โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อ

ดัชนี อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อ

อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทางภาคเหนือของไทย มีเนื้อที่ประมาณ 305,000 ไร่ (ประมาณ 511 ตารางกิโลเมตร หรือ 200 ตารางไมล์) ลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวเทือกเขาแดนลาวสลับเป็นลูกคลื่นต่อเนื่องไปจนจรดชายแดนไทย–พม่าทางด้านทิศเหนือ ด้วยภูมิประเทศที่ติดต่อกับแนวป่าในประเทศพม่า ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำทำให้มีน้ำตกหลายสายที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากมาย สิ่งที่น่าสนใจได้แก่ ถ้ำปลา ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยผา ตำบลห้วยผา ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร สามารถเดินทางไปชมได้ทุกฤดูกาล บริเวณโดยรอบเป็นลำธารและป่าเขา ถ้ำปลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขามีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่กว้างประมาณ 2 เมตร ลึก 1.50 เมตร ภายในแอ่งน้ำมีน้ำไหลออกจากถ้ำใต้ภูเขาอยู่ตลอดเวลา และมีปลาขนาดใหญ่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก คือ ปลาพลวงหิน หรือปลามุง หรือปลาคัง ซึ่งเป็นปลาที่มีเกล็ดขนาดใหญ่ในวงศ์เดียวกันกับปลาคาร์ป และถึงแม้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครจับไปรับประทานหรือทำอันตราย เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า หากใครนำไปรับประทานแล้วจะต้องมีอันเป็นไป โดยภายในถ้ำมีรูปปั้นฤๅษีอยู่เป็นเทพารักษ์ผู้ปกปักรักษาถ้ำและปลา นอกจากนี้แล้วยังมีปลาชนิดอื่น ๆ เช่น ปลากระแห, ปลาช่อนงูเห่า อีกสถานที่หนึ่งคือ น้ำตกผาเสื่อ เป็นน้ำตกที่ไหลมาจากน้ำตกแม่สะงาในพม่า เป็นน้ำตกขนาดกลางสูงประมาณ 10 เมตร กว้าง 15 เมตรในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำไหลเต็มหน้าผากว้างทำให้ดูมีรูปร่างคล้ายเสื่อปูลาด จึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตกผาเสื่อส่วนในฤดูแล้งจะมีน้ำน้อย แต่ก็มีถือว่าเป็นน้ำตกที่มีน้ำตลอดปี แม้จะสามารถมองเห็นหินที่สวยงามเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจแต่ทางอุทยานไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำเพราะน้ำค่อนข้างเชี่ยวและเป็นเหวลึกช่วงที่เหมาะสมจะไปท่องเที่ยวคือเดือนกรกฎาคม–กันยายน น้ำตกผาเสื่อตั้งอยู่ในเขตตำบลหมอกจำแป่ ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 26 กิโลเมตร นอกจากนี้แล้วยังมีพรรณไม้ต่าง ๆ รวมถึงสัตว์ป่าต่าง ๆ เช่น กระทิง, เลียงผา, เก้ง, ชะมด, หมูป่า, เหยี่ยว และนกปรอ.

20 ความสัมพันธ์: ชะมดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชกระทิงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยวงศ์ปลาตะเพียนหมูป่าอำเภอปางมะผ้าอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนอุทยานแห่งชาติอุทยานแห่งชาติในประเทศไทยจังหวัดแม่ฮ่องสอนทิวเขาแดนลาวประเทศไทยปลาช่อนงูเห่าปลาพลวงหินปลากระแหนกปรอดเก้งเลียงผาเหยี่ยว

ชะมด

ัตว์จำพวกชะมดและอีเห็นหลายชนิด (จากซ้ายไปขวา คือ สกุล ''Paradoxurus'', ''Genetta'', ''Paguma'' และ ''Arctictis'') ชะมด หรือ เห็นอ้ม ในภาษาอีสาน (civet) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Viverridae (ในอดีตเคยจัดให้พังพอนอยู่ในวงศ์นี้ด้วย) โดยคำว่า "ชะมด" ในภาษาไทย สันนิษฐานว่ามาจากคำในภาษาอาหรับว่า "อัซซะบาด" (الزباد) ชะมดมีรูปร่างโดยรวม คือ ใบหน้าแหลม รูปร่างเพรียว ตัวมีสีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง สามารถยืดหดเล็บได้เหมือนแมว มักออกหากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศได้หลากหลาย โดยสามารถอาศัยอยู่ในชายป่าใกล้ชุมชนหรือแหล่งเกษตรกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำคล้ายนากด้วยในบางชนิดVeron, G., Gaubert, P., Franklin, N., Jennings, A. P. and Grassman Jr., L. I. (2006).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและชะมด · ดูเพิ่มเติม »

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช · ดูเพิ่มเติม »

กระทิง

กระทิง หรือ เมย เป็นวัวป่าชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและกระทิง · ดูเพิ่มเติม »

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (Tourism Authority of Thailand, ชื่อย่อ: ททท., TAT) เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีภารกิจในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไท.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

หมูป่า

หมูป่า เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ เป็นต้นสายพันธุ์ของหมูบ้านในปัจจุบัน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและหมูป่า · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอปางมะผ้า

อำเภอปางมะผ้า เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่บริเวณเหนือสุดของจังหวัด ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี..

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและอำเภอปางมะผ้า · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน

อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน (100px; မိူင်းမႄႈႁွင်ႈသွၼ်) เป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน และศูนย์ราชการของจังหวั.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติ

วามหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย ความหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย นิยาม อุทยานแห่งชาติ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน..๒๕๕๔ ให้นิยามไว้ดังนี้ คำว่าอุทยานแห่งชาติ คือกฏหมายที่ประกาศ โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในราชอาณาจักรไทยที่เป็นของราชการมิใช่พื้นที่ครอบครองของผุ้หนึ่งผู้ใดมาก่อนให้สงวนรักษาไว้ให้คงสภาพเดิมเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า "National Park" ซึ่งหมายถึง เขตบริเวณพื้นที่ซึ่งสงวน ไว้เพื่อที่จะรักษา และทำการคุ้มครองทรัยากรทางธรรมชาติ นั้นๆ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงไป ตามหลักสากลแล้ว อุทยานแห่งชาตินั้นจะต้องมีพื้นที่ ทั่วทั้งบริเวณไม่น้อยกว่า 6,250 ไร่ หรือประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร ที่สำคัญในพื้นที่ ของอุทยานแห่งชาตินั้นจะต้องมี ธรรมชาติของ วิวทิวทัศน์ที่สวยงาม.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและอุทยานแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย

น้ำตกเหวสุวัต อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย เกิดขึ้นจากพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาต..

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและอุทยานแห่งชาติในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ังหวัดแม่ฮ่องสอน (60px; 80px) เป็นจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย มีความโดดเด่นหลายลักษณะ โดยเฉพาะสภาพภูมิประเทศ ความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และความหลากหลายของประชากรจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ นับเป็นจังหวัดที่สถิติน่าสนใจหลายอย่าง เช่น มีประชากรเบาบางที่สุดในประเทศ และมีประชากรน้อยมากเป็นอันดับ 5 ในขณะที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 8 ของประเทศ แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่าเป็น เมืองสามหมอก เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพอากาศมีหมอกปกคลุมตลอดเวลาส่วนใหญ่ของปี นอกจากนี้แม่ฮ่องสอนยังนับเป็นพื้นที่ปลายสุดด้านตะวันตกของประเทศ คือที่เส้นแวง 97.5 องศาตะวันออกในเขตอำเภอแม่สะเรียง (ตะวันออกสุดของประเทศ อยู่ที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่ 105.5 องศาตะวันออก) แม่ฮ่องสอนได้รบการสถาปนาขึ้นเป็นเมือง เมื่อปี..

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและจังหวัดแม่ฮ่องสอน · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาแดนลาว

ทิวเขาแดนลาว เป็นเป็นชื่อไทยของทิวเขาที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งวางตัวตามแนวพรมแดนไทย-พม่า ทิวเขาแดนลาวนั้นไม่ได้วางตัวแนวตะวันออก-ตะวันตกอย่างที่เข้าใจ เพราะอันที่จริงแล้ว ทิวเขาแดนลาววางตัวในแนวเฉียงตะวันตกเฉียงใต้-ตะวันออกเฉียงเหนือ ลึกเข้าไปในเขตรัฐฉาน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาฉานโยมา เช่นเดียวกับทิวเขาอินทนนท์ และทิวเขาขุนตานด้ว.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและทิวเขาแดนลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนงูเห่า

ปลาช่อนงูเห่าในสวนสัตว์พาต้า ปลาช่อนงูเห่า หรือ ปลาช่อนดอกจันทน์ (Great snakehead) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นปลาหายาก พบไม่บ่อยนักในธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวมีขนาดเล็กกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ สีลำตัวจะเปลี่ยนไปตามวัยและสภาพแวดล้อม ปกติพื้นลำตัวจะเป็นสีคล้ำเช่น น้ำตาลแกมเขียว หรือสีดำ เมื่อยังเป็นลูกปลาจะมีแถบสีส้มคาดตามความยาวจากหัวจรดโคนหาง โดยบริเวณโคนหางจะมีจุดสีดำล้อมรอบด้วยวงสีส้มสด แลดูคล้ายเครื่องหมายดอกจันทน์ เมื่อปลาเริ่มโตขึ้นจะมีแถบดำราว 5-6 แถบคาดขวางลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางท้าย ใต้ท้องสีจาง ลำตัวด้านท้าย ครีบหลัง หาง และครีบท้องจะมีจุดสีตะกั่วเหลือบแวววาวกระจายอยู่ทั่ว ปลาช่อนชนิดนี้ มีขนาดโตเต็มที่ราว 40-90 เซนติเมตร แต่ก็มีบางรายงานพบว่ายาวได้ถึง 183 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 30 กิโลกรัม มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ ประกอบกับส่วนหัวที่เล็ก ทำให้แลดูคล้ายงูเห่า จึงเป็นที่มาของชื่อ "ปลาช่อนงูเห่า" เมื่อชาวบ้านจับปลาชนิดนี้ได้ บางคนไม่กล้ากินเนื่องจากเชื่อว่าเป็นปลาช่อนผสมงูเห่า มีพิษร้ายแรงกว่างูเห่าทั่วไป แต่ความเป็นจริงแล้ว ปลาช่อนงูเห่าไม่ได้มีพิษแต่อย่างใด มีการกระจายพันธุ์ในไทย, พม่า, กัมพูชา, มาเลเซีย โดยพฤติกรรมมักอยู่อาศัยตามแม่น้ำชายฝั่งที่มีพืชน้ำและพรรณไม้ขึ้นชายฝั่งมีเงาร่ม อาหารได้แก่ ปลา, กุ้ง, สัตว์น้ำขนาดเล็กและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก เช่น กบ, เขียด รวมถึงแมลงชนิดต่าง ๆ ด้วย อุปนิสัยเป็นปลาที่ค่อนข้างดุร้ายก้าวร้าว โดยมักจะกบดานตัวนิ่ง ๆ กับพื้นท้องน้ำหรือไม่ก็ลอยตัวอยู่ปริมน้ำ เมื่อพบอาหารจะพุ่งฉกด้วยความเร็วและดุดัน ปลาช่อนงูเห่า นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีขายในตลาดปลาสวยงามเป็นบางครั้ง มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นต่าง ๆ เช่น "หลิมหางกวั๊ก" ที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน "ก๊วน" ในภาษาเหนือและภาษาอีสาน "ล่อน", "กะล่อน" หรือ "อ้ายล่อน" ในภาษาใต้ เป็นต้น อนึ่ง ปลาช่อนงูเห่า ยังไม่มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องแน่นอน โดยมากจะใช้ชื่อว่า Channa marulius อันเป็นชื่อเดียวกับปลาช่อนงูเห่าอินเดีย แต่ในทัศนะของนักมีนวิทยาที่ทำการศึกษาเรื่องปลาช่อน เห็นว่า ควรใช้ Channa aurolineatus (Day, 1870) หรือ Channa aff.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและปลาช่อนงูเห่า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาพลวงหิน

ปลาพลวงหิน หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปลาพลวง (Mahseer barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวยาว ด้านข้างแบน มีเกล็ดขนาดใหญ่ หัวเล็ก มีหนวด 2 คู่ อยู่ปากบนและมุมปาก ครีบหางเว้าเป็นแฉกลึก กระโดงหลังค่อนข้างสูงมีก้านแข็ง 1 อัน ครีบหูมีขนาดเล็ก ครีบท้องและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวมีสีน้ำตาล ปนเขียว สีของปลาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม บางแหล่งอาจจะมีสีน้ำตาลปนดำเข้ม มีแถบสีคล้ำพาดกลางลำตัวตามยาวไปใกล้โคนหาง ด้านท้องสีจาง ขนาดโดยประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1.5 เมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่นับ 100 ตัวขึ้นไป ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำใสสะอาด เช่น บริเวณแหล่งน้ำเชิงภูเขา หรือตามลำธารน้ำตกต่าง ๆ ทั่วประเทศ อาหารได้แก่ เมล็ดพืชต่าง ๆ เป็นปลาใหญ่ที่มักไม่มีใครนำมารับประทาน เนื่องจากทานไปแล้วเกิดอาการมึนเมา จึงเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า แต่ความจริงแล้ว ปลาชนิดนี้ได้สะสมพิษจากเมล็ดพืชที่รับประทานเข้าไปในร่างกาย เช่นเดียวกับกรณีของปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii) มีการรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติเพื่อขายส่งเป็นปลาสวยงาม รูปวาด ปลาพลวงหิน มีชื่อเรียกต่างออกไปตามภาษาถิ่นเช่น ภาคเหนือเรียก "ปลาพุง" หรือ "ปลามุง" บางพื้นที่เรียกว่า "ปลาจาด", "ปลายาด" หรือ "ปลาโพ" เป็นต้น และมีชื่อเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า "หญาเปอลา" ในประเทศไทยสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถพบปลาพลวงได้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ น้ำตกตาดหลวง จังหวัดน่าน, น้ำตกพลิ้ว และ น้ำตกลำนารายณ์ จังหวัดจันทบุรี, อุทยานถ้ำปลาและอุทยานถ้ำธารลอด จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและปลาพลวงหิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระแห

ฝูงปลากระแหที่ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรี ปลากระแห เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B. altus) ที่อยู่สกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15–30 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน (B. gonionotus), ปลาตะเพียนทอง, ปลาแก้มช้ำ (Puntius orphoides) หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ ปลากระแหนิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ชื่อเรียกอื่น ๆ ตามท้องถิ่น เช่น "กระแหทอง" หรือ "ตะเพียนหางแดง", ในภาษาใต้เรียก "ลำปำ", ในภาษาอีสานเรียก "เลียนไฟ", ภาษาเหนือเรียก "ปก" เป็นต้น.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและปลากระแห · ดูเพิ่มเติม »

นกปรอด

นกปรอด เป็นวงศ์ของนกจับคอนขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มนกร้องเพลง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pycnonotidae เป็นนกขนาดเล็ก มีสีสันต่าง ๆ กันไปตามแต่ละชนิด และสกุล เป็นนกที่ร้องได้เพราะมาก กินผลไม้และแมลงเป็นอาหาร พบได้ในหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นพัน ๆ เมตร จนถึงที่ราบลุ่ม หรือในชุมชนเมืองและตามสวนสาธารณะหรือสวนหลังบ้าน เหตุที่ได้ชื่อว่า "ปรอด" นั้นมาจากเสียงร้อง ที่มักเป็นเสียง "กรอด-กรอด" ซึ่งบางครั้งอาจเรียกเพี้ยนเป็น "นกกรอด", "นกกระหรอด" หรือ "นกกะหรอด" ก็ได้ ขณะในชื่อภาษาอังกฤษที่ว่า "ฺBulbul" นั้นมาจากคำว่า بلبل (bolbol) ในภาษาเปอร์เซีย และคำว่า بُلْبُل ในภาษาอาหรับ หมายถึง "นกไนติ้งเกล" ซึ่งทั่วโลกมี 137 ชนิด ใน 21 สกุล (ดูในตาราง ขณะที่บางสกุลอาจจะซ้ำซ้อนกับอีกสกุล) ในประเทศไทย พบอยู่ 36 ชนิด 8 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและนกปรอด · ดูเพิ่มเติม »

เก้ง

ก้ง หรือ อีเก้งบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและเก้ง · ดูเพิ่มเติม »

เลียงผา

ลียงผา หรือ เยียงผา หรือ โครำ (Serows; อีสาน: เยือง) เป็นสกุลของสัตว์กีบคู่สกุลหนึ่ง ในวงศ์ Bovidae วงศ์ย่อย Caprinae คือ วงศ์เดียวกับแพะและแกะ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capricornis (/แคป/-ปริ-คอร์-นิส/).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและเลียงผา · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยว

หยี่ยว หรือ อีเหยี่ยวบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา–น้ำตกผาเสื่อและเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tham Pla–Namtok Pha Suea National Parkอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อถ้ำปลาน้ำตกผาเสื่อ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »