โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อะกิฮิโกะ โยะชิดะ

ดัชนี อะกิฮิโกะ โยะชิดะ

อะกิฮิโกะ โยะชิดะ เป็นนักออกแบบตัวละครเกม เกิดปี พ.ศ. 2510 เริ่มเข้าทำงานกับบริษัทสแควร์ ในปี พ.ศ. 2538 ผลงานการออกแบบที่เป็นที่รู้จักคือ ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ เวแกรนท์สตอรี ไฟนอลแฟนตาซี XII และไฟนอลแฟนตาซี III รุ่นนินเทนโด ดีเอ.

12 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2510พ.ศ. 2538สแควร์นินเท็นโด ดีเอสไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ไฟนอลแฟนตาซี IIIไฟนอลแฟนตาซี XIIไพ่ทาโรต์NDSPSPS2SFC

พ.ศ. 2510

ทธศักราช 2510 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1967 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อะกิฮิโกะ โยะชิดะและพ.ศ. 2510 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2538

ทธศักราช 2538 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1995 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อะกิฮิโกะ โยะชิดะและพ.ศ. 2538 · ดูเพิ่มเติม »

สแควร์

แควร์ (スクウェア) หรือ บริษัทสแควร์จำกัด (株式会社スクウェア, Square Co., Ltd.) เป็นบริษัทผลิตวิดีโอเกมของประเทศญี่ปุ่น จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1983 โดย มาซาฟูมิ มิยาโมโต้ และ ฮิโรโนบุ ซาคากูชิ เกมแรกของ สแควร์ จัดจำหน่ายครั้งแรกบนเครื่องแฟมิคอม (Nintendo Family Computer หรือที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า Nintendo Entertainment System) และ แฟมิคอม ดิสก์ ซิสเต็ม (Famicom Disk System) โดยเกมในช่วงแรกที่ผลิตออกมาไม่ประสบความสำเร็จมากนัก จนกระทั่งปี 1987 บริษัทก็ประสบปัญหาและมีโอกาสที่จะล้มละลาย และปีเดียวกัน ฮิโรโนบุ ซาคากูชิ ลูกจ้างของบริษัทได้ถูกตำหนิเกี่ยวกับการสร้างเกมที่คาดว่าจะเป็นเกมสุดท้ายของบริษัท ซึ่งก็คือเกม RPG ชื่อ ไฟนอลแฟนตาซี (Final Fantasy) บนเครื่องแฟมิคอมนั่นเอง การที่ฮิโรโนบุนำคำว่า “ไฟนอล” (สุดท้าย) มาใช้เพราะเค้าวางแผนไว้ว่าจะลาออกจากการทำงานในอุตสาหกรรมเกมและ ไฟนอลแฟนตาซี จะเป็นเกมสุดท้ายของเขา แต่ ไฟนอลแฟนตาซี กลับทำได้ดีเกินกว่าที่ ฮิโรโนบุ และ สแควร์ คาดไว้ และทำให้มีการจำหน่ายไปสู่อเมริกาเหนือ โดยนินเทนโดอเมริกาซึ่งเป็นผู้จำหน่ายเกม ไฟนอลแฟนตาซี ที่อเมริกาในปี ค.ศ. 1990 และจากความสำเร็จนี้เอง ทำให้ฮิโรโนบุยกเลิกแผนการที่จะลาออกและอยู่ที่ สแควร์ซอฟต์ เพื่อพัฒนาเกมไฟนอลแฟนตาซีภาคใหม่ต่อไป สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกมไฟนอลแฟนตาซีแต่ละภาคมีเนื้อเรื่องที่แปลกใหม่พร้อมกับตัวละครที่ไม่ซ้ำกับภาคก่อนก็น่าจะมีเหตุผลมาจากต้นฉบับของเกม ไฟนอลแฟนตาซี นั้นสร้างขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่าจะไม่มีภาคต่ออีกนั่นเอง ไฟนอลแฟนตาซีภาคต่อมาได้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1988 (ไฟนอลแฟนตาซี II) โดยวางตลาดเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นจนถึง ไฟนอลแฟนตาซี III และมีกำหนดการวางจำหน่ายสำหรับเครื่องแฟมิคอม ในอเมริกาเหนือ แต่เนื่องจากการเข้าสู่ยุคใหม่ของเกมและการมาของเครื่องซุปเปอร์แฟมิคอม (ชื่อทางการคือ Nintendo Entertainment System) ในที่สุดก็มีการยกเลิกการจำหน่าย ไฟนอลแฟนตาซี สำหรับเครื่องแฟมิคอม และแทนที่โดย ไฟนอลแฟนตาซี IV บนเครื่องซุปเปอร์แฟมิคอม นอกจากนี้ สแควร์ ยังผลิตเกมอื่น ๆ ออกมาอีกและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เช่น โครโนทริกเกอร์, โจโคโบะ, อายน์แฮนด์เดอร์, ซีเคร็ท ออฟ มานา, เซเคนเด็นเซตสึ, เซโนเกียร์ส, ไฟนอลแฟนตาซี แทคติกส์, เบรฟเฟนเซอร์ มุซาชิเด็น, วาแกรนต์ สตอรี่ และ คิงด้อมฮาร์ทส (ร่วมมือกับบริษัท Disney Interactive โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับไฟนอลแฟนตาซี) ในปี ค.ศ. 2002 บริษัทสแควร์ ได้รวมกิจการกับ เอนิกซ์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเกมดราก้อนเควสต์ เพื่อที่จะควบคุมการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเนื่องมาจากความล้มเหลวจากการผลิตภาพยนตร์ Final Fantasy: The Spirits Within และในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2003 การควบรวมบริษัทก็ประสบความสำเร็จและใช้ชื่อเป็นบริษัทสแควร์เอนิกซ์ (Square Enix) จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: อะกิฮิโกะ โยะชิดะและสแควร์ · ดูเพิ่มเติม »

นินเท็นโด ดีเอส

นินเท็นโด DS (Nintendo DS หรือตัวย่อ NDS) เป็นเครื่องเล่นเกมพกพาที่มี 2 จอ ของบริษัทนินเท็นโด ตัวอักษร DS ย่อมาจาก Dual Screen หรือ Developer's System ตามที่นินเท็นโดได้บอกไว้ รหัสในการพัฒนาคือ Project Nitro รูปทรงของ NDS เป็นแบบฝาพับ (clamshell) เช่นเดียวกับ Gameboy Advance SP DS ออกแบบมาเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ๆ ในการเล่นเกม จอภาพด้านล่างของ DS เป็นระบบสัมผัส นอกจากนี้ยังมีไมโครโฟนในตัว และการเชื่อมต่อแบบไร้สายกับ DS เครื่องอื่นๆ โดยนินเท็นโดวางตำแหน่งของ DS แตกต่างจากเกมบอย และจับตลาดผู้เล่นที่เป็นผู้ใหญ่มากกว่า DS วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 และที่ญี่ปุ่น 2 ธันวาคม ปีเดียวกัน.

ใหม่!!: อะกิฮิโกะ โยะชิดะและนินเท็นโด ดีเอส · ดูเพิ่มเติม »

ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์

Final Fantasy Tastics ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ (Final Fantasy Tastics) หรือ FFT เป็นเกม แนววางแผนการรบผสมกับแนวภาษา สร้างโดยบริษัทสแควร์จำกัด มีทั้งรูปแบบที่เล่นบนเครื่องเกม เพลย์สเตชัน เกมไฟนอลแฟนตาซีภาคนี้วางจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เท่านั้น ไม่มีจำหน่ายที่ประเทศในทวีปยุโรป ปัจจุบันตัวเกมมีการวางจำหน่ายซ้ำลง เพลยสเตชันพอร์ทเทเบิลและใช้ชื่อว่า ไฟนอนแฟนตาซี แทกติกซ์ ชิชิเซนโซ (ファイナルファンタジータクティクス 獅子戦争, ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ สงครามราชสีห์) ซึ่งได้มีการเสริมแต่งเรื่องราวให้เข้ากับเกมชุดอิวาลิซแอนไลแอนซ์ โดยมีการเพิ่มตัวละครได้แก่ บัลเธียร์ (จากไฟนอลแฟนตาซี XII, ลูโซ่ (จากไฟนอลแฟนตาซี แทกติกซ์ A2 ฟูเค็ทสึโนะกรีมอร์) เพิ่มอาชีพใหม่ได้แก่อัศวินดำและอัศวินหัวหอม.

ใหม่!!: อะกิฮิโกะ โยะชิดะและไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟนอลแฟนตาซี III

หน้าปกของเกม ไฟนอลแฟนตาซี III รุ่นเครื่องเกมแฟมิคอม ไฟนอลแฟนตาซี III (Final Fantasy III) เป็นเกมเล่นตามบทละคร หนึ่งในเกมชุดไฟนอลแฟนตาซีถูกพัฒนาครั้งแรกและวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2533 โดยบริษัทสแควร์สำหรับเล่นในเครื่องเกมแฟมิคอม ตัวละครในเรื่องออกแบบโดยโยะชิทะกะ อะมะโนะ และเพลงออกแบบโดย โนะบุโอะ อุเอะมัตสึ เหมือนในภาคก่อนหน้า โดยก่อนหน้านี้ทางบริษัทได้มีโครงการที่จะพัฒนาเกมลงเครื่องวันเดอร์สวอนแต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาได้มีการพัฒนาอีกครั้งและวางจำหน่ายในปี 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 สำหรับเครื่องเกมนินเทนโด ดีเอส จากทางสแควร์เอนิกซ์ โดยในเกมที่ทำใหม่นั้นได้ปรับปรุงระบบภาพเป็นกราฟิกส์ 3 มิติ ทั้งหมด และมีระบบการเชื่อมต่อระบบวายฟายเพิ่มเข้ามา การดำเนินเรื่องของเกมเกี่ยวกับเด็กกำพร้าสี่คนได้บังเอิญมาเจอกับคริสตัลในถ้ำแห่งหนึ่ง และได้รับคำชี้แนะของทางคริสตัลว่าแท้จริงแล้วพวกเขาคือนักรบแห่งแสงสว่าง ที่จะมาช่วยกู้โลกจากความมืด หลังจากนั้นเด็กทั้งสี่ได้ผจญภัยไปในโลกกว้าง และได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่นตลอดการเดินทางเผื่อปราบมารร้ายซันเด และนำความสงบกลับคืนมาสู่โลก ในสหรัฐอเมริกา ไฟนอลแฟนตาซี III มักจะถูกเรียกสับสนกับเกมไฟนอลแฟนตาซี VI ซึ่งเป็นเกมที่วางจำหน่ายในอเมริกาเป็นเกมลำดับที่ 3.

ใหม่!!: อะกิฮิโกะ โยะชิดะและไฟนอลแฟนตาซี III · ดูเพิ่มเติม »

ไฟนอลแฟนตาซี XII

ฟนอลแฟนตาซี XII เป็นเกมอาร์พีจีในชุดไฟนอลแฟนตาซี สำหรับเครื่องเกมเพลย์สเตชัน 2 สร้างสรรค์และวางจำหน่ายโดยค่ายสแควร์เอนิกซ์ และนับเป็นภาคที่ 12 ในซีรีส์ไฟนอลแฟนตาซี ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2549 ที่ผ่านมา โดยทำยอดจำหน่ายไปแล้วขณะนี้มากกว่า 2 ล้านชุดในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในประเทศไทยก็ได้ออกวางจำหน่ายไปแล้วเช่นกัน ส่วนวันวางจำหน่ายของเวอร์ชันภาษาอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือ อยู่ในช่วงเดือน พฤศจิกายน..

ใหม่!!: อะกิฮิโกะ โยะชิดะและไฟนอลแฟนตาซี XII · ดูเพิ่มเติม »

ไพ่ทาโรต์

ทาโรต์ ไพ่ทาโรต์ หรือที่ถูกอ่านว่า แทโรต์(tarot) เป็นไพ่ชนิดหนึ่ง เป็นที่รู้จักตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 20 แต่ลักษณะไพ่ไม่เหมือนในปัจจุบัน กระทั่งพุทธศตวรรษที่ 23 ในทวีปยุโรปนั้นไพ่ทาโรต์แพร่หลายในรูปแบบของเกมการละเล่น เช่น tarocchini และ tarot แต่ในพื้นที่ซึ่งอยู่ภายใอิทธิพลของภาษาอังกฤษนั้นเป็นที่รู้จักในฐานะเครื่องมือในการทำนายโชคชะตามากกว่า ไพ่ทาโรต์แบบที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดคือ Rider-Waite ซึ่งวาดโดย พาเมลา โคลแมน สมิธ (Pamela Colman Smith) ตามการออกแบบของ อาเธอร์ เอ็ดเวิร์ด เวท (Arthur Edward Waite) และเผยแพร่โดยบริษัทไรเดอร์ (Rider Company) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2452 แต่ก็มีไพ่ทาโรต์รูปแบบอื่นๆซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ด้วยเช่นกัน เช่น ธอธทาโรต์ (Thoth tarot) ซึ่งวาดโดย ฟรีดา แฮริส (Frieda Harris) และออกแบบโดย อเลสเตอร์ โครวลีย์ (Aleister Crowley) ไพ่จะมีลักษณะคล้ายกับไพ่ป๊อกที่ใช้เล่นกันตามปัจจุบัน แต่แยกออกเป็น 2 ชนิด คือ สำรับใหญ่ (Major Arcana) ซึ่งประกอบด้วยไพ่ 22 ใบ และสำรับเล็ก (Minor Arcana) 56 ใบ ไพ่แต่ละใบมีสัญลักษณ์ประจำ การอ่านไพ่ขึ้นอยู่หลายปัจจัย อย่างแรก ดูจากความหมายของสัญลักษณ์ของตัวไพ่ และอีกประการหนึ่งคือ อ่านรวมกับไพ่ใบอื่นโดยดูจากตำแหน่งของไพ่ ไพ่ทาโรต์มีหลายแบบและได้รับความนิยม เนื่องจากความไม่ยุ่งยากในการอ่านไพ่ที่มีสัญลักษณ์บอกความหมายอยู่แล้ว ในประเทศไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยที่จะเรียก "ไพ่ทาโรต์" ว่า "ไพ่ยิปซี" โดยอิงตามความเชื่อที่ว่าชาวยิปซีเป็นผู้เผยแพร่ศาสตร์ประเภทนี้ ทว่าไพ่ทั้งสองกลุ่มจัดเป็นไพ่คนละประเภทกัน.

ใหม่!!: อะกิฮิโกะ โยะชิดะและไพ่ทาโรต์ · ดูเพิ่มเติม »

NDS

NDS อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อะกิฮิโกะ โยะชิดะและNDS · ดูเพิ่มเติม »

PS

PS, Ps, ps ฯลฯ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อะกิฮิโกะ โยะชิดะและPS · ดูเพิ่มเติม »

PS2

PS2 เป็นคำย่อของสิ่งหลายอย่าง.

ใหม่!!: อะกิฮิโกะ โยะชิดะและPS2 · ดูเพิ่มเติม »

SFC

SFC อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อะกิฮิโกะ โยะชิดะและSFC · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »