เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)

ดัชนี หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)

ตราจารย์พรต เดชา หรือ อำมาตย์โท ศาสตราจารย์ หลวงพรตพิทยพยัต (Luang Brata) เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 เป็นอาจารย์ชาวไทย เริ่มดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์พิเศษสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พรตเคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการศึกษาเป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วง..

สารบัญ

  1. 26 ความสัมพันธ์: ฟิสิกส์พ.ศ. 2438พ.ศ. 2463พ.ศ. 2464พ.ศ. 2466พ.ศ. 2471พ.ศ. 2525กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)กอล์ฟมหาวิทยาลัยบริสตอลมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์วิทยาศาสตร์ครูคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณิตศาสตร์ประเทศไทยโรงเรียนพรตพิทยพยัตโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเลี่ยม บุนนาค1 มิถุนายน10 ธันวาคม17 พฤศจิกายน4 ตุลาคม9 ธันวาคม

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และฟิสิกส์

พ.ศ. 2438

ทธศักราช 2438 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1895 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และพ.ศ. 2438

พ.ศ. 2463

ทธศักราช 2463 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1920 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และพ.ศ. 2463

พ.ศ. 2464

ทธศักราช 2464 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1921 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และพ.ศ. 2464

พ.ศ. 2466

ทธศักราช 2466 ตรงกั.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และพ.ศ. 2466

พ.ศ. 2471

ทธศักราช 2471 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1928 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และพ.ศ. 2471

พ.ศ. 2525

ทธศักราช 2525 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1982 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปี สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และพ.ศ. 2525

กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)

กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและแสดงออกในทางที่เหมาะสม.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)

กอล์ฟ

ลูกกอล์ฟและหลุมกอล์ฟ กอล์ฟ คือกีฬาหรือเกมประเภทบอลชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้เล่นใช้ไม้หลายชนิดตีลูกบอลให้ลงหลุม จากกฎของกอล์ฟ ระบุว่า "กีฬากอล์ฟประกอบด้วยการเล่นลูกใดลูกหนึ่งด้วยไม้กอล์ฟจากแท่นตั้งทีไปลงหลุมโดยการสโตรคหนึ่งครั้งหรือหลายครั้งต่อเนื่องกันตามกฎข้อบังคับ" กอล์ฟเป็นหนึ่งในกีฬาประเภทบอลเพียงไม่กี่ชนิดที่ไม่มีอาณาเขตการเล่นที่แน่นอน (สนามกอล์ฟแต่ละแห่งสามารถมีรูปร่างและขนาดต่างกัน) ต้นกำเนิดของกอล์ฟนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ระหว่างเนเธอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และจีน โดยมีการเล่นกอล์ฟมาแล้วอย่างน้อยห้าศตวรรษในหมู่เกาะบริเตน กอล์ฟในรูปแบบปัจจุบันได้มีการเล่นในสกอตแลนด์ตั้งแต่พ.ศ.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และกอล์ฟ

มหาวิทยาลัยบริสตอล

มหาวิทยาลัยบริสตอล (University of Bristol) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเน้นวิจัยขนาดใหญ่ ตั้งในใจกลางเมือง (และเคาน์ตี) บริสตอล สหราชอาณาจักร มีชื่อเสียงด้านแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และมีนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลหลายท่าน อาทิ พอล ดิแรก ฮันส์ เบเทอ ฯลฯ มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยอิฐแดง (Red brick university) ร่วมกับมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งในยุคเดียวกัน และเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มรัสเซล ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยในสหราชอาณาจักร ยิ่งไปกว่านั้น มหาวิทยาลัยได้เป็นสมาชิกกลุ่มโคอิมบรา ซึ่งเป็นกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาโบราณในยุโรปอีกด้วย มหาวิทยาลัยบริสตอลมีประวัติการก่อตั้งยาวนาน และมีชื่อเสียงทางวิชาการอย่างยิ่ง ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนสมาชิกราชบัณฑิตยสถานด้านแพทยศาสตร์ 21 คน ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถานอังกฤษ 13 คน สมาชิกราชวิทยสมาคม ถึง 40 คน อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยมีจำนวนนักศึกษาน้อยกว่ามหาวิทยาลัยเวสต์ออฟอิงแลนด์ซึ่งเป็นสถาบันข้างเคียง.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และมหาวิทยาลัยบริสตอล

มูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์

มูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) เป็นองค์กรวิจัยเกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ตั้งอยู่ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดย จอห์น ดี ร็อกกี้เฟลเลอร์ ในปี พ.ศ.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และวิทยาศาสตร์

ครู

รู คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน และนอกจากการสอนแล้วครูยังเป็นผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ ให้รู้จักผิดชอบชั่วดี สอนในคุณงามความดีเพื่อเป็นแม่แบบให้เด็กได้ปฏิบัติตามทั้งต่อหน้าและลับหลัง คำว่า "ครู" มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต "คุรุ" และภาษาบาลี "ครุ, คุรุ".

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และครู

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Faculty of Arts, Chulalongkorn University) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี..

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย โดยถือกำเนิดจาก "แผนกแพทย์ผสมยา โรงเรียนราชแพทยาลัย" หรือ "โรงเรียนปรุงยา" ตามดำริของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณิตศาสตร์

ยูคลิด (กำลังถือคาลิเปอร์) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ในสมัย 300 ปีก่อนคริสตกาล ภาพวาดของราฟาเอลในชื่อ ''โรงเรียนแห่งเอเธนส์''No likeness or description of Euclid's physical appearance made during his lifetime survived antiquity.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และคณิตศาสตร์

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และประเทศไทย

โรงเรียนพรตพิทยพยัต

รงเรียนพรตพิทยพยัต (Protpittayapayat school) ก่อตั้งในปี..

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และโรงเรียนพรตพิทยพยัต

โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

ก่าอาคารพระพุทธเจ้าหลวง ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ภาพหน้าบันอาคารพระพุทธเจ้าหลวง โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร (Mathayom Wat Benchamabophit School) ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ 42 ตารางวา อยู่ในเขตพระราชฐาน เป็นโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครที่เปิดสอนเฉพาะนักเรียนชาย (โรงเรียนชายล้วน) ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชกำเนิดเมื่อ ร..119 (พ.ศ.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

รงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (อักษรย่อ: ส.ก./S.K.) เป็นโรงเรียนชายล้วนในระดับชั้น มัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 88 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 11 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 7 หลัง ห้องเรียนทั้งหมด 78 ห้อง นอกจากนี้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยยังโดดเด่นในเรื่องคุณภาพมาตรฐานของศิษย์เก่าที่จบไปโดยเฉพาะด้านวิชาการ ภาษา และความเป็นผู้นำ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็น 1 ในกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตรสามัคคี ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมของทั้ง 4 โรงเรียน โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพในทุกๆ 2 ปี นอกจากการแข่งขันฟุตบอล ยังมี การแปรอักษร ของทั้ง 4 โรงเรียน ซึ่งเป็นอีกสัญลักษณ์สำคัญของงาน โดยกีฬาจตุรมิตรสามัคคีจะจัดขึ้นในทุกๆ 4 ปี ที่ สนามศุภชลาศัย นอกจากนี้ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ยังมีงานกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ และงานชุมนุมลูกเสือสวนกุหลาบสัมพันธ์ ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับโรงเรียนใน เครือสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

เลี่ยม บุนนาค

ณหญิงเลี่ยม บุนนาค เป็นธิดาคนที่ 12 ของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น สมุหกลาโหม ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 ซึ่งคนทั่วไปมักเรียกบิดาท่านว่า เจ้าคุณทหารหรือเจ้า คุณกลาโหม มารดาชื่อ ท่านหลี ท่านเลี่ยมได้สมรสกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน ต่อมาได้สมรสกับหลวงพรตพิทยพยัต และก็ไม่มีบุตรธิดาเช่นเดียวกัน ระหว่างที่มีชีวิตอยู่ท่านมักจะมาพักอยู่ที่บ้านพักอยู่บ้านพักที่หัวตะเข้ (ตั้งอยู่ริมคลองตรงข้ามที่ว่าการเขตลาดกระบัง) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นท้องถิ่นที่ห่างไกล จะเดินทางไปมาได้โดยทางเรือเท่านั้น ระหว่างที่พักอยู่ที่หัวตะเข้ท่านเห็นเด็ก ๆ ชาวหัวตะเข้และลูกหลานชาวนาที่เช่าที่นาของท่านและทำใกล้เคียง เช่น บ้านบึงบัว ลำปะทิว ทับยาว ยังไม่ค่อยได้รับการศึกษา เพราะไม่มีสถานศึกษาระดับมัธยมในย่านนั้นเลย และการเดินทางก็ลำบากประกอบกับท่านเจ้าคุณทหาร เมื่อครั้งมาควบคุมการขุดคลองประเวศบุรีรมย์ผ่านท้องที่ลาดกระบังไปยังจังหวัดฉะเชิงเทรานั้นได้สังเกตเห็นว่าคนงานที่รับจ้างขุดดินในการขุดคลองแถวนี้เมื่อเลิกงานก็ดื่มสุรามึนเมาเล่นการพนันทะเลาะวิวาทฆ่าฟันกันตายเป็นเนืองนิจท่านก็ได้ ปรารภกับท่านเลี่ยมเสมอว่า คนพวกนี้ไม่มีอะไรอีกแล้วในชีวิต หากินมาได้ก็กินเหล้า เล่นการพนันหมดซ้ำยังก่อการวิวาทฆ่าฟันกันอีกด้วย ทั้งนี้เพราะว่าขาดการศึกษา 185px ดังนั้นทางที่จะช่วยคนพวกนี้ได้ก็มีอยู่ทางเดียว คือ ให้การศึกษาแก่บรรดาลูก ๆ หลาน ๆ ของคนพวกนี้เท่านั้น ท่านเจ้าคุณทหารจึงจับจองที่ดินในบริเวณริมคลองที่ขุดขึ้นประมาณ 1,500 ไร่ โดยมีความตั้งใจว่า จะให้ที่ดินผืนนี้เป็นสถานศึกษา ให้ความรู้แก่อนุชนรุ่นหลัง ให้มีสติปัญญามีอาชีพที่ดีขึ้นกว่านี้ต่อมาไม่นานท่านเจ้าคุณทหารถึงแก่อสัญกรรม ที่ดินผืนนี้จึงตกเป็นของธิดาท่านคือท่านเลี่ยมซึ่งท่านก็ได้สืบทอดเจตนารมณ์ของท่านเจ้าคุณทหารด้วยการ ที่ยกที่ดินในเขตลาดกระบังให้กระทรวงศึกษาธิการ 1,041 ไร่ เพื่อจัดตั้งสถานศึกษาให้เด็กชาวลาดกระบังได้มีโอกาสเล่าเรียนชั้นสูงต่อไป โดยมอบบ้านพักของท่านที่หัวตะเข้ให้ใช้เป็นอาคารเรียนเปิดสอนในระดับมัธยม และให้ใช้ชื่อโรงเรียนนี้ว่า"โรงเรียนพรตพิทยพยัต" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่สามีผู้ล่วงลับไป ส่วนที่ดินอีกส่วนหนึ่ง ท่านขอให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งเป็นวิทยาลัยอาชีวะ สอนวิชาชีพและขอให้ใช้ชื่อ ท่านเจ้าคุณทหาร เป็นชื่อวิทยาลัยซึ่งต่อมาก็เป็นวิทยาลัย เกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร (ปัจจุบันโอนไปสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) อีกส่วนหนึ่งเป็นวิทยาลัย โทรคมนาคมและวิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง (ปัจจุบันเป็นสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) 225px.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และเลี่ยม บุนนาค

1 มิถุนายน

วันที่ 1 มิถุนายน เป็นวันที่ 152 ของปี (วันที่ 153 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 213 วันในปีนั้น.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และ1 มิถุนายน

10 ธันวาคม

วันที่ 10 ธันวาคม เป็นวันที่ 344 ของปี (วันที่ 345 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 21 วันในปีนั้น.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และ10 ธันวาคม

17 พฤศจิกายน

วันที่ 17 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 321 ของปี (วันที่ 322 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 44 วันในปีนั้น.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และ17 พฤศจิกายน

4 ตุลาคม

วันที่ 4 ตุลาคม เป็นวันที่ 277 ของปี (วันที่ 278 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 88 วันในปีนั้น.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และ4 ตุลาคม

9 ธันวาคม

วันที่ 9 ธันวาคม เป็นวันที่ 343 ของปี (วันที่ 344 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 22 วันในปีนั้น.

ดู หลวงพรตพิทยพยัต (พรต เดชา)และ9 ธันวาคม

หรือที่รู้จักกันในชื่อ หลวงพรตพิทยพยัตพรต เดชา