โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หัวเมืองลาวอีสาน

ดัชนี หัวเมืองลาวอีสาน

หัวเมืองลาวอีสาน หมายถึงบรรดาหัวเมืองเดิมทั้งหลายที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของสยามในอดีต และบรรดาหัวเมืองเก่าแก่ทั้งหลายที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรล้านช้างโบราณ มาแต่ตั้งสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณีมหาราช ซึ่งหัวเมืองลาวอีสานเหล่านี้ตั้งอยู่สองฟากฝั่งแม่น้ำโขงทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา กินอาณาเขตตั้งแต่ภาคอีสานของประเทศไทยไม่ทั้งหมด และอาณาเขตของประเทศลาว หัวเมืองเหล่านี้ประกอบด้วยประชาชนจากหลากหลายชาติพันธุ์ ซึ่งส่วนมากมักเป็นชาติพันธุ์ลาว หรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับอิทธิพลทางความคิด ความเชื่อ และวัฒนธรรมลาว พร้อมทั้งอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้านายจากราชวงศ์ลาวเป็นส่วนใหญ่ ชาติพันธุ์อื่นๆ เหล่านี้ประกอบด้วย ลาวไทอีสาน ลาวลุ่ม ลาวเทิง ลาวสูง ซึ่งแตกออกไปเป็นหลายพวก อาทิ ขะมุ (ขมุ) ข่าแจะ กระโซ่ (โซ่) กะเลิง กะตัง กะตู กะแสง (กะเสง) กะตาง กายัก ไทส่งดำ (ไททรงดำ) ไทดำ ไทแดง ไทเหนือ ไทขาว ไทภู (ผู้ไท หรือภูไท) ไทพวน ไทลื้อ บรู ลั๊วะ (ละว้า) ย้อ (ญ้อ) โย้ย โยน (ยวน) เย้า (ย้าว) แสก ข่า มอย ม้ง งวน บิด ดำ หอก ฮ้อ แซ ออง แงะ ก่อ กุ่ย เจง อิน (โอย) ละแว ละแนด ละเม็ด ละเวน ละแง แลนแตน ตะโอย ตาเลียง (ตาเหลียง) สีดา บ่าแวะ มะกอง มูเซอ สามหาง ผู้น้อย ผู้เทิงไฟ เขลา ปันลุ อาลัก เทิงน้ำ เทิงบก เทิงโคก อินทรี ยาเหียน ชะนุ ม้งลาย ม้งขาว ม้งดำ โซโล รุนี ลาวส่วย ยาเหิน ขะแมลาว แกนปานา เป็นต้น นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยชาติพันธุ์เขมร ส่วย กูย ไทยโคราช (ไทเดิ้ง) ไทยสยาม ไทยอยุธยาเดิม ญวน (เวียดนามหรือแกว) หรือแกวลาว และประกอบไปด้วย ไทมลายู ที่อพยบ มาจากภาคใต้ของไทย อาจมีเชื้อสายอินเดียและคนมลายูปะปนอยู่บางส่วนใน นครศรีธรรมราช ด้วยบางส่วน บรรดาหัวเมืองเหล่านี้ มีลักษณะทางพัฒนาการที่ยาวนาน หลากหลาย เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เต็มไปด้วยสีสันทางการเมือง พหุลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี ศาสนา ลัทธิพิธีกรรม กระบวนการทางความคิดเชิงอำนาจของนักปกครอง ระบบการปกครอง และความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ หัวเมืองเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างมหคุณูปการในการวางรากฐานของความเป็นรัฐชาติให้แก่สยาม แต่ยังสร้างความน่าตื่นเต้นและความวุ่นวายทางการเมืองการปกครองให้แก่สยามอีกด้วย เนื่องจากเจ้านายที่ปกครองบรรดาหัวเมืองเหล่านี้ มากกว่าร้อยละ ๘๐ ไม่ใช่เจ้านายในราชวงศ์ไทยสยาม และช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์ประเทศมหาอำนาจตะวันตกอย่างฝรั่งเศส ได้มีความพยายามเข้ามาแทรกแซงกิจการทางการเมืองการปกครองในดินแดนหัวเมืองเหล่านี้นั่นเอง แต่ไม่ประสบผลสำเร็.

4 ความสัมพันธ์: สยามอำเภอธาราบริวัตรประเทศลาวแม่น้ำโขง

สยาม

งชาติสยาม พ.ศ. 2398-พ.ศ. 2459 สยาม (อักษรละติน: Siam, อักษรเทวนาครี: श्याम) เคยเป็นชื่อเรียกประเทศไทยในอดีต แต่มิใช่ชื่อที่คนไทยเรียกตนเอง ราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า สยามเป็นชื่อเรียกดินแดนและกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ สยามเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของไทยตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ก่อนเปลี่ยนเป็น "ไทย" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: หัวเมืองลาวอีสานและสยาม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอธาราบริวัตร

อำเภอธาราบริวัตร (ស្រុកថាឡាបរិវ៉ាត់; รูปปริวรรตอักษรไทย: สฺรุกถาฬาบริวาต่, Thala Barivat District) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสตึงแตรง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชา ตามผลการสำรวจสำมะโนครัวประชากรในกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ. 2542 ปรากฏว่าอำเภอนี้มีประชากร 21,577 คน ชื่อ "ธาราบริวัตร" เป็นชื่อภาษาไทยที่ตั้งด้วยคำในภาษาสันสกฤต แปลว่า แม่น้ำที่ไหลวน มีที่มาจากที่ตั้งของตัวอำเภอธาราบริวัตร ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำโขงไหลวนเป็นวังน้ำวน ชื่ออำเภอธาราบริวัตรที่ประเทศกัมพูชาใช้ในปัจจุบันนี้ เป็นการเขียนตามเสียงภาษาไทยด้วยอักขรวิธีภาษาเขมร "ថាឡាបរិវ៉ាត់" (รูปปริวรรตอักษรไทย: ถาฬาบริวาต่; คำอ่าน: ทา-ลา-บอ-ริ-วัด) ทำให้บางแห่งมีการเขียนทับศัพท์ด้วยอักษรไทยว่า "ถาลาปริวัต" หรือ "ถาลาบริวัต" เช่น ในวงวิชาการด้านศิลปะของไทย เรียกชื่อศิลปะเขมรที่มีอายุอยู่ในช่วงประมาณ..

ใหม่!!: หัวเมืองลาวอีสานและอำเภอธาราบริวัตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: หัวเมืองลาวอีสานและประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ใหม่!!: หัวเมืองลาวอีสานและแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »