โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อัศราเอล

ดัชนี อัศราเอล

อัศราเอล (עזראל Azrael) ในภาษาฮีบรู หรือ อัศราอีล (عزرائيل‎) ในภาษาอาหรับ เป็นทูตสวรรค์ในกลุ่มศาสนาอับราฮัม คัมภีร์ฮีบรูมักกล่าวถึงเขาในฐานะทูตสวรรค์แห่งความตาย ชื่อของเขามีความหมายว่า "พระเจ้าคืออนุเคราะห์แห่งเรา" หรือ "ผู้ช่วยเหลือจากพระเจ้า" ในศาลนาอิสลามเรียกอัศราเอลว่าเป็น มลาอิกะฮ์ อัลมอวติ์ (مَلَكُ المَوْتِ) หรือแปลตรงตัวว่า "ทูตสวรรค์แห่งความตาย" และมุสลิมยังถือว่าเขาเป็นอัครทูตสวรรค์องค์หนึ่งด้วย จากคัมภีร์ของทั้งสองศาสนา ทำให้พอจะอนุมานได้ว่าอัศราเอลเป็นทูตสวรรค์ที่อยู่ในสวรรค์ชั้นที่สามจากเจ็ดชั้น เขามีสี่พักตร์และปีกอีกสี่พันข้าง ร่างกายของเขานั้นเต็มไปด้วยดวงตาและลิ้นมากมายเท่ากับจำนวนผู้คนบนโลกมนุษย์ เขาคอยบันทึกและลบรายชื่อการเกิดและดับในโลกมนุษย์ในหนังสือขนาดยักษ.

6 ความสัมพันธ์: ภาษาอาหรับมลาอิกะฮ์ศาสนาอับราฮัมอัครทูตสวรรค์ทูตสวรรค์คัมภีร์ฮีบรู

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: อัศราเอลและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

มลาอิกะฮ์

มลาอิกะฮ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 68 (ملائكة) เป็นคำพหูพจน์ของ มะลัก (ملك) มีความหมายเดียวกับทูตสวรรค์ในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ มีหน้าที่ถวายงานรับใช้แก่อัลลอฮ์บรรจง บินกาซัน. อิสลามสำหรับผู้เริ่มสนใจอิสลาม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสืออิสลาม, 2546, หน้า 23-24.

ใหม่!!: อัศราเอลและมลาอิกะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอับราฮัม

ัญลักษณ์ของศาสนาสำคัญ 3 ศาสนาในกลุ่มศาสนาอับราฮัม: ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ศาสนาอับราฮัม (Abrahamic religions) หมายถึง ศาสนาสำคัญ 3 ศาสนาที่ถือกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันตก และมีความเชื่อร่วมกันว่าพระเป็นเจ้ามีองค์เดียว ได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามJ.Z.Smith 1998, p.276Anidjar 2001, p.3 ทั้งสามศาสนาถือว่าอับราฮัมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสนาตน นอกจากนั้นก็ยังมีศาสนาย่อยที่บางครั้งถือว่าเป็นศาสนาอับราฮัมด้วย เช่น ศาสนาบาไฮ ผู้นับถือศาสนาอับราฮัมรวมทั้งหมดมากกว่าครึ่งของประชากรทั้งโลก ในปัจจุบันมีผู้นับถือด้วยกันทั้งหมดประมาณ 3.8 พันล้านคน.

ใหม่!!: อัศราเอลและศาสนาอับราฮัม · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูตสวรรค์

อัครทูตสวรรค์ทั้งสามในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก อัครทูตสวรรค์ (Archangel) ในนิกายโรมันคาทอลิก หรือ หัวหน้าทูตสวรรค์ ในนิกายโปรเตสแตนต์ หมายถึงทูตสวรรค์ระดับสูง มีที่มาจากคำในภาษากรีก αρχάγγελος (arch- + angel) พบในความเชื่อของหลายศาสนาทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ส่วนมากถือเหมือนกันว่า อัครทูตสวรรค์ประกอบด้วย มีคาเอล และ กาเบรียล ส่วนหนังสือโทบิตได้นับรวม ราฟาเอล เป็นอัครทูตสวรรค์ด้วย แต่หนังสือเล่มนี้เป็นที่ยอมรับเข้าในสารบบคัมภีร์ไบเบิลเฉพาะในคริสตจักรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์เท่านั้น ส่วนคริสตจักรในนิกายโปรเตสแตนต์ไม่ยอมรับ ชาวโรมันคาทอลิกนิยมฉลองอัครทูตสวรรค์ทั้งมีคาเอล, กาเบรียล และราฟาเอล ในวันที่ 29 กันยายน (ในอดีตวันฉลองทูตสวรรค์กาเบรียลเป็นวันที่ 24 มีนาคม และฉลองทูตสวรรค์ราฟาเอลในวันที่ 24 ตุลาคม) อัครทูตสวรรค์ที่เป็นที่รู้จักในศาสนาอิสลาม คือ กาเบรียล, มีคาเอล, ราฟาเอล และอิสรออีล ส่วนจารีตอื่น ๆ ถือว่าอัครทูตสวรรค์มี 7 องค์ โดยนามจะแตกต่างกันไปตามแหล่งที่ม.

ใหม่!!: อัศราเอลและอัครทูตสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

ทูตสวรรค์

''บทเพลงของทูตสวรรค์'' โดย บูเกอโร, 1825–1905. ทูตสวรรค์ หรือ เทวทูต (angel) คือชาวสวรรค์จำพวกหนึ่งตามความเชื่อทางศาสนาและในเทพปกรณัมต่าง ๆ โดยมีหน้าที่เป็นผู้แจ้งข่าวสารจากสวรรค์มายังโลก บ้างก็ทำหน้าที่อารักขา แนะนำ หรือมอบหมายภารกิจแก่มนุษย์ คำนี้แปลมาจากคำว่า ἄγγελος ในภาษากรีก ซึ่งตรงกับคำว่า מלאך (มลัก) ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) และเป็นคำเดียวกับคำว่า ملائكة (มลาอิกะฮ์) ที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ศัพท์เดิมในภาษาฮีบรูและภาษากรีกนี้แปลว่า ผู้แจ้งข่าว ซึ่งอาจเป็นมนุษย์ (ทั้งผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต และคนสามัญ) หรืออมนุษย์ก็ได้แล้วแต่บริบทในคัมภีร์ ที่เป็นอมนุษย์นั้นเป็นได้ทั้ง ผู้แจ้งข่าวจากพระเจ้า ลักษณะเฉพาะด้านของพระเจ้า (เช่น กฎจักรวาล) หรือแม้แต่พระเป็นเจ้าเองที่ทรงเป็นผู้แจ้งข่าว (theophanic angel) คำว่า "ทูตสวรรค์" ยังถูกใช้หมายถึงวิญญาณในศาสนาอื่น ๆ ด้วย นอกจากการแจ้งข่าวแล้ว ทูตสวรรค์ยังมีหน้าที่ปกป้องและนำทางมนุษย์ รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระเจ้ามอบหมายให้สำเร็จลุล่วง เทววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับทูตสวรรค์เรียกว่า “วิทยาการทูตสวรรค์” (angelology) ในงานศิลปะทูตสวรรค์มักปรากฏภาพเป็นชายมีปีก ซึ่งอาจมาจากหนังสือวิวรณ์เรื่องสัตว์สี่ตัว (4:6-8) และคัมภีร์ฮีบรูเรื่องเครูบและเสราฟิม แต่คัมภีร์ไบเบิลระบุว่าเครูบและเสราฟิมมีปีก ไม่เคยกล่าวถึงทูตสวรรค์ว่ามีปีกด้ว.

ใหม่!!: อัศราเอลและทูตสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ฮีบรู

ต้นฉบับ “คัมภีร์ฮีบรู” พร้อมกับคำแปลภาษาแอราเมอิก คัมภีร์ฮีบรู (Hebrew Bible; Biblia Hebraica) หมายถึง คัมภีร์ทานัค (Tanakh; תנ"ך) ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ในศาสนายูดาห์ และเป็นที่มาของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ด้วย คัมภีร์นี้ส่วนใหญ่บันทึกเป็นภาษาฮีบรูไบเบิล บางส่วนเป็นภาษาแอราเมอิกไบเบิล (เช่น หนังสือดาเนียล หนังสือเอสรา เป็นต้น) ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูนี้มีหนังสือทั้งสิ้น 24 เล่ม สารบบของคัมภีร์ฮีบรูที่ใช้ในปัจจุบันสอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของนิกายโปรเตสแตนต์ แต่ไม่ตรงกับของนิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ซึ่งได้เพิ่ม "คัมภีร์อธิกธรรม" และ Anagignoskomena เข้ามา ความหมายของคัมภีร์ฮีบรูจึงไม่เกี่ยวกับชื่อ จำนวน และลำดับหนังสือ ต่างจากสารบบคัมภีร์ไบเบิลที่ศาสนาคริสต์จัดระบบขึ้นในยุคหลัง.

ใหม่!!: อัศราเอลและคัมภีร์ฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »