เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อาการหลอนคิดว่ามือถือสั่น

ดัชนี อาการหลอนคิดว่ามือถือสั่น

อาการหลอนคิดว่ามือถือสั่น (Phantom vibration syndrome) เป็นอาการที่คิดว่าโทรศัพท์มือถือมีการสั่นหรือเสียงเรียกเข้าเมื่อจริง ๆแล้วไม่มีใครโทรเข้า บางครั้งเรียกว่า ริงโทนวิตกกังวล (ringxiety) หรือ ฟอซอะลาม (fauxcellarm มาจากคำว่า"faux" /fō/ แปลว่า ปลอม หรือ ผิด และ มือถือ (cellphone) และเสียงร้อง (alarm)) หรือ โฟนทอม (phonetom) (เป็นการรวมกันระหว่าง phone และ phantom) ดอกเตอร์ไมเคิล โรธเบิร์กกล่าวว่า อาการหลอนคิดว่ามือถือสั่นไม่ใช่กลุ่มของอาการโรคแต่เป็นการหลอนของประสาทสัมผัสที่สมองรับรู้ถึงความรู้สึกที่ไม่มีอยู่จริง บางครั้งอาจเกิดระหว่างอาบน้ำ ดูโทรทัศน์ หรือใช้เครื่องมือที่มีเสียงดัง มนุษย์มักจะเซนซิทีฟกับโทนเสียงในช่วง 1,000 ถึง 6,000 เฮิรตซ์ และเสียงเรียกเข้าของโทรศัพท์มือถือมักอยู่ในช่วงนี้ อาการหลอนคิดว่ามือถือสั่นจะเกิดขึ้นหลังผู้ใช้พบมือถือที่ตั้งระบบสั่นไว้ นักวิจัยมิเชล ดรูอินพบว่าเกือบ 9 ใน 10 นักศึกษาปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยของเธอมีอาการนี้.

สารบัญ

  1. 1 ความสัมพันธ์: ยูเอสเอทูเดย์

  2. วัฒนธรรมโทรศัพท์มือถือ

ยูเอสเอทูเดย์

อาคารสำนักงานใหญ่ของ ยูเอสเอ ทูเดย์ ในเมืองแมกลีน รัฐเวอร์จิเนีย ยูเอสเอทูเดย์ (USA Today) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันของสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์โดยบริษัทแกนเนตต์ ก่อตั้งโดยอัล นูฮาร์ธ ถือเป็นหนังสือพิมพ์ที่มียอดขายมากที่สุดกว่าหนังสือพิมพ์ใดในสหรัฐอเมริกา (เฉลี่ย 2.11 ล้านเล่ม ในวันธรรมดา) และในบรรดาหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ภาษาอังกฤษทั่วโลกแล้ว มียอดขายเป็นอันดับ 2 รองจาก เดอะไทมส์ออฟอินเดีย ที่ขายได้ 3.14 ล้านเล่มต่อวัน ยูเอสเอทูเดย์ ออกวางขายใน 50 รัฐของสหรัฐอเมริกา แคนาดา วอชิงตันดีซี เปอร์โตริโก และเกาะกวม.

ดู อาการหลอนคิดว่ามือถือสั่นและยูเอสเอทูเดย์

ดูเพิ่มเติม

วัฒนธรรมโทรศัพท์มือถือ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ FauxcellarmPhantom vibration syndromePhonetomRingxiety