โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แอมโมเนียมคาร์บอเนต

ดัชนี แอมโมเนียมคาร์บอเนต

แอมโมเนียมคาร์บอเนต (Ammonium carbonate) เป็นเกลือชนิดหนึ่ง และมีสูตรโครงสร้าง (NH4)2CO3 เมื่อแอมโมเนียมคาร์บอเนตสลายตัวจะให้แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต และแอมโมเนีย: หมวดหมู่:สารประกอบแอมโมเนียม หมวดหมู่:คาร์บอเนต.

4 ความสัมพันธ์: แอมโมเนียแอมโมเนียมไบคาร์บอเนตโพแทสเซียมคาร์บอเนตโซเดียมคาร์บอเนต

แอมโมเนีย

แอมโมเนีย เป็น สารประกอบเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุ ไนโตรเจน และ ไฮโดรเจน โดยมี สูตรเคมี ดังนี้ NH3.

ใหม่!!: แอมโมเนียมคาร์บอเนตและแอมโมเนีย · ดูเพิ่มเติม »

แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต

แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต หรือเรียกว่า ไบคาร์บอเนตออฟแอมโมเนีย, แอมโมเนียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต, ฮาร์ตสฮอร์น (hartshorn), or ผงเบกิ่งแอมโมเนีย เป็น เกลือไบคาร์บอเนต ของ แอมโมเนีย แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต สามารถทำให้เกิดได้โดยการผ่าน คาร์บอนไดออกไซด์ เข้าไปในสารละลายแอมโมเนีย จะได้ผงสีขาว ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย สารละลายของแอมโมเนียม ไบคาร์บอเนตเมื่อสัมผัสกับอากาศหรือโดนความร้อนจะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ ออกมามันทำตัวเป็นด่างในปฏิกิริยา สารละลายทั้งหมดของคาร์บอเนตเมื่อถูกต้มจะสะลายตัวเกิดเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ และ แอมโมเนียดังสมการข้างล่างนี้.

ใหม่!!: แอมโมเนียมคาร์บอเนตและแอมโมเนียมไบคาร์บอเนต · ดูเพิ่มเติม »

โพแทสเซียมคาร์บอเนต

แทสเซียมคาร์บอเนต (Potassium carbonate;K2CO3) เป็นเกลือสีขาวละลายในน้ำได้แต่ไม่ละลายในเอทานอล ละลายในน้ำได้สารละลายเป็นเบสแก่ สารนี้เป็นผลิตภัณฑ์ของ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ที่ทำปฏิกิริยากับ คาร์บอนไดออกไซด์ สารนี้ใช้ในการผลิตสบู่และแก้ว ในตำรายาเรียกเกลือเยาวกะษา หรือยาวักกะสาน ซึ่งยืมคำมาจากภาษาสันสกฤต ในสมัยก่อนจะได้จากการเผาพืชให้เป็นเถ้า นำไปละลายน้ำ แล้วระเหยให้น้ำแห้ง ตำราอายุรเวทของอินเดียใช้ขับปัสสาวะและลดกรดในกระเพาะอาหาร.

ใหม่!!: แอมโมเนียมคาร์บอเนตและโพแทสเซียมคาร์บอเนต · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมคาร์บอเนต

ซเดียมคาร์บอเนต หรือ โซดา แอช หรืออีกชื่อคือ โซดาซักผ้า สูตรเคมี คือ Na2CO3 เป็นสารประกอบเกลือของกรดคาร์บอนิก มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ดี ละลายได้ในน้ำ มีฤทธิ์เป็นด่างแก่เมื่อละลายน้ำ ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ พบในขี้เถ้าของพืชหลายชนิดและสาหร่ายทะเล (จึงได้ชื่อว่า โซดา แอช เนื่องจาก แอช ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ขี้เถ้า) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น แก้ว เซรามิคส์ กระดาษ ผงซักฟอก สบู่ การแก้ไขน้ำกระด้าง โซเดียมคาร์บอเนต พบได้ในธรรมชาติในเขตแห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งแร่ที่เกิดจากทะเลสาบที่ระเหยแห้งไป ในสมัยอียิปต์โบราณ มีการขุดแร่ที่เรียกว่า เนทรอน (natron) (ซึ่งเป็นเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมคาร์บอเนต (หรือ โซดา แอช) และโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้ง โซดา) และมีโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) และโซเดียมซัลเฟต ปนอยู่เล็กน้อย) จากก้นทะเลสาบที่แห้ง ใกล้แม่น้ำไนล์ และนำมาใช้ในการทำมัมมี่ ใน ปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) พบแหล่งแร่โซเดียมคาร์บอเนตขนาดใหญ่ใกล้แม่น้ำกรีนริเวอร์ รัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐขุดแร่มาใช้แทนการผลิตทางกรรมวิธีทางเคมี ในประเทศอื่น ๆ การผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกรรมวิธีทางเคมีที่เรียกว่า กระบวนการโซลเวย์ (Solvay process) ซึ่งค้นพบโดย เออร์เนส โซลเวย์ นักอุตสาหกรรมเคมีชาวเบลเยี่ยม ในปี พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) โดยเปลี่ยน โซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) เป็น โซเดียมคาร์บอเนต โดยใช้ แอมโมเนีย และ แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และสารที่เหลือจากกระบวนการมีเพียง แคลเซียมคลอไรด์ ซึ่งไม่เป็นพิษแม้ว่าอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองได้ และ แอมโมเนียนั้นยังสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ทำให้กระบวนการโซลเวย์มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่ากรรมวิธีแบบเดิมมาก จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตอย่างแพร่หลาย ในคริสต์ศตวรรษ 1900 โซเดียมคาร์บอเนต 90% ที่ผลิต ใช้วิธีการนี้ และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน เดิมนั้นการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกระบวนเคมีที่เรียกว่า กระบวนการเลอบลังก์ (Leblanc process) ซึ่งค้นพบโดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส ชื่อ นิโคลาส เลอบลังก์ ในปี พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) โดยใช้ โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) กรดซัลฟูริก (กรดกำมะถัน) แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และถ่าน แต่กรดไฮโดรคลอริค (กรดเกลือ) ที่เกิดจากกระบวนการนี้ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และแคลเซียมซัลไฟด์ ที่เหลือจากกระบวนการทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม แต่เนื่องจากโซเดียมคาร์บอเนตเป็นสารเคมีพื้นฐานในอุตสาหกรรมหลายชนิด ทำให้มีการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตโดยกรรมวิธีนี้ และเป็นกรรมวิธีหลักมาจนถึงช่วงปี พ.ศ. 2423 - 2433 (ช่วง ค.ศ. 1880 - 1890) หลังการค้นพบกระบวนการโซลเวย์ กว่า 20 ปี โรงงานผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตที่ใช้กระบวนการ เลอบรังค์แห่งสุดท้ายปิดลงในช่วงปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920).

ใหม่!!: แอมโมเนียมคาร์บอเนตและโซเดียมคาร์บอเนต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Aluminium carbonateอะลูมิเนียม คาร์บอเนต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »