โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนล

ดัชนี อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนล

้านหลังของบรูเนลคือโซ่ของเรือเอสเอสเกรตอีสเทิร์น ซึ่งได้ถ่ายไว้ในปี ค.ศ. 1857 โดยโรเบิร์ต ฮาวเลตต์ ภาพนี้ถือว่าเป็นภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดภาพหนึ่งของเขา อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนล (Isambard Kingdom Brunel; 9 เมษายน ค.ศ. 1806 – 15 กันยายน ค.ศ. 1859) เป็นวิศวกรเครื่องกลและวิศวกรโยธาชาวอังกฤษ ผู้ออกแบบสถานีรถไฟที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของอังกฤษนามว่า เกรตเวสเทิร์นเรลเวย์ (Great Western Railway) ผู้ออกแบบอู่ท่าเรือหลายแห่งในสมัยนั้น รวมถึงเรือกลไฟบรูเนล เป็นคนแรกที่สามารถออกแบบเรือกลไฟของเขาให้สามารถข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก นอกจากนี้ บรูเนลยังออกแบบอุโมงค์และสะพานที่สำคัญจำนวนมาก ความสามารถของเขานั้นไม่ธรรมดา ถึงขนาดเคยออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำอันเชี่ยวกราก และออกแบบอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเทมส์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลยในช่วงนั้น จึงกล่าวได้ว่า เขาคือผู้บุกเบิกการปฏิวัติอุตสาหกรรมคนสำคัญของอังกฤษ ถึงแม้ว่า โครงการต่าง ๆ ที่เขาตั้งใจไว้จะไม่สำเร็จเสมอไปเพราะพวกเขามักจะมีปัญหาด้านวิศวกรรมอยู่บ่อยครั้ง แต่ถึงอย่างไรก็ดี เขาก็ยังได้ขึ้นชื่อว่าเป็น "คนแรก" ในหลาย ๆ ด้านทางวิศวกรรม โดยเฉพาะหลักการของเขาที่สามารถช่วยสร้างอุโมงค์ข้ามแม่น้ำ ซึ่งยากต่อการสร้างได้ และเขายังเป็นผู้พัฒนาออกแบบเรือเอสเอสเกรตบริเตน (SS Great Britain) ซึ่งเป็นเรือที่ทำด้วยเหล็กกล้าและใช้ใบจักรแบบสกรูครั้งแรกของโลก และได้ถูกนำไปใช้ในการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นลำแรกของโลก และนอกจากนี้ยังเป็นเรือที่ใหญ่สุดในโลกเท่าที่มีการสร้างมาในขณะนั้น ในปี..

8 ความสัมพันธ์: ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับมหาสมุทรแอตแลนติกวิศวกรรมโยธาวิศวกรรมเครื่องกลวินสตัน เชอร์ชิลปารีสโอลิมปิกฤดูร้อน 2012เอสเอสเกรตอีสเทิร์น

ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ

ันเดรดเกรตเตสต์บริทันส์ หรือ ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ (100 Greatest Britons) คือรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศในปี..

ใหม่!!: อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนลและชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนลและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมโยธา

Falkirk Wheel สิ่งก่อสร้างในสก็อตแลนด์สำหรับยกเรือข้ามแม่น้ำ วิศวกรรมโยธา (civil engineering) เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรโยธา หรือเรียกกันว่า นายช่าง ในการทำงานในประเทศไทย ผู้ที่ประกอบวิชาชีพจะขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกรเพื่อรับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) โดยมีการจัดสอบระบบใหม่เริ่มต้นเมื่อต้นปี..

ใหม่!!: อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนลและวิศวกรรมโยธา · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมเครื่องกล

วิศวกรรมเครื่องกลออกแบบและสร้างเครื่องจักร งานวิศวกรรมเครื่องกลรวมไปถึงยานพาหนะในทุกขนาด ระบบปรับอากาศเองก็เป็นหนึ่งในงานทางวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical engineering) เป็นวิชาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์และกฎทางฟิสิกส์เพื่อการประดิษฐ์ การผลิต และการดูแลรักษาระบบเชิงกล วิศวกรรมเครื่องกลเป็นหนึ่งในสาขาทางวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุดและมีขอบข่ายกว้างขวางที่สุด การศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลนั้นจำเป็นต้องมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของหลักกลศาสตร์ พลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหลและพลังงานเป็นอย่างดี วิศวกรเครื่องกลนั้นสามารถใช้หลักการณ์พื้นฐานได้ดีพอกับความรู้อื่น ๆ ในงานภาคสนามเพื่อการออกแบบและวิเคราะห์ยานยนต์ อากาศยาน ระบบทำความร้อนและความเย็น เรือ ระบบการผลิต จักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น.

ใหม่!!: อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนลและวิศวกรรมเครื่องกล · ดูเพิ่มเติม »

วินสตัน เชอร์ชิล

ซอร์วินสตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล (Winston Leonard Spencer-Churchill) เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัย ระหว่างปี 1940 ถึง 1945 และปี 1951 ถึง 1955 ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงครามของศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ วินสตันยังเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, นักประวัติศาสตร์, นักเขียน, ตลอดจนศิลปิน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาอักษรศาสตร์ และยังเป็นบุคคลแรกที่ได้เป็น พลเมืองเกียรติยศแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักนิยมเรียกเขาด้วยชื่อ "วินสตัน" แทนที่จะเรียกด้วยนามสกุล วินสตันเกิดในตระกูลชนชั้นสูงที่สืบเชื้อสายมาจากดยุกแห่งมาร์ลบะระ สาขาหนึ่งของตระกูลสเปนเซอร์ บิดาของเขาคือ ลอร์ดรันดอล์ฟ เชอร์ชิล นักการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ส่วนมารดาของเขาคือ เจนนี จีโรม นักสังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกัน ในขณะที่ยังเป็นทหารหนุ่ม เขาได้ปฏิบัติภารกิจในบริติชอินเดีย และซูดาน และในสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักข่าวสงครามและเขียนหนังสือเกี่ยวกับปฏิบัติการของเขา เขาเป็นผู้มีบทบาททางการเมืองแถวหน้ามาตลอดห้าสิบปี ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมากมาย ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาเป็นหัวหน้ากรรมการการค้า, รัฐมนตรีปิตุภูมิ, และรัฐมนตรียุติธรรม ระหว่างสงคราม เขายังคงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรม จนกระทั่งความพ่ายแพ้ของอังกฤษในการทัพกัลลิโพลี ทำให้เขาต้องออกจากคณะรัฐบาลและไปประจำการราชการทหารอยู่ที่แนวหน้าภาคตะวันตกในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพันลูกเสือที่ 6 จนกระทั่งเขาได้กลับคืนคณะรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรียุทธภัณฑ์ รัฐมนตรีว่าการสงคราม และ รัฐมนตรีน่านฟ้า และในปี 1921-1922 เป็นรัฐมนตรีว่าการอาณานิคม และต่อมาในปี 1924-1929 เป็นรัฐมนตรีคลังหลวง โดยเขาได้กำหนดให้สกุลเงินปอนด์กลับไปอิงค่าทองคำเหมือนกับยุคก่อนสงคราม ซึ่งทำให้เกิดภาวะเงินฝืดแพร่ไปทั้งเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ภายหลังห่างหายจากงานการเมืองไปในทศวรรษที่ 1930 วินสตันก็ได้กลับมาทำงานการเมืองอีกครั้งเมื่อนาซีเยอรมนีเริ่มที่จะสั่งสมกำลังทหารและดูจะเป็นภัยคุกคามต่ออังกฤษ และแล้วการอุบัติขึ้นอย่างฉับพลันของสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรียุติธรรมอีกครั้ง และภายหลังการลาออกของนายกรัฐมนตรี เนวิล เชมเบอร์ลิน ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 วินสตันก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรี คำประกาศหนักแน่นของเขาที่จะไม่เป็นผู้ยอมแพ้ได้ช่วยกระตุ้นให้ชาวอังกฤษหันมาต่อต้านนาซีเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นสงครามซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากเย็นเมื่อสหราชอาณาจักรและอาณานิคมอังกฤษเป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ลุกขึ้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ วินสตันได้กล่าวสุนทรพจน์ของเขาผ่านวิทยุกระจายเสียงปลุกขวัญกำลังใจชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้นำของอังกฤษไปจนกระทั่งสามารถมีชัยเหนือนาซีเยอรมนีได้ แต่ทว่าการได้รับชัยชนะมาต้องแลกกับการสูญเสียการเป็นอภิมหาอำนาจของโลกให้กับสหรัฐอเมริกาไป เหล่าประเทศอาณานิคมที่ยึดครองได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย พม่า เป็นต้นต่างก็ได้เรียกร้องเอกราชจนจำใจต้องยอมเป็นเหตุทำให้จักรวรรดิอังกฤษล่มสลายและกลายเป็นเครือจักรภพแห่งชาติแทน ภายหลังพรรคอนุรักษนิยมพ่ายการเลือกตั้งในปี 1945 เขาก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านต่อรัฐบาลพรรคแรงงาน เขาได้ออกมาเตือนอย่างเปิดเผยถึงอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปผ่านมาตรการ "ม่านเหล็ก" และยังส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของยุโรป ภายหลังชนะเลือกตั้งในปี 1951 วินสตันก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในช่วงการดำรงตำแหน่งครั้งที่สองนี้ รัฐบาลของเขาเต็มไปด้วยข้อราชการต่างประเทศ ทั้งวิกฤตการณ์มาลายา, กบฎมาอูมาอูในเคนยา, สงครามเกาหลี ตลอดจนสนับสนุนการรัฐประหารในอิหร่าน ในปี 1953 เขาเริ่มเจ็บป่วยจากภาวะขาดเลือดในสมอง และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1955 แต่เขายังคงเป็นสมาชิกสภาสามัญชนไปจนถึงปี 1964 วินสตันถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 90 ปีในปี 1965 โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชทานรัฐพิธีศพให้เป็นเกียรติ เขายังคงได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ชื่อของเขาอยู่ในลำดับที่ 1 ของทำเนียบชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลจากการจัดอันดับในปี 2002.

ใหม่!!: อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนลและวินสตัน เชอร์ชิล · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนลและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

โอลิมปิกฤดูร้อน 2012

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 27 ประจำปี..

ใหม่!!: อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนลและโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 · ดูเพิ่มเติม »

เอสเอสเกรตอีสเทิร์น

ียนโดย Ellis ภาพวาดเรือเกรตอิสเทิร์น ภาคตัดแสดงรายละเอียดภายในเรือ ภายในเรือ เอสเอสเกรตอีสเทิร์น (SS Great Eastern) คือเรือเดินสมุทรประเภทเรือกลไฟของสายการเดินเรือ "อีสเทิร์น สตีม เนวิเกชั่น คอมปานี" (Eastern Steam Navigation Company) ในปี ค.ศ. 1857 โดยวิศวกรผู้ออกแบบชาวอังกฤษ อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนล (Isambard Kingdom Brunel) ผู้ริเริ่มการต่อเรือด้วยเหล็กกล้าและใช้ใบจักรแบบสกรูครั้งแรกของโลก (เรือเอสเอสเกรตบริเตน) และเรือเอสเอสเกรตอีสเทิร์นนี้ยังเป็นเรือลำแรกของโลกที่สร้างผนังท้องเรือสองชั้น เรือเอสเอสเกรตอีสเทิร์น จัดเป็นชัยชนะทางวิศวกรรมก็จริงเพราะมีขนาดใหญ่กว่าเรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดก่อนมันถึง 4.563 เท่า แต่ทว่าเป็นเรืออาถรรพณ์ที่ทำให้เจ้าของต้องพบกับความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ อุปสรรคต่าง ๆ เกิดเรื่องน่าสะพรึงกลัวนับตั้งแต่การสร้างเรือจนถึงวันสุดท้ายของการแยกชิ้นส่วนเรือ ปัญหาระหว่างดำเนินโครงสร้างไม่ว่าจะเป็น เพลิงไหม้คลังเอกสารและโมเดลเรือ งบประมาณที่บานปลายหลายเท่าตัว เสียงลึกลับที่ดังมาจากท้องเรือ จนท้ายที่สุดบรูเนลก็เสียชีวิตอย่างประหลาดในเวลานั้น ด้วยเรือที่มีขนาดใหญ่เกินไปทำให้ไม่สามารถปล่อยลงน้ำได้ง่าย หรือเดินทางไปยังออสเตรเลียที่เป็นจุดหมายปลายทางเพราะไม่สามารถผ่านเส้นที่คดเคี้ยวได้ แม้ว่าเรือนี้จะงดงามดังพระราชวังลอยน้ำก็จริง แต่ก็มีปัญหาเขม่าถ่านหินระหว่างออกเดินทาง อีกทั้งยังเกิดเหตุการณ์สยองขวัญที่ไม่คาดฝันขึ้นไม่ว่าจะเป็น กว้านสมอเรือดีดใส่ลูกเรือหลายคนตกน้ำเสียชีวิต หม้อน้ำระเบิด ยังไม่นับรวมผู้เสียชีวิตในระหว่างการพยายามปล่อยลงเรือน้ำครั้งแรก หรือคนงานที่เสียชีวิตระหว่างโครงการ.

ใหม่!!: อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนลและเอสเอสเกรตอีสเทิร์น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อิซามบาร์ด คิงดอม บรูเนล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »