เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อันดับเหยี่ยวปีกแหลม

ดัชนี อันดับเหยี่ยวปีกแหลม

อันดับเหยี่ยวปีกแหลม (Falconiformes) เป็นกลุ่มของนกมีประมาณ 290 สปีชีส์ ประกอบด้วย นกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน การระบุนกล่าเหยื่อเป็นเรื่องยากและการถืออันดับมีหลายรูปแ.

สารบัญ

  1. 20 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2417การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์วงศ์เหยี่ยวปีกแหลมวงศ์เหยี่ยวและอินทรีสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสปีชีส์อันดับเหยี่ยวอินทรีนกเลขานุการแร้งโลกใหม่แร้งโลกเก่าเหยี่ยวเหยี่ยวรุ้งเหยี่ยวออสเปรเหยี่ยวดำเหยี่ยวนกเขาเหยี่ยวแมลงปอเหยี่ยวเคสเตรล

พ.ศ. 2417

ทธศักราช 2417 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1874.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและพ.ศ. 2417

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

วงศ์เหยี่ยวปีกแหลม

วงศ์เหยี่ยวปีกแหลม (Falconidae) ประกอบไปด้วยเหยี่ยวและคาราคาราซึ่งเป็นนกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน มีประมาณ 60 ชนิด วงศ์นี้แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Polyborinae ประกอบด้วย คาราคารา และเหยี่ยวป่า และ Falconinae ประกอบด้วย เหยี่ยว, เหยี่ยวเคสเตรล และ เหยี่ยวแมลงปอ.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและวงศ์เหยี่ยวปีกแหลม

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี (วงศ์: Accipitridae) เป็นหนึ่งในสองวงศ์หลักของอันดับ Accipitriformes (นกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน) นกในวงศ์มีขนาดเล็กถึงใหญ่ มีปากเป็นตะขอแข็งแรง มีสัณฐานต่างกันไปตามอาหารการกิน เหยื่อเป็นตั้งแต่แมลงถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลาง บางชนิดกินซากสัตว์ และสองสามชนิดกินผลไม้เป็นอาหาร วงศ์เหยี่ยวและอินทรีสามารถพบได้ทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา บางชนิดพบได้บนหมู่เกาะ และบางชนิดเป็นนกอพยพ นกในวงศ์นี้ ประกอบไปด้วย เหยี่ยวนกเขา, อินทรี, เหยี่ยวรุ้ง, เหยี่ยวไคต์ และ แร้งโลกเก่า, เหยี่ยวออสเปรนั้นโดยปกติแล้วจะถูกวางไว้ในอีกวงศ์ (Pandionidae) รวมถึง นกเลขานุการ (Sagittariidae), และ แร้งโลกใหม่ที่ปัจจุบันได้รับการพิจารณาเป็นวงศ์และอันดับที่แยกออกไป ข้อมูลแคริโอไทป์แสดงว่า การวิเคราะห์เหยี่ยวและนกอินทรีจนบัดนี้เป็นกลุ่มจากชาติพันธุ์เดียวที่แยกกันอย่างเด่นชัด แต่ถึงกระนั้นกลุ่มนี้ควรพิจารณาวงศ์ของอันดับเหยี่ยวปีกแหลมหรือหลายอันดับแยกออกมาเป็นของตัวเอง.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและวงศ์เหยี่ยวและอินทรี

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและสัตว์

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและสัตว์มีแกนสันหลัง

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและสัตว์ปีก

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและสปีชีส์

อันดับเหยี่ยว

อันดับเหยี่ยว (Accipitriformes) เป็นอันดับที่ประกอบด้วยนกล่าเหยื่อเวลากลางวันส่วนมาก เช่น เหยี่ยวนกเขา, อินทรี และ แร้ง มีประมาณ 225 ชนิด ในอดีตจะรวมเหยี่ยวในอันดับ Falconiformes แต่ผู้แต่งบางคนแยกมาไว้ในอันดับ Accipitriformes การศึกษา DNA ในปัจจุบันแสดงว่า เหยี่ยวปีกแหลมไม่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกับนกในอันดับ Accipitriformes แต่ใกล้ชิดกับนกแก้วและนกเกาะคอน ตั้งแต่การแบ่งแยก (แต่ก็ไม่ได้วางเหยี่ยวถัดจากนกแก้วหรือนกเกาะคอน) ได้รับการยอมรับโดยคณะกรรมการการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาใต้แห่งสมาคมนักปักษีวิทยาแห่งอเมริกา (American Ornithologists' Union) (SACC), คณะกรรมการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาเหนือ (NACC), และ การประชุมปักษีนานาชาติ (IOC) บนพื้นฐานของ DNA และการจัดประเภทของ NACC และ IOC ได้จัดแร้งโลกใหม่ใน Accipitriformes, ขณะที่ SACC ได้จัดแร้งโลกใหม่อยู่ในอันดับอื่น การจัดวางแร้งโลกใหม่นั้นยังคงเป็นปัญหามาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1990.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและอันดับเหยี่ยว

อินทรี

อินทรี เป็นนกจำพวกนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ ในวงศ์ Accipitridae อันดับ Accipitriformes (วงศ์และอันดับเดียวกับ เหยี่ยว) มีโครงสร้างทางกายภาพที่แข็งแรง ประกอบด้วยโครงกระดูก กล้ามเนื้อ ส่วนต่าง ๆ ขน และกรงเล็บเป็นหลัก จัดอยู่ในประเภทนกที่ล่าเหยื่อเป็นอาหาร มีขนาด ปีก และ หาง ที่กว้าง ลักษณะปลายปีกแหลมหรือปีกแตก จะงอยปากงองุ้มเป็นตะขอ อินทรีเป็นนกที่มีลักษณะสวยงาม แข็งแรง สายตาคม บินเร็ว โจมตีแม่นยำ มองเห็นเป้าหมายได้จากระยะไกล มีเพดานบินตั้งแต่พื้นราบจนถึงความสูง 2,100 เมตร และจัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีสายตาดีที่สุดในโลก อีกทั้งยังถือเป็นนกหรือสัตว์ปีกที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีอายุได้มากถึง 70 ปี ส่วนใหญ่จะมีสีเข้มและสร้างรังบนหน้าผาที่สูงชัน อินทรีเป็นนกที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง เป็นนกที่กินเนื้อเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลา, งู, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็กเช่น หนู และเป็นนกนักล่าซึ่งล่านกด้วยกัน และไข่นกที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร อินทรีพบอาศัยกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่เขตต่าง ๆ ทั่วทุกแห่งในโลก ยกเว้นพื้นที่ในทวีปแอนตาร์กติก ที่มีอากาศหนาวเย็น ในประเทศไทย มีอินทรีอยู่ด้วยกันจำนวนหนึ่ง อาทิ นกออก (Haliaeetus leucogaster), อินทรีหัวนวล (H.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและอินทรี

นกเลขานุการ

ำหรับ Sagittarius ความหมายอื่น ดูที่: ราศีธนู และกลุ่มดาวคนยิงธนู นกเลขานุการ หรือ นกเลขานุการินี (Secretarybird, Secretary bird) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดและแพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา จัดอยู่ในอันดับ Accipitriformes อันเป็นอันดับเดียวกับอินทรี, เหยี่ยว และแร้ง และจัดเป็นเพียงชนิดเดียวและสกุลเดียว ในวงศ์ Sagittariidae เท่านั้น นกเลขานุการเป็นนกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีน้ำหนักประมาณ 4 กิโลกรัม และมีความสูงกว่า 1 เมตร (ประมาณ 1.2-1.3 เมตร) เมื่อสยายปีกกว้างได้ถึง 2 เมตร ซึ่งชื่อ "นกเลขานุการ" แปลตรงตัวมาจากภาษาอังกฤษ คือ "Secretary bird" ซึ่งชื่อนี้ได้ดัดแปลงมาจากภาษาอาหรับคำว่า "saqr-et-tair" ซึ่งมีความหมายว่า "นกนักล่า" และต่อมาได้เพี้ยนจนกลายเป็น "Secretary" อย่างในปัจจุบัน แต่บางข้อมูลก็ระบุว่ามาจากขนหลังหัวที่เป็นซี่ ๆ ชี้ตั้งขึ้นเห็นได้ชัดเจน ซึ่งเหมือนขนนกที่ชาวตะวันตกในศตวรรษก่อนใช้ทัดหูและใช้แทนปากกา นกเลขานุการ มีลักษณะทั่วไปคล้ายอินทรี แต่มีส่วนขาที่ยาวมาก เป็นนกที่วิ่งและหากินตามพื้นดิน โดยไม่ค่อยบิน มีพฤติกรรมมักหากินอยู่เป็นคู่ตามทุ่งหญ้าและพุ่มไม้ต่าง ๆ โดย อาหาร คือ แมลงขนาดใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั๊กแตน, หนูชนิดต่าง ๆ นกที่ทำรังบนพื้นดินรวมทั้งไข่นก และสัตว์เลื้อยคลาน และมีรายงานว่าสามารถล้มสัตว์ขนาดใหญ่ อย่างแอนทิโลปขนาดเล็กหรือที่เป็นลูกอ่อนได้ด้วย ทั้งนี้ นกเลขานุการจะสร้างรังขนาดใหญ่บนต้นไม้ พบแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮาราลงไป ซึ่งปัจจุบันจะพบได้ตามเขตอนุรักษ์และอุทยานแห่งชาติต่าง.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและนกเลขานุการ

แร้งโลกใหม่

แร้งโลกใหม่ (New world vulture) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ ในวงศ์ Cathartidae โดยนกในวงศ์นี้จะพบแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะซีกโลกที่เรียกว่า "โลกใหม่" เท่านั้น คือ ทวีปอเมริกา ทั้ง อเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แร้งโลกใหม่ เป็นนกที่กินซากสัตว์เป็นอาหารเช่นเดียวกับแร้งโลกเก่า (Aegypiinae) ที่พบในทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป แต่ทว่ามีลักษณะหลายประการที่แตกต่างกัน คือ แร้งโลกใหม่ในหลายชนิดจะหาอาหารด้วยการใช้ประสาทการดมกลิ่นแทนที่จะการมองเห็น เช่นเดียวกับแร้งโลก หรือนกล่าเหยื่อจำพวกอื่น ๆ และทำให้การจัดอันดับของแร้งโลกใหม่นั้นไม่มีข้อยุติ โดยบางข้อมูลจะจัดให้อยู่ในอันดับ Accipitriformes เช่นเดียวกับนกล่าเหยื่อจำพวกอื่น แต่ในบางข้อมูลก็จัดให้อยู่ในอันดับ Ciconiiformes อันเป็นอันดับเดียวกับพวกนกกระสา โดยเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากนกกระสา หรือกระทั่งอยู่ในอันดับ Cathartiformes ซึ่งเป็นอันดับของตนเองไปเลยก็มี.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและแร้งโลกใหม่

แร้งโลกเก่า

แร้งโลกเก่า (Old world vulture) เป็นวงศ์ย่อยของนกล่าเหยื่อในอันดับเหยี่ยว (Accipitriformes) ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) ใช้ชื่อวงศ์ย่อยว่า Aegypiinae จัดเป็นแร้งจำพวกหนึ่ง นกในวงศ์ย่อยนี้ มีความแตกต่างไปจากนกจำพวกอื่นในวงศ์เดียวกัน คือ จะไม่กินสัตว์ที่มียังมีชีวิตอยู่ แต่จะกินเฉพาะสัตว์ที่ตายไปแล้ว หรือซากสัตว์ มีรูปร่างโดยรวมคือ ปีกกว้าง หางสั้น มีคอที่ยาว หัวเล็ก บริเวณต้นคอมีขนสีขาวรอบเหมือนสวมพวงมาลัย มีลักษณะเด่นคือ ขนที่หัวและลำคอแทบไม่มีเลยจนดูเหมือนโล้นเลี่ยน สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะพฤติกรรมการกินซากสัตว์ จึงไม่มีขนเพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของเชื้อโรค และเพื่อความสะดวกในการในการมุดกินซากด้วย แต่ก็มีบางชนิดที่ชอบกินลูกปาล์ม ขนาดลำตัวและปีกเฉลี่ยแล้วนับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดานกในวงศ์นี้ วางไข่ทำรังบนหน้าผาสูงหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้ใหญ่ วางไข่ครั้งละ 1 ฟอง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ บนอยู่เหนือท้องฟ้า และมองหาอาหารด้วยสายตา ด้วยการบินวนเป็นวงกลม เมื่อร่อนลงเพื่อกินซาก อาจจะแย่งกันและส่งเสียงดังเอะอะกันในฝูง แต่เมื่อเวลาบินขึ้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่และปีกที่กว้าง จำต้องวิ่งไปไกลถึง 20 ฟุต เหมือนเครื่งบินเวลาทะยานขึ้น และความเป็นสัตว์กินซา่ก แร้งโลกเก่าจึงเป็นนกที่ใช้เวลานอกเหนือจากการกินอาหารไซ้ขน รวมทั้งกางปีก ผึ่งแดด เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกเก่า ได้แก่ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป ในช่วงฤดูหนาวมีการอพยพลงซีกโลกทางใต้เพื่อหนีหนา่ว ปัจจุบัน แร้งโลกเก่าหลายชนิดอยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกรุกราน และสภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนไป ทำให้จำนวนหนึ่งต้องตายลงเนื่องจากไม่มีอาหารกิน ในอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลายตัวต้องตายลงเนื่องจากไปกินซากสัตว์ที่ปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ แร้ง - ชีวิตพิศดารของสัตว์ (๒) โดย ประพันธ์ บุญกลิ่นขจร: ต่วยตูน เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๐ ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙ ไข่ของแร้งโลกเก.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและแร้งโลกเก่า

เหยี่ยว

หยี่ยว หรือ อีเหยี่ยวบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและเหยี่ยว

เหยี่ยวรุ้ง

หยี่ยวรุ้ง หรือ อีรุ้ง (Crested serpent-eagle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Spilornis cheela) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลางจำพวกเหยี่ยวที่พบได้ในป่าในทวีปเอเชียเขตร้อน มีการกระจายพันธุ์กว้าง ด้วยความที่นกในสกุลนี้กินอาหารหลัก คือ งู จึงได้ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "Serpent-eagle" (เหยี่ยวงู หรือ อินทรีงู).

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและเหยี่ยวรุ้ง

เหยี่ยวออสเปร

หยี่ยวออสเปร (Osprey, Sea hawk, Fish eagle) เป็นนกล่าเหยื่อที่กินปลาเป็นอาหาร มีขนาดใหญ่ ยาว 60 เซนติเมตร ช่วงปีกกว้าง 2 เมตร ขนส่วนบนเป็นสีน้ำตาล ศีรษะและส่วนล่างมีสีค่อนข้างเทา มีสีดำบริเวณตาและปีก เหยี่ยวออสเปรมีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง ชอบทำรังใกล้กับแหล่งน้ำ แม้ว่าในทวีปอเมริกาใต้จะเป็นเพียงแค่นกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ แต่ก็ถือว่าสามารถพบได้ทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา เหยี่ยวออสเปรกินปลาเป็นอาหาร จึงพัฒนาลักษณะทางกายภาพเฉพาะและแสดงพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อช่วยในการล่าและการจับเหยื่อ จึงส่งผลให้มีสกุลและวงศ์เป็นของตนเองคือ สกุล Pandion และ วงศ์ Pandionidae มี 4 สปีชีส์ย่อยที่ได้รับการยอมรับ แม้จะมีนิสัยชอบในการทำรังใกล้แหล่งน้ำ แต่เหยี่ยวออสเปรก็ไม่ใช่อินทรีทะเล.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและเหยี่ยวออสเปร

เหยี่ยวดำ

หยี่ยวดำ (Black kite, Pariah kite) เป็นเหยี่ยวชนิดหนึ่ง จัดเป็นนกขนาดกลาง ขนาดลำตัวประมาณ 60-66 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกันคือ ลำตัวสีน้ำตาลเข้มอมเหลืองทั้งด้านบนและด้านล่าง ปีกสีน้ำตาลเข้ม หางเป็นแฉกตื้น ๆ มองดูคล้ายง่าม ปากสั้นสีดำแหลมคม ปลายปากเป็นขอ หัวค่อนข้างใหญ่ คอสั้น ปีกยาว ส่วนนกที่ยังไม่โตเต็มที่ ลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน พร้อมกับมีขีดสีเหลืองอ่อนทั่วทั้งตัว พบกระจายพันธุ์อยู่กว้างขวางในหลายพื้นที่ ตั้งแต่ยูเรเชีย, ออสตราเลเชีย และโอเชียเนีย จึงทำให้มีชนิดย่อยหลากหลายถึง 5 ชนิด (ดูในตาราง) และเป็นนกอพยพในหลายพื้นที่ในช่วงฤดูหนาว ในประเทศไทยพบได้ในป่าทางภาคเหนือ, ภาคกลางและภาคใต้ มีพฤติกรรมหากินในเวลากลางวัน ชอบบินอยู่ตามที่โล่งชายป่า ตามริมฝั่งทะเล หรือตามแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ เพื่อหาอาหาร เมื่อจับเหยื่อได้ก็มักกินบนพื้นดิน หรืออาจนำไปกินบนต้นไม้ พบอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่หรือเป็นฝูง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ เหยี่ยวดำจะทำรังรวมกันเป็นกลุ่มบนต้นไม้สูง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันสร้างรังด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ นำมาขัดสานกัน จากนั้นทั้งคู่จะช่วยกันกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อน นกจะใช้เวลากกไข่นานประมาณ 29-32 วัน ออกไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ปกติ 3 ฟอง ไข่ของเหยี่ยวดำ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ในการสำรวจในปี..

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและเหยี่ยวดำ

เหยี่ยวนกเขา

หยี่ยวนกเขา (Bird hawk, Sparrow hawk) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Accipiter จัดอยู่ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) มีลักษณะโดยรวม คือ ลำตัวมีขนสีเทาน้ำตาล มีลายตลอดตัว อกสีน้ำตาลลายกระขาว มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่ มักล่าเหยื่อด้วยการซ่อนตัวเงียบ ๆ ในพุ่มไม้บนต้นเพื่อโฉบเหยื่อไม่ให้รู้ตัว มีขนาดเล็กที่สุด คือ เหยี่ยวนกกระจอกเล็ก (A.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและเหยี่ยวนกเขา

เหยี่ยวแมลงปอ

หยี่ยวแมลงปอ (Falconet, Typical falconet) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกเหยี่ยว จัดอยู่ในสกุล Microhierax ในวงศ์เหยี่ยวปีกแหลม (Falconidae) เป็นเหยี่ยวขนาดเล็กมีขนาดลำตัวไล่เลี่ยกับนกกระจอกเท่านั้นเอง ที่ได้ชื่อว่าเหยี่ยวแมลงปอ เพราะมีพฤติกรรมโฉบบินจับแมลงปอและแมลงอื่น ๆ กินเป็นอาหารกลางอากาศได้ แต่ก็สามารถจับสัตว์อย่างอื่น เช่น สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กกินเป็นอาหารได้ด้วย แบ่งได้ออกเป็น 5 ชนิด ทุกชนิดเป็นนกที่พบประจำถิ่นได้ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยพบ 2 ชนิด ได้แก.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและเหยี่ยวแมลงปอ

เหยี่ยวเคสเตรล

หยี่ยวเคสเตรล (Common Kestrel, European Kestrel, Eurasian Kestrel หรือ Old World Kestrel) เป็นนกล่าเหยื่อในวงศ์เหยี่ยวปีกแหลม ในบริเตนนั้นไม่มีเหยี่ยวสีน้ำตาลชนิดอื่น มันถึงถูกเรียกว่า "kestrel" เหยี่ยวเคสเตรลมีการกระจายพันธุ์กว้าง ทั้งในยุโรป, เอเชีย, และ แอฟริกา แม้ว่าจะมีการตั้งถิ่นฐานของนกบนเกาะในมหาสมุทรสองสามเกาะ แต่การพบนกอพยพหลงนั้นยากมากในไมโครนีเซีย มีบันทึกเพียงสองครั้งในกวมและเกาะไซปัน.

ดู อันดับเหยี่ยวปีกแหลมและเหยี่ยวเคสเตรล

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Falconiformes