โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ออดรีย์ เฮปเบิร์น

ดัชนี ออดรีย์ เฮปเบิร์น

ออดรีย์ เฮปเบิร์น (Audrey Hepburn) (4 พฤษภาคม ค.ศ. 1929 -20มกราคม ค.ศ. 1993) เป็นนักแสดงอังกฤษเชื้อสายเนเธอร์แลนด์ ที่เกิดที่เมือง บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม โตในเนเธอร์แลนด์ ที่เมืองอาร์นเฮม ในช่วงวัยเด็กและในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เธอเรียนบัลเล่ต์ที่นี่ หลังจากนั้นย้ายไปอยู่ที่ลอนดอนเมื่อปี 1948 โดยเธอเรียนการแสดงและทำงานเป็นนางแบบ หลังจากนั้นมีผลงานแสดงภาพยนตร์ และแสดงในละครเวทีเรื่อง Gigi ออดรีย์แสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง Roman Holiday (1953) ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลออสการ์ รางวัลลูกโลกทองคำ และรางวัลบาฟต้า เธอยังได้รับรางวัลโทนีจากการแสดงในเรื่อง Ondine (1954) Breakfast at Tiffany's หลังจากนั้นอีกหลายปี เธอถือว่าเป็นนักแสดงหญิงที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก โดยแสดงในหนังฮอลลีวูดที่มีนักแสดงนำชายชื่อดัง อย่างเช่น ฮัมฟรีย์ โบการ์ต, แครี แกรนต์, เฮนรี ฟอนดา, แกรี คูเปอร์ และเฟรด แอสแตร์ ที่เธอเต้นรำร่วมกันใน Funny Face (1957) เธอได้รับรางวัลบาฟต้าจากการแสดงในเรื่อง The Nun's Story (1959) และ Charade (1963) เธอยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์จากผลงานเรื่อง Sabrina (1954), Breakfast at Tiffany's (1961) และ Wait Until Dark (1967) เธอยังแสดงในบทเอลิซา ดูลิทเทิล ในผลงานฉบับภาพยนตร์ของ My Fair Lady (1964) จากประสบการณ์ในช่วงสงครามของเธอทำให้เธอมีแรงบันดาลใจในงานทำงานเพื่อเพื่อนมนุษย์ เธอทำงานกับยูนิเซฟตั้งแต่ทศวรรษ 1950 เธอยังอุทิศเวลาและกำลังกายให้กับองค์กร ตั้งแต่ปี 1988 ถึง 1992 เธอทำงานให้กับชุมชนในแอฟริกา อเมริกาใต้ และเอเชีย โดยไม่แสวงหาผลประโยชน์ ในปี 1992 เธอได้รับเครื่องรัฐอิสริยาภรณ์เหรียญแห่งอิสรภาพของประธานาธิบดี สำหรับการทำงานให้ในฐานะ UNICEF Goodwill Ambassador ปี 1980 เธออยู่กับนักแสดง โรเบิร์ต วอลเดอร์ส เธอเสียชีวิตจากมะเร็งที่ไส้ติ่ง ที่บ้านในสวิตเซอร์แลนด์ อายุได้ 63 ปี ในวันที่20 มกราคม 1993 เธอได้รับรางวัลหลังการเสียชีวิตอย่างรางวัล The Jean Hersholt Humanitarian Award จาก Academy of Motion Picture Arts and Sciences สำหรับงานการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม เธอได้รับรางวัลแกรมมี่จากผลงานบันทึกเสียงเกี่ยวกับการพูด ในผลงาน Audrey Hepburn's Enchanted Tales ในปี 1994 และในปีเดียวกันเธอได้รับรางวัลเอมมี ในสาขา Outstanding Achievement for Gardens of the World นอกจากนี้เธอยังอยู่อันดับ 3 จากการจัดอันดับ ดาราสาวตลอดกาลจากสถาบันภาพยนตร์อเมริกัน.

27 ความสัมพันธ์: บรัสเซลส์บัลเลต์บุษบาริมทาง (ภาพยนตร์)รางวัลลูกโลกทองคำรางวัลออสการ์รางวัลแบฟตารางวัลแกรมมีรางวัลโทนีรางวัลเอ็มมีลอนดอนละครเวทีสงครามโลกครั้งที่สองฮัมฟรีย์ โบการ์ตทวีปอเมริกาใต้ทวีปแอฟริกาทวีปเอเชียประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเทศเบลเยียมประเทศเนเธอร์แลนด์นักแสดงนงเยาว์นิวยอร์คแกรี คูเปอร์แครี แกรนต์โรมรำลึกเฟรด แอสแตร์เหรียญอิสรภาพประธานาธิบดีเฮนรี ฟอนดา

บรัสเซลส์

รัสเซลส์ (Brussels), บรูว์แซล (Bruxelles) หรือ บรึสเซิล (Brussel; Brüssel) เรียกอย่างเป็นทางการว่า เขตนครหลวงบรัสเซลส์ หรือ เขตบรัสเซลส์ (All text and all but one graphic show the English name as Brussels-Capital Region.) (Région de Bruxelles-Capitale, Brussels Hoofdstedelijk Gewest) เป็นเมืองหลวงของประเทศเบลเยียม และเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงอย่างไม่เป็นทางการของสหภาพยุโรป (อียู) เขตบรัสเซลส์แบ่งการปกครองย่อยเป็นเทศบาลจำนวน 19 แห่ง รวมถึง เทศบาลนครบรัสเซลส์ (City of Brussels) ซึ่งอยู่ใจกลางเขตมีอาณาเขตเพียง 32.61 ตร.กม.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและบรัสเซลส์ · ดูเพิ่มเติม »

บัลเลต์

Classical bell tutus in ''The Dance Class'' by Degas, 1874 บัลเลต์ บัลเลต์ (ballet) หมายถึง การแสดงที่ประกอบด้วยการเต้น และ ดนตรีมีลักษณะเช่นเดียวกับอุปรากร เพียงแต่บัลเลต์เป็นการนำเสนอเนื้อเรื่อง โดยใช้การเต้นเป็นสื่อ มีกำเนิดขึ้นในระหว่างศตวรรษที่ 15 ที่ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในศตวรรษที่ 19 ได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอิตาลี การพัฒนาในยุคนี้คือ นิยมให้ผู้หญิงเป็นผู้แสดงเอก เรียกว่า บัลเลรินา (Ballerina) ศตวรรษที่ 20 บัลเลต์ได้รับการพัฒนาให้มีรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า โมเดิร์นแดนซ์ (Modern Dance) คือ การนำเอาหลักของบัลเลต์มาผสมผสานดัดแปลงให้เป็นการเต้น โดยไม่ต้องใส่รองเท้าบัลเลต์และไม่ต้องใช้ปลายเท้าในลักษณะของบัลเลต์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการประพันธ์เพลงบัลเลต์ ได้แก่ ไชคอฟสกี โปรโกเฟียฟ คอปแลนด์ และฟัล.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและบัลเลต์ · ดูเพิ่มเติม »

บุษบาริมทาง (ภาพยนตร์)

ษบาริมทาง (My Fair Lady) เป็นภาพยนตร์เพลงในปี..

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและบุษบาริมทาง (ภาพยนตร์) · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลลูกโลกทองคำ

รางวัลลูกโลกทองคำ รางวัลลูกโลกทองคำ (Golden Globe Award) เป็นรายการแจกรางวัลประจำปีที่มอบให้กับภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์เริ่มมาต้งแต่ปี 1944 จัดโดย Hollywood Foreign Press Association (HFPA) รางวัลลูกโลกทองคำถูกจัดอันดับว่ามีผู้ชมมากที่สุดอันดับ 3 สำหรับรายการแจกรางวัล ตามหลังรางวัลออสการ์และรางวัลแกรมมี่ การจัดจะจัดช่วงต้นปี โดยยึดผลจากการโหวดจากนักข่าวและสื่อมวลชนในสหรัฐอเมริกา ผู้มีสิทธิเข้าชิงจะคัดเลือกในช่วงหลังวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งแตกต่างจากรางวัลออสการ์ที่ใช้เกณฑ์วันที่ 1 มกราคม และที่แตกต่างคือ เป็นรางวัลที่ไม่มีพิธีกรหลักแต่จะมีผู้เสนอรางวัล และผู้แนะนำรางวัลต่าง.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและรางวัลลูกโลกทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลออสการ์

รางวัลออสการ์ อะแคเดมีอะวอร์ด ("รางวัลสถาบัน") หรืิอ ออสการ์ เป็นรางวัลทางภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก จัดโดยสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (หรือ) เริ่มจัดครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและรางวัลออสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลแบฟตา

รางวัลแบฟตา รางวัลสถาบันศิลปะภาพยนตร์และโทรทัศน์บริติช (British Academy of Film and Television Arts) หรือ แบฟตา (BAFTA) เป็นรางวัลการแจกรางวัลประจำปีของสหราชอาณาจักร ที่มอบรางวัลให้กับภาพยนตร์ โทรทัศน์ รายการสำหรับเด็ก และสื่อเชิงโต้ตอบ การแจกรางวัลเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 ในฐานะเดอะบริติชฟิล์มอะแคเดมี โดย เดวิด ลีน, อเล็กซานเดอร์ คอร์ดา, คาโรล รีด, ชาลส์ ลอตัน, โรเจอร์ แมนเวลล์ และคนอื่น ๆ ต่อมาในปี ค.ศ. 1958 สถาบันได้รวมกับ The Guild of Television Producers and Directors และก่อตั้งเป็น The Society of Film and Television ซึ่งต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาเป็น The British Academy of Film and Television Arts (BAFTA) ในปี 1976 สัญลักษณ์รางวัลที่มองเป็นรูปหน้ากากออกแบบโดย Mitzi Cunliffe ประติมากรชาวอเมริกัน.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและรางวัลแบฟตา · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลแกรมมี

รางวัลแกรมมี รางวัลแกรมมี (Grammy Award) มีชื่อเต็มว่า Gramophone Awards เป็นรางวัลทางดนตรี และศิลปิน ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก จัดขึ้นโดยสถาบันศิลปะวิทยาการการบันทึกเสียงแห่งสหรัฐอเมริกา (National Academy of Recording Arts and Sciences:NARAS) เป็นรายการแจกรางวัลให้ผู้มีผลงานโดดเด่นในอุตสาหกรรมการดนตรี จัดขึ้นเป็นประจำปีในสหรัฐอเมริกา โดยมากจะจัดในเดือนกุมภาพันธ์ มีสาขารางวัลถึง 108 สาขา ใน 30 แนวเพลง เป็นการโหวดโดยคณะกรรมการใน NARAS(คณะกรรมการที่เคยโหวดเช่น จอน บอน โจวี, ปริ้นซ์, Anand Bhatt, พอล ไซม่อน, เป็นต้น) รางวัลแกรมมีเริ่มมีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 โดยเริ่มถ่ายทอดสดในปี 1971.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและรางวัลแกรมมี · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโทนี

รางวัลโทนี (Tony Awards หรือชื่อเต็มว่า The Antoinette Perry Awards for Excellence in Theatre) เป็นการมอบรางวัลให้กับศิลปะการแสดงละครเวที ละครบรอดเวย์ของชาวอเมริกัน จัดขึ้นโดย American Theatre Wing และ The Broadway League จัดขึ้นประจำปีในนิวยอร์กซิตี รางวัลมอบให้กับการสร้างสรรค์การทำงาน การแสดงของละครเวที ละครบรอดเวย์ และมอบให้โรงละครอเมริกัน รางวัลพิเศษที่มอบให้เช่น Special Tony Award และ the Tony Honors for Excellence in Theatre ก็มีการมอบรางวัล รางวัลนี้ตั้งชื่อตาม Antoinette Perry ผู้ร่วมก่อตั้ง American Theatre Wing รางวัลโทนีถือเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดของการแสดงละครเวที ในสหรัฐอเมริกา เปรียบเสมือนรางวัลออสการ์ของทางฝั่งละครเวที ตั้งแต่ปี 1997 พิธีมอบรางวัลจัดขึ้นที่เรดิโอมิวสิกฮอล ในนิวยอร์กซิตี ช่วงเดือนมิถุนายน ถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ซีบีเอ.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและรางวัลโทนี · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลเอ็มมี

รางวัลเอ็มมี เป็นรางวัลทางโทรทัศน์ที่พิจารณาผู้ทำงานด้านโทรทัศน์ เทียบเท่าได้กับรางวัลออสการ์ของทางฝั่งภาพยนตร์ โดยนำเสนอหลายส่วนในอุตสาหกรรมทางโทรทัศน์อย่างเช่น รายการบันเทิง ข่าว สารคดี รายการกีฬา รางวัลจัดขึ้นประจำทุกปี โดยจะการแจกรางวัลในสาขาเฉพาะอย่างเช่น ไพรม์ไทม์ เอ็มมี อวอร์ดส ให้กับรายการอเมริกันที่ดีที่สุดในช่วงไพร์มไทม์ (ไม่รวมกีฬา) และ เดย์ไทม์ เอ็มมี อวอร์ดส ให้กับรายการอเมริกันที่ดีที่สุดในช่วงกลางวัน หมวดหมู่:รางวัลโทรทัศน์.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและรางวัลเอ็มมี · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ละครเวที

ภาพวาด การแสดงละครเวทีเรื่อง Romeo and Juliet ละครเวทีละครเพลงซึ่งเน้นการร้องมากกว่า คาดกันว่าละครเวทีมีมาตั้งแต่สมัยกรีก อริสโตเติลบันทึกไว้ว่าละครของกรีก เริ่มต้น จุดเด่นของละครเวทีคือ การสื่อสารระหว่างผู้ชมกับนักแสดง การสื่อสารระหว่างผู้ชมและนักแสดงเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน วอลเตอร์ เคอร์ นักวิจารณ์ชาวอเมริกันพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "ความสัมพันธ์ระหว่างคนดูกับนักแสดงเช่นนี้ไม่มีในภาพยนตร์ เพราะภาพยนตร์เป็นสิ่งที่สร้างมาสำเร็จรูปแล้ว มันไม่สามารถตอบสนองเราได้ เพราะนักแสดงในภาพยนตร์ไม่สามารถได้ยินเรา รู้สึกถึงตัวตนของเราและไม่ว่าเราจะมีปฏิกิริยาอย่างไรก็ไม่มีผลใดๆ" องค์ประกอบของละครเวที คือ การแสดงสดบนเวที ที่มีฉาก แสง เสียง ประกอบ และบทละคร คือ ส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำละครทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งละครเวที เพราะมันคือ ตัวกำหนดองค์ประกอบอื่นๆ ทุกอย่างในละคร ไม่ว่าจะเป็น โครงของเรื่อง) ของนักแสดงด้วย หมวดหมู่:ศิลปะการแสดง.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและละครเวที · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ฮัมฟรีย์ โบการ์ต

ัมฟรีย์ ดีฟอเรสต์ โบการ์ต (25 ธันวาคม ค.ศ. 1899 - 14 มกราคม ค.ศ. 1957) นักแสดงอเมริกัน ที่ได้รับการจัดอันดับจากสถาบันภาพยนตร์อเมริกัน (AFI) ให้เป็นนักแสดงอันดับ 1 ในรอบ 100 ปี ฮัมฟรีย์ โบการ์ต เกิดที่นิวยอร์ก บิดาเป็นศัลยแพทย์เชื้อสายดัตช์ อังกฤษและสเปน มารดาเป็นชาวอังกฤษเชื้อสายเวลช์ เขาเริ่มชีวิตการแสดงตั้งแต่อายุ 22 ปี โดยแสดงละครบรอดเวย์อยู่เป็นเวลาสิบปี และเริ่มแสดงภาพยนตร์ในช่วงทศวรรษ 1930 มักได้รับบทมาเฟีย ในภาพยนตร์เกรดบี ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้ คือเรื่อง The Maltese Falcon ในปี..

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและฮัมฟรีย์ โบการ์ต · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นักแสดง

กเบื้องหลังการถ่ายทำละคร นักแสดงกำลังซ้อมการแสดง นักแสดง คือ บุคคลที่ประกอบอาชีพเป็นผู้แสดง เช่น ศิลปิน, นักรำ, นักเต้น, นักดนตรี ซึ่งแสดง ท่าทาง ร้องกล่าว พากย์ แสดงตามบทเพื่อเผยแพร่ต่อผู้ชม และอื่นอื่น ซึ่งเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ตามหลักทั่วไป กล่าวคือ เป็นผู้ที่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์งานขึ้นมา นักแสดงนั้น ไม่จำกัดว่าจะเป็นบุคคลเพศ, อาชีพ, หรือ อายุเท่าไร แต่จำเป็นต้องมีความสามารถทางด้านการการแสดงออกทางสีหน้า อารมณ์และองค์ประกอบอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยมาก คำว่า นักแสดง มักจะใช้เรียกว่า ดารา เสมอไป.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและนักแสดง · ดูเพิ่มเติม »

นงเยาว์นิวยอร์ค

Breakfast at Tiffany's ชื่อภาษาไทย นงเยาว์นิวยอร์ก สร้างจากนวนิยายของทรูแมน คาโพตี.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและนงเยาว์นิวยอร์ค · ดูเพิ่มเติม »

แกรี คูเปอร์

แฟรงก์ เจมส์ “แกรี” คูเปอร์ (Frank James “Gary” Cooper) (7 พฤษภาคม ค.ศ. 1901 - 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1961) เป็นนักแสดงภาพยนตร์ชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงในเรื่องความ เงียบขรึม สไตล์การแสดงแบบน้อย และหลักปรัชญาลัทธิสโตอิก ความคิดแปลกแยก การควบคุมอารมณ์ แต่ก็เข้มข้นในบทบาทที่เหมาะสมกับภาพยนตร์คาวบอยที่เขาแสดง อาชีพการแสดงของเขามีช่วงยาวนานตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและแกรี คูเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แครี แกรนต์

แครี แกรนต์ 18 มกราคม ค.ศ. 1904 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 เป็นนักแสดงชาวอังกฤษแต่ไปโด่งดังที่ประเทศอเมริกา มีเอกลักษณ์สำเนียงการพูดแบบ Mid-Atlantic accent มักได้แสดงในบทบาทพระเอกที่มีบุคลิกลักษณะเป็นผู้นำ ฉลาดและมีเสน่ห์ เป็นนักแสดงชายถูกจัดเป็นอันดับที่ 2 ใน AFI's 100 Years Greatest Male Star of All Time โดย American Film Institute.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและแครี แกรนต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมรำลึก

รมรำลึก (Roman Holiday) เป็นภาพยนตร์แนวโรแมนติกคอเมดี้ในปี..

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและโรมรำลึก · ดูเพิ่มเติม »

เฟรด แอสแตร์

ฟรด แอสแตร์ (Fred Astaire) (10 พฤษภาคม ค.ศ. 1899 - 22 มิถุนายน ค.ศ. 1987) เป็นนักแสดงภาพยนตร์ชาวอเมริกันและเป็นนักแสดงละครบรอดเวย์ นักเต้น นักออกแบบท่าเต้น นักร้อง เขามีผลงานการแสดงยาวนานกว่า 76 ปี มีผลงานภาพยนตร์เพลง 31 เรื่อง เขาได้รับการจัดอันดับจากสถาบันภาพยนตร์อเมริกัน ที่อันดับ 5 ในหัวข้อ ดาราชายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล จีน เคลลี เคยกล่าวว่า "ประวัตศาสตร์ของการเต้นในภาพยนตร์เริ่มขึ้นที่แอสแตร์" นอกเหนือจากภาพยนตร์และโทรทัศน์แล้ว นักเต้นคลาสสิกและนักออกแบบท่าเต้นหลายคนอย่าง รูดอล์ฟ นูเรเยฟ, ไมเคิล แจ็กสัน, มิคาอิล แบรีชนิคอฟ และเจอโรม ร็อบบินส์ ก็ต่างได้รับอิทธิพลจากตัว.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและเฟรด แอสแตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เหรียญอิสรภาพประธานาธิบดี

หรียญแห่งอิสรภาพของประธานาธิบดี (Presidential Medal of Freedom) คือเครื่องอิสริยาภรณ์สูงสุดของสหรัฐอเมริกาซึ่งประธานาธิบดีมอบเพื่อเป็นเกียรติคุณแก่ผู้รับซึ่งได้รับการพิจารณาว่าเป็น "ผู้อุทิศตนในการสร้างความั่นคงและสนับสนุนผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา, สันติสุขของโลก, วัฒนธรรม และ งานอื่นๆ ทั้งของสาธารณชนและส่วนบุคคลที่มีความสำคัญ" "เหรียญแห่งอิสรภาพของประธานาธิบดี" มีฐานะเท่าเทียมกับเหรียญอิสริยาภรณ์ "เหรียญทองของรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา" (Congressional Gold Medal) ที่มอบให้โดยการอนุมัติรัฐบัญญัติโดยรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่มอบให้แก่พลเรือนในสหรัฐอเมริกา แต่ผู้รับไม่จำกัดเฉพาะพลเมืองชาวอเมริกัน และแม้ว่าจะเป็นอิสริยาภรณ์ฝ่ายพลเรือน แต่ผู้รับอาจจะรัฐกรฝ่ายทหารและใช้ติดบนเครื่องแบบทหารได้ Graphical representation of the Presidential Medal of Freedom with Distinction.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและเหรียญอิสรภาพประธานาธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี ฟอนดา

นรี เจนส์ ฟอนดา (Henry Jaynes Fonda) (16 พฤษภาคม ค.ศ. 1905 - 12 สิงหาคม ค.ศ. 1982) เป็นนักแสดงภาพยนตร์ชาวอเมริกัน นักแสดงละครเวที เป็นที่รู้จักในบทบาทการแสดง การพูดเรียบๆ ผู้ยึดมั่นอุดมการณ์ ฟอนดาเริ่มโดดเด่นในการเป็นนักแสดงละครบรอดเวย์ จากนั้นก้าวสู่ฮอลลีวูดในปี 1935 และเริ่มโดดเด่นขึ้นมาหลังจากได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในปี 1940 จากบท ทอม โจด ในเรื่อง The Grapes of Wrath ผลงานดัดแปลงจากบทประพันธ์ของ จอห์น สไตน์เบก ใน 6 ทศวรรษในฮอลลีวูด ฟอนดา มีผลงานการแสดงอย่าง The Ox-Bow Incident, Mister Roberts และ 12 Angry Men ทางด้านชีวิตส่วนตัวฟอนดามีทายาทที่เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงอย่าง เจน ฟอนดา ลูกสาว, ปีเตอร์ ฟอนดา ลูกชาย, บริดเจต ฟอนดา หลานสาว และทรอย แกริตี หลานชาย ในปี 1999 เขามีชื่อเป็นอันดับ 6 ของนักแสดงชายยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล จากสถาบันภาพยนตร์อเมริกัน.

ใหม่!!: ออดรีย์ เฮปเบิร์นและเฮนรี ฟอนดา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Audrey Hepburnออเดรย์ เฮพเบิร์นออเดรย์ เฮปเบิร์น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »