โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมุดตราไปรษณียากร

ดัชนี สมุดตราไปรษณียากร

มุดตราไปรษณียากรเล่มเล็ก ของสหรัฐอเมริกา สมุดตราไปรษณียากรเล่มเล็ก (stamp booklet) ประกอบขึ้นจาก แสตมป์แผงเล็ก ๆ ปกติมีแสตมป์อยู่ระหว่าง 10 ถึง 20 ดวง พับและติดอยู่บนกระดาษ ผู้ซื้อสามารถฉีกแสตมป์ออกมาใช้เป็นค่าไปรษณีย์ได้ ส่วน สมุดตราไปรษณียากร เป็นคำที่มีความหมายกว้างกว่า ครอบคลุมทั้งสมุดตราไปรษณียากรเล่มเล็ก หรือเล่มที่รวบรวมแสตมป์ชุดต่าง ๆ จำหน่ายโดยไปรษณีย์ (เช่น สมุดตราไปรษณียากรประจำปี ซึ่งรวบรวมแสตมป์ทุกชุดที่ออกในปีหนึ่ง ๆ) ไปจนถึง อัลบั้มแสตมป์ สมุดตราไปรษณียากรเล่มเล็กเป็นรูปแบบการจำหน่ายแสตมป์ที่นิยมมากแบบหนึ่ง โดยเฉพาะการจำหน่ายจากตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ และตามร้านสะดวกซื้อ แผงแสตมป์ที่ติดอยู่ในสมุดตราไปรษณียากรเล่มเล็กอาจจะฉีกออกจากแผ่นใหญ่ (sheet หรือ pane) หรือ พิมพ์เป็นพิเศษสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ ในกรณีหลัง แสตมป์อาจไม่มีการปรุรูครบทั้งสี่ด้านของแสตมป.

10 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2544การปรุรู (แสตมป์)อัลบั้มแสตมป์งานวันไปรษณีย์โลกตราประทับแสตมป์แผ่นแสตมป์ไปรษณียบัตรไปรษณีย์เซเว่น อีเลฟเว่น

พ.ศ. 2544

ทธศักราช 2544 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2001 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สมุดตราไปรษณียากรและพ.ศ. 2544 · ดูเพิ่มเติม »

การปรุรู (แสตมป์)

แสตมป์จากตู้หยอดเหรียญของสหรัฐอเมริกาปี พ.ศ. 2460 การปรุรู (perforation) คือการเจาะรูเล็ก ๆ รอบดวงแสตมป์เพื่อให้สะดวกแก่การฉีกแสตมป์ออกมาจากแผ่นเป็นดวง ๆ และเมื่อฉีกออกจากแผ่นแล้ว จะปรากฏรายหยักบนขอบแสตมป์ที่เรียกว่า ฟันแสตมป์ (perfs หรือ teeth) แสตมป์ที่ฉีกมาจากแผ่นมักมีการปรุรูครบทั้งสี่ด้านของแสตมป์ ส่วนแสตมป์ที่จำหน่ายในรูปแบบอื่น ๆ อาจมีรูปแบบการปรุแตกต่างจากนี้ เช่น แสตมป์ที่มาจากตู้หยอดเหรียญ (coil stamp) มักมีการปรุรูเพียงสองด้าน ในขณะที่แสตมป์ที่มาจากสมุดตราไปรษณียากรเล่มเล็ก (stamp booklet) อาจไม่ปรุรูบางด้าน ความสมบูรณ์ของฟันแสตมป์ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสะสมแสตมป์ แสตมป์ที่มีฟันแหว่งหรือขาดไปถือว่ามีตำหนิ และมีมูลค่าต่ำลง.

ใหม่!!: สมุดตราไปรษณียากรและการปรุรู (แสตมป์) · ดูเพิ่มเติม »

อัลบั้มแสตมป์

อัลบั้มแสตมป์ (stamp album) เป็นอุปกรณ์การสะสมแสตมป์อย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นเล่มคล้ายหนังสือ ในแต่ละหน้าภายในมีช่องสำหรับใส่แสตมป์ เพื่อความสะดวกในการเปิดดูแสตมป์ที่สะสมไว้ อีกทั้งเป็นการป้องกันแสตมป์ในตัว อัลบั้มแสตมป์อาจเรียกอีกอย่างว่าสมุดตราไปรษณียากร หรือ สมุดแสตมป์ อัลบั้มแสตมป์มีหลายประเภท เช่น อัลบั้มแสตมป์แบบเสี.

ใหม่!!: สมุดตราไปรษณียากรและอัลบั้มแสตมป์ · ดูเพิ่มเติม »

งานวันไปรษณีย์โลก

งานวันไปรษณีย์โลก หรือชื่อในอดีตคือ งานสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย เป็นงานที่จัดขึ้นโดยไปรษณีย์ของไทย ให้ตรงกับสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย (International Letter Writing Week) ซึ่งกำหนดโดยสหภาพสากลไปรษณีย์ (Universal Postal Union หรือ UPU) ในปี พ.ศ. 2500 มีวัตถุเพื่อส่งเสริมการเขียนจดหมายระหว่างชาติต่าง ๆ เพื่อสร้างสันติภาพในโลก โดยจะนับเอาสัปดาห์ที่มีวันที่ 9 ตุลาคม ซึ่งตรงกับวันสถาปนาสหภาพสากลไปรษณีย์เป็นหลัก งานวันไปรษณีย์โลก จัดขึ้นทุกปีในกรุงเทพ โดยเปลี่ยนชื่อจาก งานสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมายในปี พ.ศ. 2557 เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้คนเขียนจดหมายลดลง.

ใหม่!!: สมุดตราไปรษณียากรและงานวันไปรษณีย์โลก · ดูเพิ่มเติม »

ตราประทับ

ตราประทับเครื่อง รูปลูกคลื่น ตราประทับ (postal marking) ในทางไปรษณีย์ หมายถึงการทำเครื่องหมายต่าง ๆ ลงบนซองจดหมาย หรือ สิ่งอื่นที่ส่งทางไปรษณีย์ มีหลายประเภท มีทั้งตราที่ใช้ในงานไปรษณีย์ และตราสำหรับประทับเป็นที่ระลึกในการสะสมแสตมป.

ใหม่!!: สมุดตราไปรษณียากรและตราประทับ · ดูเพิ่มเติม »

แสตมป์

แสตมป์ฝรั่งเศส ที่ใช้ในจักรวรรดิออตโตมัน ช่วงปี พ.ศ. 2445-2463 แสตมป์ หรือ ตราไปรษณียากร (Postage stamp หรือ Stamp) เป็นหลักฐานการชำระค่าบริการไปรษณีย์ มักเป็นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมเพื่อติดบนซองจดหมาย แสตมป์ที่มีรูปร่างหรือทำจากวัสดุอื่นก็มีปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง แสตมป์มักพิมพ์ออกเป็นแผ่น ประกอบด้วยแสตมป์หลายดวง ปกติอยู่ระหว่าง 20 ถึง 120 ดวง มีการปรุรู รอบดวงแสตมป์เพื่อเพิ่มความสะดวกในการฉีก รอยฉีกที่ได้เรียกว่า ฟันแสตมป์ ด้านหลังแสตมป์มีกาวเคลือบอยู่ กระดาษที่ใช้พิมพ์มักมีสิ่งพิเศษไว้เพื่อป้องกันการปลอมแปลง เช่น ลายน้ำ (watermark) หรือ ด้ายสี หากติดแสตมป์เพื่อใช้งานบนซองแล้ว ต้องมีการประทับตราทุกครั้ง เพื่อป้องกันการนำกลับมาใช้อีก การสะสมแสตมป์เป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก.

ใหม่!!: สมุดตราไปรษณียากรและแสตมป์ · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นแสตมป์

แผ่นแสตมป์คละแบบ รอบ ๆ แสตมป์มีข้อมูลเช่นโรงพิมพ์ หมายเลขแผ่น เป็นต้น แผ่นแสตมป์ (หรือ แสตมป์เต็มแผ่น) แผ่นกระดาษที่ประกอบไปด้วยแสตมป์อยู่ภายในและยังไม่ได้ฉีกแยกออกมา ในหนึ่งแผ่นอาจมีแสตมป์ 20, 25, 50 หรือ 100 ดวงหรือต่างจากนี้ขึ้นกับความต้องการของไปรษณีย์ของประเทศนั้น ๆ ในอดีต แสตมป์ทุกดวงในแผ่นจะเป็นแบบเดียวกันหมด แต่ในระยะหลัง มีการพิมพ์แผ่นที่มีแสตมป์หลายแบบในแผ่นเดียวกัน เรียกว่า แผ่นแสตมป์คละแบบ (composite sheet) โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อการสะสม แสตมป์บางชุดมีการพิมพ์ทั้งแผ่นธรรมดาและแผ่นคละแบบ และแสตมป์บางชุดทุกดวงในแผ่นก็มีแบบไม่ซ้ำกันอีกด้ว.

ใหม่!!: สมุดตราไปรษณียากรและแผ่นแสตมป์ · ดูเพิ่มเติม »

ไปรษณียบัตร

ปรษณียบัตร ไปรษณียบัตร (Carte Postaleอังกฤษ: postal card) มีลักษณะเป็นกระดาษแข็งจัดทำและจำหน่ายโดยไปรษณีย์ ด้านหน้ามีที่สำหรับใส่ที่อยู่ของผู้รับและผู้ส่ง และมีภาพแสตมป์พิมพ์ติดบนกระดาษ ส่วนด้านหลังเป็นที่ให้เขียนข้อความ สามารถส่งทางไปรษณีย์ได้เลยโดยไม่ต้องติดแสตมป์เพิ่ม มีอัตราค่าส่งถูกกว่าจดหมายธรรมดา เหมาะกับการส่งข้อความที่ไม่ต้องการความเป็นส่วนตัว เช่นการแจ้งข่าวสารต่าง ๆ แสตมป์บนไปรษณียบัตรมักเป็นอัตราสำหรับส่งภายในประเทศ แต่ประเภทที่ใช้ส่งต่างประเทศก็มีการทำขึ้นเช่นเดียวกัน โปสการ์ด ไปรษณียบัตร ในภาษาอังกฤษ อาจใช้คำว่า postcard หรือ post card ได้ แต่สองคำนี้มีความหมายกว้างกว่า กล่าวคือ หมายรวมถึง โปสการ์ด หรือ ไปรษณียบัตรรูปภาพ ซึ่งเป็นกระดาษแข็งที่ไม่มีแสตมป์และด้านหลังเป็นรูปภาพได้อีกด้ว.

ใหม่!!: สมุดตราไปรษณียากรและไปรษณียบัตร · ดูเพิ่มเติม »

ไปรษณีย์

ในที่ทำการไปรษณีย์ โดยในภาพเป็นที่ทำการไปรษณีย์นาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ไปรษณีย์ เป็นคำที่มีความหมายได้หลายอย่าง อาจหมายถึง จดหมาย (mail) บริการรับส่งจดหมายและพัสดุภัณฑ์ (postal service) รวมทั้งเป็นคำเรียกย่อ ๆ ของ ที่ทำการไปรษณี.

ใหม่!!: สมุดตราไปรษณียากรและไปรษณีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เซเว่น อีเลฟเว่น

ร้านสะดวกซื้อ เซเว่น-อีเลฟเว่น เซเว่น-อีเลฟเว่น (7-Eleven) เป็นแฟรนไชส์ของร้านสะดวกซื้อ จำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน มีสาขาอยู่ทั่วโลก.

ใหม่!!: สมุดตราไปรษณียากรและเซเว่น อีเลฟเว่น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สมุดตราไปรษณียากรเล่มเล็กสมุดแสตมป์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »