โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หลาวชะโอนทุ่ง

ดัชนี หลาวชะโอนทุ่ง

หลาวชะโอนทุ่ง หรือ หลาโอน หรือ นิบง เป็นพรรณไม้ชนิดหนึ่งในวงศ์ปาล์ม โดยทั่วไป เมื่อพูดถึงหลาวชะโอน จะหมายถึงหลาวชะโอนทุ่ง ส่วนอีกชนิดพันธุ์จะเรียกว่าหลาวชะโอนเขา ชื่อหลาวชะโอน เป็นชื่อเรียกในภาษาไทยกลาง ขณะที่มักจะย่อเหลือ หลาโอน และในภาษามลายู เรียกว่า นิบง.

10 ความสัมพันธ์: พืชพืชดอกพืชใบเลี้ยงเดี่ยวกรกฎาคมกุมภาพันธ์ภาษามลายูภาษาไทยสกุลหลาวชะโอนสวนแสนปาล์มปาล์ม (แก้ความกำกวม)

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: หลาวชะโอนทุ่งและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พืชดอก

ืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ 8 กลุ่มดังนี้ เรียงตามจำนวนสปีชี.

ใหม่!!: หลาวชะโอนทุ่งและพืชดอก · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว

ืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon หรือ Liliopsida) เป็นชั้นหนึ่งในส่วนพืชดอกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกลุ่มหนึ่ง ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นโลก และเป็นพื้ชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงอีกด้วย พืชใบเลี้ยงเดี่ยววงศ์ใหญ่ที่สุด คือ กล้วยไม้ (Orchidaceae) โดยมีดอกที่ซับซ้อน และสวยงาม เพื่อดึงดูดแมลงชนิดต่างให้ช่วยในการผสมพันธุ์ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสอง และอาจจะเป็นวงศ์ที่โดดเด่นกว่า ก็คือ หญ้า (Poaceae หรือ Gramineae) โดยมีวิวัฒนาการอีกทางหนึ่ง มีลักษณะพิเศษคือ การแพร่ขยายพันธุ์โดยอาศัยลม พืชในวงศ์หญ้านั้นมีดอกขนาดเล็ก แต่เมื่อรวมเป็นกลุ่มอาจปรากฏเป็นช่อดอกที่มองเห็นชัดเจนและสวยงาม.

ใหม่!!: หลาวชะโอนทุ่งและพืชใบเลี้ยงเดี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

กรกฎาคม

กรกฎาคม เป็นเดือนที่ 7 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนกรกฎาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกรกฎ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีสิงห์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนกรกฎาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่และปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวปู เดิมเดือนนี้ใช้ชื่อว่า ควินตีลิส (Quintilis) ในภาษาละติน และเป็นเดือนที่ 5 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มปีในเดือนมีนาคม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "July" ตามชื่อของจูเลียส ซีซาร์ เพราะเป็นเดือนที่พระองค์เกิด และอ่านออกเสียงว่าจูลีจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18.

ใหม่!!: หลาวชะโอนทุ่งและกรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

กุมภาพันธ์

กุมภาพันธ์ เป็นเดือนที่ 2 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นเดือนที่มีจำนวนวัน 28 หรือ 29 วัน โดยปกติจะมี 28 วัน ยกเว้นปีอธิกสุรทินที่มี 29 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนกุมภาพันธ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกุมภ์ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีมีน แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเล และไปอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำในปลายเดือน.

ใหม่!!: หลาวชะโอนทุ่งและกุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: หลาวชะโอนทุ่งและภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: หลาวชะโอนทุ่งและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

สกุลหลาวชะโอน

กุลหลาวชะโอน หรือ Oncosperma เป็นสกุลของพืชในวงศ์ปาล์ม ประกอบด้วยสปีชีส์ที่สำคัญคือ.

ใหม่!!: หลาวชะโอนทุ่งและสกุลหลาวชะโอน · ดูเพิ่มเติม »

สวนแสนปาล์ม

วนแสนปาล์ม เป็นสวนพฤกษศาสตร์ของพืชเฉพาะวงศ์ปาล์ม นับเป็นแหล่งรวบรวมปาล์มที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ภายในศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยมีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร.

ใหม่!!: หลาวชะโอนทุ่งและสวนแสนปาล์ม · ดูเพิ่มเติม »

ปาล์ม (แก้ความกำกวม)

ปาล์ม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: หลาวชะโอนทุ่งและปาล์ม (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Oncosperma tigillariumหลาโอนนิบง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »