เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อัฟโฟกาโต

ดัชนี อัฟโฟกาโต

260px อัฟโฟกาโต (affogato, แปลว่า "จม" หรือ "ถูกทำให้จม") หรือ อัฟโฟกาโตอัลคัฟแฟะ (affogato al caffè, แปลว่า "จมลงในกาแฟ") เป็นของหวานชนิดหนึ่งที่มีกาแฟเป็นส่วนประกอบพื้นฐาน โดยทั่วไปทำได้โดยตักเจลาโตหรือไอศกรีมกลิ่นรสวานิลลา 1 ช้อนควักใส่ถ้วย แล้วราดเอสเปรสโซร้อนลงไป 1 ช็อต เมื่อของหวานชนิดนี้มีวิวัฒนาการไปตามกาลเวลา ในปัจจุบันจึงเป็นที่ยอมรับได้เช่นกันหากจะเพิ่มปริมาณไอศกรีมเป็นหลายช้อนควัก บางสูตรยังใช้บีเชริง (เครื่องดื่มกาแฟผสมช็อกโกแลตชนิดหนึ่ง), เหล้าอามาเรตโต หรือเหล้าชนิดอื่น ๆ อีก 1 ช็อตด้ว.

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: กาแฟวานิลลาไอศกรีมเอสเปรสโซเจลาโตเครื่องดื่ม

  2. บทความเกี่ยวกับ กาแฟ ที่ยังไม่สมบูรณ์
  3. บทความเกี่ยวกับ อาหารอิตาเลียน ที่ยังไม่สมบูรณ์
  4. อาหารอิตาลี

กาแฟ

กาแฟดำ ซึ่งบรรจุในถ้วย กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดซึ่งได้จาก ต้นกาแฟ หรือมักเรียกว่า เมล็ดกาแฟ คั่ว มีการปลูกต้นกาแฟในมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก กาแฟเขียว (กาแฟซึ่งยังไม่ผ่านการคั่ว) เป็นหนึ่งในสินค้าทางการเกษตรซึ่งมีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก กาแฟมีส่วนประกอบของคาเฟอีน ทำให้มีสรรพคุณชูกำลังในมนุษย์ ปัจจุบันกาแฟเป็นเครื่องดื่มซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เป็นที่เชื่อกันว่าสรรพคุณชูกำลังจากเมล็ดของต้นกาแฟนั้นถูกพบเป็นครั้งแรกใน เยเมน แถบอาระเบีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือของ เอธิโอเปีย และการปลูกต้นกาแฟในสมัยแรกได้แพร่ขยายในโลกอาหรับ หลักฐานบันทึกว่าการดื่มกาแฟได้ปรากฏขึ้นราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อันเป็นหลักฐานซึ่งเชื่อถือได้และเก่าแก่ที่สุด ถูกพบในวิหาร ซูฟี ในเยเมน แถบอาระเบีย จาก โลกมุสลิม กาแฟได้แพร่ขยายไปยังทวีปยุโรป อินโดนีเซีย และทวีปอเมริกา ในระหว่างที่กาแฟเริ่มเดินทางจากทวีปอเมริกาเหนือและตะวันออกกลางสู่ทวีปยุโรป กาแฟได้ถูกส่งผ่านไปยังซิซิลีและอิตาลีในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากนั้นผ่านตุรกีไปยังกรีซ ฮังการี และออสเตรียในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากอิตาลีและออสเตรีย กาแฟได้แพร่ขยายไปยังส่วนที่เหลือของทวีปยุโรป กาแฟได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมหลายแห่งตลอดประวัติศาสตร์ ในแอฟริกาและเยเมน มันถูกใช้ร่วมกับพิธีกรรมทางศาสนา ผลที่ตามมาคือ ศาสนจักรเอธิโอเปีย ได้สั่งห้ามการบริโภคกาแฟตลอดกาล จนกระทั่งถึงรัชสมัยของ จักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 มันยังได้ถูกห้ามใน จักรวรรดิออตโตมันระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องจากสาเหตุทางการเมือง และมีส่วนเกี่ยวพันกับกิจกรรมทางการเมืองหัวรุนแรงในทวีปยุโรป ผลกาแฟ ซึ่งบรรจุเมล็ดกาแฟ เป็นผลผลิตจากไม้พุ่มไม่ผลัดใบขนาดเล็กใน จีนัส Coffea หลายสปีชีส์ โดยสายพันธุ์ที่มีการปลูกโดยทั่วไปมากที่สุด ได้แก่ Coffea arabica และกาแฟ "โรบัสต้า" ที่ได้จากชนิด Coffea canephora ซึ่งมีรสเข้มกว่า สายพันธุ์ดังกล่าวมีความทนทานต่อราสนิมใบกาแฟ (Hemileia vastatrix) ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง สายพันธุ์กาแฟทั้งคู่มีการปลูกในละตินอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปแอฟริกา เมื่อสุกแล้ว ผลดังกล่าวจะถูกเก็บรวบรวม นำไปผ่านกรรมวิธีและทำให้แห้ง หลังจากนั้น เมล็ดจะถูกคั่วในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรสชาติที่ต้องการ และจะถูกบดและบ่มเพื่อผลิตกาแฟ กาแฟสามารถตระเตรียมและนำเสนอได้ในหลายวิธี กาแฟเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของโลก โดยในปี คริสต์ศักราช 2004 กาแฟเป็นสินค้าการเกษตรส่งออกที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งในจำนวน 12 ประเทศ และเป็นพืชที่มีการส่งออกอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก ในปี คริสต์ศักราช 2005 กาแฟได้รับการโต้เถียงบางส่วนในด้านการเพาะปลูกต้นกาแฟและผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และมีการศึกษาจำนวนมากที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกาแฟกับข้อจำกัดทางยาอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ากาแฟให้คุณหรือให้โทษกันแน.

ดู อัฟโฟกาโตและกาแฟ

วานิลลา

ฝักวานิลลา วานิลลา (vanilla) เป็นกลิ่นที่ได้จากฝักของกล้วยไม้สกุล Vanilla ต้นกำเนิดจากเม็กซิโก ชื่อวานิลลามาจากคำในภาษาสเปนว่า "ไบย์นียา" (vainilla) ซึ่งแปลว่า ฝักเล็ก ๆ วานิลลามักถูกนำมาใช้แต่งกลิ่นในการทำอาหารประเภทของหวานและไอศกรีม การใช้วานิลลาในการประกอบอาหารทำโดยกรีดฝักวานิลลาออกและขูดนำเอาเมล็ดในฝักไปใช้ประกอบอาหาร หรือนำทั้งฝักไปต้มน้ำและช้อนออก วานิลลาแท้มีราคาสูงมาก จึงทำให้มีการประดิษฐ์กลิ่นวานิลลาสังเคราะห์ที่ราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามกลิ่นที่ได้จากวานิลลาสังเคราะห์มีความเข้มของกลิ่นไม่เท่ากับของจริง ประเทศผู้ผลิตวานิลลาที่ใหญ่ที่สุดคือ มาดากัสการ.

ดู อัฟโฟกาโตและวานิลลา

ไอศกรีม

อศกรีมแบล็กวอลนัต ไอศกรีม (ice cream) หรือภาษาปากว่า ไอติม เป็นของหวานแช่แข็งชนิดหนึ่ง ได้จากการผสมส่วนผสม นำไปผ่านการฆ่าเชื้อ แล้วนั้นนำไปปั่นในที่เย็นจัด เพื่อเติมอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับการลดอุณหภูมิ โดยอาศัยเครื่องปั่นไอศกรีม ไอศกรีมตักโดยทั่วไปจะต้องผ่านขั้นตอนการแช่เยือกแข็งอีกครั้งก่อนนำมาขายหรือรับประทาน ไอศกรีม (อ่านว่า ไอ-สะ-กฺรีม) มาจากคำภาษาอังกฤษว่า ice-cream   พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้เขียนเป็นภาษาไทยว่า ไอศกรีม ซึ่งเป็นคำที่เขียนกันมาแต่เดิม.

ดู อัฟโฟกาโตและไอศกรีม

เอสเปรสโซ

กาแฟเอสเปรสโซ เอสเปรสโซ (espresso) คือกาแฟที่มีรสแก่และเข้ม มีวิธีการชงโดยใช้แรงอัดไอน้ำหรือน้ำร้อนผ่านเมล็ดกาแฟคั่วที่บดละเอียด ที่มาของชื่อ เอสเปรสโซ มาจากคำภาษาอิตาลี "espresso" แปลว่า เร่งด่วน เอสเปรสโซเป็นกาแฟที่นิยมมากที่สุดในแถบประเทศยุโรปตอนใต้ โดยเฉพาะประเทศอิตาลี การสั่งกาแฟหรือ "คัฟแฟะ" (caffè) ในร้านโดยทั่วไปก็คือสั่งเอสเปรสโซ เอสเปรสโซได้รับการผลิตที่อิตาลี เอสเปรสโซมีต้นกำเนิดที่อิตาลีในช่วงที่อิตาลีล่าเอธิโอเปียเป็นอาณานิคม กาแฟก็นำมาปลูกที่อิตาลีส่วนใหญ่ ด้วยวิธีการชงแบบใช้แรงอัด ทำให้เอสเปรสโซมีรสชาติกาแฟซึ่งเข้มข้นและหนักแน่น ต่างจากกาแฟทั่วไปซึ่งชงแบบผ่านน้ำหยด และเพราะรสชาติเข้มข้นและหนักแน่นอันเป็นเอกลักษณ์นี้เอง ทำให้คอกาแฟดื่มเอสเปรสโซโดยไม่ปรุงด้วยน้ำตาลหรือนม และมักจะเสิร์ฟเป็นช็อต (แก้วแบบจอก) เพื่อให้ปริมาณไม่มากจนเกินไป (ประมาณ 1-2 ออนซ์ หรือ 30-60 มิลลิลิตร แตกต่างตามพฤติกรรมการดื่มของแต่ละประเทศ) การสั่งเอสเปรสโซตามร้านกาแฟทั่วไป มักสั่งตามปริมาณ กล่าวคือ เป็นช็อตเดียวหรือสองช็อต เอสเปรสโซมีความไวสูงในการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เพื่อไม่ให้เสียรสชาติจึงควรดื่มตอนชงเสร็จใหม่ ๆ ผงกาแฟที่ใช้ ขึ้นอยู่กับแต่ละระบบการชง ระบบการชงแบบแรงดันน้ำหรือแรงอัดจะต้องใช้ผงละเอียด แต่ไม่ถึงกับเป็นแป้ง.

ดู อัฟโฟกาโตและเอสเปรสโซ

เจลาโต

ลาโต (gelato) เป็นคำภาษาอิตาลีแปลว่าไอศกรีม ในภาษาอังกฤษโดยทั่วไปใช้เรียกไอศกรีมที่ทำขึ้นตามแบบอย่างอิตาลี ส่วนผสมพื้นฐานของไอศกรีมชนิดนี้ได้แก่ นม, ครีม, น้ำตาล และแต่งกลิ่นรสด้วยผลไม้, เมล็ดพืชบดเป็นครีมข้น หรือสารให้กลิ่นรสอื่น ๆ เจลาโตมีฟองอากาศแทรกอยู่ในเนื้อไอศกรีมน้อยกว่าของหวานแช่แข็งชนิดอื่น ๆ จึงเนื้อสัมผัสที่แน่นเนียนและมีรสชาติเข้มข้นแตกต่างกับไอศกรีมชนิดอื่น ๆ อย่างชัดเจน ปริมาณน้ำตาลในเจลาโตจะสมดุลกับปริมาณน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ไอศกรีมแข็งตัวในอุณหภูมิต่ำ ประเภทของน้ำตาลที่ใช้ได้แก่ ซูโครส, เดกซ์โทรส, น้ำเชื่อมกลูโคสและฟรักโทส (inverted sugar) เพื่อควบคุมไม่ให้มีรสหวานแหลมเกินไป ตามปกติ ในการทำเจลาโตยังเติมสารให้ความคงตัวเข้าไปด้วย โดยในการผลิตจำนวนมากเพื่อการพาณิชย์นิยมใช้ยางเมล็ดกวาร์ (guar gum) ในอิตาลี ตามกฎหมาย เจลาโตจะต้องมีไขมันเนยอย่างต่ำร้อยละ 3.5 แต่ในสหรัฐอเมริกายังไม่มีบทนิยามมาตรฐานตามกฎหมายสำหรับเจลาโต มีเพียงบทนิยามมาตรฐานสำหรับไอศกรีมซึ่งต้องมีไขมันเนยอย่างน้อยร้อยละ 10.

ดู อัฟโฟกาโตและเจลาโต

เครื่องดื่ม

รื่องดื่มต่าง ๆ ในประเทศไทย เครื่องดื่ม มักจะเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดเตรียมสำหรับดื่ม มีสถานะเป็นของเหลว และมักจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก เครื่องดื่มอาจเป็นปัจจัยในการดำรงชีพ เช่นน้ำ หรือใช้ในด้านอื่น เช่น เหล้า หรือ ไวน์ ถูกใช้เป็นส่วนประกอบของพิธีกรรม รายชื่อเครื่องดื่มต่างๆ ดังนี้.

ดู อัฟโฟกาโตและเครื่องดื่ม

ดูเพิ่มเติม

บทความเกี่ยวกับ กาแฟ ที่ยังไม่สมบูรณ์

บทความเกี่ยวกับ อาหารอิตาเลียน ที่ยังไม่สมบูรณ์

อาหารอิตาลี

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Affogatoอัฟโฟกาโต้