โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษ

ดัชนี สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษ

รงพยาบาลกรีนิช, ลอนดอนออกแบบโดยเซอร์คริสโตเฟอร์ เร็น, ค.ศ. 1694 สถาปัตยกรรมบาโรกอังกฤษ (English Baroque) เป็นคำที่ใช้กันอย่างหลวมๆ ที่อาจจะหมายถึงวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมอังกฤษที่เกิดขึ้นพร้อมกับการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมบาโรกบนแผ่นดินใหญ่ยุโรประหว่างเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในลอนดอน ค.ศ. 1666 (1666) และ สนธิสัญญาอูเทร็คท์ที่ลงนามกันในปี..

21 ความสัมพันธ์: การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษมหาอัคคีภัยแห่งลอนดอนมิวนิกมุขทางเข้ายุครัฐในอารักขายุโรปภาคพื้นทวีปวังเบลนิมสถาปัตยกรรมบาโรกสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอสนธิสัญญายูเทรกต์อาสนวิหารนักบุญเปาโลอินิโก โจนส์จอห์น แวนบรูห์คริสโตเฟอร์ เรนคฤหาสน์ชนบทคฤหาสน์ฮาวเวิร์ดซีตันเดลาวัลฮอลล์ประเทศฝรั่งเศสประเทศเยอรมนีนิโคลัส ฮอคสมอร์เดรสเดิน

การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ

ระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ผู้ฟื้นฟูราชวงศ์ขึ้นใหม่หลังจากสงครามกลางเมือง การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ หรือ ยุคฟื้นฟู (English Restoration หรือ The Restoration) เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1660 เมื่อราชวงศ์อังกฤษ สก็อตแลนด์ และไอร์แลนด์ ได้ก่อตั้งขึ้นใหม่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 หลังจากช่วงสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ. 1642 - ค.ศ. 1651.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มหาอัคคีภัยแห่งลอนดอน

วาดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในลอนดอน ค.ศ. 1666 โดยจิตรกรนิรนามแสดงเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในช่วงเย็นวันอังคาร โดยมองจากเรือที่อยู่ใกล้ๆ อู่เรือแคธารีน หอคอยลอนดอนอยู่ด้านขวาและสะพานลอนดอนอยู่ด้านซ้าย ในภาพจะเห็นอาสนวิหารเซนต์พอลอยู่ท่ามกลางวงล้อมของเปลวเพลิงที่สูง มหาอัคคีภัยแห่งลอนดอน (Great Fire of London) คือการเกิดเพลิงเผาผลาญครั้งใหญ่ที่ลุกลามใหญ่โตทำลายพื้นที่ส่วนกลางของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน ถึงวันพุธที่ 5 กันยายน..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและมหาอัคคีภัยแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

มิวนิก

มิวนิก (Munich) หรือในภาษาเยอรมันว่า มึนเชิน (München) เป็นเมืองที่อยู่ทางใต้ของประเทศเยอรมนี และเป็นเมืองหลวงของรัฐบาวาเรีย ถือเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศรองจากเบอร์ลินและฮัมบวร์ค และเป็นหนึ่งในเมืองมั่งคั่งที่สุดของยุโรปตัวเมืองมีประชากร 1.3 ล้านคน และ 2.7 ล้านคนในเขตเมือง ตัวเมืองตั้งอยู่บนแม่น้ำอีซาร์ เหนือเทือกเขาแอลป์ มิวนิกเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในประเทศเยอรมนี โครงการริเริ่ม “Neue Soziale Marktwirtschaft (INSM)” (เศรษฐกิจตลาดสังคมใหม่) และนิตยสาร “Wirtschafts Woche” (ธุรกิจรายสัปดาห์) ให้คะแนนมิวนิกสูงที่สุดในการสำรวจเปรียบเทียบ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 (เป็นครั้งที่สาม) มิวนิกยังเป็นอันดับหนึ่งในการจัดอันดับโดยนิตยสาร “Capital” ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ที่จัดอันดับแนวโน้มเศรษฐกิจระหว่าง..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและมิวนิก · ดูเพิ่มเติม »

มุขทางเข้า

มุขทางเข้าของถ้ำสองที่ถ้ำอชันตะ มุขทางเข้า (porch) คือส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างที่เป็นส่วนที่ปกคลุมทางเข้าไปในตัวสิ่งก่อสร้าง ตัวส่วนประกอบจะอยู่ภายนอกผนังของตัวสิ่งก่อสร้างหลักที่อาจจะล้อมรอบด้วยฉาก ระแนงสาน หน้าต่างกว้าง หรือกำแพงที่บางเบาทีก็จะยื่นออกมาจากตัวสิ่งก่อสร้าง ลักษณะการสร้างมุขทางเข้าก็มีด้วยกันหลายแบบที่ขึ้นอยู่กับลักษณะของการก่อสร้างของแต่ละสมัยและของแต่ละท้องถิ่น จุดประสงค์ของการมีมุขทางเข้าก็เพื่อให้มีบริเวณให้ผู้ที่จะเข้าไปในตัวสิ่งก่อสร้างได้มีที่หยุดพักก่อนที่จะเข้าไปในอาคารหรือใช้หลบแดดหลบฝน แต่บางครั้งมุขทางเข้าก็อาจจะมีขนาดใหญ่ เช่น ระเบียงคลุม (Verandah) ที่มักจะที่อาจจะแล่นตลอดแนวด้านหน้าหรือด้านข้างของตัวสิ่งก่อสร้างหลักก็ได้.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและมุขทางเข้า · ดูเพิ่มเติม »

ยุครัฐในอารักขา

รัฐในอารักขา (Protectorate) เป็นช่วงสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์เครือจักรภพอังกฤษซึ่งดินแดนอังกฤษและเวลส์, ไอร์แลนด์, และสกอตแลนด์ มีสถานะเป็นสาธารณรัฐ และมีผู้ปกครองเรียกว่า "เจ้าผู้อารักขา" (Lord Protector) เริ่มขึ้นใน..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและยุครัฐในอารักขา · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปภาคพื้นทวีป

รปภาคพื้นทวีป ยุโรปภาคพื้นทวีป (Continental Europe) หรือยุโรปแผ่นดินใหญ่ (Mainland Europe) หรือทวีป (the Continent) คือแผ่นดินทวีปยุโรปที่ยกเว้นเกาะต่างๆ และบางครั้งก็ยกเว้นคาบสมุทร ในการใช้ในอังกฤษคำนี้นี้หมายถึงทวีปยุโรปที่ยกเว้นสหราชอาณาจักร, เกาะแมน, ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์ ความหมายโดยทั่วไปของ “ยุโรปภาคพื้นทวีป” หมายถึง “ยุโรปแผ่นดินใหญ่ที่ไม่รวมสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์” ประเทศเกาะอื่นที่ไม่รวมคือไซปรัสและมอลตา แต่ในบริเวณอื่นของยุโรปความหมายของคำนี้อาจจะแตกต่างออกไป เช่นในบางคำจำกัดความก็ขยายไปถึงประเทศภายในเทือกเขายูราลและเทือกเขาคอเคซัสWA.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและยุโรปภาคพื้นทวีป · ดูเพิ่มเติม »

วังเบลนิม

วังเบลนิม (Blenheim Palace) หรือ คฤหาสน์เบลนิม เป็นคฤหาสน์ที่สร้างอย่างวังตั้งอยู่ที่เมืองเล็กๆ ชื่อวู้ดสต็อคในมลฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ สร้างโดยซาราห์ เชอร์ชิลผู้เป็นภรรยาของจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ และเป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ระหว่างปี ค.ศ. 1705 ถึง ค.ศ. 1722 วังเบลนิมเป็นสถาปัตยกรรมแบบวัง โดยมี เซอร์จอห์น แวนบรูห์เป็นสถาปนิก วังเบลนิมเป็นคฤหาสน์ที่มิได้เป็นของราชวงศ์ แต่ก็ใช้คำนำหน้าว่า “วัง” ซึ่งเป็นแห่งเดียวในอังกฤษเพราะความยิ่งใหญ่ของสิ่งก่อสร้าง จุดประสงค์ของการก่อสร้างเมื่อเริ่มแรกเพื่อเป็นของขวัญสำหรับจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระเพื่อเป็นการตอบแทนในการนำกองทัพอังกฤษรบชนะฝรั่งเศสและบาวาเรีย แต่ต่อมาเบลนิมกลายเป็นปัญหาในการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งเป็นผลทำให้ดยุกและดัชเชสแห่งมาร์ลบะระสิ้นอำนาจ รวมทั้งการเสียชื่อเสียงของสถาปนิกจอห์น แวนบรูห์ ตัววังสร้างเป็นแบบบาโรก ปฏิกิริยาหรือคุณค่าของสิ่งก่อสร้างจนบัดนี้ก็ยังไม่เป็นที่เห็นพ้องกันได้ เช่นเดียวกับในสมัยเมื่อเริ่มสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1720 ตัวสิ่งก่อสร้างเป็นลักษณะที่ผสมระหว่างที่อยู่อาศัย, ที่เก็บศพ และ อนุสาวรีย์ นอกจากนั้นสิ่งที่น่าสนใจคือเป็นที่เกิดของวินสตัน เชอร์ชิลอดีตนายกรัฐมนตรีคนสำคัญของอังกฤษ คำจารึกเหนือประตูใหญ่ทางตะวันออกบอกประวัติของสิ่งก่อสร้าง: แต่ตามความเป็นจริงแล้วความสำเร็จของการสร้างเบลนิมเป็นผลจากความทะเยอทะยานของซาราห์ เชอร์ชิลเป็นส่วนใหญ่ หลังจากสร้างเสร็จเบลนิมก็กลายเป็นที่พำนักของตระกูลเชอร์ชิลมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาได้ราว 300 ปี ในระหว่างนั้นตัววังและอุทยานก็ได้รับการเปลื่ยนแปลงมาโดยตลอด เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตระกูลมาร์ลบะระก็ประสบปัญหาทางการเงินจนต้องขายทรัพย์สมบัติสำคัญๆ ไปบ้าง แต่การแต่งงานกับสตรีชาวอเมริกันก็ช่วยนำเงินมาบำรุงรักษาเบลนิมให้ยังอยู่ในสภาพดังเช่นเมื่อเริ่มสร้าง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและวังเบลนิม · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมบาโรก

วิหารซุพเพอร์กา (Basilica di Superga) ใกล้เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดย ฟิลิโป คูวารา (Filippo Juvarra) วิการตกแต่งภายในของวัดวีส์ ประเทศเยอรมนี ที่แสดงถึงความแยกไม่ออกระหว่างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและสถาปัตยกรรมบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ

หาสน์ที่ต่อเติมมุขด้านหน้าจากเล่ม 4 ของ "หนังสือสี่เล่มเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม" (I Quattro Libri dell'Architettura) ที่พิมพ์ในลอนดอนในปี ค.ศ. 1736 อาคารกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารในรูปแบบปัลลาดีโอ สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ (Palladian architecture) หมายถึงลักษณะของสถาปัตยกรรมตะวันตกที่มาจากการออกแบบโดยอันเดรอา ปัลลาดีโอ (ค.ศ. 1508-1580) สถาปนิกชาวเวนิส คำว่า "แบบปัลลาดีโอ" โดยทั่วไปแล้วมักจะหมายถึงลักษณะของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอิทธิพลมาจากการออกแบบของปัลลาดีโอเอง สิ่งก่อสร้างในปัจจุบันที่จัดอยู่ในกลุ่มสถาปัตยกรรมลักษณะนี้วิวัฒนาการมาจากปรัชญาการออกแบบของปัลลาดีโอ งานของปัลลาดีโอมีพื้นฐานมาจากความสมมาตร ความมีทัศนมิติ และคุณค่าของสถาปัตยกรรมการก่อสร้างวัดของกรีกและโรมันโบราณ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 การตีความหมายของสถาปัตยกรรมคลาสสิกกลายมาเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า "คตินิยมปัลลาดีโอ" (Palladianism) ลักษณะนี้วิวัฒนาการต่อมาจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 "คตินิยมปัลลาดีโอ" กลายเป็นนิยมกันอยู่ระยะหนึ่งในบริเตนระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ลักษณะนี้ก็หวนกลับมาเป็นที่นิยมไม่แต่ในอังกฤษแต่ยังในหลายประเทศทางตอนเหนือของยุโรปด้วย ต่อมาก็ลดความนิยมลงในยุโรป แต่ไปนิยมกันในทวีปอเมริกาเหนือโดยเฉพาะในสิ่งก่อสร้างที่ออกแบบโดยทอมัส เจฟเฟอร์สัน สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอยังคงเป็นที่นิยมกันทั่วไปในยุโรปตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 มักจะในการออกแบบสิ่งก่อสร้างทางราชการหรือทางสารธารณะ ตั้งแต่ครึ่งหลังของ คริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีสถาปัตยกรรมการฟื้นฟูกอทิกเข้ามาเป็นคู่แข่ง ลักษณะหลังนี้สนับสนุนโดยสถาปนิกเช่นออกัสตัส พิวจิน (Augustus Pugin) ที่คำนึงถึงที่มาจากวัดโบราณที่ถือว่าเป็นลักษณะ "นอกศาสนา" เกินไปสำหรับผู้นับถือโปรเตสแตนต์และแองโกล-คาทอลิก แต่กระนั้นสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอก็ยังคงเป็นที่นิยมและวิวัฒนาการตลอดมา ซึ่งจะเห็นได้จากการการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในปัจจุบันในลักษณะหน้าจั่ว ความสมมาตร และความได้สัดส่วน สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอมีลักษณะหนา ดูทึบทึม อาคารหลายแห่งในประเทศไทยที่มีสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ ได้แก่ กระทรวงกลาโหม, หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน, อาคารศุลกสถาน เป็นต้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญายูเทรกต์

นธิสัญญายูเทรกต์ หรือ สัญญาสันติภาพยูเทรกต์ (Friede von Utrecht, Treaty of Utrecht หรือ Peace of Utrecht) เป็นเอกสารสนธิสัญญาสันติภาพ (peace treaty) หลายฉบับที่ลงนามกันที่เมืองยูเทรกต์ในสาธารณรัฐดัตช์ระหว่างเดือนมีนาคมและเดือนเมษายนของปี ค.ศ. 1713 เป็นการตกลงระหว่างรัฐต่าง ๆ ในยุโรปและช่วยในการยุติสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน สนธิสัญญานี้ทำขึ้นระหว่างผู้แทนพระองค์พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสกับพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน ฝ่ายหนึ่ง และผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ ดยุกแห่งซาวอย กับพระเจ้ากรุงโปรตุเกสและสหมณฑล อีกฝ่ายหนึ่ง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและสนธิสัญญายูเทรกต์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารนักบุญเปาโล

“อาสนวิหารนักบุญเปาโลเดิม” ก่อน ค.ศ. 1561 ที่ยังมีมณฑป อาสนวิหารนักบุญเปาโล (St Paul's Cathedral) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งบิชอปแห่งลอนดอน สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่นักบุญเปาโลอัครทูต ตั้งอยู่ในนครลอนดอน ประเทศอังกฤษ อาสนวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเชื่อกันว่าเป็นอาสนวิหารที่ 5 ตั้งแต่สร้างอาสนวิหารกันมา ณ ที่ตั้งนี้แต่อาจจะสูงกว่านั้นถ้านับการบูรณะเข้าไปด้ว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและอาสนวิหารนักบุญเปาโล · ดูเพิ่มเติม »

อินิโก โจนส์

อินิโก โจนส์ (Inigo Jones; 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1573 - 21 มิถุนายน ค.ศ. 1652) ถือกันว่าเป็นสถาปนิกคนสำคัญคนแรกของสถาปัตยกรรมสหราชอาณาจักรสมัยใหม่ และเป็นสถาปนิกคนแรกที่นำสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเข้ามายังอังกฤษ งานชิ้นสำคัญๆ ของโจนส์เป็นตึกโดดเช่นคฤหาสน์รับรอง, ไวท์ฮอลล์ และโคเวนต์การ์เดน ที่กลายมาเป็นแบบอย่างของการพัฒนาในบริเวณเวสต์เอ็นด์ นอกจากนั้นโจนส์ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการออกแบบเวทีในฐานะนักออกแบบฉากละครสำหรับ งานสวมหน้ากากเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ตามพระราชประสงค์จากราชสำนัก และอีกหลายชิ้นเป็นงานที่ทำร่วมกับเบ็น จอนสัน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและอินิโก โจนส์ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น แวนบรูห์

ซอร์จอห์น แวนบรูห์โดยเจฟฟรี เนลเลอร์ (Godfrey Kneller) จอห์น แวนบรูห์ หรือ เซอร์จอห์น แวนบรูห์ (John Vanbrugh) (24 มกราคม ค.ศ. 1664? – 26 มีนาคม ค.ศ. 1726) เป็นสถาปนิกชาวอังกฤษ และนักเขียนบทละคร (dramatist) งานชิ้นเอกของแวนบรูห์ก็เห็นจะเป็น วังเบล็นไฮม์ และ ปราสาทฮาวเวิร์ด งานอื่นก็ได้แก่บทละครฟื้นฟูราชวงศ์ (Restoration comedy) ซึ่งเป็นบทละครชวนหัวที่แรงๆ สองเรื่อง -- “คืนตัว” (The Relapse) ในปี ค.ศ. 1696 และเรื่อง “ภรรยาผู้ถูกยุ” (The Provoked Wife) ในปี ค.ศ. 1697 ซึ่งเป็นละครที่เล่นกันบ่อยแต่เป็นบทละครที่ทำให้มีความขัดแย้งกันมากเมื่อออกมาใหม่ๆ แวนบรูห์ค่อนข้างจะเป็นผู้มีหัวรุนแรง เมื่อหนุ่มๆ แวนบรูห์ก็เป็นสมาชิกพรรควิกและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโค่นราชบัลลังก์ของ, he was part of the scheme to overthrow สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และสนับสนุนการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 เพื่อพิทักษ์ระบบรัฐสภาประชาธิปไตยของอังกฤษ และมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองจนถูกจับเป็นนักโทษการเมืองที่ถูกจำขังที่คุกบาสตีย์ในปารีส ส่วนทางด้านการเขียนบทละครแวนบรูห์มักจะเขียนบทละครแบบเสียดสี เช่นบทละครฟื้นฟูราชวงศ์ และเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 นอกจากจะเป็นงานเขียนที่ออกจะเปิดเผยในเรื่องทางเพศแล้วก็ยังสื่อความหมายในการป้องกันสิทธิสตรีในการแต่งงานอีกด้วย ซึ่งก็ถูกโจมตีทั้งสองประเด็นและเป็นผู้ที่ถูกวิจารณ์ในค่านิยมโดย เจอเรอมี คอลลีเออร์ (Jeremy Collier) ในหนังสือ “ความคิดเห็นสั้นเกี่ยวกับความขาดศีลธรรมและความหยาบคายในวงการละครอังกฤษ” (Short View of the Immorality and Profaneness of the English Stage) ทางด้านสถาปัตยกรรมแวนบรูห์เป็นผู้นำในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มารู้จักกันในนาม “สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษ” งานของแวนบรูห์ทางสถาปัตยกรรมก็เป็นการแสดงออกอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับความคิดเห็นทางการเมือง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและจอห์น แวนบรูห์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ เรน

ซอร์ คริสโตเฟอร์ เรน (Sir Christopher Wren) (20 ตุลาคม ค.ศ. 1632 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1723) เป็นสถาปนิกอังกฤษที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เขารับหน้าที่ปรับปรุงโบสถ์ 51 แห่ง ในนครหลวงลอนดอน หลังเกิดเหตุเพลิงใหม้ครั้งใหญ่ ในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและคริสโตเฟอร์ เรน · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์ชนบท

คฤหาสน์โฮลค์แฮมเป็นคฤหาสน์ชนบทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอังกฤษ นอกจากจะเป็นการแสดงฐานะและรสนิยมของเจ้าของแล้วก็ยังเป็นศูนย์กลางของทรัพย์สินที่ดินที่ให้งานทำแก่ผู้คนเป็นจำนวนเป็นร้อย คฤหาสน์ชนบท (Country house หรือ English country house) โดยทั่วไปหมายถึงที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่หรือคฤหาสน์ที่เดิมเป็นสมบัติส่วนบุคคลผู้มักจะมีคฤหาสน์สำคัญ (great house) อีกหลังหนึ่งในเมือง ซึ่งทำให้สามารถใช้เวลาได้ทั้งในเมืองและในชนบท “คฤหาสน์ชนบท” และ “คฤหาสน์ภูมิฐาน” บางครั้งมักจะใช้สับสนกัน—คฤหาสน์ชนบทเป็นคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่นอกเมือง แต่คฤหาสน์ภูมิฐานอาจจะตั้งอยู่ได้ทั้งในเมืองหรือนอกเมือง เช่นคฤหาสน์แอ็พสลีย์ (Apsley House) สร้างสำหรับอาเธอร์ เวลสลีย์ ดยุกแห่งเวลลิงตันที่ 1 (Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) ที่มุมหนึ่งของไฮด์พาร์ค (Hyde Park) หรือที่เรียกกันว่า “No.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและคฤหาสน์ชนบท · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์ฮาวเวิร์ด

หาสน์ฮาวเวิร์ด หรือ ปราสาทฮาวเวิร์ด (Castle Howard) เป็นคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่ในเทศมณฑลนอร์ทยอร์กเชอร์ในอังกฤษราว 24 กิโลเมตรเหนือเมืองยอร์ก “ปราสาทฮาวเวิร์ด” เป็นคฤหาสน์ส่วนบุคคลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอังกฤษที่ส่วนใหญ่สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1699 ถึงปี ค.ศ. 1712 สำหรับชาลส์ ฮาวเวิร์ด เอิร์ลที่ 3 แห่งคาร์ไลล์ (Charles Howard, 3rd Earl of Carlisle) คฤหาสน์ออกแบบโดยเซอร์จอห์น แวนบรูห์ อันที่จริงแล้ว "ปราสาทฮาวเวิร์ด" ไม่ใช่ "ปราสาท" ที่แท้จริงตามความหมายของคำว่าปราสาทตามตัวหนังสือแต่เป็นสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า "คฤหาสน์ชนบท" ที่สร้างขึ้นหลังสมัยการก่อสร้างปราสาทราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 และไม่มีจุดประสงค์ที่จะใช้ในทางการทหารแต่อย่างใด ปราสาทฮาวเวิร์ดเป็นที่พำนักอาศัยส่วนหนึ่งของตระกูลฮาวเวิร์ดมาเป็นเวลากว่า 300 ปี และมาเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปเมื่อใช้เป็น “คฤหาสน์ชนบทไบรด์สเฮด” ในการสร้างละครโทรทัศน์ที่สร้างจากบทละครที่เขียนอีฟลิน วอ (Evelyn Waugh) โดยเรื่อง "Brideshead Revisited" และในภาพยนตร์ชื่อเดียวกันที่สร้างสองปีต่อมา ในปัจจุบันปราสาทฮาวเวิร์ดเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคฤหาสน์คุณค่าแห่งอังกฤษ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและคฤหาสน์ฮาวเวิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ซีตันเดลาวัลฮอลล์

ซีตันเดลาวัลฮอลล์ (Seaton Delaval Hall) เป็นคฤหาสน์ชนบทที่ตั้งอยู่ที่ระหว่างซีตันสลูซกับซีตันเดลาวัลในนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ในสหราชอาณาจักร ซีตันเดลาวัลฮอลล์ออกแบบโดยจอห์น แวนบรูห์ในปี ค.ศ. 1718 สำหรับพลเรือเอกจอร์จ เดลาวัล แต่ตั้งแต่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1728 ซีตันเดลาวัลฮอลล์ก็ประสบแต่เหตุการณ์ต่างๆ อันไม่เป็นมงคลมาโดยตลอด ทั้งสถาปนิกและเจ้าของต่างก็ไม่มีชีวิตต่อจนได้เห็นคฤหาสน์เมื่อสร้างเสร็จ ตั้งแต่นั้นมาคฤหาสน์ก็ผ่านมือต่อมายังทายาทที่มาพำนักอยู่ชั่วครั้งชั่วคราว "ซีตันเดลาวัลฮอลล์" เป็นสิ่งก่อสร้างอยู่ในรายชื่อสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ เกรด 1 ปัจจุบันคฤหาสน์มีองค์การอนุรักษ์แห่งชาติเป็นผู้บริหาร.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและซีตันเดลาวัลฮอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นิโคลัส ฮอคสมอร์

นิโคลัส ฮอคสมอร์ (Nicholas Hawksmoor) (ราว ค.ศ. 1661 - 25 มีนาคม ค.ศ. 1736) เป็นสถาปนิกของสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอังกฤษของในคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมเฮาเวิร์ด โคลวินบรรยายฮอคสมอร์ว่าเป็นสถาปนิกผู้ "มีความมั่นใจในความรู้ทางคลาสสิกกว่าจอห์น แวนบรูห์ผู้ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการทางสถาปัตยกรรม, มีจินตนาการการเห็นการไกลมากกว่าผู้รอบรู้เช่นคริสโตเฟอร์ เร็น" ระหว่าง..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและนิโคลัส ฮอคสมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เดรสเดิน

รสเดิน (Dresden)) มาจากภาษาซอร์เบียโบราณว่า Drežďany แปลว่าชนเผ่าแห่งป่าริมแม่น้ำ ทั้งนี้เมืองเดรสเดินตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำเอลเบอ เป็นเมืองหลวงของรัฐซัคเซิน แต่เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัฐรองจากไลพ์ซิจ นอกจากนี้ บริเวณเมืองเก่าย่านใจกลางเมืองเดรสเดินยังได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมอีกด้ว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษและเดรสเดิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

English Baroqueสถาปัตยกรรมบาโรกอังกฤษบาโรกอังกฤษ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »