โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1

ดัชนี พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1

มเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ผู้อาวุโส หรือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ผู้ยุติธรรม (Edmund I of England, Edmund the Elder, Edmund the the Just, Edmund the Deed-Doer, Edmund the Magnificent; Eadmund) (ค.ศ. 922 - 26 พฤษภาคม ค.ศ. 946) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดมันด์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ค.ศ. 922 ที่เวสเซ็กซ์ อังกฤษ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส และ เอ็ดจิวาแห่งเค้นท์ และเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าเอเธลสตันแห่งอังกฤษ ทรงเสกสมรสกับเอเธลเฟลดแห่งดาเมอแรม และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 939 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 946 เมื่อพระเจ้าเอเธลสตันเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 939 พระเจ้าเอ็ดมันด์ก็เสด็จขึ้นครองราชต่อจากพระเชษฐา หลังจากที่ขึ้นครองราชย์ก็ทรงประสพปัญหาทางทหารหลายด้านที่เป็นอันตรายต่อราชอาณาจักร สมเด็จพระเจ้าโอลาฟที่ 1 แห่งดับลินทรงได้รับชัยชนะต่อนอร์ทธัมเบรียและรุกรานมาทางมิดแลนดส์ เมื่อพระเจ้าโอลาฟเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 942 พระเจ้าเอ็ดมันด์ก็ยึดมิดแลนดส์คืน ในปี ค.ศ. 943 ทรงเป็นพ่อทูลหัวของพระเจ้าโอลาฟแห่งยอร์ค ในปี ค.ศ. 944 พระเจ้าเอ็ดมันด์ก็ทรงได้รับความสำเร็จในการกู้นอร์ทธัมเบรียคืน ในปีเดียวกันหลังจากที่พระเจ้าโอลาฟแห่งยอร์คผู้เป็นพันธมิตรของพระเจ้าเอ็ดมันด์ก็ทรงสูญเสียราชบัลลังก์ พระองค์ก็เสด็จไปเป็นพระเจ้าแผ่นดินของดับลินในไอร์แลนด์ ในพระนามว่าโอลาฟ คิวอารัน (Olaf Cuaran หรือ Amlaíb Cuarán) ในปี ค.ศ. 945 พระเจ้าเอ็ดมันด์ทรงได้รับชัยชนะต่อดินแดนสตรัธไคลด์ (Strathclyde) แต่ทรงสละสิทธิ์บริเวณที่ทรงยึดครองให้กับพระเจ้ามัลคอล์มที่ 1 แห่งสกอตแลนด์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับข้อตกลงในสนธิสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายให้การสนับสนุนต่อกันและกันในทางทหาร พระเจ้าเอ็ดมันด์ทรงมีนโยบายที่จะรักษาความมั่นคงและความสงบระหว่างพรมแดนอังกฤษและสกอตแลนด์ พระเจ้าเอ็ดมันด์ถูกปลงพระชนม์ในปี ค.ศ. 946 ระหว่างการต่อสู้โดยโจรเลโอฟา ขณะที่ทรงร่วมงานฉลองที่ปราสาทพัคเคิลเชิร์ชทรงเห็นเลโอฟาในกลุ่มผู้ร่วมงานจึงทรงพยายามไล่แต่เลโอฟาไม่ยอมออกจากงาน พระเจ้าเอ็ดมันด์และที่ปรึกษาจึงทรงต่อสู้กับเลโอฟา ทั้งพระเจ้าเอ็ดมันด์และเลโอฟาเสียชีวิต เมื่อพระเจ้าเอ็ดมันด์เสด็จสวรรคตพระอนุชาก็ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเอเดรดแห่งอังกฤษ พระราชโอรสพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ได้ปกครองอังกฤษได้แก่.

30 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 1465พ.ศ. 1482พ.ศ. 1485พ.ศ. 1486พ.ศ. 1487พ.ศ. 1488พ.ศ. 1489พ.ศ. 1498พ.ศ. 1500พ.ศ. 1502พ.ศ. 1518พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบพระเจ้าเอ็ดวีพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสพระเจ้าเอเดรดราชวงศ์เวสเซกซ์ราชอาณาจักรอังกฤษราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรียราชอาณาจักรเมอร์เซียราชอาณาจักรเวสเซกซ์ราชอาณาจักรเคนต์รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษอีดกิฟูแห่งเคนต์ดับลินประเทศอังกฤษประเทศไอร์แลนด์1 ตุลาคม26 พฤษภาคม27 ตุลาคม

พ.ศ. 1465

ทธศักราช 1465 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพ.ศ. 1465 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1482

ทธศักราช 1482 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพ.ศ. 1482 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1485

ทธศักราช 1485 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพ.ศ. 1485 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1486

ทธศักราช 1486 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพ.ศ. 1486 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1487

ทธศักราช 1487 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพ.ศ. 1487 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1488

ทธศักราช 1488 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพ.ศ. 1488 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1489

ทธศักราช 1489 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพ.ศ. 1489 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1498

ทธศักราช 1498 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพ.ศ. 1498 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1500

ทธศักราช 1500 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพ.ศ. 1500 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1502

ทธศักราช 1502 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพ.ศ. 1502 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1518

ทธศักราช 1518 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพ.ศ. 1518 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ

ระเจ้าเอเธลสตานแห่งอังกฤษ (Athelstan of England; Æþelstān) (ราว ค.ศ. 895 - ค.ศ. 940) กษัตริย์แห่งอังกฤษปี..924-940 โอรสของเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส เอเธลสตานนำอังกฤษสู่ความเป็นหนึ่งโดยการปกครองทั้งเมอร์เซียและเวสเซ็กซ์ พระองค์ปราบการรุกรานของชาวสก็อตแลนด์, ชาวไอร์แลนด์ และชาวสแตรธไคลด์ ที่บรูนันเบอร์ในปี..937 พระองค์เอาชนะอาณาจักรของชาวสแกนดิเนเวียที่ตั้งรกรานอยู่ในยอร์กและเพิ่มอำนาจของอังกฤษในชายแดนของเวลส์และสก็อตแลน.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ

ระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ (Edgar the Peaceful หรือ Edgar the Peaceable) (ราว ค.ศ. 943 หรือ ค.ศ. 944 - ค.ศ. 975) พระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์เวสเซ็กซ์ พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบเสด็จพระราชสมภพเมื่อราวปี ค.ศ. 943 หรือปี ค.ศ. 944 ที่เวสเซ็กซ์ ในอังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษและเอ็ดจิวาแห่งเคนต์ อภิเษกสมรสกับเอเธลฟรีด วูลฟธริธ และเอลฟริธ และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 975 ที่วินเชสเตอร์ อังกฤษ พระนาม “ผู้รักสงบ” ไม่ได้บ่งถึงพระลักษณะตามความหมายเพราะทรงเป็นนายทหารผู้เข้มแข็งซึ่งจะเห็นได้จากการยึดราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย และราชอาณาจักรเมอร์เซียจากพระเจ้าเอ็ดวีพระเชษฐาในปี ค.ศ. 958 พระเจ้าเอ็ดการ์ทรงปกครองบริเวณเหนือแม่น้ำเทมส์กับขุนนางของพระองค์กลุ่มหนึ่ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดวีเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 พระเจ้าเอ็ดการ์ก็ทรงเรียกตัวโดยดันสตัน (ต่อมาเป็นนักบุญดันสตัน) จากที่ทรงลี้ภัยกลับมาและแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งวูสเตอร์และต่อมาเป็นบิชอปแห่งลอนดอนและในที่สุดอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ดันสตันเมื่อเริ่มแรกไม่ยอมสวมมงกุฏให้พระเจ้าเอ็ดการ์เพราะไม่ยอมรับวิธีดำเนินชีวิตของพระองค์เกี่ยวกับพระสนม วูลฟธริธ (ต่อมาเป็นนักพรตหญิงที่วิลตัน) มึพระธิดา อีดิธแห่งวิลตัน แต่ดันสตันก็เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าเอ็ดการ์ตลอดรัชสมัย รัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์เป็นรัชสมัยที่บ้านเมืองมีความสงบสุขและอาจจะเป็นสมัยที่เรียกได้ว่าเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน แม้ว่าการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอังกฤษจะเป็นผลที่มาจากผู้ที่ครองบัลลังก์มาก่อนพระองค์ ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์ อังกฤษก็เกือบจะไม่มีศัตรูที่จะมาแบ่งราชอาณาจักรอย่างที่เคยเป็นมาก่อน ในสมัยนี้ดันสตันก็มีบทบาทในการปฏิรูปอารามที่ออกจะเริ่มหย่อนยานให้กลับไปถือวินัยของนักบุญเบเนดิกต์อย่างที่เคยเป็นมา แต่บทบาทอันนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถึยงกันในบรรดาผู้รู้ในวงการศึกษา พระเจ้าเอ็ดการ์ได้ทำพิธีสวมมงกุฏที่บาธในปี ค.ศ. 973 ซึ่งมิใช่ราชาภิเศกในการฉลองการเริ่มรัชกาล พระราชพิธีครั้งนี้เตรียมการโดยดันสตันเองโดยมีโคลงเฉลิมพระเกียรติที่บันทึกในบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน เป็นพระราชพิธีที่เป็นพื้นฐานในการทำพิธีบรมราชาภิเศกของอังกฤษมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระราชพิธีเป็นพิธีสัญลักษณ์โดยมีเจ้าผู้ครองอาณาจักรในอังกฤษมาแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ที่เชสเตอร์ กษัตริย์หกพระองค์ในบริเตนและสกอตแลนด์ปฏิญาณว่าจะเป็นผู้ป้องกันพระองค์ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางทะเล ต่อมาบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันกล่าวว่ามีแปดองค์ แต่พระราชพิธีประกาศการสวามิภักดิ์ที่เชสเตอร์ (submission at Chester) ดูเหมือนว่จะเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น พระเจ้าเอ็ดการ์มีพระราชโอรสธิดาเจ็ดพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขีพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ หลังจากที่เสด็จสวรรคตมาจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันไม่มีราชบัลลังก์ใดที่ได้รับการสืบทอดโดยไม่มีปัญหาในการแก่งแย่ง.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดวี

ระเจ้าเอ็ดวี หรือ เอ็ดวิก โอรสของพระเจ้าเอ็ดมุนด์ ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ (ค.ศ.955-959) ต่อจากพระปิตุลา เอ็ดเร็ด เอเธลวาลด์บันทึกไว้ว่าประชาชนทั่วไปเรียกว่าเอ็ดวิกว่า "ผู้งดงามทุกส่วน (All-Fair)" เนื่องจากพระองค์รูปงามมาก พระองค์เป็นที่รู้จักมากที่สุดจากเรื่องการประจันหน้ากับดันสตานในงานเลี้ยงฉลองการราชาภิเษก และจากเรื่องที่ว่าในปี..957 อาณาจักรถูกแบ่ง พื้นที่ทั้งหมดที่อยู่เหนือเธมส์ (เมอร์เซียและนอร์ธัมเบรีย) ปกครองโดยพระอนุชาของพระองค์ เอ็ดการ์ การแบ่งประเทศดูจะสงบสุขดี และเมื่อเอ็ดวิกสวรรคตในอีกสองปีต่อมา เอ็ดการ์ขึ้นเป็นกษัตริย์เหนืออังกฤษที่เป็นเอกภาพอีกครั้ง.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพระเจ้าเอ็ดวี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส

มเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส (Edward the Elder; Ēadweard se Ieldra) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ ประสูติเมื่อคริสต์ทศวรรษ 870 และสวรรคตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 924 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโสเสด็จพระราชสมภพเมื่อประมาณปี ค.ศ. 870 ที่เวสเซ็กซ์ ในอังกฤษ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช และ เอลสวิธ ทรงเสกสมรสกับ เอ็กกวินน์, เอลเฟลด และ อีดกิฟู และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 899 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 924 ที่ฟาร์นดัน ออน ดี, เชสเชอร์, อังกฤษ.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอเดรด

มเด็จพระเจ้าเอเดรดแห่งอังกฤษ (ราว ค.ศ. 923 - ค.ศ. 955) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าเอเดรดเสด็จพระราชสมภพราว ค.ศ. 923 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส และพระชายาองค์ที่สามเอ็ดจิวาแห่งเค้นท์ธิดาของซิเกเฮลม (Sigehelm) ขุนนางแห่งเค้นท์ ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 946 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 955 พระเจ้าเอเดรดขึ้นครองราชสมบัติหลังจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเชษฐาเสด็จสวรรคต พระเจ้าเอเดรดทรงเป็นนายทหารผู้เก่งกล้าเช่นเดียวกับพระพระเชษฐา ทรงมีความสำเร็จในการต่อต้านไวกิง ทรงเป็นผู้เคร่งศาสนาแต่ไม่มีพระสุขภาพพลานามัยที่ดีนัก พระเจ้าเอเดรดเสด็จสวรรคตที่ฟรูมในซอมเมอร์เซ็ท พระบรมศพถูกฝังไว้ที่วินเชสเตอร์ พระนัดดาขึ้นครองราชสมบัติต่อมาเป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดวีแห่งอังกฤษ.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพระเจ้าเอเดรด · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เวสเซกซ์

อังกฤษราวปี ค.ศ. 800 แสดงให้เห็นบริเวณเวสเซ็กซ์ทางตะวันตกเฉียงใต้; เมอร์เซียตอนกลาง; นอร์ทธัมเบรียทางตะวันออกเฉียงเหนือ; และ อีสแองเกลีย เอสเซ็กซ์ เค้นท์ และ ซัสเซ็กซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หรือ ราชวงศ์เซอร์ดิค (House of Wessex หรือ House of Cerdic) เป็นราชวงศ์แซ็กซอนที่ปกครองราชอาณาจักรทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าเวสเซ็กซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายใต้การนำของพระเจ้าเซอร์ดิคแห่งเวสเซ็กซ์จนกระทั่งรวมเป็นราชอาณาจักรอังกฤษ จากนั้นราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ปกครองอังกฤษทั้งหมดที่เรียกว่า “Bretwalda” ตั้งแต่ สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช ในปี ค.ศ. 871 ไปจนถึงสมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1016 การปกครองของราชวงศ์เวสเซ็กซ์มักจะมีผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากฝ่ายอื่นโดยเฉพาะจาก บริเวณเดนลอว์ (Danelaw) ที่ปกครองโดยกฎหมายของเดนมาร์ก และต่อมาโดยสเวน ฟอร์คเบียร์ดผู้ยึดราชบัลลังก์ระหว่าง ค.ศ. 1013 ถึง ค.ศ. 1014 ระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ พระเจ้าสเวน ฟอร์คเบียร์ดและผู้สืบเชื้อสายของพระองค์ปกครองอังกฤษจนปี ค.ศ. 1042 หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ได้รับการฟื้นฟูอยู่ชั่วระยะหนึ่งระหว่างปี ค.ศ. 1042 ถึงปี ค.ศ. 1066 ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ และ สมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน หรือพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 2 ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็สิ้นสุดลงไม่นานหลังจากยุทธการเฮสติงส์โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิงผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮาโรลด์ถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยดยุคแห่งนอร์มังดีผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือ “พระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต” (William the Conqueror) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์นอร์มัน.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และราชวงศ์เวสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอังกฤษ

ราชอาณาจักรอังกฤษ (Kingdom of England.) เป็นราชอาณาจักรระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และราชอาณาจักรอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย

ราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย (ภาษาอังกฤษ: Northumbria หรือ Northhumbria) เป็นชื่อของอาณาจักรยุคกลางของชาวแองเกิลที่ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ และทางใต้ของสกอตแลนด์ และเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ที่เมื่อรวมกับอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนกลายเป็นอังกฤษ ชื่อ “นอร์ทธัมเบรีย” เป็นนัยยะว่าเขตแดนทางใต้ของอาณาจักรปากแม่น้ำฮัมเบอร์ นอร์ทธัมเบรียก่อตั้งกลางบริเตนใหญ่ในสมัยแองโกล-แซ็กซอน เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 อาณาจักรเบอร์นิเซีย และอาณาจักรไดรารวมตัวกันเป็นอาณาจักรเดียว (ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เฮนรี ฮันทิงดัน (Henry of Huntingdon) บรรยายว่านอร์ทธัมเบรียเป็นอาณาจักรหนึ่งในเจ็ดอาณาจักรของอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอน) ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดเขตแดนของราชอาณาจักรทางใต้จรดปากแม่น้ำฮัมเบอร์, ไปถึงแม่น้ำเมอร์ซีย์ และเฟิร์ธออฟฟอร์ธ (Firth of Forth) (โดยประมาณ จากเชฟฟิลด์ ไปรังคอร์ ไปเอดินบะระ) - และมีหลักฐานว่าเคยมีดินแดนมากกว่านั้น ต่อมานอร์ทธัมเบรียเสียดินแดนทางใต้แก่บริเวณเดนลอว์(Danelaw) ทางด้านเหนือเดิมเป็นอาณาจักรแต่ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเดนมาร์กที่มีฐานะเท่าเทียมกับเป็นอาณาจักรเอิร์ลและมีฐานะเช่นนั้นเมื่ออังกฤษรวมตัวกันโดยการนำของเวสเซ็กซ์ อาณาจักรเอิร์ลมีเขตแดนติดกับแม่น้ำทีส์ทางด้านใต้และแม่น้ำทวีดทางด้านเหนือ (โดยทั่วไปคล้ายคลึงกับตะวันออกเฉียงเหนืออังกฤษ (North East England) ปัจจุบัน) ดินแดนบริเวณเป็นบริเวณที่พิพาตระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ แต่อาณาจักรเอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบรียก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของของอังกฤษในสนธิสัญญายอร์คระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย (Mercia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเทร้นท์และในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นอังกฤษมิดแลนด์ส (English Midlands) ชื่อเมอร์เซียเป็นภาษาอังกฤษเก่า “Mierce” ที่แผลงเป็นแบบละติน (Latinization) แปลว่า “ชนชายแดน” ราชอาณาจักรเมอร์เซียมีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย, เพาวิส, ราชอาณาจักรต่างๆ ทางตอนใต้ของเวลส์, เวสเซ็กซ์, ซัสเซ็กซ์, เอสเซ็กซ์ และ อีสต์แองเกลีย ทุกวันนี้ชื่อ “เมอร์เซีย” ยังใช้กันทั่วไปในชื่อองค์การต่างๆ ได้แก่ หน่วยทหาร หรือองค์การทั้งของรัฐและของเอกชน.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และราชอาณาจักรเมอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเวสเซกซ์

ราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ (Wessex หรือ Westseaxe (ภาษาอังกฤษเก่า)) เวสเซ็กซ์ หรือ “แซ็กซอนตะวันตก” เป็นอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนของแซ็กซอนตะวันตกทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนอังกฤษรวมตัวกันเป็นประเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ภายใต้ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หลังจากสมัยสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราชเวสเซ็กซ์ก็มีฐานะเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ตั้งแต..

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และราชอาณาจักรเวสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเคนต์

ราชอาณาจักรเคนต์ (Kingdom of Kent) เป็นราชอาณาจักรของชนจูต (Jutes) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษและครั้งหนึ่งเป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักร.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และราชอาณาจักรเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ

ต่อไปนี้คือรายพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และประเทศในเครือจักรภพ สำหรับรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะซึ่งประกอบกันเป็นสหราชอาณาจักรปัจจุบันดู รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

อีดกิฟูแห่งเคนต์

อีดกิฟูแห่งเคนต์ (หรือเอ็ดกิว่า หรืออีดิว่า) เป็นพระมเหสีคนที่สามของเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส กษัตริย์แห่งแองโกลแซ็กซัน เอ็ดกิฟูเป็นธิดาของซิกเฮล์ม ผู้นำท้องถิ่นของเคนต์ ที่เสียชีวิตในสมรภูมิแห่งโฮล์มในปี..902 พระนางอภิเษกสมรสกับเอ็ดเวิร์ดราวปีต..919 และกลายเป็นพระราชมารดาของโอรสสองพระองค์ พระเจ้าเอ็ดมุนด์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และพระเจ้าอีดเร็ดแห่งอังกฤษ กับพระธิดาสองพระองค์ นักบุญอีดเบอร์แห่งวินเชสเตอร์ และอีดกิฟู พระองค์สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระนัดดา เอ็ดก้าร์ ตามที่เรื่องเล่าที่ถูกเขียนในช่วงต้นยุค 960 บอกมา พระบิดาของพระนางได้จำนองคูลลิ่งในเคนต์กับชายที่ขื่อกอด้าเพื่อกู้หนี้ พระนางอ้างว่าพระบิดาได้ชำระหนี้แล้วและยกที่ดินให้ก่พระนาง แต่กอด้าไม่ยอมรับเงินและไม่ยอมยกที่ดินให้ พระนางได้คูลลิ่งมาหลังจากพระบิดาเสียชีวิตหกปี หลังจากที่พระสหายของพระนางโน้มน้าวพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดให้ขมขู่ว่าริมทรัพย์ริมทรัพย์กอด้าหากไม่ตัดใจจากที่ดิน ต่อมาเอ็ดเวิร์ดประกาศริบที่ดินของกอด้าและประราชทานกฎบัตรให้อีดกิฟู แต่พระนางคืนที่ดินส่วนใหญ่ให้กอด้า แม้จะเก็บกฎบัตรไว้ บางทีการอภิเษกสมรสของพระนางอาจเกิดขึ้นหลังจากตอนนี้ หลังเอ็ดเวิร์ดเสียชีวิต พระเจ้าเอเธลสตานเรียกร้องให้อีดกิฟูคืนกฎบัตรให้กอด้า บางทีอาจเป็นเพราะกษัตริย์ไม่ถูกกับพระมารดาเลี้ยง พระนางหายตัวไปจากราชสำนักในช่วงรัชสมัยของโอรสเลี้ยง พระเจ้าเอเธลสตาน แต่พระนางผงาดและมีอิทธิพลในช่วงรัชสมัยของโอรสทั้งสอง ในฐานะราชินีม่าย ตำแหน่งของพระนางดูเหมือนจะอยู่สูงกว่าพระสุณิสา ในกฎบัตรของเคนต์ช่วงระหว่างปี..942-944 พระสุณิสาของพระนาง เอลฟ์กิฟูแห่งชาฟท์สบรี ลงพระนามของพระองค์เองว่าเป็นพระมเหสีรองของกษัตริย์ มีตำแหน่งอยู่ระหว่างเหล่าบิชอปกับเหล่าผู้นำท้องถิ่น จากการเปรียบเทียบ เอ็ดกิฟูลงพระนามในตำแหน่งที่สูงกว่าราชินีพระราชมารดา ต่อจากโอรสของพระนาง เอ็ดมุนด์และอีดเร็ด แต่มาก่อนเหล่าอาร์ชบิชอปและเหล่าบิชอป หลังจากการสวรรคตของโอรสองค์เล็ก อีดเร็ด ในปี..955 พระนางถูกริบที่ดินโดยพระนัดดาองค์โต พระเจ้าเอ็ดวิก บางทีอาจเป็นเพราะพระนางเข้าข้างพระอนุชาของพระองค์ เอ็ดก้าร์ ในการขัดแย้งระหว่างสองพี่น้อง เมื่อเอ็ดก้าร์สืบสันตติวงศ์หลังการสวรรคตของเอ็ดวิกในปี..959 พระนางได้รับที่ดินคืนมาบางส่วนและได้รับสินน้ำใจจากพระนัดดา แต่พระนางไม่เคยได้กลับไปผงาดที่ราชสำนักอีก พระนางได้รับการบันทึกครั้งสุดท้ายในฐานะพยานในกฎบัตรปี..966 พระนางเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สนับสนุนคนของศาสนจักรและเป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนจักร.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และอีดกิฟูแห่งเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ดับลิน

ับลิน (Dublin; ไอริช: Baile Átha Cliath) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ชื่อดับลินนั้นมาจากคำว่า Dubh Linn ซึ่งในภาษาไอริชมีความหมายว่า "สระน้ำสีดำ" (Black Pool) ดับลินมีพื้นที่ประมาณ 114.99 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 495,781 คนในเขตตัวเมือง.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และดับลิน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอร์แลนด์

อร์แลนด์ (Ireland, หรือ; Éire เอเหรอะ) คำบรรยายระบอบการปกครองของประเทศนี้ (ไม่ใช่ชื่อทางการ) คือ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Republic of Ireland; Poblacht na hÉireann) นับเป็นสมาชิกที่อยู่ไกลสุดทางตะวันตกของสหภาพยุโรป มีประชากร 4 ล้านกว่าคน เป็นประเทศบนเกาะไอร์แลนด์ อยู่ห่างจากทวีปยุโรปไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 ใน 6 ของเกาะดังกล่าว (ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 6 ของเกาะไอร์แลนด์ เรียกว่า ไอร์แลนด์เหนือ เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ) ในการแข่งขันรักบี้ระดับนานาชาติ นักกีฬาจากทั้งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และแคว้นไอร์แลนด์เหนือ จะเข้าร่วมในทีมเดียวกัน ในชื่อทีมสหพันธ์รักบี้ไอร์แลนด์ นอกจากนี้ไอร์แลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ใช้เงินยูโร.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และประเทศไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

1 ตุลาคม

วันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันที่ 274 ของปี (วันที่ 275 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 91 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และ1 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

26 พฤษภาคม

วันที่ 26 พฤษภาคม เป็นวันที่ 146 ของปี (วันที่ 147 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 219 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และ26 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

27 ตุลาคม

วันที่ 27 ตุลาคม เป็นวันที่ 300 ของปี (วันที่ 301 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 65 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และ27 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »