โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สะพานสองหอ

ดัชนี สะพานสองหอ

นสองหอ เป็นสะพานรถไฟ 1 ใน 3 แห่งที่สร้างขึ้นเพื่อให้รถไฟข้ามหุบเขาระหว่างจังหวัดลำปาง กับจังหวัดลำพูน อยู่ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ระหว่างสถานีรถไฟแม่ตานน้อย และสถานีรถไฟขุนตาน บริเวณกิโลเมตรที่ 678.724 เหตุที่เรียกว่า "สะพานสองหอ" เนื่องจากสะพานตั้งอยู่บนหอสูง 2 หอ แต่ปัจจุบันมีการเสริมหอเพื่อรองรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 3 หอ.

8 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2458รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือสะพานสามหอสะพานคอมโพสิตสถานีรถไฟขุนตานอุโมงค์ขุนตานจังหวัดลำพูนจังหวัดลำปาง

พ.ศ. 2458

ทธศักราช 2458 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1915 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สะพานสองหอและพ.ศ. 2458 · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ

รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถ สายเหนือ หมายเหตุ: ที่หยุดรถ หมายถึง สถานีรถไฟที่ไม่มีอาคารสถานีและนายสถานีประจำ แต่อาจมีที่พักผู้โดยสารและที่ขายตั๋วแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจถูกยุบเลิกหรือตั้งใหม่ได้ ที่หยุดรถบางที่อาจไม่มีรถหยุดเลยแม้แต่รถธรรมดา สำหรับสถานีทุกแห่ง รถธรรมดาจะหยุดทุกสถานี รถเร็ว จะหยุดเป็นบางสถานี รถด่วนและด่วนพิเศษ จะหยุดห่างขึ้นตามศักดิ์ของขบวน.

ใหม่!!: สะพานสองหอและรายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานสามหอ

นสามหอ เป็นสะพานรถไฟ 1 ใน 3 แห่งที่สร้างขึ้นเพื่อให้รถไฟข้ามหุบเขาระหว่างจังหวัดลำปาง กับจังหวัดลำพูน อยู่ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ระหว่างสถานีรถไฟแม่ตานน้อย และสถานีรถไฟขุนตาน บริเวณกิโลเมตรที่ 677.903 เหตุที่เรียกว่า "สะพานสามหอ" เนื่องจากสะพานตั้งอยู่บนหอสูง 3 หอ แต่ปัจจุบันมีการเสริมหอเพื่อรองรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 4 หอแล้ว.

ใหม่!!: สะพานสองหอและสะพานสามหอ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานคอมโพสิต

นคอมโพสิตเคียงคู่กับสะพานห้าหอ ภาพโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย สะพานคอมโพสิต เป็นสะพานสำหรับรถไฟ 1 ใน 3 แห่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเชื่อมทางรถไฟข้ามหุบเขาบนเส้นทางรถไฟสายเหนือ ระหว่างสถานีรถไฟแม่ตานน้อย กับสถานีรถไฟขุนตาน บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 676.754 เป็นสะพานคอมโพสิตแห่งแรกของการรถไฟแห่งประเทศไทย สะพานคอมโพสิต ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับเส้นทางรถไฟสายนี้ แต่เป็นสะพานที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทดแทนสะพานห้าหอ ที่สร้างขึ้นใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2458 ซึ่งมีสภาพไม่สมบูรณ์ ไม่มั่นคงปลอดภัย และไม่มีความคุ้มค่าที่จะบูรณะซ่อมแซม ผู้เชี่ยวชาญจากการรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น ได้ให้คำแนะนำว่าควรสร้างสะพานขึ้นใหม่ใกล้เคียงกับสะพานเดิม การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงสร้างเป็นสะพานคอมโพสิต (Composite Girder) โดยมีช่วงสะพาน 5 ช่วง ความยาวแต่ละช่วงยาว 15 30 30 30 15 เมตรตามลำดับ รวมความยาวทั้งสิ้น 120.00 เมตร ตอม่อสะพานเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กภายในกลวง คานสะพานเป็นเหล็ก ตัวสะพานเป็นกระบะคอนกรีต สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2510 และเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2510 โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 6,782,000 บาท.

ใหม่!!: สะพานสองหอและสะพานคอมโพสิต · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟขุนตาน

นีรถไฟขุนตาน (Khuntan Railway Station) ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 บ้านขุนตาน ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นระยะทาง 683.140 กิโลเมตร เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ของทางรถไฟสายเหนือ อยู่ระหว่างสถานีรถไฟทาชมภู และ สถานีรถไฟแม่ตานน้อย ใช้สัญญาณแบบหางปลา ตัวย่อของสถานีคือ ขน.

ใหม่!!: สะพานสองหอและสถานีรถไฟขุนตาน · ดูเพิ่มเติม »

อุโมงค์ขุนตาน

อุโมงค์ขุนตาน อุโมงค์ขุนตาน เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศไทย จากจำนวนทั้งสิ้น 7 อุโมงค์มีความยาวถึง 1,352.15 เมตร (1 กิโลเมตร 352 เมตร 15 เซนติเมตร) ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล ระหว่างอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง กับอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2450 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2461 โดยการรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม ที่มีพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยาการ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินเป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่างชาวเยอรมันชื่อ เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างทั้งหมด ใช้เวลาสร้างทั้งหมด 11 ปี ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,362,050 บาท อุโมงค์ขุนตาน มีขนาดกว้าง 5.20 เมตร สูง 5.50 เมตร และยาว 1,352.15 เมตร เป็นอุโมงค์ชนิดคอนกรีตเสริมเหล็กตลอดแนว อุโมงค์ด้านเหนือสูงกว่าด้านใต้ประมาณ 14 เมตร ด้านหนึ่งของอุโมงค์ขุนตาน คือ สถานีรถไฟขุนตาน บังกะโลรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย และอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล.

ใหม่!!: สะพานสองหอและอุโมงค์ขุนตาน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลำพูน

ังหวัดลำพูน (30px หละปูน) เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในภาคเหนือ นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ ยาวนาน เคยเป็นที่ตั้งของนครหริภุญชัย ในสมัยพระนางจามเทวีเดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤๅษีวาสุเทพ เป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตรหรือชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม “จามเทวี” มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชยสืบราชวงศ์กษัตริย์ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพญายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พญามังราย ผู้รวบรวมแว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา ถึงแม้ว่าเมืองลำพูนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่ และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง..

ใหม่!!: สะพานสองหอและจังหวัดลำพูน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลำปาง

ังหวัดลำปาง (40px) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขา มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกอย่างหลากหลายตั้งแต่ เขลางค์นคร, เวียงละกอน, นครลำปาง ฯลฯ ในภายหลังเป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า ที่สัมพันธ์กับเอกลักษณ์ของลำปาง.

ใหม่!!: สะพานสองหอและจังหวัดลำปาง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »