โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สะบาโต

ดัชนี สะบาโต

วันสะบาโต (Sabbath Day; שומרי השבת) เป็นวันสำคัญทางศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ สะบาโต มาจากภาษาฮีบรู "ซับบาธ" แปลว่า "พัก" พระเจ้าทรงสร้างโลก 6 วัน และทรงพักในวันที่ 7 เพื่อให้มนุษย์ได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ถือเป็นวันบริสุทธิ์ห้ามทำกิจกรรมใด ๆ ได้ถือว่าวันนี้เป็นวันพักผ่อน เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ ให้ทำกิจกรรมที่ถวายแด่พระเจ้า เช่น การอธิษฐาน การอ่านพระคัมภีร์ และการขอบคุณพระเจ้.

22 ความสัมพันธ์: บัญญัติ 10 ประการพันธสัญญาเดิมการคืนพระชนม์ของพระเยซูภาษาฮีบรูวันอาทิตย์วันเสาร์ศาสนายูดาห์ศาสนาคริสต์สุหนัตอัครทูตจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราชจักรวรรดิโรมันจงระลึกถึงวันสะบาโต ถือเป็นวันบริสุทธิ์คริสตจักรคัมภีร์ไบเบิลปฏิทินสุริยคติปฏิทินฮีบรูปัสคาโมเสสโรมันคาทอลิกโปรเตสแตนต์เซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์

บัญญัติ 10 ประการ

ระบัญญัติ 10 ประการ หรือ บทบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandments; עשרת הדיברות; ܥܣܪܐ ܦܘܩܕܢܐ; Δέκα εντολές) คือรายการคำสอนและข้อปฏิบัติตามคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานแก่วงศ์วานอิสราเอล ผ่านทางโมเสส ที่ภูเขาซีนาย บัญญัตินี้สลักไว้บนแผ่นหิน 2 แผ่น บัญญัติ 10 ประการใช้ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห์ ในภาษายิดดิช ใช้คำว่า Aseret ha-Dvarîm עשרת הדברים ในภาษาฮีบรูและภาษาฮีบรูมิซนะห์ ใช้คำว่า Aseret ha-Dibrot עשרת הדברות ซึ่งทั้งสองคำหมายถึง บัญญัติ 10 ประการ และมีการใช้ในภาษากรีก ซึ่งแปลมาจากภาษาฮีบรูว่า δέκα λόγοι (dekalogoi) หมายถึง คำสิบคำ (the ten words) อีกด้ว.

ใหม่!!: สะบาโตและบัญญัติ 10 ประการ · ดูเพิ่มเติม »

พันธสัญญาเดิม

ันธสัญญาเดิม (Old Testament) เป็นศัพท์ศาสนาคริสต์ใช้เรียกคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ของชาววงศ์วานอิสราเอลโบราณ ที่รวมกันเป็นส่วนแรกของคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์ จำนวนหนังสือในพันธสัญญาเดิมจะแตกต่างกันตามแต่ละนิกายในศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ยอมรับเฉพาะหนังสือ 24 เล่มในคัมภีร์ทานัคว่าเป็นพันธสัญญาเดิม แต่แบ่งใหม่เป็น 39 เล่ม ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ คอปติกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรแห่งเอธิโอเปีย มีจำนวนหนังสือที่รับเข้าในสารบบพันธสัญญาเดิมของตนมากกว.

ใหม่!!: สะบาโตและพันธสัญญาเดิม · ดูเพิ่มเติม »

การคืนพระชนม์ของพระเยซู

การคืนพระชนม์ของพระเยซู (Resurrection of Jesus) หมายถึง เหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่มีความสำคัญที่สุดในความเชื่อทางคริสต์ศาสนาที่เป็นพื้นฐานของปรัชญาและหลักการทางคริสต์ศาสนวิทยา ตามพันธสัญญาใหม่พระเยซูผู้เป็นหัวใจของคริสต์ศาสนาถูกตรึงกางเขน, สิ้นพระชนม์, ถูกนำไปไว้ในที่เก็บศพ, และทรงคืนพระชนม์สามวันหลังจากนั้น (ยอห์น, มาระโก, มาระโก). พันธสัญญาใหม่ยังกล่าวถึงการคืนพระชนม์และการสำแดงพระองค์ของพระเยซูคริสต์อีกหลายครั้งต่ออัครสาวกสิบสององค์ และสาวกคนอื่นๆ รวมทั้ง “พี่น้องอีกห้าร้อยคนพร้อมกัน” () ก่อนที่จะเสด็จขึ้นสวรรค์ เหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์นี้ฉลองกันระหว่างวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ และ อีสเตอร์ ชนกลุ่มอื่นๆ เช่น ชาวยิว มุสลิม บาไฮ และนิกายหรือลัทธิบางลัทธิของคริสต์ศาสนาไม่เห็นด้วยหรือไม่เชื่อว่าพระเยซูทรงคืนพระชนม์จริงหรือไม.

ใหม่!!: สะบาโตและการคืนพระชนม์ของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: สะบาโตและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

วันอาทิตย์

วันอาทิตย์ เป็นวันในสัปดาห์ที่อยู่ระหว่างวันเสาร์กับวันจันทร์ ตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของจูเดโอ-คริสเตียน วันอาทิตย์ถือเป็นวันแรกของสัปดาห์ แต่ต่อมาในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็มีการนับให้วันอาทิตย์เป็นวันที่ 7 ของสัปดาห์ (และให้วันจันทร์เป็นวันที่หนึ่งแทน) ตามที่ระบุไว้ใน ISO 8601 อย่างไรก็ตามในบางวัฒนธรรมยังกำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันแรกของสัปดาห์อยู.

ใหม่!!: สะบาโตและวันอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

วันเสาร์

วันเสาร์ เป็นวันลำดับที่ 7 ในสัปดาห์ อยู่ระหว่างวันศุกร์กับวันอาทิตย์ แต่ตามมาตรฐาน ISO 8601 กำหนดให้เป็นวันที่ 6 ของสัปดาห.

ใหม่!!: สะบาโตและวันเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: สะบาโตและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: สะบาโตและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สุหนัต

ีตาน (ختان; Khitan) คนไทยมักเรียกว่า สุหนัต (สุ-หนัด) หมายถึง พิธีการขริบหนังหุ้มปลายตามข้อกำหนดในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม คำว่า สุหนัต มาจากคำว่า "ซูนัต" ในภาษามลายู ซึ่งมาจากคำว่า "ซุนนะฮ์" ในภาษาอาหรับ ซึ่งหมายถึงแบบแผนการปฏิบัติของนบีมุฮัมมัด พิธีสุหนัตเกิดขึ้นครั้งแรกในศาสนายูดาห์ ซึ่งเริ่มทำพิธีนี้ครั้งแรกในสมัยของอับราฮัม การเรียกว่า "เข้าสุนัต" มาจากวลี "มาซุก ญาวี" หรือ "มะโซะยาวี" (แปลว่า เข้าญาวี) ในภาษามลายู หมายถึง เข้า (ศาสนาของ) คนญาวี (มลายูมุสลิม) ด้วยการขริบหนังที่ปลายอวัยวะเพศ การขริบหนังองคชาตเป็นประเพณีของชาวยิว ชาวมุสลิม และคริสต์ศาสนิกชนบางนิกาย เช่นเดียวกับเผ่าหลายเผ่าในแอฟริกา ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นนิยมขริบเนื่องจากเหตุผลทาง.

ใหม่!!: สะบาโตและสุหนัต · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูต

ระเยซูและอัครทูต อัครทูตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59 (Apostles; Ἀπόστολος, apostolos แปลว่า "ผู้ถูกส่งออกไป" เช่น ข่าวสารหรือตัวแทน) ตามพระวรสารสหทรรศน์และธรรมเนียมทางศาสนาคริสต์ใช้หมายถึงอัครสาวกสิบสองคน ที่พระเยซูทรงเลือก ตั้งชื่อ และฝึกเพื่อจะได้ส่งออกไปทำการประกาศข่าวดี หลังจากยูดาส อิสคาริโอท ทรยศต่อพระเยซู อัครสาวกที่เหลือภายใต้การนำของซีโมนเปโตรจึงจับฉลากเลือกมัทธีอัสซึ่งติดตามพระเยซูมาตั้งต้นขึ้นมาเป็นอัครทูตแทน ฉะนั้นเมื่อถึงเทศกาลเพนเทคอสต์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมาประทับกับสาวกของพระเยซู จำนวนอัครทูตจึงมีสิบสองคนเท่าเดิม.

ใหม่!!: สะบาโตและอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช

ักรพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 จักรพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 (ConstantineI 27 กุมภาพันธ์ ประมาณ ค.ศ. 272Birth dates vary but most modern historians use "ca. 272". Lenski, "Reign of Constantine", 59. – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 337) ครองราชสมบัติเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 306 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 312 มีพระนามเต็มว่า “Flavius Valerius Aurelius Constantinus” หรือที่รู้จักกันว่า “คอนสตันไทน์ที่ 1” ในบรรดาผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก หรือ “คอนสตันไทน์มหาราช” หรือ “นักบุญคอนสตันไทน์” ในบรรดาผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์หรือนิกายไบแซนไทน์คาทอลิก พระราชกรณียกิจสำคัญที่สุดคือการประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรวรรดิโรมันเมือปี ค.ศ. 313 จักพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 จึงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมันที่นับถือศาสนาคริสต์ตามพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ที่ประกาศโดยจักรพรรดิลีซีนีอุส (Licinius) ผู้ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระองค์ พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ยกเลิกการทารุณกรรมต่อคริสต์ศาสนิกชนทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน ตามปฏิทินศาสนาของไบเซ็นไทน์ของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และนิการคาทอลิกตะวันออกแห่งไบเซนไทน์บันทึกจักพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1และเฮเลนแห่งคอนสแตนติโนเปิลพระมารดาว่าเป็นนักบุญ แต่ในปฏิทินศาสนาของตะวันตกไม่มีอยู่ในรายนามนักบุญ คอนสตันไทน์ได้รับนาม “มหาราช” เพราะพระราชกรณียกิจต่างที่ทรงทำให้ต่อคริสต์ศาสนา ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสตันไทน์ทรงประกาศการปรับปรุงเมืองไบเซนเทียมให้เป็น “กรุงโรมใหม่” (Nova Roma) และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 330 ทรงประกาศให้เมืองไบเซ็นเทียมเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมัน เมืองไบเซ็นเทียมเปลื่ยนชื่อเป็น “คอนสแตนติโนเปิล” แปลว่า “เมืองของคอนสตันไทน์” หลังจากจักพรรดิคอนสตันไทน์สิ้นพระชนม์เมื่อปี..

ใหม่!!: สะบาโตและจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: สะบาโตและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จงระลึกถึงวันสะบาโต ถือเป็นวันบริสุทธิ์

งระลึกถึงวันสะบาโต ถือ​เป็น​วัน‍บริ‌สุทธิ์ หรือ อย่าลืมฉลองวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ (Remember the sabbath day, to keep it holy) เป็นหนึ่งในข้อบทบัญญัติสิบประการ ซึ่งพระยาห์เวห์ได้ประทานให้กับชนชาติอิสราเอลผ่านทางโมเสส ซึ่งเป็นบัญญัติข้อที่ 3 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบออกัสตินแห่งฮิปโป แบบคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก และแบบลูเทอแรน และเป็นบัญญัติข้อที่ 4 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบเซปตัวจินต์ แบบทาลมุด แบบไฟโล และแบบคริสตจักรปฏิรูป บัญญัติข้อนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:8-11 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:12-15 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต.

ใหม่!!: สะบาโตและจงระลึกถึงวันสะบาโต ถือเป็นวันบริสุทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: สะบาโตและคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: สะบาโตและคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินสุริยคติ

รัญ 209 Dido ปฏิทินสุริยคติ (อังกฤษ: solar calendar) คือ ปฏิทินที่สอดคล้องกับฤดูกาลและเดคลิเนชันของดวงอาทิตย์ ความยาวนานของปีโดยเฉลี่ยมีค่าใกล้เคียงกับปีฤดูกาล ปฏิทินสุริยคติ ได้แก.

ใหม่!!: สะบาโตและปฏิทินสุริยคติ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินฮีบรู

ปฏิทินยิวระหว่างปีค.ศ. 1927 และ 1948 ปฏิทินฮีบรู หรือ ปฏิทินยิว (Hebrew calendar; הלוח העברי‎) เป็นปฏิทินประจำปีใช้ในศาสนายูดาห์ ภายในระบุวันหยุดทางศาสนายูดาห์ คำสอนทั่วไปในคัมภีร์โทราห์ ยาร์ทเซียส (Yahrtzeit) ซึ่งเป็นวันระลึกถึงวันตายของญาติสนิท และซาล์ม (เพลงสวด) ตามวัน.

ใหม่!!: สะบาโตและปฏิทินฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

ปัสคา

อาหารที่ชาวยิวรับประทานในเทศกาลปัสกา ปัสคา หรือ ปัสกา (פֶּסַח, Pesach; Passover - แปลว่า ผ่านเว้น) เป็นเทศกาลที่ชาวยิวระลึกถึงการที่พระยาห์เวห์ทรงนำพวกเขาออกจากการเป็นทาสในอียิปต์ ในช่วงประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล โดยในคืนก่อนที่ฟาโรห์จะยอมปล่อยวงศ์วานอิสราเอลให้ออกเดินทาง พระยาห์เวห์ทรงสำแดงปาฏิหาริย์ให้เกิดภัยพิบัติประการที่ 10 หลังจากที่ฟาโรห์ปฏิเสธที่ปล่อยพวกอิสราเอล ตามคำบัญชาของพระเจ้ามาแล้ว 9 ครั้ง ภัยพิบัติประการที่ 10 คือ ทูตมรณะจะเข้าไปในทุกครัวเรือนของชาวอียิปต์ เพื่อปลิดชีพของบุตรหัวปีของทุกครอบครัว ยกเว้นแต่ครอบครัวที่เชื่อฟังพระยาห์เวห์ โดยการนำเอาโลหิตของลูกแกะปัสคา มาทาไว้ที่ประตูบ้านของตน บ้านใดได้กระทำตามที่พระยาห์เวห์ทรงบัญชา ทูตมรณะก็จะไม่เข้าไปในบ้าน แต่จะ "ผ่านไป" (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ Passover) และบุตรหัวปีของครอบครัวนั้นก็จะรอดต.

ใหม่!!: สะบาโตและปัสคา · ดูเพิ่มเติม »

โมเสส

มเสสกับแผ่นจารึก, พ.ศ. 2202 (1659), โดยแร็มบรันต์ โมเสสเมื่อลงมาหลังจากเข้าเฝ้าพระเจ้าที่ภูเขาซีนาย, พ.ศ. 2181 (1638), โดย ไรเบรา เดอ โจเซ รูปปั้นของโมเสส โดยมีเกลันเจโล โมเสส (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ มูซา (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Moses; מֹשֶׁה; موسى มูซา) เป็นผู้บัญญัติกฎและผู้เผยพระวจนะแก่วงศ์วานอิสราเอล ซึ่งเป็นที่มาของคัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ หรือคัมภีร์เบญจบรรณในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม และเป็นศาสดาตามคติของศาสน.

ใหม่!!: สะบาโตและโมเสส · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: สะบาโตและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: สะบาโตและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์

ริสตจักรเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ (Seventh-day Adventist Church) เป็นคริสตจักรและนิกายหนึ่งในขบวนการแอดเวนทิสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์ ที่ถือวันเสาร์เป็นวันสะบาโต และรอรับเสด็จพระเยซูที่จะเสด็จมาอีกครั้ง นิกายนี้มีพัฒนาการมาจากขบวนการมิลเลไรต์ในสหรัฐอเมริกาช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี..

ใหม่!!: สะบาโตและเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Sabbathวันสะบาโตวันสะบาโต (ศาสนาคริสต์)วันสบาโตวันซับบัธวันซาบัธวันแซพบัธ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »