โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิง

ดัชนี จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิง

ักรพรรดินีเสี้ยวจิ้งเฉิง(จีน: 孝静成皇后; พินอิน:Xiaojingcheng) (19 มิถุนายน 1812 - 21 สิงหาคม 1855) เดิมเป็นพระสนมในจักรพรรดิเต้ากวงแห่งราชวงศ์ชิง แม้ว่าพระนางจะไม่เคยเป็นจักรพรรดินีตอนที่พระนางยังมีพระชนม์ชีพอยู่ พระนางก็ได้รับพระราชทานพระราชอิสริยยศนั้นในปี 1855 โดยจักรพรรดิถงจื้อ.

14 ความสัมพันธ์: พระราชวังต้องห้ามราชวงศ์ชิงรายพระนามจักรพรรดินีจีนศาสนาพุทธจักรพรรดิถงจื้อจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวงจักรพรรดินีเซี่ยวเฉฺวียนเฉิงจักรพรรดิเสียนเฟิงจักรพรรดิเจียชิ่งจักรพรรดิเต้ากวังซูสีไทเฮาซูอันไทเฮาประเทศจีนปักกิ่ง

พระราชวังต้องห้าม

อู่เหมิน ไท่เหอเหมิน ตงหวาเหมิน แม่น้ำทอง 280px 190px พระราชวังต้องห้าม (จีน: 紫禁城; พินอิน: Zǐjìn Chéng จื่อจิ้นเฉิง; อังกฤษ: Forbidden City) หรือพระราชวังกู้กง จากชื่อภาษาจีน แปลตามตัวอักษรได้ว่า "เมืองต้องห้ามสีม่วง" พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ใจกลางของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน เป็นพระราชวังหลวงมาตั้งแต่สมัยกลางราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง พระราชวังต้องห้ามยังรู้จักกันในนาม พิพิธภัณฑ์พระราชวัง (ภาษาจีน: 故宫博物院; พินอิน: Gùgōng Bówùyùan) ครอบคลุมพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร อาคาร 800 หลัง มีห้องทั้งหมด 9,999 ห้อง และมีพระที่นั่ง 75 องค์ หอพระสมุด ห้องหับต่างๆอีกมาก รวมทั้งยังมีสวน ลานกว้าง ทางเดินเชื่อมกันโดยตลอด มีคูและกำแพงที่สูงถึง 11 เมตร ล้อมรอบ ใช้ระยะก่อสร้างประมาณ 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1949 จนถึง พ.ศ. 1963 พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจตุรัสเทียนอันเหมิน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าสู่พระราชวังต้องห้ามได้ทางจตุรัสนี้ ผ่านประตูเทียนอันเหมิน บริเวณรอบจตุรัสเทียนอันเหมิน เรียกว่า อาณาเขตหลวง โดยมีสิ่งก่อสร้างสำคัญอยู่โดยรอบ เช่น มหาศาลาประชาคม ในอดีต พระราชวังแห่งนี้ เป็นเขตหวงห้ามไม่ไห้ประชาชนเข้า แม้ข้าราชการชั้นสูง ยังต้องขออนุญาต เป็นกรณีพิเศษ จึงเรียกพระราชวังนี้ว่า "พระราชวังต้องห้าม" จักรพรรดิจะทรงประทับอยู่ในพระราชวังแห่งนี้ กั้นพระองค์จากโลกภายนอก โดยมีสนมกำนัล ขันที และข้าหลวงรับใช้ซึ่งคนเหล่านี้ต้องอาศัยอยู่ในนครต้องห้ามตลอดชีวิต เพื่อความสำราญของจักรพรรดิ ในวังจะมีวิเสท 6,000 คน ประกอบพระกระยาหาร มีสนมกำนัล 9,000 นาง ซึ่งมีขันที 70,000 คน คอยดูแลให้ มีคำเล่าลือกันว่า พระนางซูสีไทเฮา เวลาเสวยก็จะมีพระกระยาหารถึง 148 ชุด และทรงส่งขันทีไปเสาะหาชายหนุ่มซึ่งเข้าวังแล้วจะไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย แม้ว่าประเทศจีนจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว พระราชวังต้องห้ามก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน และภาพประตูเทียนอันเหมินก็ยังปรากฏอยู่ในตราประจำสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย นอกจากนี้ พระราชวังต้องห้ามยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งไม่นานมานี้ ทางรัฐบาลจีนได้มีนโยบายจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวเพื่อจะอนุรักษ์สภาพของอาคารและสวนหย่อมไว้ ยูเนสโกได้ประกาศให้พระราชวังต้องห้ามร่วมกับพระราชวังเสิ่นหยางเป็นหนึ่งในมรดกโลกในนาม พระราชวังหลวงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเสิ่นหยาง เมื่อ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987).

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิงและพระราชวังต้องห้าม · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิงและราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดินีจีน

ในจักรวรรดิจีน จักรพรรดินี เป็นพระอิสริยยศของพระอัครมเหสีในจักรพรรดิจีน และ จักรพรรดินีพันปีหลวง เป็นพระอิสริยยศของพระราชชนนีในจักรพรรดิจีนพระองค์ปัจจุบันหรือพระองค์ก่อน.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิงและรายพระนามจักรพรรดินีจีน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิงและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิถงจื้อ

มเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 5 พรรษา ถึงแม้ว่าพระองค์จะครองราชย์ได้เพียง 12 ปี พระองค์ก็จัดได้ว่าเป็นจักรพรรดิที่พยายามจะบริหารประเทศให้ดีองค์หนึ่ง แต่ก็ถูกซูสีไทเฮายึดอำนาจไว้ ทำให้พระองค์ไม่สามารถใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ เพราะพระนาง ซูสีไทเฮาเห็นว่า พระองค์นั้นไร้ซึ่งความสามารถวันๆก็เอาแต่แอบหนีออกไปเที่ยวนอกวัง.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิงและจักรพรรดิถงจื้อ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง

ระสาทิสลักษณ์พระอัครมเหสีหนิวฮูหลู่ขณะทรงพระยศเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีในจักรพรรดิเจียชิ่ง พระสาทิสลักษณ์พระพันปีหลวงกงฉือ พระพันปีหลวง ใน จักรพรรดิเต้ากวงในฉลองพระองค์ช่วงพระราชพิธีช่วงเช้า สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง (孝和睿皇后; Empress Xiaoherui) เป็นพระจักรพรรดินีพระองค์ที่สองในจักรพรรดิเจียชิ่งและสมเด็จพระพันปีหลวงในจักรพรรดิเต้ากวง.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิงและจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเซี่ยวเฉฺวียนเฉิง

ักรพรรดินีเสี้ยวเฉฺวียนเฉิง (孝全成皇后; Empress Xiàoquánchéng) เป็นพระอัครมเหสีพระองค์ที่สองในจักรพรรดิเต้ากวง และพระราชมารดาในจักรพรรดิเสียนเฟิง.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิงและจักรพรรดินีเซี่ยวเฉฺวียนเฉิง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเสียนเฟิง

มเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิงขณะทรงแก้ไขพระราชกิจ สมเด็จพระจักรพรรดิเสียนฟงขณะทรงพักผ่อนพระอิริยาบถ จักรพรรดิเสียนเฟิง พงศาวดารไทยเรียก สมเด็จพระเจ้าฮำหอง เป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 9 (นับจากจักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อ) แห่งราชวงศ์ชิง เป็นราชโอรสองศ์ที่ 4 ของจักรพรรดิเต้ากวง มีนามเดิมว่า อ้ายซินเจว๋หลัว อี้จู่ หรือองค์ชาย อี้จู่ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) ขึ้นครองราชย์ได้ทั้ง ๆ ที่มิใช่รัชทายาทองค์เอกที่วางตัวไว้ แต่ว่าพระองค์สามารถเอาชนะใจพระราชบิดาได้ด้วยการออกล่าสัตว์ และพระองค์ไม่สังหารสัตว์ที่มีลูกอ่อน นอกจากนี้ยังมีคนกล่าวกันว่าพระราชวรกายของพระองค์อ่อนแอมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์แล้ว จึงมักประชวรบ่อย ๆ ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) ทันทีที่จักรพรรดิเต้ากวงสวรรคต ด้วยพระชนมายุ 19 พรรษา ซึ่งในระหว่างที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ใหม่ ๆ พระราชประเพณีจีนห้ามจักรพรรดิองค์ใหม่มีมเหสีหรือพระสนม และต้องไว้ทุกข์เป็นเวลานานถึง 27 เดือน แต่ก่อนที่จักรพรรดิเต้ากวงจะสวรรคตมีพระมเหสีองค์แรกแล้ว คือ พระชายาสะโกตา ซึ่งสิ้นพระชนม์ก่อนที่จักรพรรดิเต้ากวงจะสวรรคต เมื่อจักรพรรดิเสียนเฟิงครองราชย์แล้วทรงสถาปนานางสะโกตะเป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี่ยวเต๋อเซียน เมื่อผ่านช่วงไว้ทุกข์ไปแล้ว จึงมีการเลือกพระสนม โดยองค์ประธาน คือ พระนางคังฉินไท่เฟย(康慈皇贵太妃) พระมเหสีองค์หนึ่งของสมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง ที่ทรงดูพระราชวังหลัง ซึ่งพระอัครมเหสีองค์แรกของสมเด็จพระจักรพรรดิเสียงเฟิง คือ พระอัครมเหสีหนิวฮู่ลู่ หรือ ซูอันไทเฮา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก พระนางคังฉินไท่เฟย ในสมัยพระองค์เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ซึ่งส่งผลให้เกาะฮ่องกงตกเป็นของจักรวรรดิอังกฤษโดยสมบูรณ์ และมาเก๊าตกเป็นของโปรตุเกส และกบฏไท่ผิง โดย หง ซิ่วฉวน ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศและราชวงศ์ จักรพรรดิเสียนเฟิง มีพระมเหสีองค์รองอีกหนึ่งพระองค์ ที่ต่อมามีบทบาทอย่างมากในประวัติศาสตร์ภายหลัง คือ พระมเหสีเย่เฮ่อนาลา หรือ ซูสีไทเฮา พระองค์สวรรคตในปี พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1861) ด้วยพระชนมายุเพียง 30 พรรษา ด้วยพระโรคที่รุมเร้าจากทรงกลัดกลุ้มในปัญหาของบ้านเมือง และจักรพรรดิองค์ใหม่ คือ องค์ชายไจ้ฉุน หรือพระนามตอนขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิถงจื้อ.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิงและจักรพรรดิเสียนเฟิง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเจียชิ่ง

มเด็จพระจักรพรรดิเจียชิ่ง (จักรพรรดิชิงเหรินจง) (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2303 – 2 กันยายน พ.ศ. 2363) เป็นโอรสองค์ที่ 15 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เดิมมีพระนามว่า หย่งเยี๋ยน (顒琰) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) เมื่อพระชนมายุได้ 37 พรรษา ภายหลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิเฉียนหลง พระราชบิดา แต่อำนาจในการปกครองแผ่นดินแท้จริงยังอยู่ในจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อจนถึงปีที่ 3 ที่ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงได้สวรรคต และพระองค์จึงได้อำนาจในการปกครองอย่างแท้จริง เมื่อทรงได้อำนาจเต็มแล้ว ทรงได้กำจัดเหอเซิน ที่เป็นขุนนางกังฉิน โกงกินชาติ ซึ่งเป็นคนสนิทของจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงรวบรวมขุนนางและบรรดาผู้ที่จงรักภักดีเพื่อกำจัดเหอเซิน โดยบุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการครั้งนี้คือ อ๋องเฉิน ซึ่งเป็นพระเชษฐา (พี่ชาย) ของพระองค์และเป็นพระโอรสลำดับที่ 11 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อได้ยึดทรัพย์เหอเซินแล้ว พบว่าเงินจำนวนที่เหอเซินยักยอกไว้นั้นมีมูลค่าเท่ากับรายได้ประเทศชาติถึง 10 ปี แต่เมื่อจับกุมเหอเซินได้แล้วกลับลังเลพระทัยที่จะประหารชีวิต เนื่องจากทรงเคยรับคำพระราชบิดา จักรพรรดิเฉียนหลงเอาไว้ว่าจะไว้ชีวิตเหอเซิน เมื่อพระองค์สวรรคต แต่ได้ถูกอ๋องเฉินและบรรดาขุนนางทูลทัดทาน จึงได้ตัดสินพระทัยบังคับให้เหอเซินผูกคอตาย ตลอดรัชสมัย ทรงพบกับการก่อกบฏและเรื่องทางความมั่นคงมากมาย เช่น กบฏพรรคบัวขาว, กบฏโจรสลัดไต้หวัน กบฏพรรคเที่ยงธรรม เป็นต้น ซึ่งกบฏเหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นกบฏชาวฮั่นที่รวบรวมคนไว้เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงกอบกู้ราชวงศ์หมิงนั่นเอง มีพระโอรส 3 พระองค์ พระโอรสองค์โตเกิดจากพระอัครมเหสีฮีตียา ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีที่ทรงรักยิ่ง แต่พระนางสิ้นพระชนม์ไปก่อนเมื่ออายุยังน้อย และพระโอรสอีก 2 พระองค์ ที่เกิดจากพระมเหสีหนิวฮูลู่ พระอัครมเหสีองค์ใหม่ที่ทรงแต่งตั้งขึ้นมาจากการเป็นพระมเหสี ซึ่งพระองค์ไม่เคยโปรดพระนางเลย แต่ต้องทรงสถาปนาเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง ด้วยต้องการให้เหล่าขุนนางและประชาราษฎร์เห็นถึงพระทัยเมตตาของพระองค์ เหตุที่ไม่โปรดพระมเหสีหนิวฮูลู่ นี้ เพราะพระนางเป็นบุตรสาวของขุนนางที่เคยเป็นพรรคพวกเหอเซินมาก่อน จึงไม่ไว้วางพระทัย ในรัชสมัยของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ปรากฏกรณีที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติมาตลอด เช่น เกิดกบฏต่างๆ การที่เวียดนามขอแยกออกไปเป็นประเทศเอกราช เป็นต้น ซึ่งพระองค์ทรงใช้ทั้งนโยบายที่ผ่อนปรนและแข็งกร้าวสลับกันไป เช่น การห้ามชาวแมนจูแต่งงานกับชาวฮั่นเด็ดขาด หรือ การห้ามชาวคริสต์เผยแพร่ศาสนาเด็ดขาด รวมทั้งการห้ามราษฎรสูบฝิ่นด้วย เป็นต้น ซึ่งสิ่งทั้งหมดเหล่านี้จะส่งผลต่อความมั่นคงตามมาในภายหลัง ในปลายรัชสมัย มีพระพลานามัยอ่อนแอ ด้วยทรงสูงพระชันษาประกอบกับการกลัดกลุ้มพระทัยอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับราชภารกิจ สวรรคตในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) พระชนมายุ 61 พรรษา รวมระยะเวลาที่ได้ทรงครองราชย์ 24 ปี และผู้ที่ครองราชย์สืบต่อมาคือ องค์ชายเหมี่ยนหนิง ภายหลังขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิงและจักรพรรดิเจียชิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเต้ากวัง

ักรพรรดิเต้ากวัง พงศาวดารไทยเรียก สมเด็จพระเจ้าเตากวาง เป็นองค์ชายรองในจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง เดิมมีพระนามว่า เหมียนหนิง (綿寧) (แปลว่า อาทิตย์อัสดง) แต่ได้เปลี่ยนพระนามใหม่ภายหลังขึ้นครองราชย์ว่า หมิ่นหนิง (旻宁) (แปลว่า ท้องฟ้า หรือ จักรวาล) จักรพรรดิเต้ากวัง ประสูติจากมเหสีที่มีชื่อว่า จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย(孝淑皇后) แต่พระมารดาได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระองค์ยังเยาว์วัย จักรพรรดิเจี่ยชิงพระราชบิดาจึงได้สถาปนาพระมเหสีองค์ใหม่ขึ้นเป็นจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย (孝和皇后) ซึ่งเป็นบุตรสาวของอูนาลา ขุนนางพวกเดียวกับเหอเซิน ที่ทรงไม่ไว้วางพระทัย แต่ทรงทำไปด้วยด้วยเหตุผลทางการเมือง นั่นทำให้จักรพรรดิเต้ากวังเมื่อยังทรงพระเยาว์ก็ไม่โปรดในตัวพระนางด้วยเช่นกัน แม้จะมีศักดิ์เป็นพระมารดาเลี้ยงก็ตาม แต่ได้ทรงเปลี่ยนทัศนะที่มีต่อพระนางใหม่ เมื่อครั้งหนึ่งที่ได้เสด็จไปไหว้บรรพกษัตริย์ที่สุสานราชวงศ์ชิงด้วยกัน และได้มีโจรกบฏกลุ่มหนึ่งมาจับตัวพระองค์และพระนางไปพร้อมกับสามัญชนกลุ่มหนึ่ง พวกกบฏบังคับให้พระองค์และพระนางบอกว่าใครเป็นใคร หากเงียบ ก็จะให้จ้วงแทงพระนางด้วยมีด พระนางก็ปิดปากเงียบไม่ยอมบอก นั่นจึงทำให้พระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระนางเสี้ยวเหอมากและยอมรับพระนางในที่สุด จักรพรรดิเต้ากวัง ขึ้นครองราชย์ภายหลังการสวรรคตอย่างกะทันหันของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานหลบร้อนไปยังเมืองเฉิงเต๋อ ซึ่งได้มีพระราชโองการแต่งตั้งไว้ในพินัยกรรม แต่เนื่องจากการที่สวรรคตในที่ห่างไกลเมืองหลวง จึงทำให้ องค์ชายสี่ เหมี่ยนซิน พระโอรสองค์เล็กพระนางเสี้ยวเหอของคัดค้านว่า เป็นพินัยกรรมปลอม และเตรียมการจะก่อกบฏ พระองค์จึงทรงวางแผนโยนไปให้พระนางเสี้ยวเหอตัดสินและได้ขอกำลังทหารส่วนหนึ่งมาคุ้มกัน ซึ่งพระนางเสี้ยวเหอได้ยอมรับว่า พินัยกรรมนั้นเป็นของจริง และได้พระราชทานอภัยโทษประหารองค์ชายเหมี่ยนซินไว้ ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวัง ได้ทรงหาทางกำจัดขุนนางกังฉินและบรรดาขุนนางที่ไม่เอาการเอางาน จึงทำให้เหล่าขุนนางลับหลังจะนินทาพระองค์อยู่เสมอ ๆ และทำให้ขุนนางแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่ายต่างก็สนับสนุนพระโอรสอันเกิดจากพระมารดาที่เป็นชนเผ่าเดียวกับตน แต่พระองค์ก็ได้หาทางบริหารประเทศอย่างเต็มที่ ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศเป็นปึกแผ่น ดูเหมือนเข้มแข็ง แต่ภายในอ่อนแออันเกิดจากการฉ้อราฎร์บังหลวงที่เป็นระบบกันมานานแต่สมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ในรัชสมัยนี้พระองค์ได้ออกนโยบายให้ทุกคนในวังประหยัด โดยมีพระองค์เป็นแบบอย่าง และเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือ สงครามฝิ่นกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) และ พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ยุคล่าอาณานิคม ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และนำมาสู่การสูญเสียเกาะฮ่องกงและการล่มสลายของราชวงศ์ชิงในภายหลัง จักรพรรดิเต้ากวังมีอุปนิสัยส่วนพระองค์คือ โปรดปรานปืนเป็นพิเศษ ได้สวรรคตในปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) และผู้ครองราชย์สืบไปคือ องค์ชายอี้จู่ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า จักรพรรดิเสียนเฟิง.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิงและจักรพรรดิเต้ากวัง · ดูเพิ่มเติม »

ซูสีไทเฮา

ฉือสี่ไท่โฮ่ว ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ซูสีไทเฮา ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน (29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1835 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908) เป็นสตรีชาวแมนจูจากตระกูลเย่เฮ่อน่าลา (葉赫那拉氏) ดำรงตำแหน่งไท่โฮ่ว (พระราชชนนีพันปีหลวง) และสำเร็จราชการแทนจักรพรรดิจีนหลายพระองค์ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง พระนางจึงควบคุมการปกครองจักรวรรดิจีนโดยพฤตินัยเป็นเวลา 47 ปีตั้งแต..

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิงและซูสีไทเฮา · ดูเพิ่มเติม »

ซูอันไทเฮา

ักรพรรดินีเซี่ยวเจินเสี่ยน หรือ จักรพรรดินีฉืออัน พระพันปีหลวง หรือที่รู้จักกันในไทยว่า "พระพันปีหลวงฉืออัน" หรือ "ฉืออันไท่โฮ่ว" หรือตามสำเนียงฮกเกี้ยนว่า "ซูอันไทเฮา" (ประสูติ: 12 สิงหาคม 1837; ทิวงคต: 8 เมษายน 1881) เป็นราชนิกุลชาวแมนจูในประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งมีบทบาทคู่กับ "พระนางซูสีไทเฮา" และเชื่อกันว่าทรงถูกพระพันปีหลวงฉือสี่ทรงปลงพระชนม์เพราะความขัดแย้งระหว่างทั้งสองพระองค์ด้ว.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิงและซูอันไทเฮา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิงและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปักกิ่ง

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเฉิงและปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สมเด็จพระพันปีหลวงเสี้ยวจิงจักรพรรดินีเสี้ยวจิ้งเฉิง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »