โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่สะพานจีเกี้ยว

ดัชนี ยุทธการที่สะพานจีเกี้ยว

ึกสะพานจีเกี้ยว (Battle of Jieqiao) เป็นหนึ่งในศึกสงครามในสามก๊ก เป็นสงครามครั้ง ยิ่งใหญ่และเป็นศึกครั้งแรกที่เจ้าเมืองที่มีอำนาจสองแคว้นเข้าต่อสู้ทำศึกสงคราม เพื่อแย่งชิงพื้นที่จุดยุทธศาสตร์สำคัญทางภาคเหนือในแถบมณฑลกิจิ๋วและมณฑลเฉงจิ๋ว และกลายเป็นชนวนสำคัญในการนำไปสู่จุดจบการปกครองของราชวงศ์ฮั่น ศึก จีเกี้ยว หรือ ศึกสะพานจีเกี้ยว (Battle of Jie Bridge) หรือสะพานศิลา เป็นการศึกระหว่างอ้วนเสี้ยวและกองซุนจ้านในปี 192 AD ในตอนต้นของสมัยที่เกิดสงครามระหว่างเจ้าเมืองด้วยกันหรือก่อนช่วงสามก๊ก ซึ่งสงครามระหว่างเจ้าเมืองด้วยกันนี้นำไปสู่จุดจบของราชสำนักฮั่น ศึกครั้งนี้เป็นศึกครั้งใหญ่ครั้งแรกที่เจ้าเมืองที่มีอำนาจสองคนต่อสู้กัน เพื่อแย่งชิงดินแดนภาคเหนือ ในแถบมณฑลกิจิ๋วและเฉงจิ๋ว สมรภูมิของการรบครั้งนี้อยู่ที่ทางตะวันออกของตำบล Guangzong เมือง Julu (ปัจจุบันคือ Weixian เมือง Hebei) ปี 191 โจรผ้าเหลืองแห่งมณฑล เฉงจิ๋ว ออกปล้นเมือง Bohai ด้วยจำนวนกว่า สามแสนคน พวกเขาวางแผนเข้าร่วมกับโจรภูเขาดำ กองซุนจ้านนำทัพกว่าสองหมื่นเข้าต่อสู้เหล่าโจร ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันที่ตอนใต้ของ Dongguang กองซุนจ้านเอาชนะกองโจร สามารถตัดหัวพวกโจรได้กว่าสามหมื่นคน เหล่ากบฏพากันหลบหนีไปทางแม่น้ำแยงซี กองซุนจ้านนำทัพตามพวกเขาไปทันที่ระหว่างทาง พวกกบฏพ่ายแพ้ มีคนตายหลายหมื่นคน เลือดจากการรบเปลี่ยนแม่น้ำเป็นสีแดง กองซุนจ้านจับเชลยศึกได้กว่าเจ็ดหมื่นคน ชุดเกราะ เกวียนและสมบัตินับไม่ถ้วน ชื่อเสียงของกองซุนจ้านเป็นที่รู้จักไปทั่ว อาศัยความได้เปรียบจากชัยชนะนี้ กองซุนจ้านอ้างการตายของกองซุนอวด ลูกพี่ลูกน้องของเขาประกาศสงครามกับอ้วนเสี้ยว เขานำทัพมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้มาระหว่างมณฑลเฉงจิ๋วและแม่น้ำเหลือง เคลื่อนพลเข้าสู่มณฑลกิจิ๋ว แล้วไปตั้งค่ายที่ริมแม่น้ำพวนโห้ เขาส่งบันทึกความผิดและความประพฤติมิชอบของอ้วนเสี้ยวไปที่ศาล และนำกองทัพเข้าโจมตีอ้วนเสี้ยว หลายหัวเมืองของมณฑล กิจิ๋ว ก่อกบฏต่อต้านอ้วนเสี้ยวเพื่อสนับสนุนกองซุนจ้าน อ้วนเสี้ยวกลัวมาก เขามีตราตั้งเจ้าเมือง Bohai เขาจึงส่งตราประจำตำแหน่งนั้นให้แก่ Gongsun Fan ลูกพี่ลูกน้องอีกคนของกองซุนจ้าน ส่งเขาไปประจำการที่นั้น แต่ Gongsun Fan ได้ต่อต้านอ้วนเสี้ยว นำทหารเมือง Bohai เข้าช่วยเหลือกองซุนจ้าน ในที่สุด อ้วนเสี้ยวก็นำทัพด้วยตัวเองมาเผชิญหน้ากับทัพกองซุนจ้านทางตอนใต้ของสะพานจีห่างไปยี่สิบลี้ ทัพของกองซุนจ้านนั้นน่าจะมีกำลังพลสี่หมื่นคน แบ่งเป็นพลเดินเท้า สามหมื่นคนและทหารม้าหนึ่งหมื่นคน กองซุนจ้านจัดทัพพลเดินเท้าของเขาเป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วแบ่งทหารม้าออกเป็นสองกองเป็นปีกซ้ายและขวาของกองทัพ ส่วนตรงกึ่งกลางทัพนั้น เขาจัดกองกำลังม้าขาว (白馬義從) ซึ่งเป็นกองกำลังส่วนตัวของเขา ซึ่งเป็นทหารม้าที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี และมีชุดเกราะและธงศึกที่น่าเกรงขาม แม้ว่ากองทัพของอ้วนเสี้ยวจะมีขนาดพอ ๆ กัน แต่ทัพของอ้วนเสี้ยวเกือบทั้งหมดเป็นพลเดินเท้า อ้วนเสี้ยวให้ แม่ทัพจ๊กยี่นำทหารแปดพันคน และพลธนูหนึ่งพันคนเป็นทัพหน้า และหลังทัพหน้านั้นเป็นกองทหารจำนวนหลายหมื่น ซึ่งอ้วนเสี้ยวบัญชาการด้วยตัวเอง เมื่อกองซุนจ้านสังเกตว่า ทัพหน้าของอ้วนเสี้ยวนั้นกระจายกำลังออกไป มีจำนวนไม่มาก เขาจึงสั่งทหารม้าให้พุ่งเข้าโจมตี มีจุดประสงค์เพื่อทำลายแนวทัพของข้าศึก เพื่อให้ทัพจ๊กยี่แตกพ่ายไป จ๊กยี่จัดทหารให้ตั้งแนวป้องกัน เตรียมพร้อมรอคอยการโจมตี ทหารของจ๊กยี่หลบอยู่หลังโล่พวกเขาไม่เคลื่อนที่ จนทหารกองซุนจ้านเข้าใกล้มาในระยะราวสิบก้าว จ๊กยี่สั่งพลธนูให้ระดมยิง ทหารให้กระโดดขึ้นแล้วตะโกนเสียงดังกึกก้องแล้วหยิบหอกขึ้นมาต่อสู้ ทำให้ทัพม้าของกองซุนจ้านตกใจ และจ๊กยี่สามารถเอาชนะทัพกองซุนจ้านได้ในที่สุด จ๊กยี่ตัดหัว ยำก๋ง ที่กองซุนจ้านแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการมณฑลกิจิ๋ว และฆ่าทหารกองซุนจ้านกว่าพันคน กองซุนจ้านรวบรวมทัพที่พ่ายแพ้แตกกระจายไปเข้าสู้อีกครั้ง นำหน้าโดยทหารม้าและตามด้วยพลเดินเท้า เขาพยายามที่จะรวบรวมพลและตรึงกำลังที่แนวของแม่น้ำเฉง แต่ทัพหลังของเขา ถูกทหารของจ๊กยี่โจมตีที่สะพานศิลา และพ่ายแพ้จนต้องหนีไป ทัพจ๊กยี่บุกมาถึงค่ายของกองซุนจ้าน ยึดธงประจำตัวของกองซุนจ้าน จนทัพที่เหลือของกองซุนจ้านต้องหลบหนีไป เมื่อเห็นทัพกองซุนจ้านพ่ายแพ้หลบหนีไป อ้วนเสี้ยวจึงมุ่งหน้าไปดูสถานการณ์พร้อมกับพลธนูองครักษ์เพียงสิบคน และทหารอีกหนึ่งร้อยคน เขาไปพบกับทหารม้าสองพันคนของกองซุนจ้านโดยบังเอิญ เตียนห้องนายทหารคนสนิทของอ้วนเสี้ยว ได้แนะนำให้อ้วนเสี้ยวอาศัยกำแพงเล็ก ๆ เพื่อหลบภัย แต่อ้วนเสี้ยวกลับโยนหมวกศึกของเขาทิ้งลงกับพื้นแล้วพูดว่า ลูกผู้ชายที่แท้จริงนั้นควรที่จะยอมตายในสนามรบ การหลบไปอยู่หลังกำแพงหาใช่วิธีของลูกผู้ชายไม่ แต่ทหารม้าของกองซุนจ้านนั้นจำอ้วนเสี้ยวไม่ได้ และพวกเขาก็ถอยทัพในทันทีที่จ๊กยี่นำทัพมาถึงที่นั่น.

11 ความสัมพันธ์: บุนทิวพ.ศ. 734กลศึกสามก๊กกองซุนจ้านราชวงศ์ฮั่นสามก๊กสงครามอ้วนเสี้ยวจูล่งงันเหลียงประเทศจีน

บุนทิว

บุนทิว ตามสำเนียงกลาง (Wen Chou) เป็นแม่ทัพของอ้วนเสี้ยว เป็นหนึ่งในสองขุนพลของอ้วนเสี้ยวทีมีฝีมือเลื่องชื่อ แต่ก่อนได้รับฉายาว่าเจ้าแห่งทวนเพราะใช้ทวนเก่งมาก (ขุนพลของอ้วนเสี้ยวอีกคนคือ งันเหลียง) เคยประมือกับจูล่งถึง 60 เพลงก่อนหนีกลับค่ายไป และเมื่อรู้ว่างันเหลียงถูกฆ่าตายในสนามรบก็คิดจะออกไปแก้แค้น บุนทิวถูกฆ่าตายในการศึกกับทัพของโจโฉ เมื่อ ค.ศ. 200 ในสามก๊กของหลอกว้านจง เล่าว่าบุนทิวถูกกวนอูสังหาร แต่บางตำรากล่าวว่าบุนทิวถูกอาวุธของเตียวเลี้ยวขณะทำการรบติดพันจนเสียชีวิต หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:ง่อก๊ก.

ใหม่!!: ยุทธการที่สะพานจีเกี้ยวและบุนทิว · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 734

ทธศักราช 734 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ยุทธการที่สะพานจีเกี้ยวและพ.ศ. 734 · ดูเพิ่มเติม »

กลศึกสามก๊ก

กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ พระเจ้าหองจูเปียนเสียอำนาจ กลยุทธ์สาวงาม เตียวเสี้ยนลวงตั๋งโต๊ะให้ลุ่มหลง กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ ลิโป้บาดหมางใจกับตั๋งโต๊ะ กลยุทธ์ทุกข์กาย อุยกายใช้อุบายเผาทัพเรือโจโฉ กลยุทธ์จูงแพะติดมือ จูกัดเหลียงลวงเกาฑัณฑ์จากโจโฉ กลศึกสามก๊ก (Thirty-Six Stratagems) เป็นการรวบรวมกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำศึกสงครามที่ปรากฏในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสามก๊กมีการทำศึกสงครามมากมายหลายครั้งเพื่อแย่งชิงอำนาจและความเป็นใหญ่ การนำกำลังทหารและไพร่พลจำนวนมากการบุกโจมตีและยึดครองเมืองหรือสถานที่ต่าง ๆ หรือทางการทูตต่างแดนในการเจรจาต่อรองผูกสัมพันธ์ไมตรีกับแคว้นอื่น การต่อสู้ทางด้านสติปัญญาและกุศโลบายในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู การปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา การทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง หรือแม้นแต่การใช้คนอย่างถูกต้อง ในสามก๊กทุกสิ่งล้วนแต่เป็นการนำเอาทรัพยากรทุกอย่างที่มีเพื่อนำมาใช้ในการทำศึกสงคราม สงครามสามก๊กนั้นมีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอาชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงครามกลศึกสามก๊ก ตำราพิชัยสงครามรูปธรรมที่มีชีวิต,หลี่ปิ่งเอี้ยน ซุนจิ้ง ผู้ค้นคว้า, บุญศักดิ์ แสงระวี แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ,..

ใหม่!!: ยุทธการที่สะพานจีเกี้ยวและกลศึกสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

กองซุนจ้าน

กองซุนจ้าน มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากงซุนจ้าน (Gongsun Zan) มีชื่อรองว่า โป๋กุย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองปักเป๋ง กองทัพส่วนใหญ่ของกองซุนจ้านส่วนใหญ่ขี่ม้าสีขาว เนื่องจากกองซุนจ้านปราบพวกชนเผ่าพื้นเมืองเกียง เข้าผนวกทัพของตน กองซุนจ้านเป็นเพื่อนกับเล่าปี่มาตั้งแต่ครั้งยังเรียนหนังสือด้วยกัน ในสงครามปราบตั๋งโต๊ะ ในที่ประชุมพล อ้วนเสี้ยวถามว่าคนที่ยืนอยู่ข้างหลังกองซุนจ้านเป็นใคร กองซุนจ้านจึงแนะนำว่า ผู้นี้เป็นสหายข้าพเจ้า ชื่อเล่าปี่ เป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่น บรรดาขุนพลจึงได้รู้จักเล่าปี่เป็นครั้งแรก และเป็นที่มาของวีรกรรมกวนอู เมื่ออาสาตัดหัวฮัวหยงได้โดยที่สุราที่โจโฉรินอวยพรให้ ยังอุ่น ๆ อยู่ เมื่อครั้งเล่าปี่ตกอับ กองซุนจ้านได้เขียนฎีกาทูลฮ่องเต้ ให้อภัยโทษแก่เล่าปี่ ต่อมาอ้วนเสี้ยวอยากได้กิจิ๋ว ซึ่งเจ้าเมืองกิจิ๋วคือฮันฮก เป็นคนอ่อนแอ อ้วนเสี้ยวคิดแผนการไม่ออก ฮองกี๋จึงแนะแผนการใช้กองซุนจ้านนำทัพมา แล้วให้อ้วนเสี้ยวนำทัพไปกิจิ๋ว อ้างว่ามาช่วย สุดท้ายอ้วนเสี้ยวยึดเมืองกิจิ๋วไว้เอง กองซุนจ้านส่งกองซุนอวดน้องชายตนไปเจรจา แต่กลับถูกทหารอ้วนเสี้ยวปลอมเป็นทหารตั๋งโต๊ะดักยิงตาย กองซุนจ้านโกรธเป็นอย่างมาก จึงได้รบกับอ้วนเสี้ยวอยู่หลายครั้ง เมื่อครั้งกองซุนจ้านนำทัพมาเผชิญหน้ากับกองทัพของอ้วนเสี้ยวที่สะพานจีเกี้ยว บุนทิวนายทหารเอกของอ้วนเสี้ยว ได้บุกมาจับกองซุนจ้าน จนกองซุนจ้านจนตรอก แต่ดีที่จูล่ง มาช่วยไว้ทันและได้เป็นทหารของกองซุนจ้านในกาลต่อมา ภายหลังกองซุนจ้านสติวิปลาส ไม่ดูแลลูกน้องของตนเองให้ดี เมื่ออ้วนเสี้ยวยกทัพมา ก็ไม่ส่งทหารไปช่วยเหล่าเมืองขึ้น จนสุดท้ายอ้วนเสี้ยวบุกมาถึงเมืองอี้จิง กองซุนจ้านสั่งทหารสร้างกำแพงแน่นหนา แต่ก็ไม่วาย อ้วนเสี้ยวส่งทหารขุดอุโมงค์ไปจับกองซุนจ้าน กองซุนจ้านเมื่อจนตรอก จึงฆ่าบุตรและภรรยา และก็ฆ่าตัวตาย ในปี พ.ศ. 742 อันเป็นปีเดียวกับที่อ้วนสุด น้องชายอ้วนเสี้ยวตาย รูปกองซุนจ้านจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 กองซุนจ้าน.

ใหม่!!: ยุทธการที่สะพานจีเกี้ยวและกองซุนจ้าน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ใหม่!!: ยุทธการที่สะพานจีเกี้ยวและราชวงศ์ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: ยุทธการที่สะพานจีเกี้ยวและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สงคราม

ระเบิดนิวเคลียร์ที่ นางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สงคราม (war) คือ สถานะความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างองค์การที่เป็นอิสระ (เช่น รัฐและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ) หรือแนวร่วมขององค์การดังกล่าว โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นการรุกราน การทำลายล้างรวมสุดขีดและปกติมีอัตราตายสูง ชุดเทคนิคที่กลุ่มใช้ดำเนินสงคราม เรียก การสงคราม (warfare) การปลอดสงคราม ปกติเรียก สันติภาพ นักวิชาการบางส่วนมองว่าการสงครามเป็นสากลและเป็นส่วนที่สืบมาแต่บรรพชนของธรรมชาติมนุษย์ แต่บางส่วนก็แย้งว่าสงครามเป็นเพียงผลลัพธ์แห่งกรณีแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมหรือระบบนิเวศเฉพาะ ใน..

ใหม่!!: ยุทธการที่สะพานจีเกี้ยวและสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนเสี้ยว

อ้วนเสี้ยว (Yuan Shao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีบทบาทในช่วงต้นเรื่อง ด้วยเป็นผู้นำก๊กที่มีกองกำลังใหญ่ที่สุด เข้มแข็งที่สุด แต่ท้ายสุดก็ต้องมาล่มสลายเพราะความไม่เอาไหนของตน อ้วนเสี้ยวเคยเป็นทหารติดตาม ที่มีความศรัทธาในตัวของแม่ทัพโฮจิ๋น ผู้เคยมีอาชีพขายเนื้อในเมือง.

ใหม่!!: ยุทธการที่สะพานจีเกี้ยวและอ้วนเสี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

จูล่ง

ูล่ง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริง ชื่อจริงว่า เตียวหยุน แม่ทัพคนสำคัญของเล่าปี่ และเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือ จูล่ง ได้รับฉายาว่าเป็น "สุภาพบุรุษจากเสียงสาน" เกิดในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 ประมาณปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่สะพานจีเกี้ยวและจูล่ง · ดูเพิ่มเติม »

งันเหลียง

งันเหลียง (Yan Liang; เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: ยุทธการที่สะพานจีเกี้ยวและงันเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่สะพานจีเกี้ยวและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ศึกสะพานศิลาศึกสะพานจีเกี้ยว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »