เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สาคู (อาหาร)

ดัชนี สาคู (อาหาร)

ู.

สารบัญ

  1. 12 ความสัมพันธ์: บะช่อพริกไทยกระเทียมการผัดการนวดมันสำปะหลังสาคู (ปาล์ม)หอมแดงผักชีน้ำตาลปี๊บแป้งไชโป๊

บะช่อ

อ หรือบ๊ะฉ่อ(肉脞) เป็นอาหารประเภทเนื้อหมูอย่างหนึ่ง ป็นหมูสับผสมเครื่องต่างๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนแต้จิ๋ว บ๊ะฉ่อมาจากภาษาจีนแต้จิ๋วหมายถึงหมูที่สับจนละเอียด เป็นการนำเนื้อหมูมาหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก แล้วสับให้ละเอียดด้วยปังตอ ปรุงรสขณะสับด้วยซีอิ๊ว น้ำปลา น้ำตาล แป้งข้าวโพด หรือรากผักชี กระเทียมโขลก สูตรดั้งเดิมของชาวแต้จิ๋วจะใส่เพียงซีอิ๊วและพริกไทยป่น บะช่อที่สับเสร็จแล้วใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกงจืด นำไปยัดไส้มะระหรือหมึก บางครั้งนิยมสับส่วนผสมอื่นปนไปด้วยเช่น วุ้นเส้น กุ้ง ใบตำลึง ใบสะระแหน่ บะช่อมีบทบาทในอาหารจีนหลายชนิดและหลายภูมิภาค ชาวจีนแต้จิ๋วนำบะช่อไปนึ่ง ทอด และต้ม โดยนิยมนึ่งกับไข่ตุ๋นหรือผักกาดดอง ชาวจีนกวางตุ้งนิยมนำบะช่อมาผัด นึ่ง และตุ๋น นำมาปรุงคู่กับปลาเค็ม ผักกาดดองเค็ม ไข่เค็ม ไข่เยี่ยวม้า นำมานึ่งเช่นคลุกกับข้าวเหนียวดิบแล้วนึ่ง ตุ๋นรวมกับน้ำแกงที่ใส่ของเค็มหรือของแห้ง เช่น เป็ดเค็ม หอยเชลล์แห้ง ผักกาดขาวตากแห้ง ชาวจีนฮกเกี้ยนนิยมนำบะช่อมาเป็นส่วนหนึ่งของน้ำแกง เช่งแกงจืดลำไยยัดไส้หมูสับ แกงจืดหมูสับผสมหัวไชเท้า ชาวจีนแคะใช้บะช่อปรุงอาหารมาก โดยนิยมนำสิ่งอื่นสับลงในบะช่อด้วย เช่น หมึกแห้ง ข้าวหมากแดง เนื้อปลา เนื้อกุ้ง อาหารไทยที่มีบะช่อเป็นองค์ประกอบได้แก่ ม้าอ้วน ที่นำหมูบะช่อ มันหมูแข็ง และเนื้อปูมารวมกัน ปรุงรสด้วยรากผักชี กระเทียม พริกไทย น้ำปลา ใส่ถ้วยตะไล นึ่งจนสุก ใช้เป็นอาหารว่าง.

ดู สาคู (อาหาร)และบะช่อ

พริกไทย

ริกไทย เป็นพืชที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาของเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงอาหาร ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากเปลือกเมื่อทำให้แห้งจะมีสีดำ ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออกก่อน พบทั้งการใช้ประกอบอาหารทั้งผลแห้งและผลสดที่มีสีเขียว หรือผลแห้งป่นเป็นผงเรียกพริกไทยป่น ซึ่งพริกไทยเป็นพืชคนละสายพันธุ์กับพริก (Chilli).

ดู สาคู (อาหาร)และพริกไทย

กระเทียม

กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย กระเทียมมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้).

ดู สาคู (อาหาร)และกระเทียม

การผัด

การผัด มันฝรั่งผัดเบคอน และหอมใหญ่ Ddeokbokki: เค้กข้าวแบบเกาหลีผัดกับผักและหมู การผัดหอมใหญ่และพริกหยวกในกระทะแบน การผัด (Stir frying) เป็นวิธีการทำอาหารในน้ำมันและไขมัน ซึ่งเป็นเทคนิกการทำอาหารซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลานานกว่า 2,500 ปีมาแล้ว การผัดในอาหารไทยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน.

ดู สาคู (อาหาร)และการผัด

การนวด

การนวด เป็นจัดระเบียบร่างกายรูปแบบหนึ่ง เพื่อการบำบัดและทำให้ร่างกายผ่อนคลาย โดยใช้ทักษะทางร่างกายและอุปกรณ์เสริมด้วยการ บีบ จับ คลึง รีดเส้น เหยียบ ยัน กดจุด ดัด หรือกระตุ้นด้วยการสั่น เพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อและต่อมต่างๆ ในบริเวณนั้นๆ ทำงานดีขึ้น.

ดู สาคู (อาหาร)และการนวด

มันสำปะหลัง

''Manihot esculenta'' มันสำปะหลัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Manihot esculenta (L.) Crantz) เป็นพืชหัวชนิดหนึ่ง เป็นพืชอาหารที่สำคัญอันดับ 5 รองจากข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว และมันฝรั่ง ชื่อสามัญเรียกหลายชื่อเช่น Cassava, Yuca, Mandioa, Manioc, Tapioca ชาวไทยเดิมเรียกกันว่า มันสำโรง มันไม้ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า มันต้นเตี้ย ภาคใต้เรียกมันเทศ (แต่เรียกมันเทศว่า "มันหลา") คำว่า "สำปะหลัง" ที่นิยมเรียกอาจมาจากคำว่า "ซำเปอ (Sampou)" ของชวาตะวันตก มันสำปะหลังมีแหล่งกำเนิดแถบที่ลุ่มเขตร้อน (Lowland tropics) มีหลักฐานแสดงว่าปลูกกันในโคลัมเบีย และเวเนซูเอลา มานานกว่า 3,000-7,000 ปีมาแล้ว นิยมใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ สามารถปลูกได้ง่ายในพื้นที่ร้อน และร้อนชื้น จึงได้มีการสนับสนุนแก่ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีสภาพภูมิอากาศดังกล่าวปลูกเป็นพืชเศรษฐก.

ดู สาคู (อาหาร)และมันสำปะหลัง

สาคู (ปาล์ม)

การเก็บเกี่ยวแป้งสาคูจากต้น การกรองแป้งสาคู ปาล์มสาคู เป็นพืชจำพวกปาล์มชนิดหนึ่ง ซึ่งมีแป้งในลำต้นและนำมาผลิตเป็นสาคู ภาษามลายูเรียก sagu เป็นที่พบตามที่ชื้นแฉะ ถิ่นกำเนิดอยู่ที่นิวกินีและหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย และบริเวณใกล้เคียง Germplasm Resources Information Network: กระจายพันธุ์ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ปาปัวนิวกินี และตอนใต้ของไทย ต้นสาคูที่อายุ 9 ปี ขึ้นไปจะสะสมแป้งในลำต้นมาก เมื่อโค่นต้นจะจะลอกเอาแป้งที่มีลักษณะข้นเหนียวมาทำอาหารได้ เป็นอาหารที่ใช้ในยามขาดแคลนข้าว ในเกาะบอร์เนียว โดยนำแป้งไปใส่ถุงเสื่อแขวนไว้ให้ลอดช่องออกมาเป็นเม็ดๆ นำไปตากแห้ง แล้วจึงนำไปทำอาหาร เมื่อเริ่มมีพ่อค้าจากจีนและตะวันตกเข้ามาค้าขายในบริเวณหมู่เกาะโมลุกกะ เมื่อได้ชิมอาหารที่ปรุงจากสาคูและมีความชื่นชอบ ทำให้แป้งสาคูกลายเป็นสินค้า ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยเม็ดสาคูที่ทำจากแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคูบริสุทธิ์มีอะไมโลส 27% อะไมโลเพกติน 73% แป้งจากปาล์มสาคูเป็นอาหารหลักในนิวกินี ส่วนในอินโดนีเซียและมาเลเซียใช้ทำเค้กและคุกกี้ เส้นก๋วยเตี๋ยวและขนมแห้งต่างๆ ในสหรัฐใช้ทำคัสตาร์ด ในทางอุตสาหกรรมใช้รักษารูปทรงในการผลิตกระดาษและเส้นใย ผสมในการผลิตไม้อัด ลำต้นอ่อนไส้กลวง และเศษน้ำที่เหลือจากการผลิตแป้งใช้เป็นอาหารสัตว์ เปลือกลำต้นใช้เป็นวัสดุก่อสร้างและเชื้อเพลิง ก้านใบใช้ทำฝาผนัง เพดาน และรั้ว ใบอ่อนใช้สานตะกร้า ยอดอ่อนรับประทานเป็นผัก หนอนของด้วงสาคูนำมารับประทานได้ ในหมู่เกาะโมลุกกะนิยมนำเห็ดฟางที่ขึ้นอยู่ในกากที่เหลือจากการผลิตแป้งมารับประทาน ใบสาคูนำมาเย็บเป็นตับใช้มุงหลังคาและฝาบ้าน ก้านใบนำมาลอกเปลือกนอกออก นำไปจักสานเป็นชะลอมหรือแผงวางของได้ ผลของต้นสาคูรับประทาน ในภาคใต้ของไทยนิยมนำต้นสาคูไปสับใช้เป็นอาหารสัตว์ ไม่ได้นำไปทำแป้งสาคูแล้ว.

ดู สาคู (อาหาร)และสาคู (ปาล์ม)

หอมแดง

หอมแดง เป็นพืชในวงศ์ Alliaceae โดยยึดเอา French grey challot หรือ griselle เป็นหอมที่แท้จริง จัดอยู่ในสปีชีย์นี้ มีการเพาะปลูกในเอเชียกลางและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนความหลากหลายอื่นที่มีคือ Allium cepa var.

ดู สาคู (อาหาร)และหอมแดง

ผักชี

ใบผักชี ผลแห้งของผักชีที่มักเรียกว่าเมล็ดผักชีหรือลูกผักชี ใช้เป็นเครื่องเทศ ผักชี, ผักชีลา หรือ ผักหอมป้อม เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กในวงศ์ Apiaceae ใบติดกับลำต้น มีใบย่อยเป็นจำนวนมาก ใบหยักลึกเข้าหากลางใบ ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาวอมชมพู ผลมีลักษณะรี ค่อนข้างกลม แก่จัดเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล มีเมล็ด 2 เมล็ด ใช้รับประทานเป็นผัก และตกแต่งในอาหารหลายชนิด เช่น ใส่ในลาบ ก้อย แหนมสด รากผักชีใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำพริกแกง ใส่ในทอดมัน ห่อหมก น้ำจิ้ม เมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศ ใส่ในน้ำพริกแกง สะเต๊ะ บาเยีย ข้าวหมกไก.

ดู สาคู (อาหาร)และผักชี

น้ำตาลปี๊บ

น้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊บ หรือ น้ำตาลปึก เป็นส่วนผสมในอาหารและขนมที่ใช้กันทั่วในเอเชีย ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ซึ่งให้รสหวานเหมือนน้ำตาล ทำมาจากน้ำเลี้ยงจากงวงเกสรตัวผู้หรือ"จั่น" ของพืชวงศ์ปาล์ม ในประเทศไทยส่วนใหญ่ผลิตจากงวงมะพร้าว ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าน้ำตาลมะพร้าว ส่วนน้ำตาลที่ผลิตจากงวงตาลเรียกน้ำตาลโตนด ประเทศไทยมีการผลิตน้ำตาลปี๊บในหลายจังหวัดทางภาคกลาง เช่น เพชรบุรี และภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี.

ดู สาคู (อาหาร)และน้ำตาลปี๊บ

แป้ง

แป้ง อาจหมายถึง.

ดู สาคู (อาหาร)และแป้ง

ไชโป๊

หัวผักกาดขาวที่ใช้ทำไชโป๊ ไชโป๊ หรือ หัวไชโป๊ เป็นผักกาดหัวดอง มีสองแบบคือดองเค็มซึ่งเป็นการโรยเกลือสลับกับผักกาดหัวเป็นชั้นๆ ทับด้วยของหนัก ใช้เวลาประมาณ 10 วัน อีกแบบคือใชโป๊หวาน นำหัวผักกาดมาตากแดดตอนกลางวัน ตอนกลางคืนเรียงในบ่อ โรยเกลือสลับ ทำสลับระหว่างตากแดดและหมักเกลือ 5-6 วัน จึงนำไปดองแบบดองเค็ม ตากแดด 3-4 แดด จากนั้นโรยน้ำตาลทรายแดง ผงโป๋ยกั๋ก เหล้าจีน ขยำให้เข้ากัน อัดใส่ไหหมักไว้ 1 เดือน ไชโป๊นี้ทำอาหารได้หลายชนิด เช่น ใส่ไข่เจียว ยำกับพริก มะนาวดอง ใส่ในผัดไทยและก๋วยเตี๋ยวชากังราว.

ดู สาคู (อาหาร)และไชโป๊