โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แยกอุณากรรณ

ดัชนี แยกอุณากรรณ

แยกอุณากรรณ (Unakan Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนเจริญกรุง, ถนนอุณากรรณ และถนนบูรพา ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้เคียงกับแยกเฉลิมกรุง ที่ตั้งของโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง, ย่านการค้าเก่าแก่วังบูรพา และย่านการค้าพาหุรัด แหล่งค้าขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งใหญ่ นอกจากนี้ บริเวณแยกอุณากรรณยังเป็นย่านร้านค้าอาวุธปืนที่มีชื่อเสียง เนื่องจากมีร้านจำหน่ายปืนรวมไปถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกีฬายิงปืนเป็นจำนวนมาก.

14 ความสัมพันธ์: กรุงเทพมหานครรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครวังบูรพาภิรมย์ศาลาเฉลิมกรุงถนนบูรพาถนนอุณากรรณถนนเจริญกรุงดิโอลด์สยามพลาซ่าปืนแยกพาหุรัดแยกสามยอดแยกเฉลิมกรุงเสาชิงช้าเขตพระนคร

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: แยกอุณากรรณและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร ทางแยกต่างระดับ รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: แยกอุณากรรณและรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วังบูรพาภิรมย์

วังบูรพาภิรมย์ นักเรียนโรงเรียนภานุทัต สมัยที่อยู่วังบูรพาภิรมย์ วังบูรพาภิรมย์ เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์สุดท้องในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เมื่อ..

ใหม่!!: แยกอุณากรรณและวังบูรพาภิรมย์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลาเฉลิมกรุง

ลาเฉลิมกรุง หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า โรงมหรสพหลวง ศาลาเฉลิมกรุง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เฉลิมกรุง เป็นโรงมหรสพหลวง ตั้งอยู่ริมถนนเจริญกรุง แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ศาลาเฉลิมกรุงได้วางศิลาฤกษ์โดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: แยกอุณากรรณและศาลาเฉลิมกรุง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบูรพา

นนบูรพา (Thanon Burapha) เป็นถนนสั้น ๆ สายหนึ่งในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนพาหุรัด กับถนนเจริญกรุง ถนนบูรพา เดิมมีชื่อว่า "ถนนบุรพา" แต่ต่อมาได้เรียกเพี้ยนเป็น "ถนนบูรพา" เช่นปัจจุบัน โดยเรียกตามวังบูรพาภิรมย์ วังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สมเด็จพระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ถนนเส้นนี้ตัดผ่านบริเวณด้านหลัง เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการตัดถนนขึ้นเพื่อรองรับความเจริญทางการค้าที่กำลังเฟื่องฟูในย่านพาหุรัด ทำให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกยิ่งขึ้น ปัจจุบัน บริเวณรอบ ๆ ถนนบูรพาเป็นที่ตั้งของร้านจำหน่ายอาวุธปืนเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับถนนสายอื่น ๆ ที่อยู่รอบด้าน และยังเป็นฟากหนึ่งของห้างสรรพสินค้าดิโอลด์สยามพลาซ่าอีกด้ว.

ใหม่!!: แยกอุณากรรณและถนนบูรพา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอุณากรรณ

นนอุณากรรณ (Thanon Unakan) เป็นถนนสายสั้น ๆ สายหนึ่งในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนนขนาด 3–4 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 19.50 เมตร ระยะทางยาว 446 เมตร เริ่มต้นจากทางแยกอุณากรรณ (จุดตัดกับถนนเจริญกรุง) ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ มุ่งไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนศิริพงษ์ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธเข้าพื้นที่แขวงวัดราชบพิธ ตัดกับถนนลงท่า ตรงไปทางทิศเดิมโดยขนานไปกับถนนศิริพงษ์และเลียบกำแพงวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ไปสิ้นสุดที่ทางแยกเสาชิงช้า (จุดตัดกับถนนบำรุงเมือง) ชื่อถนนอุณากรรณมีที่มาจากพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาเปี่ยม โดยเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยมได้อุทิศเงินจำนวน 100 ชั่งของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย ให้นำไปสร้างถาวรวัตถุที่เป็นสาธารณประโยชน์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พระองค์ซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชันษา 18 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมโยธาธิการสร้างถนนสายสั้น ๆ ขนาดถนนข้าวสาร โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดสรรงบประมาณมาสมทบด้วยกนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: แยกอุณากรรณและถนนอุณากรรณ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ใหม่!!: แยกอุณากรรณและถนนเจริญกรุง · ดูเพิ่มเติม »

ดิโอลด์สยามพลาซ่า

อลด์สยามพลาซ่า (The Old Siam Plaza) เป็นห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า เป็นการร่วมทุนระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์กับบริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ บนเนื้อที่ 14 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตั้งอยู่ที่แยกพาหุรัด ด้านถนนพาหุรัดตัดกับถนนบูรพา ตลอดแนวจนถึงถนนตีทอง แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บริเวณใกล้เคียงมีศาลาเฉลิมกรุง, ห้างไนติงเกล และตลาดพาหุรัด เดิมเป็นที่ตั้งของตลาดมิ่งเมือง ซึ่งเป็นแหล่งจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป และร้านรับตัดเย็บเสื้อผ้า จนกระทั่ง บริษัท สยามพาณิชย์พัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด เข้าปรับปรุงพื้นที่ โดยสร้างอาคาร 4 ชั้นขึ้นใหม่ ตามรูปแบบสถาปัตยกรรมโบราณของย่านนั้น เพื่อเปิดเป็นห้างสรรพสินค้าดิโอลด์สยามพลาซ่า มีงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 เมษายน..

ใหม่!!: แยกอุณากรรณและดิโอลด์สยามพลาซ่า · ดูเพิ่มเติม »

ปืน

ูเอสเอส ไอโอว่า ยิงปืนขณะทำการฝึกยิงใกล้เกาะวีคูส์ เปอร์โต ริโค เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1984 ปืน คืออาวุธสำหรับยิงลูกกระสุนปืน เพื่อให้เข้าสู่เป้าหมาย โดยอาศัยหลักการเผาไหม้ของดินปืนให้เกิดแก๊สผลักดันลูกกระสุนให้ออกจากปากลำกล้องด้วยความเร็วสูง ลูกกระสุนที่ออกจากปากลำกล้องจะการเคลื่อนที่ในแนววิถีราบ ส่วนปืนที่มีขนาดใหญ่ เช่น ปืนใหญ่นิยมใช้การเคลื่อนที่วิถีโค้ง ปืนมีทั้งที่เป็นอาวุธประจำกายเช่น ปืนสั้น ปืนลูกซอง ปืนไรเฟิล ปืนกล หรือ เป็นอาวุธติดตั้งกับพาหนะเช่น ปืนใหญ่รถถัง ปืนกลอากาศในเครื่องบิน ปืนประจำเรือ หรือเป็นอาวุธหนักในสนามรบเช่น ปืนใหญ.

ใหม่!!: แยกอุณากรรณและปืน · ดูเพิ่มเติม »

แยกพาหุรัด

แยกพาหุรัด (Phahurat Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนตรีเพชร และถนนพาหุรัด ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ใจกลางย่านการค้าพาหุรัด แหล่งค้าขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปแหล่งใหญ่ และเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับตลาดบ้านหม้อ ซึ่งเป็นย่านค้าขายอะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้า ลำโพงและเครื่องเสียง รวมไปถึงร้านขายเครื่องเพชร อัญมณีและเครื่องประดับ นอกจากนี้บริเวณแยกพาหุรัดยังเป็นย่านการค้าที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ในอดีตเคยมีตลาดมิ่งเมืองเป็นแหล่งค้าผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บที่มีชื่อเสียง ปัจจุบันได้กลายเป็นศูนย์การค้าดิโอลด์สยาม ซึ่งเป็นศูนย์การค้าสมัยใหม่ที่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นย่านเก่าของกรุงเทพฯ และยังมีห้างไนติงเกล ห้างสรรพสินค้ายุคเก่าที่ยังคงเปิดให้บริการจนถึงปัจจุบันอยู่ที่แยกพาหุรั.

ใหม่!!: แยกอุณากรรณและแยกพาหุรัด · ดูเพิ่มเติม »

แยกสามยอด

แยกสามยอด เป็นทางแยกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร เป็นทางตัดระหว่างถนนเจริญกรุงและถนนมหาไชย โดยชื่อ "สามยอด" นั้นมาจาก "ประตูสามยอด" อันเป็นส่วนหนึ่งของประตูพระบรมมหาราชวังรอบนอก สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อครั้งสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เดิมเป็นประตูไม้ ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการสร้างเพิ่มเติมเป็นก่ออิฐถือปูนบานไม้ ด้านบนเป็นหอรบ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 มีการตัดถนนเจริญกรุงขึ้น และวางแนวถนนผ่านประตูนี้เข้าในเขตกำแพงเมือง จนรัชสมัยรัชกาลที่ 5 การจราจรที่ผ่านประตูมีความคับคั่ง เกิดอุบัติเหตุรถม้าชนกันเป็นประจำทุกวัน จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างประตูเป็นสามช่อง ช่องซ้ายสำหรับรถรางผ่าน อีกสองช่องสำหรับรถม้า, รถลาก และผู้คนสัญจรไปมา แต่ละช่องจะมียอดแหลมขึ้นไปจึงเรียกกันว่า "ประตูสามยอด" จึงทำให้ย่านนั้นถูกเรียกว่า "สามยอด" ไปด้วย โดยเป็นย่านที่มีความคึกคักมากเนื่องจากใกล้กับแหล่งการค้า เช่น สำเพ็ง, เยาวราช, สะพานหัน และยังเป็นที่ตั้งของโรงหวย ก ข รวมถึงมีสถานที่สำคัญ คือ วังบูรพาภิรมย์ และทำให้มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพระนคร จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 7 จึงลดฐานะลงเป็นเพียงตำบล และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของแขวงวังบูรพาภิรมย์ในปัจจุบัน ประตูสามยอด ถูกรื้อถอนออกในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ..

ใหม่!!: แยกอุณากรรณและแยกสามยอด · ดูเพิ่มเติม »

แยกเฉลิมกรุง

แยกเฉลิมกรุง (Chaloem Krung Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนตรีเพชร, ถนนตีทอง และถนนเจริญกรุง ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้เคียงกับย่านการค้าพาหุรัด แหล่งค้าขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปแหล่งใหญ่ และย่านบ้านหม้อ ย่านค้าขายอะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้า ลำโพงและเครื่องเสียง รวมไปถึงร้านขายเครื่องเพชร อัญมณีและเครื่องประดับ บริเวณแยกเฉลิมกรุงเป็นที่ตั้งของศาลาเฉลิมกรุง โรงภาพยนตร์เก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นที่มาของชื่อทางแยก และอยู่ถัดจากศูนย์การค้าดิโอลด์สยาม ศูนย์การค้าสมัยใหม่ที่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นย่านเก่าไว้.

ใหม่!!: แยกอุณากรรณและแยกเฉลิมกรุง · ดูเพิ่มเติม »

เสาชิงช้า

งช้า เป็น สถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้า วัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ตาม นอกจากนี้ ใน ประเทศไทย ยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร เสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ฐานกลมประมาณ 10.50 ม. ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทา สีแดงชาด ติด สายล่อฟ้า จากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็น โบราณสถาน สำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2327 จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปี พ.ศ. 2549 เสาชิงช้ามีอายุรวมประมาณ 222 ปี.

ใหม่!!: แยกอุณากรรณและเสาชิงช้า · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: แยกอุณากรรณและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สี่แยกอุณากรรณแยกอุณากรรณ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »