โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อนุภูมิภาค

ดัชนี อนุภูมิภาค

อนุภูมิภาคเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคหรือทวีปที่ใหญ่กว่า และปกติยึดตำแหน่ง ปกติใช้จุดทิศหลักเช่นเหนือหรือใต้ เพื่อนิยามภูมิภาคย่อ.

4 ความสัมพันธ์: ภูมิภาคจุดทิศหลักทวีปเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ

ภูมิภาค

ูมิภาค (region) เป็นคำที่ใช้โดยทั่วไปทางภูมิศาสตร์ที่มีความหมายแตกต่างกันไปหลายอย่างตามแต่สาขาวิชาภูมิศาสตร์ โดยทั่วไปแล้วภูมิภาคหมายถึงบริเวณของบริเวณบนบกหรือในน้ำที่เล็กกว่าบริเวณทั้งหมดที่กล่าวถึง (เช่นภูมิภาคของโลก ภูมิภาคของชาติ ภูมิภาคของลุ่มแม่น้ำ ภูมิภาคของเทือกเขา และอื่นๆ) แต่ใหญ่กว่าจุดใดจุดหนึ่ง บริเวณอาจจะเป็นกลุ่มของหน่วยที่เล็กกว่า (เช่นรัฐในนิวอิงแลนด์ของสหรัฐอเมริกา) หรือ ส่วนหนึ่งของส่วนที่ใหญ่กว่า (เช่นบริเวณนิวอิงแลนด์ของสหรัฐอเมริกา).

ใหม่!!: อนุภูมิภาคและภูมิภาค · ดูเพิ่มเติม »

จุดทิศหลัก

วงเข็มทิศแสดงจุดทิศหลักทั้งสี่ จุดทิศรองทั้งสี่ และทิศย่อย ๆ อีกแปดทิศ จุดทิศหลัก หมายถึงทิศทางทางภูมิศาสตร์ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ อาทิ ทิศเหนือ (น., N) ทิศตะวันออก (ต.อ., E) ทิศใต้ (ต., S) และทิศตะวันตก (ต.ต., W) ซึ่งเรียกโดยย่อว่า ทิศทั้งสี่ หรือ สี่ทิศ โดยแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ทำมุมฉากกับแนวทิศเหนือ-ใต้ และทิศตะวันออกหมุนไปตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ และยังมี จุดทิศรอง คือทิศที่อยู่ระหว่างจุดทิศหลักเป็นแนวเฉียง 45 องศา อันได้แก่ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ต.อ.น., NE) ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ต.อ.ต., SE) ทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ต.ต.ต., SW) และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ต.ต.น., NW) ซึ่งเรียกโดยรวมว่า ทิศทั้งแปด หรือ แปดทิศ นอกจากนี้ยังสามารถมีทิศย่อย ๆ ลงไปอีกก็ได้ หากผู้สังเกตการณ์บนพื้นผิวโลกยืนตรงหันหน้าไปทางทิศเหนือ ด้านหลังของเขาจะเป็นทิศใต้ ด้านขวาก็จะเป็นทิศตะวันออก และด้านซ้ายก็จะเป็นทิศตะวันตก เครื่องมือกำหนดพิกัดต่าง ๆ บนโลก มักทำงานโดยมองหาทิศเหนือเป็นหลักก่อน ถึงแม้ว่าทิศอื่นก็สามารถใช้ได้เหมือนกันถ้าหากเชื่อถือได้.

ใหม่!!: อนุภูมิภาคและจุดทิศหลัก · ดูเพิ่มเติม »

ทวีป

ทวีป หมายถึง แผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันบนพื้นโลก การแบ่งทวีปในโลกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยทั่วไปทวีป ต้องเป็นพื้นกว้างใหญ่ ไม่รวมพื้นที่ที่จมอยู่ใต้น้ำ และมีเขตแดนเด่นชัดทางภูมิศาสตร.

ใหม่!!: อนุภูมิภาคและทวีป · ดูเพิ่มเติม »

เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ

ป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ (Millennium Development Goals, ย่อ: MDGs) เป็นเป้าหมายการพัฒนาระหว่างประเทศแปดข้อซึ่งสถาปนาระหว่างการประชุมสุดยอดสหัสวรรษของสหประชาชาติในปี 2543 หลังรับปฏิญญาสหัสวรรษสหประชาชาติ รัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้ง 189 ประเทศในขณะนั้น (ปัจจุบันมี 193 ประเทศ) และองค์การระหว่างประเทศอย่างน้อย 23 องค์การผูกมัดจะช่วยเหลือให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษดังต่อไปนี้ภายในปี 2558.

ใหม่!!: อนุภูมิภาคและเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Subregion

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »