีใต้ เริ่มดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพัน..

ดู ฮวัง กโย-อันและช็อง ฮง-ว็อน

พัก กึน-ฮเย

ัก กึน-ฮเย (Park Geun-hye;; เกิด 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495) เป็นนักโทษ และ อดีตประธานาธิบดีคนที่ 11 ของสาธารณรัฐเกาหลี พักเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ถูกถอดถอนจากการปฏิบัติหน้าที่โดยรัฐสภาและการรับรองโดยศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ ส่งผลให้นาย ฮวัง กโย-อัน นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเกาหลีเป็นรักษาการประธานาธิบดีเกาหลีใต้ พักเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ และเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของประเทศในภูมิภาคเอชียตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นประมุขหญิงของรัฐในภูมิภาคประเทศเอเชียตะวันออกลำดับที่สามต่อจากมาดามชุคบาตาร์ แห่งมองโกเลียและซ่ง ชิ่งหลิง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อนดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี พักดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแกรนด์เนชั่นแนล (จีเอ็นพี) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองอนุรักษ์นิยมของเกาหลีใต้ ตั้งแต่ปี..

ดู ฮวัง กโย-อันและพัก กึน-ฮเย

มุน แจ-อิน

มุน แจ-อิน (เกิด 24 มกราคม พ.ศ. 2496) เป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน พรรคมินจู ตั้งแต่ปี..

ดู ฮวัง กโย-อันและมุน แจ-อิน

ยู อิล-โฮ

ู อิล-โฮ (เกิด 30 มีนาคม ค.ศ. 1955) เป็นนักการเมืองชาวเกาหลีใต้ เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ หลังจากฮวัง กโย-อัน ลาออกเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม..

ดู ฮวัง กโย-อันและยู อิล-โฮ

รองประธานาธิบดีสหรัฐ

รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (Vice President of the United States; ย่อ: VPOTUS) เป็นบุคคลแรกภายใต้โครงสร้างการบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐ และจะได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีเมื่อประธานาธิบดีคนปัจจุบันถึงแก่อสัญกรรม ลาออกหรือถูกถอดถอนจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญสหรัฐนั้น รองประธานาธิบดียังได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานวุฒิสภาอีกด้วย แต่จะไม่มีอำนาจในการลงมติ เว้นแต่เพื่อการชี้ขาดในกรณีคะแนนเสียงเท่ากัน รองประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐภายใต้การนำของประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ คือนาย ไมก์ เพนซ์ ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ รายนามรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ ส หมวดหมู่:รองประธานาธิบดีสหรัฐ หมวดหมู่:คณะรัฐมนตรีสหรัฐ.

ดู ฮวัง กโย-อันและรองประธานาธิบดีสหรัฐ

ประธานาธิบดีเกาหลีใต้

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (대한민국의 대통령; 大韓民國大統領) ตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ประธานาธิบดีเป็นประมุขฝ่ายบริหาร, ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและประมุขแห่งรัฐของสาธารณรัฐเกาหลี ในรัฐธรรมนูญและรัฐบัญญัติการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2530 ได้จัดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นการเลือกตั้งแบบทางตรงโดยการลงคะแนนลับ ถือเป็นการสิ้นสุดการเลือกตั้งประธานาธิบดีทางอ้อม 16 ปีก่อนหน้านั้นใน 2 รัฐบาลก่อน โดยประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยทางตรงจะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีและไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้อีก ถ้าตำแหน่งประธานาธิบดีว่างลง จะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน ในระหว่างนี้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีอาวุโสอื่นในคณะรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่รักษาการประธานาธิบดี ซึ่งเป็นการรักษาการตามกฎหมาย ในขณะที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจะอาศัยอยู่ในทำเนียบสีน้ำเงิน (청와대; 靑瓦臺) และได้รับการยกเว้นจากความรับผิดทางอาญา ยกเว้นความผิดเกี่ยวกับการจลาจลหรือเป็นกบฏ ปัจจุบัน มุน แจ-อิน เป็นประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ ได้เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งในวันที่ 10 พฤษภาคม 2560 ซึ่งเป็นการเข้ารับตำแหน่งอย่างเรียบง่ายและรวดเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดสูญญากาศทางการเมืองระหว่างประเทศที่กำลังตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีและการเมืองภายใน ในปัจจุบัน.

ดู ฮวัง กโย-อันและประธานาธิบดีเกาหลีใต้

ประเทศเกาหลีใต้

รณรัฐเกาหลี (Republic of Korea; 대한민국 (ฮันกึล); 大韓民國 (ฮันจา)) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เกาหลีใต้ (South Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พรมแดนทางเหนือติดกับประเทศเกาหลีเหนือ มีประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีทะเลญี่ปุ่นและช่องแคบเกาหลีกั้นไว้ ในภาษาเกาหลีอ่านชื่อประเทศว่า แทฮันมินกุก (대한민국; 大韓民國) โดยเรียกสั้น ๆ ว่า ฮันกุก (한국) ที่หมายถึงเกาหลี และบางครั้งจะใช้ชื่อว่า นัมฮัน (남한) ที่หมายถึง เกาหลีทางใต้ ส่วนชาวเกาหลีเหนือจะเรียกเกาหลีใต้ว่า นัมโชซ็อน (남조선) ที่หมายถึง โชซ็อนใต้.

ดู ฮวัง กโย-อันและประเทศเกาหลีใต้

นักการเมืองอิสระ

นักการเมืองอิสระ หมายถึงนักการเมืองที่ไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง นักการเมืองอิสระในบางประเทศก็ไม่มีบทบาทมากนัก เพราะประชาชนโดยมากมักจะเลือกนักการเมืองที่สังกัดพรรคการเมืองใหญ่ แต่ในบางประเทศนักการเมืองอิสระก็ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญอย่าง ประธานาธิบดี เช่น เยอรมนี ไอซ์แลนด์ คอซอวอ อิตาลี รัสเซีย ปัจจุบันยังมีนักการเมืองอิสระเป็นสมาชิกรัฐสภาในหลายประเท.

ดู ฮวัง กโย-อันและนักการเมืองอิสระ

นิติศาสตรบัณฑิต

นิติศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Laws; Legum Baccalaureus) หรือย่อว่า น.. (LL.B., LL.) เป็นปริญญาระดับบัณฑิตทางนิติศาสตร์ซึ่งกำเนิดในประเทศอังกฤษ และประเทศที่ใช้กฎหมายระบบคอมมอนลอว์มักให้เป็นปริญญาชั้นแรกในทางนิติศาสตร์ ก่อนจะถึงนิติศาสตรมหาบัณฑิตและนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตตามลำดับJohn H.

ดู ฮวัง กโย-อันและนิติศาสตรบัณฑิต

แบปทิสต์

นิกายแบปทิสต์ (ศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน) หรือ แบ๊บติสต์ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Baptists) เป็นนิกายในศาสนาคริสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์ ชื่อของนิกายนี้มาจากหลักปฏิบัติที่ปฏิเสธการทำพิธีบัพติศมาแก่ทารก แต่ยอมรับเฉพาะพิธีบัพติศมาแก่ผู้เชื่อเท่านั้น คณะแบปทิสต์กำเนิดขึ้นในระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ในประเทศอังกฤษราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วยุโรปเหนือ และทวีปอื่น ๆ ตามลำดับ ในปี..

ดู ฮวัง กโย-อันและแบปทิสต์

โซล

ซล (ซออุล) ชื่ออย่างเป็นทางการ นครพิเศษโซล เป็นเมืองหลวงและมหานครที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน เป็นปริมณฑลที่ใหญ่ มีประชากรประมาณ 25 ล้านคนซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งประกอบด้วยบริเวณมหานครอินช็อนและจังหวัดคย็องกี เกือบหนึ่งในสี่ของประชากรชาวเกาหลีใต้อาศัยอยู่ในโซลและชาวต่างชาติอีกประมาณ 275, 000 คน นครโซลได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ระดับหลายเหตุการณ์ โดยการใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเพิ่มอิทธิพลในฐานะประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติมากเป็นอันดับที่ 5 ในปี 2553 โซลได้รับการโหวตให้เป็นเป้าหมายยอดนิยมในการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวจีน, ญี่ปุ่นและไทย 3 ปีต่อเนื่องกันในปี 2554 สถานีรถไฟโซลเป็นสถานีปลายทางหลักของรถไฟความเร็วสูงเคทีเอ๊กซ์และสถานีรถไฟใต้ดินโซลยังเป็นสถานีที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอับดับที่สองของโลกโดยมีลักษณะเป็นสายวงรอบที่ยาวที่สุดและและมีเส้นทางรถไฟไต้ดินจนสุดสายที่ยาวเป็นอับดับที่สองของโลก โซลนั้นได้รวมระบบขนส่งมวลชนเข้ากับเมืองอินช็อนและจังหวัดคย็องกี โดยสามารถให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟไต้ดินได้อย่างอิสระโดยใช้บัตรที-มันนี่และเชื่อมต่อโดยทางเอเร็กซ์เพื่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ซึ่งถูกจัดเป็นสนามบินยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี 2548 โดยสภาการท่าอากาศยานนานาชาติ โซลเคยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 1986, โอลิมปิกฤดูร้อน 1988, ฟุตบอลโลก 2002 และการประชุมสุดยอด จี-20 2010 โซลได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการออกแบบในปี 2553 โดยสมาคมออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาต.

ดู ฮวัง กโย-อันและโซล

เดอะสเตรตส์ไทมส์

อะสเตรตส์ไทมส์ (The Straits Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษของประเทศสิงคโปร์ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในสิงคโปร์ วันละ 400,000 ฉบับ ฉบับวันอาทิตย์ใช้ชื่อว่า เดอะซันเดย์ไทมส์ ปัจจุบันเดอะสเตรตส์ไทมส์เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท สิงคโปร์เพรสโฮลดิงส์ เดอะสเตรตส์ไทมส์ก่อตั้งขึ้นในปี..

ดู ฮวัง กโย-อันและเดอะสเตรตส์ไทมส์

เนติบัณฑิต

ียนเนติบัณฑิตชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 19 เนติบัณฑิต (barrister, barrister-at-law, หรือ bar-at-law) เป็นนักกฎหมาย (lawyer) ประเภทหนึ่งในเขตอำนาจคอมมอนลอว์ ซึ่งส่วนใหญ่เชี่ยวชาญการว่าความและดำเนินคดีในโรงศาล ปฏิบัติงานเป็นต้นว่า ฟ้องและอุทธรณ์คดี ร่างเอกสารทางกฎหมาย วิจัยทางนิติศาสตร์ นิติปรัชญา หรือนิติประวัติศาสตร์ และให้ความเห็นทางกฎหมาย อนึ่ง ยังมักถือเป็นนักนิติศาสตร์ (jurist) ด้วย ในเขตอำนาจคอมมอนลอว์ เนติบัณฑิตต่างจากทนายความที่ปรึกษา (solicitor) ซึ่งเข้าถึงลูกความได้โดยตรงกว่า และมักดำเนินงานประเภทธุรกรรมทางกฎหมาย ขณะที่เนติบัณฑิตมักได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการ และน้อยครั้งที่จะรับว่าจ้างจากลูกความโดยตรง ในระบบกฎหมายบางอย่าง เช่น ของสกอตแลนด์ อเมริกาใต้ สแกนดิเนเวีย ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ เจอร์ซีย์ เกิร์นซีย์ และไอล์ออฟแมน ยังใช้คำว่า เนติบัณฑิต เป็นคำนำหน้าชื่อด้วย ในบางเขตอำนาจ มีการห้ามเนติบัณฑิตดำเนินคดี และกำหนดให้ต้องปฏิบัติงานตามคำสั่งของทนายที่ปรึกษาอาวุโสเท่านั้น โดยทนายความที่ปรึกษาจะรับหน้าที่ประสานระหว่างคู่ความและศาล รวมถึงจัดทำเอกสารทางศาล ส่วนในอังกฤษและเวลส์ เนติบัณฑิตอาจได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการมาตรฐานเนติบัณฑิตยสภา (Bar Standards Board) ให้ดำเนินคดีได้ การอนุญาตเช่นนี้ทำให้เนติบัณฑิตมีบทบาทซ้อนสอง คือ เป็นทั้งเนติบัณฑิตและทนายความ ในบางประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ เช่น นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย นักกฎหมายสามารถเป็นได้เนติบัณฑิตและทนายความ แต่คุณสมบัติสำหรับเนติบัณฑิตจะแยกต่างจากสำหรับทนายความ.

ดู ฮวัง กโย-อันและเนติบัณฑิต

ดูเพิ่มเติม

นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้

ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยซ็องกยุงกวัน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Hwang Kyo-ahnฮวาง เคียว อัน