โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)

ดัชนี สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)

อีกมุมหนึ่งของสะพาน การเปลี่ยนจากการขับรถทางซ้ายเป็นทางขวา สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (Second Thai–Lao Friendship Bridge; ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທີສອງ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทย เข้ากับแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกตะวันออก ซึ่งเริ่มจากพม่า ผ่าน ไทย ลาวและสิ้นสุดที่เวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงของธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชีย ซึ่งมีความยาวทั้งหมด 1,600 เมตร มีความกว้าง 12 เมตร และมีช่องการจราจร 2 ช่อง มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแหล่งทุนในการก่อสร้างเป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้กับรัฐบาลลาว 4,011 ล้านเยน และให้กับรัฐบาลไทย 4,079 ล้านเยน ใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2549.

21 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2546พ.ศ. 2547พ.ศ. 2548พ.ศ. 2549สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 6 (นาตาล–ละคอนเพ็ง)อำเภอเมืองมุกดาหารจังหวัดมุกดาหารทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212ทางหลวงเอเชียสาย 16ประเทศญี่ปุ่นประเทศลาวประเทศไทยแม่น้ำโขงแขวงสุวรรณเขตไกสอน พมวิหาน (เมือง)20 ธันวาคม21 มีนาคม

พ.ศ. 2546

ทธศักราช 2546 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2003 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และพ.ศ. 2546 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)

้อความภาษาลาวในป้ายหมายถึง "จุดเปลี่ยนแนวทางการสัญจร อยู่เบื้องหน้า ให้เตรียมหยุด" ภาพสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) ภาพสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (First Thai–Lao Friendship Bridge.; ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທຳອິດ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก โดยเชื่อมต่อหมู่ที่ 1 คุ้มจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายของประเทศไทย เข้ากับบ้านท่านาแล้ง เมืองหาดซายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ของประเทศลาว ตัวสะพานมีความยาว 1,170 เมตร มีทางรถ 2 ช่องจราจร กว้างข่องละ 3.5 เมตร ทางเท้า 2 ช่องทาง กว้างช่องละ 1.5 เมตร และรถไฟทางเดี่ยวกว้าง 1 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลาง ใช้งบประมาณก่อสร้าง 30,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย ใช้ระยะเวลาก่อสร้างระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี..

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)

นมิตรภาพไทย-ลาว 3 เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่หมู่ที่ 1 บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม กับประเทศลาวที่บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ควบคุมการก่อสร้างโดยสำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวงและบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างใช้งบประมาณก่อสร้างจากรัฐบาลไทยทั้งสิ้น 1,723 ล้านบาท มีระยะเวลาการก่อสร้างรวม 900 วัน แล้วเสร็จในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งด้านการค้า และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงจากประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และภาคใต้ของประเทศจีน ซึ่งมีความยาวรวม 1,423 เมตร มีความกว้าง 13 เมตร และมีการช่องจราจร 2 ช่อง และไม่มีทางรถไฟ และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม - คำม่วน) วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552 ณ มณฑลพิธี บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม และเสด็จทรงเป็นประธานพิธีเปิดอย่างเป็นทางการร่วมกับสหายบุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศลาว ในวันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)

นมิตรภาพ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) (ຂົວມິດຕະພາບລາວ - ໄທ ແຫ່ງທີ 4) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่หมู่ที่ 9 บ้านดอนมหาวัน ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กับประเทศลาวที่บ้านดอน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ระยะทาง 2.48 กิโลเมตร รูปแบบของสะพานเป็นคอนกรีตรูปกล่อง (Segmental Concrete Box Girder) มีเสา 4 เสา กว้าง 14.70 เมตร เป็นสะพานขนาด 2 เลน แต่ละเลนกว้าง 3.50 เมตร นอกจากสะพานแล้วยังมีโครงการก่อสร้างถนนไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตรเข้าในเขตเมืองห้วยทราย ซึ่งเป็นถนนลาดยางขนาดสองเลน รวมทั้งมีการก่อสร้างด่านตรวจคนเข้าเมืองด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง เป็นการเชื่อมต่อกับเส้นทางR3A ที่เชื่อมต่อระหว่างจีน – ลาว –ไทย บริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นกลุ่ม CR5-KT Joint Venture ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท China Railway No.5 ของจีนและบริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัดของไทย งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1,624 ล้านบาท โดยการสมทบทุนระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ส่วนรัฐบาลลาวรับผิดชอบค่าชดเชยให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยก่อสร้างตัวสะพานแล้วเสร็จในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) ร่วมกับนายบุนยัง วอละจิต รองประธานประเทศลาว สำหรับสะพานแห่งนี้ เป็นสะพานที่เชื่อต่อเส้นทางอาร์ 3 เอจากกรุงเทพ - คุณหมิง เพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 เส้นทางอาร์3เอ มีต้นทางเริ่มจากเชียงของ ประเทศไทย-บ่อแก้ว-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น ของประเทศลาว-บ่อหาน-เชียงรุ่งหรือจิ่งหง ในแคว้นสิบสองปันนา-นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ของจีน โดยมีระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงคุนหมิงรวมกว่า 1,800 กิโลเมตร สำหรับการก่อสร้างถนนสายเศรษฐกิจอาร์3เอ เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนับเป็นโครงการบูรณาการเศรษฐกิจในระดับมหภาค ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวนับว่าเป็นโอกาสสูงมากที่ประเทศไทยจะมีช่องทาง โอกาสในการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนตอนใต้ ที่จะเดินทางมาทางรถยนต์และทางเรือเพื่อมาท่องเที่ยวยังจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย เนื่องจากจำนวนประชากรของจีนนั้น มีจำนวนมากกว่า 1,400 ล้านคน.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)

นมิตรภาพ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) (5th Thai-Lao Friendship Bridge; ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ 5) เป็นโครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงเพื่อเชื่อมมิตรภาพระหว่างไทยกับลาว เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 โครงการนี้จะยกระดับข้ามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 บริเวณกิโลเมตรที่ 125+925 ในท้องที่หมู่ 2 บ้านดอนยม ตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ข้ามแม่น้ำโขง และเชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 13 ที่บ้านกล้วย เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาทางหลวงของลาวที่จะก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองปากซันด้านตะวันออก โดยโครงการนี้ทั้ง 2 ประเทศ ตั้งใจจะเสริมสร้างโครงข่ายเส้นทางคมนาคมระหว่างไทย ลาว เวียดนาม และจีน ให้มีความสะดวก ปลอดภัย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ปัจจุบันจังหวัดบึงกาฬมีด่านสากลไทย-ลาว (บึงกาฬ-ปากซัน) เปิดให้บริการประชาชนที่เดินทางและขนส่งสินค้าเข้า-ออกระหว่างประเทศผ่านเรือและแพขนานยนต์เป็นหลัก.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 6 (นาตาล–ละคอนเพ็ง)

นมิตรภาพไทย-ลาว 6 (นาตาล-ละคอนเพ็ง) เป็นโครงการใหม่ จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2555 ที่จังหวัดสุรินทร์ มีมติเห็นชอบในหลักการของกรอบข้อเสนอแผนโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงช่วงอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี กับเมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน จุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง ทางทิศใต้ บ้านปากแซง หมู่ 3 ตำบลพะลาน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งสถานที่แห่งนี้ ครม.สัญจร ได้ลงความเห็นชอบอนุมัติเมื่อครั้งประชุมสัญจรที่จังหวัดสุรินทร์ เป็นสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 6 ข้อดี คือ เมื่อสร้างสะพานตรงนั้น จะเป็นการยกระดับความเจริญในหลาย ๆ ด้าน และที่จะเป็นจุดเด่นของสะพานแห่งนี้ คือ จะสามารถย่นระยะทางในการที่จะออกจากประเทศไทย ในด้านการค้าขาย ด้านเศรษฐกิจผ่านประเทศลาว ไปที่เมืองดานัง ระยะทางเพียง 137 กม.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 6 (นาตาล–ละคอนเพ็ง) · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองมุกดาหาร

มืองมุกดาหาร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และอำเภอเมืองมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดมุกดาหาร

มุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2 ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 642 กิโลเมตร แยกออกมาจากจังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 นับเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไท.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และจังหวัดมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 สายหนองคาย–อุบลราชธานี หรือ ถนนชยางกูร เริ่มจากแยกถนนมิตรภาพสายเก่า ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 ใน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ไปทางทิศตะวันออกทอดยาวไปตามแม่น้ำโขง ผ่านเข้าจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ และไปสิ้นสุดที่ตัวเมืองจังหวัดอุบลราชธานี มีระยะทางประมาณ 583.575 กิโลเมตร เดิมมีชื่อเรียกว่า ทางหลวงแผ่นดินสายอุบลราชธานี-มุกดาหาร-นครพนม ได้รับการตั้งขนานนามว่า ถนนชยางกูร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม..

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงเอเชียสาย 16

ทางหลวงเอเชียสาย 16 (AH16) เป็นถนนเครือข่ายทางหลวงสายเอเชียประเภทสายรอง ระยะทางรวม 1,031 กิโลเมตร โดยผ่านประเทศไทย 688.5 กิโลเมตร เส้นทางแยกมาจากทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 1 ฝั่งตะวันตก ในจังหวัดตาก ประเทศไทย ผ่านประเทศลาว และสิ้นสุดในเมืองดองฮา จังหวัดกว๋างจิ ประเทศเวียดนาม โดยเชื่อมต่อกับทางหลวงเอเชียสาย 1 ฝั่งตะวันตกไปยังเมืองเว้ และเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และทางหลวงเอเชียสาย 16 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

แขวงสุวรรณเขต

หวันนะเขต เชื่อมโยงมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่นของสุวรรณเขต ดูที่ สุวรรณเขต (แก้ความกำกวม) สุวรรณเขต หรือ สะหวันนะเขต (ສະຫວັນນະເຂດ สะกด สะหวันนะเขด) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางใต้ของประเทศ ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับแขวงคำม่วน ทิศใต้ติดกับแขวงสาละวัน เป็นแขวงที่มีเนื้อที่ใหญ่อันดับที่ 2 รองจากแขวงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม..

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และแขวงสุวรรณเขต · ดูเพิ่มเติม »

ไกสอน พมวิหาน (เมือง)

นครไกสอน พมวิหาน หรือ สุวรรณเขต (ໄກສອນ ພົມວິຫານ) เป็นนครเอกของแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว เดิมชื่อเมือง คันธบุรี (ຄັນທະບູລີ, คันทะบูลี) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นเมืองไกสอน พมวิหาน เพื่อเป็นเกียรติแก่อดีตประธานประเทศ ไกสอน พมวิหาน ซึ่งเป็นชาวสุวรรณเขต เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งตรงกับวันเกิดปีที่ 85 ของไกสอน พมวิหาน และต่อมามีการยกฐานะขึ้นเป็น นครไกสอน พมวิหาน เมื่อเดือนเมษายน..2561 และมีการพิธีประกาศยกฐานะอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม..2561 ที่ผ่านม.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และไกสอน พมวิหาน (เมือง) · ดูเพิ่มเติม »

20 ธันวาคม

วันที่ 20 ธันวาคม เป็นวันที่ 354 ของปี (วันที่ 355 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 11 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และ20 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

21 มีนาคม

วันที่ 21 มีนาคม เป็นวันที่ 80 ของปี (วันที่ 81 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 285 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)และ21 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Second Thai–Lao Friendship Bridgeสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)สะพานมิตรภาพ ลาว-ไทย แห่งที่ 2สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 2สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ ๒สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่สองสะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ 2สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »