เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สะโลเม

ดัชนี สะโลเม

“สะโลเม” โดยทิเชียน สะโลเม (Salome; Σαλωμη) เป็นลูกสาวของเฮโรเดียส (Herodias) จากพันธสัญญาใหม่ (มาระโก 6:21-29 และมัทธิว 14:6-11 แต่ไม่ได้กล่าวชื่อ) ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของนักบุญยอห์นผู้ให้รับบัพติศมา (หรือยอห์นแบปติสต์) แหล่งข้อมูลอีกแหล่งหนึ่งเกี่ยวกับสะโลเมมาจากหนังสือ “ประวัติศาสตร์ชนยิว” (Antiquities of the Jews) โดยนักประวัติศาสตร์ชาวยิวเฟลเวียส โจซีฟัส (Flavius Josephus) ที่กล่าวถึงชื่อและรายละเอียดของครอบครัว ตามตำนานในคริสต์ศาสนาสะโลเมเป็นสัญลักษณ์ของสตรีที่มีเสน่ห์แรงเช่นในการเต้นรำที่ยั่วยวนอารมณ์ที่กล่าวถึงในพันธสัญญาใหม่ หรือเน้นความใจแข็งไม่แคร์ต่อความรู้สึกซึ่งตามพระวรสารเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความตายของนักบุญยอห์นแบปติสต์ ในบทละคร “สะโลเม” ออสคาร์ ไวลด์ (Oscar Wilde) เพิ่มลักษณะว่าเป็นผู้หลงเสน่ห์ศพ (necrophiliac) และถูกฆ่าวันเดียวกับที่ผู้ที่เธอขอให้ฆ่าตาย อีกความหมายหนึ่งมาจากอุปรากรของริชาร์ด เสตราส์ (Richard Strauss) ที่เขียนจากบทละครของออสคาร์ ไวลด์ แต่ไม่ตรงกับข้อเขียนของโจซีฟัส ผู้กล่าวว่าสะโลเมมีชีวิตยืนต่อมาจนแต่งงานอีกสองครั้งและมีลูกอีกหลายคน.

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: พระวรสารนักบุญมัทธิวพระวรสารนักบุญมาระโกพันธสัญญาใหม่ยอห์นผู้ให้บัพติศมาออสการ์ ไวลด์โยเซพุส

  2. บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 10
  3. บุคคลที่เสียชีวิตในคริสต์ทศวรรษ 60
  4. บุคคลนิรนามในคัมภีร์ไบเบิล
  5. บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 1

พระวรสารนักบุญมัทธิว

ระวรสารนักบุญมัทธิว (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมัทธิว (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Matthew) เป็นหนังสือพระวรสารในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในสี่ “พระวรสารในสารบบ” และเป็นหนึ่งในสาม “พระวรสารสหทรรศน์” แม้พระวรสารนักบุญมัทธิวไม่มีชื่อกำกับไว้ว่าใครเป็นผู้เขียน แต่ตั้งแต่คริสตชนตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกก็เชื่อกันสืบมาว่าเขียนโดยมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร อัครทูต และคนเก็บภาษี หนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นก่อนที่กรุงเยรูซาเล็มจะพินาศในปี..

ดู สะโลเมและพระวรสารนักบุญมัทธิว

พระวรสารนักบุญมาระโก

ระวรสารนักบุญมาระโก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมาระโก (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Mark) เป็นพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพระวรสารหนึ่งใน “พระวรสารสหทรรศน์” สามฉบับ ผู้เขียนไม่ได้ระบุนามของตนเองไว้ แต่เชื่อกันทั่วไปว่าเขียนโดยมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร ซึ่งเป็นบุตรชายของมารีย์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับบารนาบัส มาระโกได้ร่วมเดินทางกับเปาโลและบารนาบัสในการเดินทาง เพื่อทำการประกาศข่าวดีครั้งแรก เปาโลกล่าวถึงมาระโกในฐานะของเพื่อนในกรุงโรมและยกย่องการรับใช้ของเขาเป็นอย่างสูง เชื่อกันว่าในบรรดา “พระวรสารในสารบบ” ทั้งสี่เล่ม พระวรสารนักบุญมาระโก ถูกเขียนขึ้นเป็นฉบับแรก ในช่วงก่อนสงครามกลางเมืองในกรุงโรม เพราะฉะนั้นหนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนในราว..55 คริสตจักรยุคแรกมีความเห็นตรงกันว่า เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ถอดแบบมาจากคำสอนของเปโตร โดยเน้นที่การบันทึกข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากลีลาการเขียนแสดงถึงการเขียนขึ้นอย่างเร่งรีบ ไม่ถูกผ่านการขัดเกลาให้สละสลวย ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่า หลายเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที การกระทำต่าง ๆ ที่ได้บันทึกไว้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสังเกตได้จากคำว่า "ในทันใดนั้น" ถูกใช้มากกว่า 40 ครั้ง แม้ว่า พระวรสารนักบุญมาระโก จะมีความยาวน้อยที่สุดในบรรดาพระวรสารทั้งสี่เล่ม แต่ในบางเหตุการณ์กลับถูกบันทึกไว้โดยละเอียด นอกจากนี้ ยังมีบางบทที่ได้อธิบายถึงขนบธรรมเนียมของชาวยิวไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านชาวโรมันจะเข้าใจได้ วัตถุประสงค์ของ พระวรสารนักบุญมาระโก มีอยู่ 4 ประการ โดยประการแรกสำคัญที่สุดคือ มาระโกต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า ข่าวดีคืออะไร นั่นคือการที่พระเยซูสิ้นพระชนม์เพื่อไถ่บาปของเรา ถูกฝังไว้แล้วเป็นขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้นมาระโกจึงให้ความสำคัญของเรื่องราวตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ จนถึงการคืนพระชนม์ของพระเยซูมากกว่าเรื่องอื่น หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 16 บท ใน 10 บทแรก บันทึกเรื่องราวตั้งแต่พระเยซูรับบัพติศมา จนถึงเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี ในขณะที่อีก 6 บทที่เหลือ เป็นการบันทึกเรื่องราวช่วงสุดท้ายของชีวิตพระเยซู ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงแค่สัปดาห์เดียว แสดงให้เห็นว่ามาระโกต้องการเน้นว่า ข่าวดีคือหัวใจของหนังสือเล่มนี้ ประการที่สองที่มาระโกต้องการกล่าวคือ แม้ว่าพระเยซูคือพระบุตรพระเป็นเจ้า แต่พระเยซูทรงเป็นมนุษย์ พระองค์มีความรู้สึกเหน็ดเหนื่อย หิวโหย อ่อนล้า ฯลฯ เหมือนกับมนุษย์ พระเยซูจึงทรงเป็นแบบอย่างในการตอบสนองต่อความรู้สึกต่าง ๆ ดังนั้นในฐานะของคริสต์ศาสนิกชน ทุกคนควรเรียนรู้จากพระองค์และตอบสนองด้วยท่าทีอย่างเดียวกัน ประการที่สาม มาระโกเขียนเพื่อหนุนใจคริสเตียนที่ถูกกดขี่ข่มเหง เมื่อพระเยซูทรงยืนหยัดในขณะที่ถูกต่อต้าน จะเป็นกำลังใจให้กับคริสเตียนที่อยู่ในภาวะเดียวกันได้ ประการสุดท้าย มาระโกต้องการให้ผู้อ่านทราบถึงฤทธิ์อำนาจของพระเยซู ซึ่งมีชัยชนะเหนือผี โรคร้าย และความตายได้ พระวรสารนักบุญมาระโก ใช้ “มาระโก” หรือ “มก” ในการอ้างอิง.

ดู สะโลเมและพระวรสารนักบุญมาระโก

พันธสัญญาใหม่

ันธสัญญาใหม่ หรือ พระคริสตธรรมใหม่ (Καινή Διαθήκη; New Testament) เป็นภาคที่สองของคัมภีร์ไบเบิล จากทั้งหมด 2 ภาค ประกอบด้วยหนังสือภาษากรีกทั้งสิ้น 27 เล่ม ทุกเล่มเขียนโดยนักบุญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอัครทูตและนักบุญในช่วงเวลาเดียวกัน และทุกเล่มเขียนขึ้นหลังการตรึงพระเยซูที่กางเขน แม้ว่าพระเยซูจะไม่ได้ทรงเขียนด้วยพระองค์เอง แต่คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าผู้เขียนได้เขียนขึ้นจากการดลใจและการทรงนำของพระเป็นเจ้าและพระเยซูผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ส่วนชาวมุสลิมแม้จะนับถือพระเยซูเป็นนบีอีซา แต่ก็ไม่ยอมรับคัมภีร์ไบเบิลในปัจจุบันว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า เพราะนักวิชาการอิสลามเห็นว่าคัมภีร์นี้ถูกตัดเสริมแต่งและสังคายนากันหลายครั้ง.

ดู สะโลเมและพันธสัญญาใหม่

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา

อห์นผู้ให้บัพติศมา (โปรเตสแตนต์เดิมเรียกว่ายอห์นผู้ให้รับบัพติศมา) ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง(คาทอลิก) หรือนักบุญยอห์น แบปติสต์(คาทอลิก) (John the Baptist; John the Baptizer) เป็นนักเทศน์ชาวยิวในคริสศตวรรษที่ 1 ถือว่าเป็นผู้เผยพระวจนะในสี่ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ และ “Mandaeanism” ท่านถูกกล่าวถึงในพระวรสาร คัมภีร์อัลกุรอาน และคัมภีร์ของศาสนาบาไฮ นักบุญยอห์นแบปติสต์บางทีก็รู้จักกันในชื่อ “ยอห์นผู้มาก่อน” (John the Forerunner) เพราะถือกันว่านักบุญยอห์นเป็นผู้มาล่วงหน้าก่อนพระเยซู.

ดู สะโลเมและยอห์นผู้ให้บัพติศมา

ออสการ์ ไวลด์

ออสการ์ ไวลด์ (Oscar Wilde หรือ Oscar Fingal O'Flahertie Wills Wilde) (16 ตุลาคม ค.ศ. 1854 - (30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1900) ออสการ์ ไวลด์เป็นนักเขียนและกวีคนสำคัญชาวไอริชที่มีผลงานการเขียนบทละคร และเรื่องสั้นเป็นจำนวนมาก และนวนิยายหนึ่งเล่ม ไวลด์ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบดีเป็นนักเขียนบทละครผู้มีความสำเร็จมากที่สุดของปลายสมัยวิกตอเรียและเป็นบุคคลผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของสมัย บทละครหลายเรื่องของไวลด์ก็ยังนิยมนำมาสร้างกันอยู่โดยเฉพาะ The Importance of Being Earnest หลังจากที่ถูกฟ้องร้องในคดีที่ถูกกล่าวหาว่ามี “พฤติกรรมอันเป็นการอนาจาร” (gross indecency) กับชายคนอื่นๆ ซึ่งเป็นคดีที่อื้อฉาว ซึ่งทำให้ไวลด์สูญเสียชื่อเสียงและถูกส่งตัวไปจำคุกอยู่เป็นเวลาสองปี ทันทีที่ถูกปล่อยตัวไวลด์ก็จับเรือจากดิเอปป์ และไม่ได้กลับมาไอร์แลนด์หรือบริเตนอีกจนเสียชีวิต "ดอเรียน เกรย์ (The Picture of Dorian Gray)" นวนิยายซึ่งมีชื่อเสียงมากของไวลด์ บอกเป็นนัยถึงความนิยมความรักร่วมเพศผ่านตัวละครต่างๆเช่น ดอเรียน เกรย์ หนุ่มชั้นสูงในลอนดอน และบาซิล ศิลปินวาดภาพเหมือน กฎหมายที่ทำร้ายชีวิตไวลด์ในศตวรรษที่ 19 มีโฉมหน้าที่เปลี่ยนไปแล้ว หากเขามีชีวิตอยู่ในหลายพื้นที่ในปัจจุบัน เขาคงไม่ต้องใช้ชีวิตรักอย่างหลบซ่อน ไร้ผิด ไร้โทษใด นอกเหนือจากประเด็นข้างต้น ในนวนิยายของเขา มีประเด็นทางอาชญาวิทยาเรื่องกรรมพันธุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางลบของบุคคลในครอบครัวนับแต่ครั้งบรรพบุรุษ ใน The Picture of Dorian Gray ไม่เพียงภาพเหมือนของดอเรียนเท่านั้นที่สะท้อนกรรมของเขาออกมา ยังมีภาพบาปอีกมากในคฤหาสถ์ชนบทของเขาที่สะท้อนกรรมแบบเดียวกันของดอเรียนและบรรพบุรุษ.

ดู สะโลเมและออสการ์ ไวลด์

โยเซพุส

ซฟ เบน มาติตยาฮู (יוסף בן מתתיהו; ค.ศ. 37 – ราว ค.ศ. 100) เปลี่ยนชื่อเป็น ติตุส ฟลาวิอุส โยเซพุส (Titvs Flavivs Iosephvs) หลังจากที่ได้เป็นพลเมืองโรมัน เป็นนักประวัติศาสตร์และนักเขียนพิทักษ์ปรัชญา (apologist) ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 โยเซพุสมาจากครอบครัวที่เป็นนักบวชและราชวงศ์ ผู้รอดมาได้จากการทำลายเมืองเยรูซาเลมโดยโรมันในปี..

ดู สะโลเมและโยเซพุส

ดูเพิ่มเติม

บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 10

บุคคลที่เสียชีวิตในคริสต์ทศวรรษ 60

บุคคลนิรนามในคัมภีร์ไบเบิล

บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 1

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Salome