โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อิปไซลอนแอนดรอมิดา บี

ดัชนี อิปไซลอนแอนดรอมิดา บี

ภาพวาดแสดงลักษณะของดาวแคระแดง เหมือนดังเช่นอิปไซลอนแอนดรอมิดา บี อิปไซลอนแอนดรอมิดา บี (Upsilon Andromedae B) เป็นดาวแคระแดงในระบบดาวคู่อิปไซลอนแอนดรอมิดา อยู่ห่างจากโลกราว 44 ปีแสงในบริเวณกลุ่มดาวแอนดรอมิดา อยู่ในวงโคจรที่กว้างกว่าอิปไซลอนแอนดรอมิดา เอ ดาวอีกดวงในระบบดาวคู่อิปไซลอนแอนดรอมิดา ที่อยู่ห่างอีกไปถึง 700 AU หมวดหมู่:กลุ่มดาวแอนดรอมิดา.

5 ความสัมพันธ์: กลุ่มดาวแอนดรอมิดาหน่วยดาราศาสตร์อิปไซลอนแอนดรอมิดาอิปไซลอนแอนดรอมิดา เอดาวแคระแดง

กลุ่มดาวแอนดรอมิดา

กลุ่มดาวแอนดรอมิดา เป็นกลุ่มดาวทางท้องฟ้าทิศเหนือ ใกล้กับกลุ่มดาวม้าบิน เมื่อลากเส้นระหว่างดาวสำคัญ จะเห็นคล้ายรูปตัวเอใหญ่ (A) แต่ผอมยาวกว่า กลุ่มดาวนี้ได้ชื่อตามเจ้าหญิงแอนดรอมิดาในเทพปกรณัมกรีก ดาราจักรแอนดรอมิดาอยู่ในกลุ่มดาวนี้ กลุ่มดาวแอนดรอมิดา จะอยู่สูงที่สุดบนฟ้า เวลาประมาณ สามทุ่มในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ดวงดาวในกลุ่มดาวแอนดรอมิดาเรียงกันเป็นรูปคล้ายผู้หญิง ดาวดวงสว่างที่เห็นได้ชัดเป็นส่วนศีรษะและเข็มขัด ส่วนแขนข้างหนึ่งคล้ายมีอะไรล่ามอยู่ (ทำให้ดูยาวกว่าแขนอีกข้าง) ดูโดยรวมแล้วจึงคล้ายกับสตรีนางหนึ่ง ถูกโซ่ล่ามไว้ ตามตำนานของกรีกนั้นเจ้าหญิงแอนดรอมิดาเป็นธิดาของกษัตริย์ซีฟิอัส (Cepheus) กับราชินีแคสซิโอเปีย (Cassiopeia) แห่งอาณาจักรเอธิโอเปีย (ในตำนาน) เจ้าหญิงแอนดรอมิดาถูกล่ามโซ่ไว้ เพื่อรอเป็นอาหารของปิศาจในทะเลซีตัส (Sea Monster, Cetus) และเธอก็ได้รับความช่วยเหลือจากเพอร์ซิอัส (Perseus) (วีรบุรุษผู้เพิ่งกลับจากการพิชิตกอร์กอน-ปิศาจเมดูซา) ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงแอนดรอมิดาได้แต่งงานกับเพอร์ซิอัส มีลูกด้วยกัน 7 คน (ชาย 6 หญิง 1) บุตรชายคนหนึ่งชื่อเพอร์ซีส (Perses) ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวเปอร์เซีย สิ่งที่น่าสนใจซึ่งดึงดูดนักดูดาวให้ตั้งกล้องส่องมาทางกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ได้แก่ ดาราจักรแอนดรอมิดา หรือที่เรียกสั้น ๆ เป็นรหัสว่า M31 ดาราจักรแอนดรอมิดาเป็นดาราจักรรูปเกลียว (Spiral galaxy) คือมีลักษณะกลมแบนเหมือนจานสองใบประกบกัน มีแขนเกลียวยื่นออกมา คล้าย ๆ กันกับดาราจักรทางช้างเผือกของเรา และยังเป็นดาราจักรขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้ทางช้างเผือกของเรามากที่สุด (คืออยู่ห่างไปเพียง 2.2 ล้านปีแสง) คนแรกที่สามารถวัดระยะทางจากโลกไปถึงดาราจักรแอนดรอมิดาได้ คือเอ็ดวิน ฮับเบิล (ซึ่งต่อมากล้องโทรทรรศน์ลอยฟ้าฮับเบิล ก็ตั้งชื่อตามชายผู้นี้) เขาแสดงให้เห็นว่า ระยะทางจากโลกไปยังดาราจักรแอนดรอมิดานั้นมากกว่าขนาดของดาราจักรทางช้างเผือก ดังนั้น ดาราจักรแอนดรอมิดาจึงอยู่นอกทางช้างเผือกของเรา (เป็นอีกดาราจักรหนึ่งต่างหาก) และมีขนาดใหญ่มาก ๆ ถ้าถ่ายภาพดาราจักรแอนดรอมิดาด้วยกล้องดูดาวกำลังขยายสูงมาก ๆ จะพบว่า มันมีดาราจักรเพื่อนบ้านเล็ก ๆ เป็นฝ้าจาง ๆ อีก 2 ดาราจักร คือ M32 (NGC 221) และ M110 (NGC 205).

ใหม่!!: อิปไซลอนแอนดรอมิดา บีและกลุ่มดาวแอนดรอมิดา · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยดาราศาสตร์

หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit; ย่อในภาษาอังกฤษว่า AU หรือ au หรือ a.u. หรือ ua) คือ หน่วยของระยะทาง มีค่า (โดยประมาณ) เท่ากับระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ค่าที่ยอมรับในปัจจุบัน เท่ากับ 149,597,870,691±30 เมตร (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์) สัญลักษณ์ "ua" ได้รับการเสนอจากสำนัก Bureau International des Poids et Mesures แห่งฝรั่งเศส แต่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษจะใช้อักษรตัวใหญ่มากกว่า ส่วนสหภาพดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) เสนอให้ใช้ "au" ส่วนมาตรฐานนานาชาติ ISO 31-1 นั้นใช้ "AU".

ใหม่!!: อิปไซลอนแอนดรอมิดา บีและหน่วยดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อิปไซลอนแอนดรอมิดา

อิปไซลอนแอนดรอมิดา (Upsilon Andromedae; υ Andromedae / υ And) คือดาวคู่ที่อยู่ห่างจากโลกราว 44 ปีแสงในบริเวณกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ดาวฤกษ์เอกคือ อิปไซลอนแอนดรอมิดา เอ เป็นดาวแคระเหลือง-ขาว ซึ่งมีอายุน้อยกว่าดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์รองในระบบคือ อิปไซลอนแอนดรอมิดา บี เป็นดาวแคระแดง อยู่ในวงโคจรที่กว้างกว่า ณ ตอนนี้ (พ.ศ. 2553) มีดาวเคราะห์นอกระบบ 4 ดวงที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์เอกของระบบนี้ ดาวเคราะห์ทั้งสี่มีลักษณะเป็นดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัสบดี อิปไซลอนแอนดรอมิดาเป็นดาวฤกษ์ดวงแรกในแถบลำดับหลักที่มีการค้นพบระบบดาวเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกหลายดวง และเป็นดวงแรกในหมู่ดาวฤกษ์ประเภทระบบดาวหลายดวงซึ่งมีสมาชิกในระบบดาวเคราะห์หลายดวง อิปไซลอนแอนดรอมิดาเป็นดาวฤกษ์ในลำดับที่ 21 ในจำนวน 100 เป้าหมายแรกของโครงการค้นหาดาวเคราะห์คล้ายโลก (Terrestrial Planet Finder ขององค์การนาซ่า ซึ่งต้องเลื่อนระยะเวลาโครงการออกไปเนื่องจากประสบปัญหาด้านการเงิน.

ใหม่!!: อิปไซลอนแอนดรอมิดา บีและอิปไซลอนแอนดรอมิดา · ดูเพิ่มเติม »

อิปไซลอนแอนดรอมิดา เอ

อิปไซลอนแอนดรอมิดา เอ (Upsilon Andromedae A) เป็นดาวแคระสีเหลือง-ขาวในระบบดาวคู่อิปไซลอนแอนดรอมิดา อยู่ห่างจากโลกราว 44 ปีแสงในบริเวณกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ณ ตอนนี้ (พ.ศ. 2553) มีดาวเคราะห์นอกระบบ 4 ดวงที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์เอกของระบบนี้ ดาวเคราะห์ทั้งสี่มีลักษณะเป็นดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัสบดี อิปไซลอนแอนดรอมิดา เอเป็นดาวฤกษ์ดวงแรกในแถบลำดับหลักที่มีการค้นพบระบบดาว เคราะห์ซึ่งมีสมาชิกหลายดวง และเป็นดวงแรกในหมู่ดาวฤกษ์ประเภทระบบดาวหลายดวงซึ่งมีสมาชิกในระบบดาว เคราะห์หลายดวง อิปไซลอนแอนดรอมิดาเป็นดาวฤกษ์ในลำดับที่ 21 ในจำนวน 100 เป้าหมายแรกของโครงการค้นหาดาวเคราะห์คล้ายโลก (Terrestrial Planet Finder) ขององค์การนาซ่า หมวดหมู่:กลุ่มดาวแอนดรอมิดา.

ใหม่!!: อิปไซลอนแอนดรอมิดา บีและอิปไซลอนแอนดรอมิดา เอ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแคระแดง

วาดแสดงลักษณะของดาวแคระแดง ซึ่งเป็นดาวฤกษ์จำนวนมากที่สุดบนท้องฟ้า อธิบายตามไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ ดาวแคระแดง (Red dwarf) คือดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กและมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างต่ำมาก เทียบกับบรรดาดาวฤกษ์บนแถบลำดับหลักทั้งหมด โดยมีค่าสเปกตรัมประมาณตอนปลายของประเภท K หรือ M ดาวฤกษ์ประเภทนี้มีจำนวนมากที่สุดในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมด มีมวลน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์ (หากต่ำถึง 0.075 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ จะเรียกว่า ดาวแคระน้ำตาล) และมีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำกว่า 3,500 เคลวิน.

ใหม่!!: อิปไซลอนแอนดรอมิดา บีและดาวแคระแดง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อัปซีลอนแอนดรอมีดี บีอัปซีลอนแอนดรอเมดา บีอิปไซลอนแอนดรอเมดา บี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »