โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล

ดัชนี กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล

กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล หรือ หมานเทียนกว้อไห่ (Deceive the heavens to cross the ocean) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่คิดหรือมองข้ามสิ่งใด ๆ ก็ตาม ที่คิดว่าตนเองนั้นได้ตระเตรียมการไว้พร้อมสรรพแล้ว ก็มักจะมีความประมาทเลินเล่อและมองข้ามศัตรูไปอย่างง่ายดาย พบเห็นสิ่งใดที่มองเห็นเสมอในยามปกติก็ไม่บังเกิดความสงสัยหรือติดใจในสิ่งนั้น เกิดความชะล่าใจในตนเอง การบุกเข้าโจมตีศัตรูโดยที่ศัตรูไม่ทันรู้ตัวและตั้งระวังทัพได้ทันนับว่าเป็นการได้ชัยชนะในการต่อสู้มาแล้วครึ่งหนึ่ง สามารถเอาชนะได้อย่างง่ายดาย การปกปิดอำพรางซ่อนเร้น จึงเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดในการทำศึกสงครามบังฟ้าข้ามสมุทร, 36 กลยุทธ์ผู้นำ, หวางซวนหมิง ผู้แต่ง, อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ ผู้แปล,..

23 ความสัมพันธ์: บังเต๊กชีเซ่งพัวเจี้ยงพิชัยสงครามพิชัยสงครามซุนจื่อกลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าวกลศึกสามก๊กกวนอูลกซุนลิบองสามก๊กสุมาอี้หนังสือฮันต๋งจิวท่ายจูกัดเหลียงจูเหียนทหารซุนกวนโจโฉเล่าปี่เจียวขิมเตงฮอง

บังเต๊ก

บังเต๊ก เป็นขุนพลที่มีฝีมือคนหนึ่งในสามก๊ก แต่แรกเริ่มอยู่รับใช้ม้าเฉียว ต่อมาม้าเฉียวไปเป็นทหารเตียวล่อแห่งฮันต๋ง บังเต๊กก็ได้เป็นทหารเตียวล่อในสังกัดของม้าเฉียว ในขณะที่ม้าเฉียวไปทำศึกกับเล่าปี่และถูกเกลี้ยกล่อมให้อยู่ด้วยกับเล่าปี่ ในขณะนั้นบังเต๊กไม่ได้ติดตามม้าเฉียวไปด้วยเพราะป่วยจึงพักรักษาตัวอยู่ที่ฮันต๋ง ต่อมา โจโฉยกทัพบุกฮันต๋งบังเต๊กอาสาเตียวล่อเป็นทัพหน้าไปรบกับโจโฉ แต่ถูกอุบายของกาเซี่ยงทำให้เตียวล่อกับบังเต๊กผิดใจกัน ทำให้โจโฉได้บังเต๊กร่วมกองทัพ ต่อมา กวนอูจะยกทัพตีเมืองอ้วนเสีย โจโฉได้ส่งกองทัพไปช่วยสลายวงล้อมอ้วนเสีย โดยให้อิกิ๋มเป็นแม่ทัพใหญ่ บังเต๊กคุมทัพหน้า ในการรบบังเต๊กสามารถรบกับกวนอูได้อย่างสูสี ในบางครั้งแม้บังเต๊กได้เปรียบกวนอู แต่อิกิ๋มริษยาว่าถ้าบังเต๊กชนะกวนอูต้องได้ความชอบใหญ่จึงสั่งให้ทหารตีม้าล่อถอยทัพทุกครั้ง เมื่ออิกิ๋มได้ยกมาตั้งทัพที่ทุ่งจันเค้า กวนอูได้ให้ทหารสร้างเขื่อนกั้นน้ำรอให้น้ำหลาก จึงพังเขื่อนปล่อยน้ำท่วมทัพอิกิ๋ม อิกิ๋มและบังเต๊กถูกจับตัวได้ กวนอูสั่งให้ขังตัวอิกิ๋ม ส่วนบังเต๊กให้นำตัวไปประหาร หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่: วุยก๊ก.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและบังเต๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ชีเซ่ง

ชีเซ่ง (Xu Sheng) เป็นขุนพลแห่งง่อก๊ก ชาวเมืองลงเสียมีนิสัยกล้าหาญ ซื่อสัตย์ ชำนาญการรบทางเรือ เข้มงวดในระเบียบวินัย มักจะได้รับมอบหมายงานพร้อมกับเตงฮอง เช่นในตอนที่จิวยี่สั่งให้ไปฆ่าขงเบ้ง(แต่ไม่สำเร็จ) และในตอนที่สกัดขบวนของเล่าปี่และซุนฮูหยินที่ยกกลับเกงจิ๋ว (แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่กล้าสังหารซุนฮูหยิน) ชีเซ่งออกศึกในบังคับบัญชาของซุนกวนหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดได้รับการแต่งตั้งให้แม่ทัพป้องกันการรุกรานของพระเจ้าโจผีที่เมืองน้ำฉี ในครั้งนั้น ชัเซ่งสั้งทหารให้เอาฟางมาผูกเป็นรูปหุ่น ใส่เสื้อสีต่างๆให้มาก แล้วปักธงทิว รายไปตั้งแต่เมือน้ำฉีไปถึงเซ็กเทา ทำให้เสร็จในค่ำวันนั้ ฝ่ายพระเจ้าโจผี ครันรุ่งเช้า หมอกลงหนัก เห็นค่ายคูผู้คนและธงทิวเต็มไปหมดก็ตกใจ พอดีเกิดพายุประจวบกับได้รับข่าวว่าจูล่งแห่งจ๊กก๊กเข้าตีวุยก๊กตามคำสั่งขงเบ้ง จึงยกทัพกลับไป หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:ง่อก๊ก.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและชีเซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

พัวเจี้ยง

พัวเจี้ยง (Pan Zhang) เป็นชาวเมืองตงฉวินฟาเซียนฉายาว่า อุยกุ๋ย เป็นคนเคร่งครัดในระเบียบวินัย แต่ขี้โอ่ ยิ่งแก่ยิ่งขี้โอ่มาก รับราชการอยู่กับซุนกวนมีความชอบมาก ได้ยศมหารเป็นผิงเป่ยเจีบงจวิน (นายพล) ความชอบครั้งสำคัญคือ การรบที่ซอกเขาเจาสัน ซึ่งพัวเจี้ยงได่ขุดหลุมพลางไว้และจับกวนอูได้ที่นั่นพร้อมด้วยกวนเป๋ง(บุตรบุญธรรม) พัวเจี้ยงได้เอาง้าวของกวนอูมาเป็นอาวุธของตน เป็นผู้ออกรบลวงฮองตง ทหารเอกของพระเจ้าเล่าปี่ให้ตกเข้าไปในที่ล้อมหน้าเมืองอิเหลง แล้วให้ทหารระดมยิงเกาทัณฑ์ ถูกซอกคอฮองตงกลับไปตายที่ทัพหลวง ในที่สุดได้รบพุ่งกับกวนหินบุตรกวนอูตัวต่อตัว ถูกกวนหินฟันตาย กวนหินได้ง้าวของกวนอูจากพัวเจี้ยงคืนไป ตำแหน่งสุดท้ายของพัวเจี้ยง เป็นเจ้าเมืองเซียงหยัง (ซงหยง)และมียศทหารเป็นอิ้วเจียงจวิน (นายพล) พัวเจี้ยง พัวเจี้ยง.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและพัวเจี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

พิชัยสงคราม

ตัวอย่างเนื้อหาของตำราพิชัยสงครามของไทย แสดงภาพการแปรขบวนทัพแบบมหิงสาพยุหะ หรือการตั้งทัพเป็นรูปควาย พิชัยสงคราม เป็นคำที่ใช้เรียกหนังสือหรือเอกสารที่มีการรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับกลยุทธ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีการรบต่าง ๆ อาทิ การรุก การตั้งรับ การแปรขบวนทัพ การใช้อุบายทำลายข้าศึก เป็นต้น หนังสือจำพวกนี้ในบางแห่งมักจะมีการใส่เนื้อหาที่เป็นความเชื่อทางด้านโหราศาสตร์เข้ามาประกอบ เช่น การดูฤกษ์ยามในการเคลื่อนทัพ การทำพิธีข่มขวัญข้าศึกและบำรุงขวัญฝ่ายตน ฯลฯ รูปแบบเนื้อหานั้นอาจอยู่ในลักษณะของร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้ ในสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้คำจำกัดความของตำราพิชัยสงครามไว้ว่า ตำราพิชัยสงครามที่นับว่ามีชื่อเสียงมากในระดับโลก คือ ตำราพิชัยสงครามของซุนวู ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล อันอยู่ในช่วงยุครณรัฐของจีน ทั้งนี้ หนังสือพงศาวดารจีนบางเรื่องที่มีการกล่าวถึงการรบและการใช้อุบาย เช่น สามก๊ก ไซ่ฮั่น ก็อาจนับว่าเป็นตำราพิชัยสงครามได้เช่นกัน เนื้อหาและหลักในตำราพิชัยสงครามต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตำราพิชัยสงครามของซุนวู ปัจจุบันได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการบริหารและด้านเศรษฐกิจขององค์กรต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและพิชัยสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

พิชัยสงครามซุนจื่อ

ัยสงครามซุนจื่อ (The Art of War) เป็นตำรายุทธศาสตร์การทหารหรือตำราพิชัยสงครามของจีน ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อราวหกร้อยปีก่อนคริสตกาลโดยซุนจื่อ นักยุทธศาสตร์คนสำคัญในยุครณรัฐของจีน เนื้อหาในตำราพิชัยสงครามฉบับนี้มี 13 บท แต่ละบทเน้นถึงแต่ละแง่มุมของการสงคราม ตำราพิชัยสงครามของซุนจื่อเป็นหนึ่งในตำรายุทธศาสตร์การทหารเล่มหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนับได้ว่าเป็นตำราเล่มแรกและเล่มหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเชิงยุทธศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อแนวคิดทางการทหาร กลยุทธทางธุรกิจ และแนวคิดเรื่องอื่นๆ ทั้งในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ซุนจื่อถือเป็นบุคคลแรกที่ตระหนักในความสำคัญของตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบทั้งจากเงื่อนไขเชิงรุกในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และความคิดเชิงรับของฝ่ายคู่แข่งในสภาพแวดล้อมดังกล่าว เขาได้สอนว่า ยุทธศาสตร์ไม่ใช่เพียงการวางแผนกำหนดสิ่งที่จะลงมือทำเท่านั้น แต่ยังต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็วและเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสถานการณ์ต่างๆ ด้วย ตำราพิชัยสงครามเล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาตะวันตกครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและพิชัยสงครามซุนจื่อ · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าว

กลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าว หรือ เหวยเว่ยจิ้วจ้าว (Besiege Wèi to rescue Zhào) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูรวบรวมกำลังทหารและไพร่พลไว้เป็นจุดศูนย์กลาง ทำให้เกิดกำลังและความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น ควรที่จะใช้กลยุทธ์ในการดึงแยกศัตรูให้แตกออกจากกัน เพื่อให้กำลังไพร่พลทหารกระจัดกระจาย คอยระแวดระวังมีความห่วงหน้าพะวงหลังแล้วจึงบุกเข้าโจมตี ตามความหมายของตำราพิชัยสงครามคือ การบุกเข้าโจมตีในจุดที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย โจมตีในจุดที่ศัตรูไม่ได้เตรียมการตั้งรับและคอยระวังป้องกัน ย่อมถือว่าได้เปรียบและได้รับชัยชนะมาแล้วครึ่งหนึ่ง ในการทำศึกสงคราม การบุกเข้าโจมตีศัตรูจะบุกเข้าทางด้านหน้า ซึ่งเป็นเพียงกลอุบายหลอกล่อให้ศัตรูหลงทิศและนำกำลังบุกเข้าโจมตีทางด้านหลัง การแสร้งบุกโจมตีทางด้านตะวันออกแต่จริงแล้วบุกเข้าโจมตีทางด้านตะวันตก การทำให้ศัตรูคาดเดาแผนการรบไม่ถูก ทำให้เกิดความสับสนในการวางกำลังป้องกันฐานทัพ พึงหักเอาในขณะที่ศัตรูเป็นฝ่ายที่ไม่ได้เตรียมความพร้อม เข้าจู่โจมในยามที่ศัตรูไม่ได้คาดคิด ตำราพิชัยสงครามกล่าวไว้ว่า "เมื่อเห็นจุดอ่อนเปราะของศัตรู เราต้องใช้กลยุทธ์พิสดารโจมตี"พิสดารเหนือความคาดหมาย, สงครามสามก๊ก กลยุทธ์พลิกสถานการณ์, ทองแถม นาถจำนง, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและกลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าว · ดูเพิ่มเติม »

กลศึกสามก๊ก

กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ พระเจ้าหองจูเปียนเสียอำนาจ กลยุทธ์สาวงาม เตียวเสี้ยนลวงตั๋งโต๊ะให้ลุ่มหลง กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ ลิโป้บาดหมางใจกับตั๋งโต๊ะ กลยุทธ์ทุกข์กาย อุยกายใช้อุบายเผาทัพเรือโจโฉ กลยุทธ์จูงแพะติดมือ จูกัดเหลียงลวงเกาฑัณฑ์จากโจโฉ กลศึกสามก๊ก (Thirty-Six Stratagems) เป็นการรวบรวมกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำศึกสงครามที่ปรากฏในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสามก๊กมีการทำศึกสงครามมากมายหลายครั้งเพื่อแย่งชิงอำนาจและความเป็นใหญ่ การนำกำลังทหารและไพร่พลจำนวนมากการบุกโจมตีและยึดครองเมืองหรือสถานที่ต่าง ๆ หรือทางการทูตต่างแดนในการเจรจาต่อรองผูกสัมพันธ์ไมตรีกับแคว้นอื่น การต่อสู้ทางด้านสติปัญญาและกุศโลบายในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู การปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา การทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง หรือแม้นแต่การใช้คนอย่างถูกต้อง ในสามก๊กทุกสิ่งล้วนแต่เป็นการนำเอาทรัพยากรทุกอย่างที่มีเพื่อนำมาใช้ในการทำศึกสงคราม สงครามสามก๊กนั้นมีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอาชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงครามกลศึกสามก๊ก ตำราพิชัยสงครามรูปธรรมที่มีชีวิต,หลี่ปิ่งเอี้ยน ซุนจิ้ง ผู้ค้นคว้า, บุญศักดิ์ แสงระวี แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ,..

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและกลศึกสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและกวนอู · ดูเพิ่มเติม »

ลกซุน

ลกซุน (Lu Xun; จีนตัวเต็ม: 陸遜; จีนตัวย่อ: 陆逊; พินอิน: Lù Xùn) แม่ทัพคนสำคัญอีกคนของง่อก๊ก ผู้เผาทัพใหญ่ของเล่าปี่ในศึกอิเหลงจนย่อยยับ เล่าปี่ต้องหนีซมซานไปยังเมืองเป๊กเต้และตรอมใจตายในที่สุด ซึ่งก่อนหน้านั้นเล่าปี่ได้ดูถูกลกซุนว่าเป็น"เด็กอมมือ" เพราะขณะนั้นลกซุนอายุยังน้อย (39 ปี) และไม่มีชื่อเสียงนัก ลกซุนมีชื่อรองว่า "ป๋อเหยียน" (伯言) กำพร้าบิดาตั้งแต่เด็ก อาศัยอยู่กับลกคัง เจ้าเมืองโลกั๋ง ผู้เป็นลุง ต่อมาอ้วนสุดขอยืมเสบียงจากลกคัง แต่ลกคังไม่ยินยอม ทำให้อ้วนสุดสั่งซุนเซ็กโจมตีเมืองโลกั๋ง ลกคังจึงส่งลกซุนและครอบครัวมาหลบภัยที่กังตั๋ง ต่อมาลกซุนได้รับราชการกับง่อก๊ก โดยเริ่มต้นเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยในสังกัดของซุนกวน ลกซุนเป็นขุนนางบัณฑิตที่มีสติปัญญา ชำนาญพิชัยสงคราม มีผลงานในการปกครองและปราบโจร ซุนกวนชื่นชอบในความสามารถของลกซุน จึงเลื่อนตำแหน่งให้หลายครั้ง และให้แต่งงานกับบุตรสาวของซุนเซ็ก หลานสาวของตน ลกซุนเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในแผนการยึดเกงจิ๋วของลิบอง ซึ่งแม้เป็นศึกใหญ่ครั้งแรกของลกซุน ก็สามารถลวงกวนอู (ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วในขณะนั้น) ให้ตายใจ แล้วเข้ายึดเกงจิ๋วไว้ได้ เป็นเหตุให้กวนอูถูกจับและประหารชีวิต ต่อมาลกซุนได้ผู้บัญชากองทัพง่อก๊กในศึกอิเหลง ป้องกันการบุกโดยทัพใหญ่ของเล่าปี่จำนวน 750,000 คน ซึ่งยกทัพมาแก้แค้นให้กวนอูและเตียวหุย (ซึ่งถูกลอบสังหารขณะจัดเตรียมทัพ) ลกซุนใช้ยุทธวิธีเผาค่ายเล่าปี่จนย่อยยับและรุกไล่ตามเล่าปี่ แต่กลับเข้าไปหลงอยู่ในกองหินค่ายกลที่ขงเบ้งสร้างไว้ก่อนหน้า ลกซุนหาทางออกไม่ได้ แต่ได้ฮองเซ็งหงัน พ่อตาของขงเบ้งผ่านมาช่วยเหลือและเปิดเผยว่า ขงเบ้งเคยบอกก่อนหน้านี้ว่า ต่อไปจะมีแม่ทัพง่อก๊กหลงเข้ามาในนี้ ขออย่าได้ช่วย แต่ฮองเซ็งหงันได้พาลกซุนออกมาอย่างปลอดภัย ลกซุนจึงเลิกทัพกลับกังตั๋ง แม้ลกซุนมีผลงานมากมาย แต่สุดท้ายขัดแย้งกับซุนกวนเพราะสนับสนุนรัชทายาทซุนโห ทำให้ซุนป๋าบุตรของซุนกวนอีกคนไม่พอใจ ใส่ร้ายลกซุนมากมาย จนซุนกวนปลดจากตำแหน่งและส่งคนมาตำหนิต่อว่า ทำให้ลกซุนโกรธและเสียใจจนตรอมใจต.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและลกซุน · ดูเพิ่มเติม »

ลิบอง

ลิบอง (吕蒙; Lu Meng) เป็นหนึ่งในแม่ทัพคนสำคัญยิ่งของง่อก๊ก มีความเก่งกาจ และเฉลียวฉลาดอย่างมาก ลิบองมีฐานะยากจน เกิดที่เมืองยีหลำแห่งอิจิ๋ว เริ่มต้นโดยไต่เต้าจากการเป็นทหารเลวพร้อมกับตันเติ้ง ผู้เป็นพี่เขย ตั้งแต่อายุเพียง 16 ปี แต่ได้แสดงความสามารถบ่อยครั้งรวมถึงความใจถึงจนถึงขั้นบ้าระห่ำ จนพี่เขยตกใจ ครั้งหนึ่งได้หุนหันพลันแล่นจนตัดหัวของทหารรุ่นพี่คนหนึ่งที่พูดจาดูถูกปรามาสซึ่งหน้า แล้วหนีคดีความไปซ่อนตัว แต่ถูกซุนเซ็กเกลี้ยกล่อม หลังจากพูดกันไม่กี่คำ ลิบองก็ยอมเข้ากับซุนเซ็ก เมื่อพี่เขยสิ้น ลิบองก็ได้ขึ้นครองตำแหน่งแทน จนกระทั่งหมดยุคของซุนเซ็ก มาถึงซุนกวนและจิวยี่ รวมถึงโลซก ลิบองได้แสดงฝีมือจนกระทั่งซุนกวนไว้ใจ ให้นำทัพจัดการเรื่องสำคัญต่าง ๆ เมื่อยังหนุ่ม ลิบองแทบไม่มีความรู้ในเรื่องตำรา เนื่องจากเป็นผู้ไม่มีการศึกษา จนซุนกวนสั่งให้ลิบองศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งลิบองได้หันมาศึกษาเล่าเรียน ครั้งหนึ่งโลซกได้ดูหมิ่นความรู้ของลิบอง แต่เมื่อได้เจรจาแล้วพบว่าลิบองมีความคิดที่ลึกซึ้ง มีกลศึกที่แยบคาย จนโลซกต้องเปลี่ยนความคิด สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับลิบอง คือการวางแผนยึดเกงจิ๋วกลับคืน และจับตัวกวนอูได้ จนทำให้กวนอูถูกประหารชีวิตในที่สุด โดยที่แทบจะไม่ต้องสูญเสียไพร่าพลเลย ทำให้ซุนกวนชื่นชมในตัวลิบองมาก แต่ลิบองกลับเสียชีวิต จากโรคภัยหลังจากยึดเกงจิ๋วได้ไม่นาน ในวรรณกรรมเล่าว่าลิบองเสียชีวิตจากการถูกอสุรกายกวนอูที่ตายแล้วเข้าสิง กลางงานเลี้ยงที่ซุนกวนจัดให้เพื่อฉลองชัยชนะ แต่แท้จริงแล้วลิบองเสียชีวิตด้วยโรค ขณะอายุได้ 42 ปี โดยซุนกวนยกตำแหน่งเจ้าเมืองลำกุ๋นและฉานเหลิง พร้อมเงินหนึ่งแสน ทองคำห้าร้อยชั่ง แต่ทว่ายังไม่ทันได้รับก็เสียชีวิตไปเสียก่อน ก่อนเสีย ลิบองได้ยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้แก่ทางการหน้า 3, ลิบอง ผู้พิชิตโดยไม่ร.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและลิบอง · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สุมาอี้

มาอี้ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ซือหม่าอี้ ตามสำเนียงกลาง (司马懿; Sima Yi; ค.ศ. 179-251) นายทหารคนสำคัญของวุยก๊ก หลังยุคที่โจโฉสิ้นไปแล้ว เป็นคู่ปรับที่สำคัญของขงเบ้ง และเป็นผู้ที่วางรากฐานให้กับทายาทผู้สืบทอดตระกูลจนได้รวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นพระจักรพรรดิ์องค์ใหม่ และก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์จิ้น อันเป็นการสิ้นสุดยุคสามก๊กที่ดำเนินมานานถึง 111 ปี สามชั่วอายุคน.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและสุมาอี้ · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือ

หนังสือ เป็นสื่อที่รวบรวมของข้อมูล ประเภทตัวอักษร และ รูปภาพ ที่ลงในแผ่นกระดาษหรือวัสดุชนิดอื่น และรวมเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการ เย็บเล่ม หรือ ทากาว เข้าด้วยกันที่บริเวณขอบด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีขนาดต่าง ๆ กัน แต่มักจะไม่ทำใหญ่กว่าการจับและเปิดอ่านสะดวก หนังสือมักจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรม ต่าง ๆ สำหรับหนังสือในรูปแบบที่เก็บในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์ จะเรียกว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีบุ๊ก (e-book) การจัดพิมพ์ตามมาตรฐานจะมีหมายเลขไอเอสบีเอ็น (ISBN) เพื่อจะระบุประเทศและสำนักพิมพ์ หนังสือสามารถซื้อขายได้ที่ร้านหนังสือ และสามารถยืมได้จากห้องสมุด กูเกิลประมาณว่าใน..

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและหนังสือ · ดูเพิ่มเติม »

ฮันต๋ง

ันต๋ง (Han Dang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งง่อก๊ก รับใช้ตระกูลซุนตั้งแต่รุ่นซุนเกี๋ยน ซุนเซ็ก ถึงซุนกวน เข้ารับราชการกับซุนเกี๋ยนในเวลาไล่เลี่ยกับเทียเภาและอุยกาย มีความสามารถในการรบ ทำศึกมีความชอบหลายครั้ง รวมถึงการมีบทบาทในศึกผาแดงอีกด้ว.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและฮันต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

จิวท่าย

วท่าย (Zhou Tai) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขุนพลแห่งง่อก๊ก เริ่มรับใช้ราชการเป็นองครักษ์ให้กับซุนเซ็ก ภายหลังซุนกวนชอบใจในบุคลิกจึงขอให้จิวท่ายมารับใช้ตนเอง จิวท่ายมีชื่อเสียงในการรับใช้ป้องกันซุนกวนหลายครั้ง.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและจิวท่าย · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและจูกัดเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

จูเหียน

ูเหียน (เกิด พ.ศ.725 – พ.ศ.792) เดิมเป็นบุตรของน้องสาวจูตี แต่จูตีไม่มีบุตรจึงรับเขาเป็นบุตรบุญธรรม เป็นเพื่อนกับซุนกวนตั้งแต่เด็ก เรียนหนังสือมาด้วยกัน มีผลงานในการสู้รบหลายครั้ง เป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วต่อจากลิบอง เป็นกองหน้าที่เข้าตีเล่าปี่ในศึกอิเหลง ในสามก๊กฉบับพระยาคลังหน จูล่งมาช่วยและฆ่าจูเหียน แต่ในประวัติศาสตร์ จูเหียนไม่ได้ตายในศึกนั้นและมีผลงานมากมายจนตำแหน่งสุดท้ายเป็นแม่ทัพใหญ่ของง่อ เมื่อจูเหียนถูกเตียวเปาสังหารตาย ซุนกวนร้องไห้เสียใจมาก.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและจูเหียน · ดูเพิ่มเติม »

ทหาร

ทหารในประเทศเคนยา ทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ นักรบ ผู้เป็นกำลังรักษาความมั่นคงและบำรุงประเทศและผู้เป็นกำลังรบและทำหน้าที่อื่นๆ ในยามสงคราม.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและทหาร · ดูเพิ่มเติม »

ซุนกวน

ระเจ้าซุนกวน (181 — 252) หรือ พระเจ้าหวูต้าตี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและพระมหากษัตริย์ของง่อก๊ก (吳) หนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก ซุนกวนเป็นบุตรคนที่สองของซุนเกี๋ยน และเป็นน้องชายของซุนเซ็ก เมื่อซุนเซ็กพี่ชายตายไปจึงได้ขึ้นครองเมืองกังตั๋งแทนด้วยวัยแค่ 18 ปี แม้ซุนกวนจะไม่ปรากฏความสามารถในการรบเหมือนผู้พี่แต่มีความสามารถในการปกครองสูงมาก มารดาของซุนกวนได้ตายไปก่อนหน้านี้ ผู้ที่เลี้ยงซุนกวนขึ้นมา คือ ง่อก๊กไท่ ผู้มีศักดิ์เป็นน้าของซุนกวน ซึ่งซุนกวนนับถือง่อก๊กไท่ผู้นี้เสมือนแม่แท้ ๆ ของตัว ซุนกวนมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว มีตาสีเขียว หนวดเคราแดง เมื่อขึ้นครองเมืองแต่ยังเล็ก จึงได้รับฉายาว่า "ทารกตาเขียว" ซึ่งในบรรดาผู้นำก๊กทั้ง 3 นั้น ซุนกวนเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุด แม้ตอนที่โจโฉยกทัพไปรบกับง่อก๊กของซุนกวนในศึกหับป๋า ซุนกวนก็บัญชาการรบอย่างแข็งขัน จนโจโฉที่แม้แต่เป็นศัตรูยังเอ่ยปากชมว่า "ถ้าจะได้บุตร ต้องได้บุตรอย่างซุนกวน" ซุนกวนมีน้องสาวอยู่นางหนึ่ง เป็นบุตรสาวของง่อก๊กไท่ ชื่อว่าซุนซางเซียงแต่เรียกกันว่า ซุนฮูหยิน ซึ่งต่อมาในภายหลังได้แต่งงานกับเล่าปี่ เป็นภรรยาคนที่ 3 ของเล่าปี่ ซุนกวนออกอุบายให้นางกลับคืนมาง่อก๊ก โดยเชิญนางให้เร่งรีบกลับมาพร้อมอาเต๊าโดยที่เล่าปี่ไม่รู้ แต่ขงเบ้งอ่านอุบายออก จึงให้จูล่งเร่งรีบเดินทางติดตามไป เมื่อถึงเรือของนางก็กระโดดขึ้นเรือขอให้นางกลับไป แต่นางไม่ยอม จูล่งจึงให้นางไปได้แต่อาเต๊า บุตรของเล่าปี่ต้องอยู่ ท้ายที่สุดอาเต๊าก็ได้กลับไปจ๊กก๊ก และเมื่อซุนฮูหยินทราบเมื่อกลับไปถึงว่านี่เป็นอุบายของพี่ชาย ก็เศร้าโศกเสียใจ ท้ายที่สุดนางก็ตรอมใจตาย ซุนกวน เองก็ปรารถนาก็จะเป็นใหญ่ในแผ่นดินเช่นเดียวกับโจโฉและเล่าปี่ เมื่อตอนที่เล่าปี่มาที่ง่อก๊กเพื่อที่จะสมรสกับซุนฮูหยิน แต่ซุนกวนได้ให้คนคอยซุ่มทำร้ายเล่าปี่อยู่เป็นระยะ ๆ เล่าปี่ก็รู้ทันและได้จูล่งแก้สถานการณ์ให้ เมื่อออกมาจากงานได้รำพันถอดถอนหายใจถึงชะตากรรมตัวเอง และได้เจอหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง เล่าปี่อธิษฐานว่าหากตนจะได้เป็นใหญ่ ขอให้ใช้กระบี่ฟันหินนี้ให้แตกเป็น 2 ท่อน ก็ปรากฏว่าฟันหินได้ขาดจริง ๆ ซุนกวนเห็นดังนั้นจึงอธิษฐานบ้าง ก็ปรากฏว่าสามารถฟันหินได้แตกเช่นกัน และทั้งคู่จึงได้ขี่ม้าออกชมทัศนียภาพของง่อก๊กด้วยกัน แต่นโยบายในการทำสงครามของซุนกวนจะไม่ประกาศเป็นศัตรูกับก๊กใหญ่อีก 2 ก๊ก นั้นอย่างเต็มที่ แต่จะผูกไมตรีกับทุกก๊กที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง ดังจะเห็นว่า ซุนกวนเองแม้จะผูกไมตรีกับจ๊กก๊ก แต่ก็หาทางจะกำจัดเล่าปี่อยู่เสมอ ๆ ถ้ามีโอกาส และซุนกวนเองก็เป็นสาเหตุการตายของกวนอู โดยซุนกวนออกอุบายทำให้จับกวนอูได้ จากนั้นจึงตัดหัวกวนอูส่งไปให้โจโฉ ซึ่งทำให้ทั้งเล่าปี่และเตียวหุยแค้นซุนกวนมาก และทั้งเตียวหุยและเล่าปี่ก็ต้องมาตายด้วยการมาแก้แค้นให้กวนอูทั้งสิ้น และต่อมาใน ปี..252 พระเจ้าซุนกวนสวรรคต รวมเวลาเสวยราชย์อยู่ได้ 24 ปี ภายหลังพระเจ้าซุนกวนสวรรคตไปแล้ว พระโอรสก็ได้ขึ้นเป็นผู้นำก๊กต่อ แต่สภาพภายในง่อก๊กไม่แข็งแกร่งเหมือนเก่า ขุนนางแตกแยกกันเอง จนนำมาสู่การล่มสลายของก๊กในที.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและซุนกวน · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เจียวขิม

เจียวขิม (Jiang Qin) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญแห่งง่อก๊ก เป็นชาวเมืองฉิวฉุน มีชื่อรองว่า กงอี๋ เป็นคนรอบคอบซื่อตรง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ช่ำชองการรบทางเรือ เจียวขิมเดิมเป็นโจรร่วมกับจิวท่าย ต่อมาทั้งสองได้ร่วมมือกับซุนเซ็กก่อตั้งแคว้นกังตั๋ง เจียวขิมได้ทำการรบมีความชอบหลายครั้ง ซุนกวนจึงตั้งให้เป็นตั้งโค้วเจียงจวิน (นายพล)เจียวขิมถึงแก่กรรมระหว่างยกกองเรือรบกลับจากอำเภอเหมี่ยน จีเยวขิม จีเยมขิม.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและเจียวขิม · ดูเพิ่มเติม »

เตงฮอง

ตงฮอง (Ding Feng) เป็นแม่ทัพแห่งง่อก๊ก ชาวเมืองโลกั๋ง มักจะได้รับมอบหมายงานพร้อมกับชีเซ่ง เช่นในตอนที่จิวยี่สั่งให้ไปฆ่าขงเบ้ง(แต่ไม่สำเร็จ) และในตอนที่สกัดขบวนของเล่าปี่และซุนฮูหยินที่ยกกลับเกงจิ๋ว (แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่กล้าสังหารซุนฮูหยิน) สมัยยังหนุ่มเขามีชื่อเสียงจากการต่อสู้ในกองทัพอยู่เรื่อย ๆ ว่าเป็นคนที่กล้าหาญที่สุดในกองทัพ เตงฮองมีความดีความชอบมากมายในศึกหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดคือการต่อต้านการโจมตีของ จูกัดเอี๋ยนแห่งวุยก๊ก หลังจากซุนฮิวขึ้นเป็นฮ่องเต้ต่อจากซุนเหลียง เตงฮองได้ช่วยซุนฮิวสังหารซุนหลิม ผู้สำเร็จราชการที่คุกคามฮ่องเต้ ทำให้เขาได้รับตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ รูปเตงฮองจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลและเตงฮอง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Deceive the heavens to cross the oceanกลยุทธ์บังฟ้าข้ามสมุทรกลศึกปิดฟ้าข้ามทะเลกลปิดฟ้าข้ามทะเลหมานเทียนกว้อไห่บังฟ้าข้ามสมุทรปิดฟ้าข้ามทะเล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »