โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ห้ามจัดเก็บภาษีหากไม่มีผู้แทน

ดัชนี ห้ามจัดเก็บภาษีหากไม่มีผู้แทน

"ไม่ควรจัดเก็บภาษีหากไม่จัดให้มีผู้แทน" หรือ "ไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทน" (No taxation without representation) เริ่มเป็นสโลแกนซึ่งเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1750 และ 1760 ที่สรุปความเดือดร้อนของชาวอาณานิคมอังกฤษในสิบสามอาณานิคม ซึ่งได้กลายมาเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการปฏิวัติอเมริกา กล่าวโดยสรุป ชาวอาณานิคมจำนวนมากเชื่อว่าการขาดผู้แทนโดยตรงในรัฐสภาอังกฤษที่ห่างเหิน ถือว่าเป็นการปฏิเสธสิทธิความเป็นชาวอังกฤษของพวกเขาอย่างผิดกฎหมาย ดังนั้น กฎหมายที่บังคับให้ชาวอาณานิคมจ่ายภาษี (ซึ่งเป็นกฎหมายประเภทที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมากที่สุด) และกฎหมายอื่น ๆ ซึ่งมีผลบังคับใช้เฉพาะในอาณานิคมเท่านั้น จึงไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ในเวลาปัจจุบัน ได้มีการใช้สโลแกนดังกล่าวในกลุ่มคนอื่น ๆ ในหลายประเทศในข้อพิพาทที่คล้ายคลึงกัน วลี No taxation without representation สามารถสืบไปได้ว่าเป็นสาเหตุของสงครามกลางเมืองอังกฤษ โดยจอห์น แฮมพ์เดน กล่าวว่า "พระมหากษัตริย์อังกฤษไม่มีสิทธิ์จะร้องขอ ประชาชนชาวอังกฤษต่างก็มีสิทธิ์ปฏิเสธได้" ในกรณีเรือเงิน.

8 ความสัมพันธ์: บอสตันการปฏิวัติอเมริการัฐสภาอังกฤษราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ค.ศ. 1689สิบสามอาณานิคมสงครามกลางเมืองอังกฤษทรราช

บอสตัน

อสตัน (Boston) เป็นเมืองหลวงของรัฐแมสซาชูเซตส์ในสหรัฐอเมริกา และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตนิวอิงแลนด์ บอสตันเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุด มั่งคั่งที่สุด และมีวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ธุรกิจที่สำคัญในบอสตัน ได้แก่ การศึกษา สถานพยาบาล การเงิน และเทคโนโลยี บอสตันได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยกว่า 100 แห่งในเมืองบอสตัน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยที่สำคัญและมีชื่อเสียงอื่นๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยบอสตัน วิทยาลัยบอสตัน มหาวิทยาลัยทัฟส์ และ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ทีมกีฬาหลายทีมประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงในบอสตัน ได้แก.

ใหม่!!: ห้ามจัดเก็บภาษีหากไม่มีผู้แทนและบอสตัน · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอเมริกา

รัฐแรกทั้ง 13 รัฐ การปฏิวัติอเมริกา คือช่วงระยะเวลาครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 ที่มีการลุกฮือเพื่อประกาศเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษของประชาชนชาวอเมริกา จึงได้มีการสถาปนาสหรัฐอเมริกาขึ้นในเวลาต่อมาหลังจากได้รับชัยชนะในการปฏิวัติในครั้งนี้.

ใหม่!!: ห้ามจัดเก็บภาษีหากไม่มีผู้แทนและการปฏิวัติอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาอังกฤษ

รัฐสภาอังกฤษและพระมหากษัตริย์ ราว ค.ศ. 1300 รัฐสภาอังกฤษ (Parliament of England) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติสูงสุดในราชอาณาจักรอังกฤษ รัฐสภาอังกฤษวิวัฒนาการมาจากสภาของต้นยุคกลางซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาต่อพระมหากษัตริย์อังกฤษ การวิวัฒนาการทำให้อำนาจของรัฐสภาเพิ่มมากขึ้นในขณะที่อำนาจของพระมหากษัตริย์ลดน้อยลง เมื่อรัฐสภาอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ลงนามในพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ซึ่งรวมราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์เข้าด้วยกัน รัฐสภาอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ก็ถูกยุบ รัฐสภาใหม่กลายเป็นรัฐสภาแห่งบริเตนใหญ่ และในที่สุดก็เป็นรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นรากฐานของระบบรัฐสภาของอังกฤษในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ระบบรัฐสภาของสหราชอาณาจักรเป็นระบบรัฐสภาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกจนได้รับสมญานามว่า “แม่แห่งรัฐสภา” ซึ่งเป็นระบบประชาธิปไตยที่เป็นรากฐานของมาตรฐานในการก่อตั้งระบบรัฐสภาทั่วโลก.

ใหม่!!: ห้ามจัดเก็บภาษีหากไม่มีผู้แทนและรัฐสภาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (Kingdom of Great Britain) หรือ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (United Kingdom of Great Britain) เป็นรัฐในยุโรปตะวันตก ดำรงอยู่ในช่วงค.ศ. 1707 จนถึง ค.ศ. 1801 เกิดจากการรวมกันของราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ภายใต้พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 (พ.ศ. 2250) ก่อนหน้านี้ราชอาณาจักรทั้งสองได้มีพระประมุขพระองค์เดียวกัน ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ขึ้นครองราชย์เป็นประมุขของอังกฤษในค.ศ. 1631 สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เข้าแทนที่ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในปีค.ศ. 1801 หลังจากราชอาณาจักรไอร์แลนด์เข้าร่วมในพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800.

ใหม่!!: ห้ามจัดเก็บภาษีหากไม่มีผู้แทนและราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ค.ศ. 1689

ระราชบัญญัติสิทธิ พ.ศ. 2232 ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง..

ใหม่!!: ห้ามจัดเก็บภาษีหากไม่มีผู้แทนและร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ค.ศ. 1689 · ดูเพิ่มเติม »

สิบสามอาณานิคม

มอาณานิคม (Thirteen Colonies) เป็นอาณานิคมของอังกฤษฝั่งแอตแลนติกในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมบริติชอเมริกา ก่อตั้งระหว่าง..

ใหม่!!: ห้ามจัดเก็บภาษีหากไม่มีผู้แทนและสิบสามอาณานิคม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ.

ใหม่!!: ห้ามจัดเก็บภาษีหากไม่มีผู้แทนและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ทรราช

ทรราช () ความหมายดั้งเดิมในสมัยกรีกโบราณ หมายถึง บุคคลที่ได้ล้มล้างรัฐบาลที่ถูกต้องโดยชอบธรรมของรัฐ แล้วสถาปนาตนเองเป็นผู้ปกครองแบบเผด็จการแทนที่ โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในชนชั้นชาวนาและพ่อค้า สำหรับเพลโต และ อาริสโตเติลนั้นได้ให้ความหมาย ทรราชย์ ไว้ว่า "การปกครองของคนๆ เดียวในรูปแบบของราชาธิปไตยที่ขาดคุณธรรม จริยธรรม ใช้อำนาจในทางที่ผิดหรือฉ้อฉลในอำนาจ มีเป้าหมายมุ่งประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ละเลยการให้ความใส่ใจต่อความทุกข์ยาก เดือดร้อน และประโยชน์สุขของสังคมโดยรวมของผู้ใต้การปกครอง".

ใหม่!!: ห้ามจัดเก็บภาษีหากไม่มีผู้แทนและทรราช · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

No taxation without representationไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทนไม่ควรมีการจัดเก็บภาษีหากไม่จัดให้มีผู้แทนไม่ควรจัดเก็บภาษีหากไม่จัดให้มีผู้แทน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »