โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์

ดัชนี หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์

หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณมาแต่โบราณกาล ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแลโปรดให้บูรณะวัดป่าเลไลยก์ เมื่อ พ.ศ. 1724 แสดงว่าแสดงว่าวัดนี้ได้สร้างมาแล้วก่อนหน้านั้น องค์พระประดิษฐานอยู่ในวิหารที่สูงใหญ่ มองเห็นเด่นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปางป่าเลไลยก์ขนาดใหญ่สูง 23 เมตรเศษ สร้างตามแบบศิลปอู่ทองรุ่นที่สอง ซึ่งเป็นศิลปะฝีมือสกุลช่างอู่ทองแท้ ๆ เดิมทีองค์พระประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง พระหัตถ์ขวาหัก ช่างได้สร้างวิหารครอบ โดยให้ผนังวิหารชิดกับพระหัตถ์ขวา ส่วนทางพระหัตถ์ซ้ายให้มีที่ว่าง ด้านหลังองค์พระสร้างชิดกับผนังวิหารทำให้แข็งแรง นับเป็นความชาญฉลาดของช่างเป็นอย่างยิ่ง มีผู้สันนิษฐานว่า เดิมเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง พระกรทั้งสองข้างหักหายไป ผู้ที่มาบูรณใหม่ได้ทำเป็นปางป่าเลไลยก์ตามที่นิยมกันในสมัยหลัง ลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุข้างขวาในท่าทรงรับของถวาย พระวิหารที่สร้างครอบองค์พระ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นว่าที่หน้าบันของพระวิหาร มีพระราชลัญจกรประจำพระองค์ คือเป็นรูปพระมหามงกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ปรากฏอยู่ วัดป่าเลไลยก์เป็นที่คุ้นของคนทั่วไป เนื่องจากปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขุนแผนเมื่อเยาวัยได้มาบวชเรียนที่วัดนี้ในชื่อว่าเณรแก้ว ความสำคัญของวัดป่าเลไลยก์ตามที่พรรณนาไว้ใน เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนหนึ่งมีดังนี้ งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ มีปีละสองครั้ง คือในวันขึ้น 5-9 ค่ำ เดือน 5 และเดือน 12 หมวดหมู่:พระพุทธรูปสำคัญในประเทศไทย.

5 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 1724พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัววัดป่าเลไลยก์ขุนช้างขุนแผนปางปาลิไลยก์

พ.ศ. 1724

ทธศักราช 1724 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์และพ.ศ. 1724 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

วัดป่าเลไลยก์

วัดป่าเลไลยก์ สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์และวัดป่าเลไลยก์ · ดูเพิ่มเติม »

ขุนช้างขุนแผน

รื่องขุนช้างขุนแผน เป็นนิทานมหากาพย์พื้นบ้านของไทย เค้าเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้สันนิษฐานว่าเคยเกิดขึ้นจริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วมีผู้จดจำเล่าสืบต่อกันมา เนื่องจากเรื่องราวของขุนช้างขุนแผนมีปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า แต่มีการดัดแปลงเพิ่มเติมจนมีลักษณะคล้ายนิทานเพื่อให้เนื้อเรื่องสนุกสนานชวนติดตามยิ่งขึ้น รายละเอียดในการดำเนินเรื่องยังสะท้อนภาพการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวสยามในครั้งอดีตได้อย่างชัดเจนยิ่ง จนนักภาษาศาสตร์วิลเลียม เกดนีย์ กล่าวว่า "ข้าพเจ้ามักคิดบ่อยๆว่า หากความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยเกิดสูญหายไปหมด ทุกอย่างอาจจะถูกสร้างขึ้นมาได้ใหม่ จากข้อเขียนที่อัศจรรย์นี้" เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ ถูกสันนิษฐานว่าเป็นการแต่งขึ้นร้องแบบมุขปาถะ (ปากต่อปาก) เพื่อความบันเทิง ในลักษณะเดียวกับมหากาพย์ของยุโรป อย่างเช่นของโฮเมอร์ โดยคงจะเริ่มแต่งตั้งแต่ราวอยุธยาตอนกลาง (ราว พ.ศ. 2143) และมีการเพิ่มเติม หรือตัดทอนเรื่อยมา จนมีรายละเอียดและความยาวอย่างที่สืบทอดกันอยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ไม่ได้ถูกบันทึกลงไว้เป็นกิจลักษณะ เนื่องจากบุคคลชั้นสูงสมัยนั้นเห็นว่าเป็นกลอนชาวบ้าน ที่มีเนื้อหาบางตอนหยาบโลน และไม่มีการใช้ฉันทลักษณ์อย่างวิจิตร ดังนั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกเผาทำลายในปี..

ใหม่!!: หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์และขุนช้างขุนแผน · ดูเพิ่มเติม »

ปางปาลิไลยก์

ระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ ปางปาลิไลยก์ (มักสะกดผิดเป็น ป่าเลไลย ป่าเลไลย์ ป่าเลไลยก์ ฯลฯ) เป็นพระพุทธรูปอยู่อิริยาบถประทับนั่งบนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุ มีรูปช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ และ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถว.

ใหม่!!: หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์และปางปาลิไลยก์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »