โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อนุโมทนา

ดัชนี อนุโมทนา

อนุโมทนา แปลว่า ความยินดีตาม, ความพลอยยินดี หมายถึงการแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ อนุโมทนา อาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่นเมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้นสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วย เรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า อนุโมทนากถา (ดูสัมโมทนียกถาประกอบ) เรียกหนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า อนุโมทนาบัตร หรือ ใบอนุโมทนา เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า อนุโมทนามัยบุญ.

7 ความสัมพันธ์: บุญพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)ราชบัณฑิตวัดราชโอรสารามราชวรวิหารสัมโมทนียกถาอนุโมทนากถาทำวัตร

บุญ

ในพระพุทธศาสนา บุญ (ปุญฺญ; ปุณฺย) หมายถึง คุณงามความดี ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ เรียกอีกอย่างว่ากุศล ในพระไตรปิฎกมักใช้คำว่า ปุญฺญ ตรงกันข้ามกับคำว่า บาป หรือ อปุญฺญ แต่ในคัมภีร์ชั้นหลังมักใช้คำว่า บาป มากกว่ากัน ในอรรถกถากล่าวถึงเผื่อแผ่บุญไว้ว่าสามารถเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เปรียบได้กับการจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ คือผู้จุดก็มีความสว่างอยู่ตามเดิม และความสว่างยังเพิ่มไปอีกกว้างขวางได้.

ใหม่!!: อนุโมทนาและบุญ · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ใหม่!!: อนุโมทนาและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ดูเพิ่มเติม »

ราชบัณฑิต

ราชบัณฑิต คือ "นักปราชญ์หลวง" ที่เป็นสมาชิกขององค์การวิทยาการของรัฐคือ ราชบัณฑิตยสภาโดยต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติดีงาม ได้รับการยอมรับและการยกย่องจากผู้รู้ในศาสตร์สาขาเดียวแห่งตนและจากคนทั่วไป มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ได้รับการคัดเลือกจากสภาราชบัณฑิตว่าเป็นผู้รู้ในสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งที่มีกำหนดไว้ในราชบัณฑิตยสถาน เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตและจะได้รับค่าสมนาคุณเป็นรายเดือน.

ใหม่!!: อนุโมทนาและราชบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาว.

ใหม่!!: อนุโมทนาและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สัมโมทนียกถา

ัมโมทนียกถา (อ่านว่า สัมโมทะนียะ-) แปลว่า ถ้อยคำอันเป็นที่บันเทิงใจ, คำพูดที่ทำให้ประทับใจ เรียกว่า อนุโมทนากถา ก็ได้ สัมโมทนียกถา ใช้เรียกการที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณหรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของความดีหรือบุญกุศลที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่นถวายอาหาร สร้างกุฏิ สร้างหอระฆังไว้ในพระพุทธศาสนาว่า กล่าวสัมโมทนียกถา สัมโมทนียกถาเป็นเหตุให้ผู้ทำบุญนั้นเกิดความแช่มชื่นเบิกบาน เกิดความอิ่มใจในผลบุญที่ตนทำและปรารถนาจะทำบุญเพิ่มพูนอีก การกล่าวสัมโมทนียกถาเป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์มาแต่โบราณ โดยกล่าวเป็นภาษาไทย ใช้เวลามากน้อยแล้วแต่ผู้กล่าว และปกติจะกล่าวก่อนที่จะอนุโมทนาเป็นภาษาบาลีหรือที่รู้จักกันว่า ยถา-สัพพี.

ใหม่!!: อนุโมทนาและสัมโมทนียกถา · ดูเพิ่มเติม »

อนุโมทนากถา

อนุโมทนากถา เป็นบทสวดมนต์ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ที่สวดเพื่อมุ่งประสงค์ให้ผู้ถวายทานแก่พระสงฆ์เกิดความยินดีในทาน หรือเพื่อแสดงธรรมแก่ผู้ถวาย ในสมัยพุทธกาล พระสูตรสำคัญ ๆ เกิดจากคำอนุโมทนากถาของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่ผู้ถวายทานตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จไปรับบิณฑบาต ปัจจุบันพระสงฆ์มีบทสวดสำหรับอนุโมทนาโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะตัดตอนมาจากพระสูตรในพระไตรปิฎก ซึ่งมีบทที่พระสงฆ์ใช้สวดเป็นประจำไม่กี่พระสูตร แต่บทที่พระสงฆ์สวดนำเป็นปกติทุกครั้งก่อนที่จะสวดเนื้อหาในพระสูตรคือบทอนุโมทนารัมภกถา และบทสามัญญานุโมทนากถา (แปลว่าบทสวดเริ่มต้นและบทสวดปกติ) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ยถา-สัพพี ซึ่งเป็นบทสวดที่ไม่ใช่พระพุทธพจน์ โดยบทยถาเป็นการให้พรอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว บทสัพพีมีเนื้อหากล่าวถึงการอำนวยมงคลและอวยพรให้ผู้ถวายทานปราศจากอันตรายทั้งหลาย อนุโมทนากถา นอกจากจะหมายถึงบทสวดภาษาบาลีของพระสงฆ์แล้ว ยังอาจหมายถึงคำกล่าวของพระสงฆ์ที่แสดงในงานต่าง ๆ เพื่อขอบคุณเจ้าภาพอีกด้ว.

ใหม่!!: อนุโมทนาและอนุโมทนากถา · ดูเพิ่มเติม »

ทำวัตร

ทำวัตร หมายถึงการทำกิจที่พึงทำตามหน้าที่ หรือตามธรรมเนียม เป็นคำย่อมาจากคำว่าทำกิจวัตรประจำอันเป็นธรรมเนียมปกติ เรียกการไหว้พระสวดมนต์ของพระสงฆ์ตามปกติในตอนเช้าและตอนเย็นหรือตอนค่ำว่า ทำวัตรเช้า และ ทำวัตรเย็น การทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็นเป็นธรรมเนียมเลียนแบบมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งพระสงฆ์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อรับฟังโอวาทเป็นกิจวัตรประจำวัน การทำวัตรมีจุดมุ่งหมายอย่างหนึ่งคือเพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้านั่นเอง ทำวัตร อีกความหมายหนึ่งคือการที่ภิกษุสามเณรนำธูปเทียนแพไปสักการะพระเถระผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในโอกาสต่างๆ เช่น เพื่อขอลาสิกขา เพื่อขอลาไปอยู่ที่อื่น เพื่อขอขมาในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อรายงานตัว การทำวัตรผู้ใหญ่แบบนี้ถือป็นธรรมเนียมของพระสง.

ใหม่!!: อนุโมทนาและทำวัตร · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »