โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ห่มดอง

ดัชนี ห่มดอง

ห่มดอง คือการห่มผ้าของพระสงฆ์แบบหนึ่งโดยห่มเฉวียงบ่าคือเปิดบ่าขวา ปิดบ่าซ้าย พาดสังฆาฏิ แล้วคาดอกด้วยผ้ารัดอก การห่มดองถือว่าเป็นการนุ่งห่มของพระธรรมยุตินิกาย แต่ปัจจุบันเป็นการห่มครองที่นิยมในกลุ่มพระฝ่ายมหานิกายมากกว่า ฝ่ายธรรมยุติไม่ใคร่นิยมแล้ว นิยมห่มในภาคเหนือของประเทศ (อาจจะเพราะครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวล้านนาห่มดอง)และวัดที่เป็นสำนักเรียนส่วนใหญ่จะกำหนดให้พระและสามเณรนุ่มห่มเพื่อให้ไปในแนวทางเดียวกัน อาจเพราะเนื่องจากมีสามเณรเป็นจำนวนมาก ซึ่งการห่มดองไม่หลุดง่าย บางท้องที่ถือว่าเป็นการห่มของของสามเณร ไม่ใช่การห่มของพระก็มี ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งจะกำหนดให้พระนิสิตนุ่มห่มเมื่อมามหาวิทยาลัย แม้แต่กลุ่มวัดพระธรรมกาย ก็ยึดถือเป็นการห่มที่กลุ่มสาขาต้องห่มเหมือนกัน และยังส่งเสริมให้พระสงฆ์ในประเทศห่มอีกด้วย รูปปั้นพระสีวลีปางเดินธุดงค์ส่วนมากจะนุ่มห่มดองเช่นกัน และมีพระธุดงค์บางกลุ่มนิยมห่ม เมื่อออกเดินธุดงค์โดยจะถือเป็นสัญญลักษณ์หรือธรรมเนียมของกลุ่ม เช่น วัดศีรีล้อม ถ้ำนิรภัย (สำนักท่องปาฏิโมกข์ อำเภอตากฟ้า นครสวรรค์).

11 ความสัมพันธ์: พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)พระสีวลีเถระพระสงฆ์ราชบัณฑิตวัดพระธรรมกายวัดราชโอรสารามราชวรวิหารสังฆาฏิสามเณรอาณาจักรล้านนาธุดงค์ครูบาศรีวิชัย

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ใหม่!!: ห่มดองและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ดูเพิ่มเติม »

พระสีวลีเถระ

ระสีวลีเถระ หรือ พระสีวลี เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระสีวลีเถระเป็นเจ้าชายในโกลิยวงศ์ ออกบวชในสำนักพระสารีบุตร บรรลุพระอรหันต์ในขณะที่ปลงเกศานั่นเอง และหลังจากผนวช ท่านเป็นผู้มีลาภสักการะมากด้วยกุศลกรรมที่ทำมาแต่อดีต ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้มีลาภมาก.

ใหม่!!: ห่มดองและพระสีวลีเถระ · ดูเพิ่มเติม »

พระสงฆ์

ระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้ พระสงฆ์ จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์ คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า เพราะต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ถือเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระภิกษุปฏิบัติตามสิกขาบทที่กำหนดไว้จำนวน 227 ข้อ ส่วนพระภิกษุณีรักษาสิกขาบท 311 ข้อ บางครั้งเรียกว่าสงฆ์ ภิกษุรูปแรกในพระศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าคือพระอัญญาโกณฑัญญ.

ใหม่!!: ห่มดองและพระสงฆ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชบัณฑิต

ราชบัณฑิต คือ "นักปราชญ์หลวง" ที่เป็นสมาชิกขององค์การวิทยาการของรัฐคือ ราชบัณฑิตยสภาโดยต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติดีงาม ได้รับการยอมรับและการยกย่องจากผู้รู้ในศาสตร์สาขาเดียวแห่งตนและจากคนทั่วไป มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ได้รับการคัดเลือกจากสภาราชบัณฑิตว่าเป็นผู้รู้ในสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งที่มีกำหนดไว้ในราชบัณฑิตยสถาน เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตและจะได้รับค่าสมนาคุณเป็นรายเดือน.

ใหม่!!: ห่มดองและราชบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธรรมกาย

วัดพระธรรมกาย เป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ก่อตั้งเมื่อ 20 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ห่มดองและวัดพระธรรมกาย · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาว.

ใหม่!!: ห่มดองและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สังฆาฏิ

ังฆาฏิ แปลว่า ผ้าซ้อนนอก, ผ้าทาบ เป็นชื่อเรียกผ้าผืนหนึ่งในจำนวน 3 ผืน หรือไตรจีวรของพระคือ จีวร สบง สังฆาฏิ สังฆาฏิ คือผ้าที่ซ้อนทับจีวรอีกชั้นหนึ่งทำนองเป็นผ้าคลุมสำหรับป้องกันความหนาวในฤดูหนาว เมื่อห่มทาบจีวรก็จะเป็นผ้าสองชั้น ทำให้อบอุ่นขึ้นเมื่อห่ม จึงเรียกว่า ผ้าสังฆาฏิ (ผ้าซ้อน, ผ้าทาบ) สังฆาฏิแท้จริงแล้วเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น ห่มแทนจีวร ทำเป็นผ้ากันแดดได้ เป็นต้น ในประเทศไทย สังฆาฏิ ปัจจุบันพระสงฆ์ไม่ได้ใช้ห่มซ้อนกับจีวรเหมือนก่อน ด้วยอยู่ในในถิ่นที่อากาศไม่หนาวจนเกินไป แต่พับแล้วพาดเก็บไว้บนบ่าเพื่อความสะดวกในเวลาเดินทาง จนกลายเป็นผ้าพาดบ่าตามปกติไป.

ใหม่!!: ห่มดองและสังฆาฏิ · ดูเพิ่มเติม »

สามเณร

ผู้ที่จะบรรพชาเป็นสามเณรได้ต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และจะบวชอยู่เป็นสามเณรตลอดชีวิตก็ได้ สามเณร และ สามเณรี แปลว่า เหล่ากอของสมณะ, หน่อเนื้อของสมณะ หมายถึงนักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย ยังมิได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ถ้าเป็นนักบวชหญิงอายุน้อยเรียกว่า สามเณรี คำว่า สามเณร สามเณรี เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไป ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรสามเณรีได้นั้นทางพระวินัยกำหนดอายุอย่างต่ำไว้ประมาณ 7 ขวบซึ่งพอช่วยเหลือตัวเองได้ พระวินัยระบุว่าพอจะไล่กาไล่ไก่ได้ ส่วนสูงไม่มีกำหนดไว้ ผู้มีอายุไม่เกิน 20 ปีจะบวชเป็นสามเณรตลอดไป ไม่บวชเป็นภิกษุก็ได้.

ใหม่!!: ห่มดองและสามเณร · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรล้านนา

อาณาจักรล้านนา (95px) คือ ราชอาณาจักรของชาวไทยวนในอดีตที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ตลอดจนสิบสองปันนา เช่น เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอนสรัสวดี อ๋องสกุล.

ใหม่!!: ห่มดองและอาณาจักรล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

ธุดงค์

'''ธุดงค์''' หมายถึงข้อถือวัตรปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส 13 ข้อ ของพุทธศาสนิกชน ซึ่งไม่ได้หมายเฉพาะแค่การถือกลดออกเดินจาริกไปยังป่าเขาเพื่อวิเวกของพระสงฆ์อย่างเดียวเท่านั้น ปัจจุบันคำว่าธุดงค์ในประเทศไทยถูกใช้ในความหมายว่าเป็นการเดินจาริกของพระสงฆ์ หรือ การเดินธุดงค์ ซึ่งแตกต่างจากความหมายเดิมในพระไตรปิฎก การถือธุดงค์ตามความหมายในพระไตรปิฎกสามารถเลือกสมาทานได้ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบการเดินถือกรดบาตรไปที่ต่าง ๆ เช่น การถืออรัญญิกังคะ (อยู่ป่า) โสสานิกังคะ (อยู่ป่าช้า) เพราะธุดงค์เป็นแนวทางเอื้อให้ผู้ปฏิบัติได้มีความวิเวกปราศจากความวุ่นวายจากสังคม เพื่อมุ่งต่อการปฏิบัติธรรมทางจิตอย่างเข้มงวด การจาริกของพระสงฆ์ในประเทศไทย มักเข้าใจปะปนกับคำว่า ธุดงค์ ทั้งนี้เนื่องจากบางข้อของธุดงควัตร เช่น อรัญญิกังคะ หมายถึงการอยู่ในบริเวณป่า ทำให้พระสงฆ์ที่ถือธุดงค์ข้อนี้จะต้องเดินทางไปหาที่วิเวกในบริเวณป่าและไม่อยู่ติดที่เป็นเวลานาน ธุดงค์ (ธุตงฺค, Dhutanga) เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ห่มดองและธุดงค์ · ดูเพิ่มเติม »

ครูบาศรีวิชัย

รูบาศรีวิชัย หรือ พระสีวิไชย พระมหาเถระซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สร้างถนนทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี..

ใหม่!!: ห่มดองและครูบาศรีวิชัย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ห่มดอง ห่มคลุมห่มคลุม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »