โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลากระเบนหางปีก

ดัชนี ปลากระเบนหางปีก

ปลากระเบนหางปีก (Fintail stingrays) เป็นสกุลของปลากระเบนจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) ใช้ชื่อว่า Dasyatis (/ดา-ซิ-อา-ทิส/) ปลาในสกุลนี้ มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาในสกุล Himantura แต่ปลาในสกุลนี้จะมีลำตัวรูปทรงออกไปทางห้าเหลี่ยมมากกว่า จะงอยปากไม่ยื่นแหลมเท่า มีส่วนของตาที่ปูนโปดกว่า และหางมีความยาวน้อยกว่า และอาจมีริ้วหนังบาง ๆ ในช่วงตอนปลายของหางด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีอยู่ชนิดหนึ่ง คือ Neotrygon kuhlii ที่เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Neotrygon ก็ถูกจัดให้อยู่ในสกุลนี้เช่นกัน เนื่องจากสกุลนี้ถือเป็นสกุลต้นแบบของปลาในวงศ์ Dasyatidae โดยคำว่า Dasyatis นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "dasys" หมายถึง "หยาบ" หรือ "ฟัน" และ "batus" หมายถึง "ปลากระเบน".

22 ความสัมพันธ์: ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคฟันพ.ศ. 2353ภาษากรีกรูปห้าเหลี่ยมวงศ์ปลากระเบนธงสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังหนังอันดับปลากระเบนคาโรลัส ลินเนียสตาต้นแบบ (ชีววิทยา)ปลากระดูกอ่อนปลากระเบนปลากระเบนลาวปลากระเบนหัวแหลมปลากระเบนหางแส้ปลากระเบนจุดฟ้าไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์เลินนาร์ด คอมเพจโน

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค · ดูเพิ่มเติม »

ฟัน

แสดงโครงสร้างของเหงือกและฟัน ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและฟัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2353

ทธศักราช 2353 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและพ.ศ. 2353 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

รูปห้าเหลี่ยม

รูปห้าเหลี่ยมปกติ รูปห้าเหลี่ยม (pentagon) คือ รูปหลายเหลี่ยมที่มีด้าน 5 ด้าน.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและรูปห้าเหลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระเบนธง

วงศ์ปลากระเบนธง (Whipray) เป็นวงศ์ของปลากระเบนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dasyatidae (/แด-ซี-แอท-อิ-ดี้/) พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ไม่มีครีบหลัง ส่วนครีบอกแผ่กว้างรอบตัว ปากอยู่ด้านล่าง ตาอยู่ด้านบน มีช่องน้ำเข้า 1 คู่อยู่ด้านหลัง มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรงจำนวนมากเรียงติดต่อกันเป็นแถว ใช้ขบกัดสัตว์เปลือกแข็งซึ่งเป็นอาหารหลักได้ดี ผิวหนังเรียบนิ่มไม่มีเกล็ด ยกเว้นบริเวณกลางหลัง มีส่วนหางที่ยาวเหมือนแส้ ซึ่งคนโบราณนิยมตัดหางมาทำเป็นแส้ เรียกว่า "แส้หางกระเบน" ที่โคนหางมีเงี่ยงแหลมอยู่ 1-2 ชิ้น (พบมากสุดถึง 4 ชิ้น) ที่อาจยาวได้ถึง 31 เซนติเมตร เป็นอาวุธใช้สำหรับป้องกันตัว มีพิษแรง มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6 และเมื่อหักไปแล้วงอกใหม่ได้ มักมีผู้ถูกแทงบ่อย ๆ เพราะไปแตะถูกเข้าโดยไม่ระวัง เช่น เท้าไปถูกเข้าระหว่างที่ปลาฝังตัวอยู่ใต้ทราย ขณะที่เดินบริเวณหาด เพราะมีพฤติกรรมมักฝังตัวอยู่ใต้พื้นทราย โดยโผล่มาแค่ส่วนตาและเงี่ยงหางเท่านั้น จากการที่มีตาอยู่ด้านบนแต่ปากอยู่ด้านล่างทำให้ไม่สามารถมองเห็นอาหารได้เวลาจะกิน จึงมีอวัยวะรับกลิ่นและอวัยวะรับคลื่นไฟฟ้าในการบอกตำแหน่งของอาหาร แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว โดยมีการสืบพันธุ์ในฤดูหนาว ตัวผู้จะว่ายน้ำตามประกบตัวเมียอย่างใกล้ชิดและมักกัดบริเวณขอบลำตัวของตัวเมีย เมื่อจะผสมพันธุ์ตัวผู้จะว่ายไปอยู่ด้านบนแล้วปล่อยน้ำเชื้อเข้าสู่ตัวเมีย โดยส่วนมากจะออกลูกคราวละ 5-10 ตัว ในเลือดของปลาวงศ์นี้มีสารประกอบของยูเรีย จึงมีกลิ่นคล้ายปัสสาว.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและวงศ์ปลากระเบนธง · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

หนัง

หนัง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและหนัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากระเบน

อันดับปลากระเบน (อันดับ: Myliobatiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนกลุ่มหนึ่ง ในอันดับใหญ่ Batoidea ถือเป็น 1 ใน 4 อันดับในอันดับใหญ่นี้ ซึ่งปลาที่อยู่ในอันดับนี้ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ พบทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ลำตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง มีเหงือกประมาณ 5 คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง มีส่วนหางที่ยื่นยาวเหมือนแส้ในบางวงศ์ หรือ บางวงศ์มีครีบที่แผ่ออกไปด้านข้างลำตัวเหมือนปีกของนกหรือผีเสื้อ ทำให้ว่ายน้ำได้เหมือนการโบยบินของนก บางสกุลหรือบางวงศ์มีหางที่สั้น ลำตัวแบนกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี โดยมากเป็นปลาที่หากินตามหน้าดิน โดย อาหารหลักได้แก่ ครัสเตเชียนและหอยชนิดต่าง ๆ ในบางวงศ์เท่านั้น ที่หากินในระดับใกล้ผิวน้ำและกินอาหารเป็นแพลงก์ตอนด้วยการกรองเข้าปาก.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและอันดับปลากระเบน · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและตา · ดูเพิ่มเติม »

ต้นแบบ (ชีววิทยา)

ต้นแบบ (Biological type) คือสิ่งที่เป็นตัวแทนของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกอ้างอิงถึงในการอธิบายลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ เป็นตัวแทนในการบ่งบอกถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในรูปร่างลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ทั้งเรื่องความแตกต่างของลักษณะเพศ, ช่วงอายุ เป็นต้น สามารถใช้ตรวจสอบคุณภาพของเอกสารวิชาการที่กล่าวถึงและตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ ได้ ใช้ในการเปรียบเทียบเมื่อมีการพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่หรือในอีกทางหนึ่งเพื่อยุบรวมสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายกันสองชนิด ในทางชีววิทยา ต้นแบบจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการตั้งชื่อทางอนุกรมวิธานตามระบบการตั้งชื่อ ต้นแบบอาจเป็น ตัวอย่าง ภาพวาด สิ่งมีชีวิต หรือรายละเอียดก็ได้ เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในลอนดอนมีตัวอย่างหมายเลข 1886.6.24.20 ซึ่งเป็นตัวอย่างของเหยี่ยวลาย (Circus assimilis) ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างต้นแบบแรกของเหยี่ยวชนิดนี้ ชื่อ Circus assimilis โดยคำนิยามถึงชนิดของตัวอย่างที่พิเศษนี้ (assimilis หรือ adsimils แปลว่า คล้าย หรือ เหมือน ความหมาย คือ " ลักษณะคล้ายกับนกต้นแบบ ").

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและต้นแบบ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและปลากระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบน

ปลากระเบน คือ ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อยอีลาสโมแบรนชิไอ (Elasmobranchii) ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batoidea หรือ Rajomorphii มีประมาณ 400 ชนิด พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ครีบทั้งหมดอยู่ชิดติดกับลำตัวด้านข้าง มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำผ่านเข้าทางเพื่อไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัว เหมือนปลากระดูกอ่อนหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น หากินบริเวณพื้นน้ำ ในปากไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลาม ดังนั้นการกินอาหารจึงค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการเคี้ยวอย่างช้า ๆ ซึ่งอาหารส่วนมากก็ได้แก่ หอย, กุ้ง, ปู หรือปลาขนาดเล็กตามพื้นน้ำ เป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 4 อันดับ (ดูในตาราง) ซึ่งก็แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์, หลายสกุล ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น วงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงแหลมคม ที่มีพิษบริเวณโคนหาง 1-2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้, วงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีส่วนหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของนก ปลายแหลม ใช้สำหรับว่ายน้ำในลักษณะโบกโบยเหมือนนกบินในทะเล ส่วนปลากระเบนไฟฟ้า พบเฉพาะในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากปลากระเบนจำพวกอื่น ๆ ที่โคนหางไม่มีเงี่ยง และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย ปลากระเบน เป็นปลาที่มนุษย์ผูกพันมาตั้งแต่อดีต ด้วยการใช้เนื้อในการรับประทาน สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ผัดเผ็ด, ผัดขี้เมา หรือผัดฉ่า เช่นเดียวกับปลาฉลามได้ ในปลากระเบนบางวงศ์ เช่น วงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีลำตัวกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี จะงอยปากไม่แหลม มีส่วนหางที่สั้น มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในแม่น้ำของทวีปอเมริกาใต้ มีสีสันและลวดลายตามลำตัวสวยงาม และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ง่าย จึงนิยมเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม นอกจากนี้แล้ว ปลากระเบนส่วนมากจะมีเกล็ดเป็นตุ่มแข็งบริเวณกลางหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ผลิตเป็นเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า ได้ นอกจากนี้แล้วยังนำไปทำเป็นเครื่องประดับเช่น แหวน เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและปลากระเบน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนลาว

ปลากระเบนลาว หรือ ปลากระเบนแม่น้ำโขง (Mekong stingray, Mekong freshwater stingray) ปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระเบนในวงศ์นี้ทั่วไป แต่ส่วนหัวจะออกเป็นรูปทรงห้าเหลี่ยม ตาโต หางมีริ้วหนังบาง ๆ โคนหางมีเงี่ยงแหลมมีพิษ 1 หรือ 2 ชิ้น ที่เมื่อหลุดหรือหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ทดแทนได้ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลนวล กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ลำตัวด้านล่างสีขาว และมีปื้นสีเหลืองอ่อนหรือส้มปน ความกว้างของลำตัวประมาณ 40 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 80 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 1.2 เมตร น้ำหนักมากที่สุดมากกว่า 10 กิโลกรัม หากินตามพื้นท้องน้ำ อาหารได้แก่ สัตว์หน้าดิน, ปลาขนาดเล็ก และสัตว์มีเปลือกต่าง ๆ จะว่ายขึ้นมาหากินบริเวณผิวน้ำบ้างเป็นบางครั้ง พบเฉพาะแม่น้ำโขงตอนกลาง ในช่วงของประเทศกัมพูชา, ลาว, ไทย และอาจพบได้จนถึงจีนตอนล่าง โดยค้นพบครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและปลากระเบนลาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนหัวแหลม

ปลากระเบนหัวแหลม (Pale-edged stingray, Sharpnose stingray) ปลากระดูกอ่อนทะเลจำพวกปลากระเบนชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีลักษณะลำตัวแบน สันฐานเหลี่ยมคล้ายว่าว หางยาวเรียวเป็นเส้นเหมือนแส้ ส่วนกว้างของลำตัวเกือบเท่าความยาว จะงอยปากยื่นแหลมออกไป ความยาวของจะงอยปากประมาณ 1/3 ของความยาวลำตัว ด้านท้องมีช่องน้ำเข้า 5 คู่ ครีบอกเป็นแผ่นติดต่อรวมกับลำตัว ครีบก้นอยู่ใต้ครีบหาง ไม่มีครีบหลัง บนครีบหางมีเงี่ยงปลายแหลม ขอบหยักเป็นฟันเลื่อย โคนเงี่ยงมีต่อมพิษ ซึ่งถ้าหากแทงจะปล่อยพิษเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ได้รับบาดเจ็บและปวดอย่างรุนแรง ลำตัวด้านหลังมีสีน้ำตาลเทา ด้านท้องสีขาว ขนาดโตเต็มที่ได้ 29 เซนติเมตร (11 นิ้ว) อาศัยในน้ำกร่อย และน้ำทะเล บริเวณปากแม่น้ำ หากินบริเวณพื้นท้องน้ำ พบได้ในบริเวณน้ำตื้นจนถึงน้ำลึกกว่า 100 เมตร (330 ฟุต) อาหารได้แก่ สัตว์กลุ่มกุ้งปูขนาดเล็ก รวมทั้งปลาขนาดเล็กด้วย พบในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งแต่อินเดียจนถึงตะวันออกของคาบสมุทรมลายู และตอนใต้ของญี่ปุ่น ในปี..

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและปลากระเบนหัวแหลม · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนหางแส้

ปลากระเบนหางแส้ (Whip rays) เป็นชื่อสกุลของปลากระเบน ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Himantura (/ไฮ-แมน-ทู-รา/) ปลากระเบนในสกุลนี้ มีรูปร่างโดยรวมคือ มีปลายจะงอยปากที่แหลมยาว ขอบของด้านหน้าเชิงมน ลำตัวแบนกลมคล้ายใบโพ กลางหลังมีผิวที่ขรุขะและเป็นหนาม ในบางตัวอาจมีตุ่มหนามเล็ก ๆ ไปจรดถึงโคนหางที่เป็นเงี่ยงพิษ 2 ชิ้น มีส่วนหางที่เรียวยาวมาก โดยจะมีความยาวเป็น 2 เท่าของลำตัว มีซี่กรองเหงือกทั้งหมด 5 คู่ อยู่ด้านใต้ของลำตัวซึ่งเป็นสีขาว และสีจางกว่าด้านบนลำตัว ความยาวของลำตัววัดจากรูก้นถึงปลายจะงอยปากสั้นมากกว่าความกว้างลำตัว เป็นปลาที่พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่มหาสมุทรอินเดียจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ปัจจุบันพบแล้วกว่า 28 ชนิด โดยมีชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลากระเบนราหู (H. polylepis) ที่พบอาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ของประเทศไทยไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย ที่มีความยาวถึง 5 เมตร และหนักถึงเกือบ 300 กิโลกรัม.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและปลากระเบนหางแส้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนจุดฟ้า

ระวังสับสนกับ: ปลากระเบนทอง ปลากระเบนจุดฟ้า (Bluespotted stingray, Bluespotted maskray) ปลากระดูกอ่อนน้ำเค็มชนิดหนึ่ง จำพวกปลากระเบน อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีจะงอยปากและปลายครีบอกเป็นมุมกว้าง ด้านหลังลำตัวเรียบ หางเรียวยาวกว่าลำตัวเล็กน้อย ตาโตอยู่ชิดกันและมีแถบสีคล้ำระหว่างดวงตา ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอ่อนอมเทาหรือเหลือง มีจุดประสีฟ้าอ่อนและดำกระจาย ด้านท้องสีจาง ปลายหางมีสีดำ มีปล้องสีขาวอยู่ 1-2 ปล้อง มีขนาดความกว้างของลำตัวประมาณ 50 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามแถบชายฝั่ง ตั้งแต่แนวปะการังไปจนถึงที่ลึกอย่างไหล่ทวีป ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย โดยพบได้ประปรายในทวีปแอฟริกา มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ฝังตัวอยู่ใต้พื้นทรายในที่ตื้น ๆ โดยกินสัตว์น้ำเช่น กุ้ง, ปู และหอย เป็นอาหาร ในเขตน่านน้ำไทยพบได้ชุกชุมในบางพื้นที่ และพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันหน้า 101, คู่มือปลาทะเล โดย ชวลิต วิทยานนท์ ดร.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและปลากระเบนจุดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์

ทสัน อาร.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ · ดูเพิ่มเติม »

เลินนาร์ด คอมเพจโน

ลินนาร์ด โจเซฟ วิคเตอร์ คอมเพจโน หรือ เลินนาร์ด คอมเพจโน (Leonard Joseph Victor Compagno, Leonard Compagno) นักมีนวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเรื่องของปลาฉลาม ดร.คอมเพจโนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เมื่อปี ค.ศ. 1979 ด้วยทุนการศึกษาของสถาบัน รวมถึงได้รับการทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดด้วย เป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโกสเตท ระหว่างปี ค.ศ. 1979 ถึงปี ค.ศ. 1985 ดร.คอมเพจโน ปัจจุบันเป็นหัวหน้าของศูนย์การวิจัยปลาฉลาม และภัณฑารักษ์ด้านปลา ของพิพิธภัณฑ์อิซิโกแอฟริกาใต้ ที่เคปทาวน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลเกี่ยวกับปลาฉลาม เป็นผู้เชี่ยวชาญในระดับแนวหน้าของโลกเกี่ยวกับระบบร่างกาย การเปลี่ยนรูปร่างวิวัฒนาการซากดึกดำบรรพ์, สัตวภูมิศาสตร์ และความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการอนุรักษ์ปลาฉลาม เป็นรองประธานภูมิภาคกรรมการปลาฉลามของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านการวิจัยสำหรับกองประมงขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ของสหประชาชาติ มีผลงานตีพิมพ์ยอดนิยมกว่า 200 เอกสารบทความ, รายงาน, เว็บไซต์, หนังสือและบทความต่าง ๆ เกี่ยวกับปลาฉลามและปลากระดูกอ่อนต่าง ๆ ในด้านการอนุกรมวิธาน เป็นหนึ่งในผู้อนุกรมวิธานปลากระเบนขาว (Himantura signifer) ซึ่งเป็นปลากระเบนน้ำจืดที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้ว.

ใหม่!!: ปลากระเบนหางปีกและเลินนาร์ด คอมเพจโน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

DasyatisTrygonสกุลดาซิอาทิสสกุลปลากระเบนหางปีก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »