โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศึกด่านเฮาโลก๋วน

ดัชนี ศึกด่านเฮาโลก๋วน

ลิโป้รบกับ 3 พี่น้องร่วมสาบานกวนอู เล่าปี่ เตียวหุย ที่ด่านเฮาโลก๋วน ศึกด่านเฮาโลก๋วน หรือ ศึกประตูหูเหลา (Battle of Hulao Gate) เป็นสงครามในสมัยสามก๊กที่เกิดขึ้นเมื่อปี..

23 ความสัมพันธ์: กบฏโพกผ้าเหลืองกวนอูกองซุนจ้านการทัพปราบตั๋งโต๊ะกุยกีราชวงศ์ฮั่นราชวงศ์ฮั่นตะวันออกลั่วหยางลิยูลิฉุยลิโป้สามก๊กอองของอ้วนเสี้ยวฮัวหยง (สามก๊ก)ตั๋งโต๊ะฉางอานโจโฉโตเกี๋ยมเล่าปี่เตียวหุยเซ็กเธาว์เปาสิ้น

กบฏโพกผ้าเหลือง

กบฏโพกผ้าเหลือง (Yellow Turban Rebellion) เป็นกลุ่มผู้ก่อการกบฏประมาณหลายล้านคนใน..

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและกบฏโพกผ้าเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและกวนอู · ดูเพิ่มเติม »

กองซุนจ้าน

กองซุนจ้าน มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากงซุนจ้าน (Gongsun Zan) มีชื่อรองว่า โป๋กุย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองปักเป๋ง กองทัพส่วนใหญ่ของกองซุนจ้านส่วนใหญ่ขี่ม้าสีขาว เนื่องจากกองซุนจ้านปราบพวกชนเผ่าพื้นเมืองเกียง เข้าผนวกทัพของตน กองซุนจ้านเป็นเพื่อนกับเล่าปี่มาตั้งแต่ครั้งยังเรียนหนังสือด้วยกัน ในสงครามปราบตั๋งโต๊ะ ในที่ประชุมพล อ้วนเสี้ยวถามว่าคนที่ยืนอยู่ข้างหลังกองซุนจ้านเป็นใคร กองซุนจ้านจึงแนะนำว่า ผู้นี้เป็นสหายข้าพเจ้า ชื่อเล่าปี่ เป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่น บรรดาขุนพลจึงได้รู้จักเล่าปี่เป็นครั้งแรก และเป็นที่มาของวีรกรรมกวนอู เมื่ออาสาตัดหัวฮัวหยงได้โดยที่สุราที่โจโฉรินอวยพรให้ ยังอุ่น ๆ อยู่ เมื่อครั้งเล่าปี่ตกอับ กองซุนจ้านได้เขียนฎีกาทูลฮ่องเต้ ให้อภัยโทษแก่เล่าปี่ ต่อมาอ้วนเสี้ยวอยากได้กิจิ๋ว ซึ่งเจ้าเมืองกิจิ๋วคือฮันฮก เป็นคนอ่อนแอ อ้วนเสี้ยวคิดแผนการไม่ออก ฮองกี๋จึงแนะแผนการใช้กองซุนจ้านนำทัพมา แล้วให้อ้วนเสี้ยวนำทัพไปกิจิ๋ว อ้างว่ามาช่วย สุดท้ายอ้วนเสี้ยวยึดเมืองกิจิ๋วไว้เอง กองซุนจ้านส่งกองซุนอวดน้องชายตนไปเจรจา แต่กลับถูกทหารอ้วนเสี้ยวปลอมเป็นทหารตั๋งโต๊ะดักยิงตาย กองซุนจ้านโกรธเป็นอย่างมาก จึงได้รบกับอ้วนเสี้ยวอยู่หลายครั้ง เมื่อครั้งกองซุนจ้านนำทัพมาเผชิญหน้ากับกองทัพของอ้วนเสี้ยวที่สะพานจีเกี้ยว บุนทิวนายทหารเอกของอ้วนเสี้ยว ได้บุกมาจับกองซุนจ้าน จนกองซุนจ้านจนตรอก แต่ดีที่จูล่ง มาช่วยไว้ทันและได้เป็นทหารของกองซุนจ้านในกาลต่อมา ภายหลังกองซุนจ้านสติวิปลาส ไม่ดูแลลูกน้องของตนเองให้ดี เมื่ออ้วนเสี้ยวยกทัพมา ก็ไม่ส่งทหารไปช่วยเหล่าเมืองขึ้น จนสุดท้ายอ้วนเสี้ยวบุกมาถึงเมืองอี้จิง กองซุนจ้านสั่งทหารสร้างกำแพงแน่นหนา แต่ก็ไม่วาย อ้วนเสี้ยวส่งทหารขุดอุโมงค์ไปจับกองซุนจ้าน กองซุนจ้านเมื่อจนตรอก จึงฆ่าบุตรและภรรยา และก็ฆ่าตัวตาย ในปี พ.ศ. 742 อันเป็นปีเดียวกับที่อ้วนสุด น้องชายอ้วนเสี้ยวตาย รูปกองซุนจ้านจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 กองซุนจ้าน.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและกองซุนจ้าน · ดูเพิ่มเติม »

การทัพปราบตั๋งโต๊ะ

ศึกปราบตั๋งโต๊ะ เป็นหนึ่งในสงครามที่สำคัญในยุคสามก๊ก สงครามครั้งนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อจอมทรราชตั๋งโต๊ะได้สร้างความวุ่นวายในราชสำนักด้วยการปลดห้องจูเปียนออกจากราชสมบัติและตั้งห้องจูเหียบ พระราชอนุชาขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้และขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนทำให้มีอำนาจบาตรใหญ่ในราชสำนัก เหล่าขุนนางต่างหวั่นเกรงกลัวอำนาจของตั๊งโต๊ะ แต่โจโฉได้อาสาที่จะลอบสังหารแต่ไม่สำเร็จจึงหนีไปยังบ้านเกิดขายทรัพย์สมบัติทั้งหมดของตนเป็นทุนเพื่อรับทหารอาสาสมัครจำนวนหนึ่ง จากนั้นไปสมทบกับอ้วนเสี้ยวและส่งสาส์นไปยังเมืองต่างๆให้มาช่วยรบเพื่อโค่นล้มอำนาจของตั๋งโต๊ะ ปรากฏว่า มีหัวเมืองทั้งหมดสิบแปดหัวเมืองได้เข้าร่วมรบในศึกครั้งนี้ ผลลัพธ์ปรากฏว่ากองทัพผสมสิบแปดหัวเมืองสามารถเอาชนะกองทัพตั๊งโต๊ะได้ในด่านเฮาโลก๋วนและกำลังจะบุกตีเมืองลกเอี๋ยงอันเป็นราชธานี แต่ตั๊งโต๊ะได้อัญเชิญพระเจ้าเหี้ยนเต้ไปยังเมืองเตียงอันและสั่งให้ทหารของตนไปปล้นฆ่าราษฏรในเมืองและริบทรัพย์สินมาทั้งหมด เผาลกเอี๋ยงให้ราบ จากนั้นก็ได้สร้างเตียงฮันเป็นราชธานีใหม่โดยนำเงินที่ปล้นมาเป็นทุน ส่วนกองทัพของสิบแปดหัวเมืองไม่ได้คิดตามไปตีเตียงอันแต่ก็ได้มีแตกแยกกันทำให้กองทัพพากันสลายตัวในที่สุด หมวดหมู่:สามก๊ก หมวดหมู่:สงครามสามก๊ก.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและการทัพปราบตั๋งโต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

กุยกี

กุยกี (Guo Si) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลของตั๋งโต๊ะคู่กับลิฉุย เมื่อตั๋งโต๊ะถูกลิโป้ฆ่า กุยกี พร้อมกับลิฉุย เตียวเจ หวนเตียว จัดตั้งกองทัพบุกยึดอำนาจในเมืองหลวง (เตียงฮัน) มาได้ ทำให้ลิโป้ต้องหนีออกมา และกลายเป็นขุนพลเร่ร่อน ส่วนอ้องอุ้นถูกประหาร ต่อมาได้ทูลขอตำแหน่งในเมืองหลวง จึงได้เป็นแม่ทัพหลัง (ส่วนลิฉุยได้เป็นสมุหนายก) เมื่อมีอำนาจก็กระทำการหยาบช้าไม่ต่างจากสมัยของตั๋งโต๊ะ ต่อมา เอียวปิวได้ทำให้ลิฉุยกับกุยกีผิดใจกัน แต่ก็ให้เกิดความวุ่นวายขึ้น จนทำให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ต้องย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ลกเอี๋ยง ต่อมา ลิฉุย กุยกีได้กลับมาร่วมมือกันอีกครั้งหวังปลงพระชนม์ฮ่องเต้ แต่กองทัพของลิฉุย กุยกีก็ถูกโจโฉปราบปรามจนสิ้น ลิฉุย กุยกีหนีรอดมาได้ แต่ก็ถูกตวนอุย งอสิบ ฆ่าตายในเวลาต่อมา รูปกุยกีจากเกม Romance of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและกุยกี · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและราชวงศ์ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

มื่อพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ขึ้นครองราชย์แล้ว อำมาตย์หยวนเซ่า (อ้วนเสี้ยว) เริ่มกำจัดขันทีกว่า 2000 คน อันเป็นการกวาดล้างอิทธิพลของขันทีทั้งหมด ต่อมาต่งจัว (ตั๋งโต๊ะ) นำกองทหารบุกโจมตีลั่วหยางและปลงพระชนม์พระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ แล้วยก พระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้ (เหี้ยนเต้) ขึ้นครองราชย์แทน พร้อมกับบีบให้หยวนเซ่าออกจากเมืองหลวง ไม่นานหยวนเซ่ากับพันธมิตรยกทัพมาตีต่งจัว เขาจึงพาจักรพรรดิลี้ภัยไปฉางอาน (เตียงอัน) ต่อมา หลี่ปู้ (ลิโป้) กับพวก วางแผนลอบสังหารต่งจัวสำเร็จ จักรพรรดิจึงเดินทางกลับลั่วหยัง (ลกเอี๋ยง) แต่ถูกนายทัพเฉาเชา (โจโฉ) ย้ายพระองค์ไปอยู่ที่เมืองสี่ชาง (ฮูโต๋) ตั้งแต่บัดนั้นมาเฉาเชาจึงควบคุมและใช้อำนาจบริหารบ้านเมืองในนามจักรพรรดิ ถือเป็นผู้ครองอำนาจสูงสุดแท้จริง ปี..

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและราชวงศ์ฮั่นตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ลั่วหยาง

thumb ลั่วหยาง หรือสำเนียงฮกเกี้ยนว่า ลกเอี๋ยง เป็นเมืองหนึ่งในประเทศจีน ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันตกของมณฑลเหอหนาน เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์เช่น ราชวงศ์โจวตะวันออก ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และราชวงศ์ถัง.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและลั่วหยาง · ดูเพิ่มเติม »

ลิยู

ลิยู (Li Ru) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เสนาธิการของตั๋งโต๊ะและยังเป็นบุตรเขยของตั๋งโต๊ะด้วย เป็นคนที่สนับสนุนให้ตั๋งโต๊ะคิดการปลดหองจูเปียนจากตำแหน่งฮ่องเต้และตั้งพระเจ้าเหี้ยนเต้ขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน ลิยูยังเป็นผู้วางยาพิษสังหารหองจูเปียนและนางโฮเฮา และเป็นผู้แนะนำให้ตั๋งโต๊ะย้ายเมืองหลวงจากลกเอี๋ยงมาที่เตียงฮัน เพื่อหนีกองทัพพันธมิตร 18 หัวเมือง ต่อมา อ้องอุ้นใช้อุบายห่วงโซ่ โดยให้นางเตียวเสียนไปทำให้ตั๋งโต๊ะกับลิโป้ผู้เป็นบุตรเลี้ยงของตั๋งโต๊ะผิดใจกัน ลิยูเคยแนะนำให้ตั๋งโต๊ะยกนางเตียวเสี้ยนให้กับลิโป้เพื่อยุติความบาดหมาง แต่ตั๋งโต๊ะไม่ยอม เมื่อตั๋งโต๊ะถูกสังหารโดยลิโป้ ลิยูและครอบครัวก็ถูกลิโป้จับมาประหารสิ้น.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและลิยู · ดูเพิ่มเติม »

ลิฉุย

ลิฉุย (Li Jue) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นายทหารของตั๋งโต๊ะ มีความทะเยอทะยานสูงไม่แพ้เจ้านาย เมื่อตั๋งโต๊ะถูกลิโป้ฆ่า ลิฉุยได้ร่วมมือกับกุยกี เตียวเจ หวนเตียว จัดตั้งกองทัพบุกยึดอำนาจในเมืองหลวงมาได้ ทำให้ลิโป้ต้องหนีออกมา และกลายเป็นขุนพลเร่ร่อน ส่วนอ้องอุ้นถูกประหาร เมื่อมีอำนาจก็กระทำการหยาบช้าไม่ต่างจากสมัยของตั๋งโต๊ะ ต่อมา เอียวปิวได้ทำให้ลิฉุยกับกุยกีผิดใจกัน แต่ก็ให้เกิดความวุ่นวายขึ้น จนทำให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ต้องย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ลกเอี๋ยง ต่อมา ลิฉุย กุยกีได้กลับมาร่วมมือกันอีกครั้งหวังปลงพระชนม์ฮ่องเต้ แต่กองทัพของลิฉุย กุยกีก็ถูกโจโฉปราบปรามจนสิ้น ลิฉุย กุยกีหนีรอดมาได้ แต่ก็ถูกตวนอุย งอสิบ ฆ่าตายในเวลาต่อมา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและลิฉุย · ดูเพิ่มเติม »

ลิโป้

ลิโป้ (吕布; Lü Bu;ค.ศ.155 — ค.ศ. 198) เป็นยอดนักรบผู้ที่ได้ชื่อว่าแข็งแกร่งที่สุดในยุคสามก๊ก หรือเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม มีร่างที่สูงใหญ่กำยำ มีสำนวนในสามก๊กกล่าวไว้ว่า “ หยืนจงหลี่ปู้ หม่าจงชื่อทู่ ” ความหมายของประโยคนี้คือ ยอดคนต้องลิโป้ ยอดม้าต้องเซ็กเธาว์ ความแข็งแกร่งที่กลายเป็นตำนาน ในฐานะของนักรบที่เก่งที่สุดในแผ่นดินยุคสามก๊ก ทั้งยังได้รับการกล่าวว่าเป็นผู้ชำนาญศึกอย่างยิ่ง แม้แต่ เล่าปรี่, กวนอู้ และเตียวหูย ที่ร่วมมือกันสู้รบกับลิโป้ก็ยังไม่สามารถเอาชนะลิโป้ได้ โดยที่ตราบใดที่เขายังถือทวนกรีดขอบตา และนั่งอยู่บนหลังม้าเซ็กเธาว์ ก็ไม่มีใครล้มเขาลงได้ ในตามตำนาน ลิโป้แม้จะเป็นคนเก่ง แต่เป็นคนที่เลี้ยงไว้ไม่ได้ เป็นคนเห็นแก่ลาภยศ เป็นบุคคลที่เตียวหุยด่าว่าเป็น "ไอ้พ่อสามลูก" จนกลายเป็นสำนวนที่ใช้มาจนทุกวันนี้ เนื่องจากเดิมทีรับราชการอยู่กับเต๊งหงวน และเต๊งหงวนไว้ใจ ถึงกับรับเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อตั๋งโต๊ะปรารถนาจะได้ลิโป้มาอยู่กับตน ด้วยการให้เกราะทองกับม้าเซ็กเธาว์ ลิโป้ก็ยอมทรยศเต๊งหงวน มาอยู่กับตั๋งโต๊ะ ครั้นเมื่ออ้องอุ้นใช้แผนสาวงาม (เตียวเสี้ยน) ให้ลิโป้กับตั๋งโต๊ะแตกแยกกัน และลิโป้ก็เป็นผู้สังหารตั๋งโต๊ะด้วยมือตนเอง หลังจากถูกโจโฉจับตัวได้ เพราะทหารฝ่ายลิโป้ทรยศ เมื่อจะโดนประหารได้อ้อนวอนเล่าปี่ ให้บอกโจโฉว่าอย่าประหารตน แต่เล่าปี่ยืนยันให้โจโฉฆ่าลิโป้ ด้วยการยกตัวอย่างของ เต๊งหงวน กับ ตั๋งโต๊ะ ให้โจโฉได้ระลึกและสั่งประหารลิโป้ในที่สุด เป็นอันปิดฉากตำนานเทพเจ้าสงครามอันเลื่องชื่อ.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและลิโป้ · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

อองของ

อองของ (Wang Kuang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก แต่เดิมอยู่ใต้สังกัด โฮจิ๋น ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองโห้ลาย เป็นหนึ่งในเจ้าเมืองที่ร่วมกองทัพพันธมิตร 18 หัวเมืองเพื่อปราบตั๋งโต๊ะ และเป็นหนึ่งในแปดเจ้าเมืองที่อ้วนเสี้ยวออกคำสั่งให้ไปตีด่านเฮาโลก๋วน ทัพของอองของเป็นทัพแรกที่มาถึงด่านเฮาโลก๋วน อองของสั่งให้ขุนพลของตนเอง หองหยก ออกไปสู้กับลิโป้ แต่ก็ถูกลิโป้สังหารอย่างรวดเร็ว สุดท้ายทัพอองของก็ถูกลิโป้ตีแตกพ่าย ยังดีได้ทัพของเตียวเมา และอ้วนอุ๋ยได้ยกทัพมาช่วยได้ทันเวลา ลิโป้จึงถอนทัพกลับไปตั้งในด่านเฮาโลก๋วน รูปอองของจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและอองของ · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนเสี้ยว

อ้วนเสี้ยว (Yuan Shao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีบทบาทในช่วงต้นเรื่อง ด้วยเป็นผู้นำก๊กที่มีกองกำลังใหญ่ที่สุด เข้มแข็งที่สุด แต่ท้ายสุดก็ต้องมาล่มสลายเพราะความไม่เอาไหนของตน อ้วนเสี้ยวเคยเป็นทหารติดตาม ที่มีความศรัทธาในตัวของแม่ทัพโฮจิ๋น ผู้เคยมีอาชีพขายเนื้อในเมือง.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและอ้วนเสี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

ฮัวหยง (สามก๊ก)

รูปฮัวหยงจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI ฮัวหยง (Hua Xiong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญของตั๋งโต๊ะ มีฝีมือรองจากลิโป้ เป็นชาวเมืองกวนซี ไหล่เรียวคล้ายลิง หน้าคล้ายเสือดาว สูง 6 ศอกเศษ เป็นผู้ต้านทัพพันธมิตร 18 หัวเมืองที่ด่านกิสุยก๋วน สามารถสังหารขุนพลได้หลายคน และทำให้กองทัพซุนเกี๋ยนแตกกระเจิง แต่ฮัวหยงกลับถูกสังหารโดยกวนอูในชั่วเวลาที่สุรายังไม่หายอุ่น ในประวัติศาสตร์ฮัวหยงได้ถูกกวนอูฆ่าตายระหว่างทำศึกกับซุนเกี๋ยน ส่วนในวรรณกรรมฮัวหยงตีทัพซุนเกี๋ยนแตกโดยไม่ทันได้ตั้งตัว แล้วนำทัพไปค่ายของอ้วนเสี้ยว สังหารขุนพลฝ่ายพันธมิตรไปหลายคน และสุดท้ายถูกกวนอูสังหาร.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและฮัวหยง (สามก๊ก) · ดูเพิ่มเติม »

ตั๋งโต๊ะ

ตั๋งโต๊ะ (เสียชีวิต 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ต่ง จั๋ว ชื่อรองว่า จ้งอิ่ง (仲穎) เป็นข้าราชการชาวจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งยึดอำนาจในพระนครลกเอี๋ยง (洛阳 ลั่วหยาง) ใน..

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและตั๋งโต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

ฉางอาน

ฉางอาน ตามสำเนียงกลาง หรือ เตียงฮัน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (Chang'an) เป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศจีน โดยมีราชวงศ์ 13 ราชวงศ์ที่เลือกนครฉางอานเป็นเมืองหลวง ปัจจุบันคือเมืองซีอาน ซึ่งเปลี่ยนชื่อในสมัยราชวงศ์ชิง ชื่อ ฉางอาน มีความหมายว่า "ความสงบสุขชั่วนิรันดร์" (Perpetual Peace) สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์สุย ในยุคนั้นเรียกว่าเมืองต้าซิง เมื่อถึงราชวงศ์ถังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองฉางอาน เมืองนี้ใช้ระยะเวลาในการสร้างเกือบ 100 ปี แต่ความใหญ่โตมโหฬารกลับปรากฏในตอนท้าย เมืองฉางอานในยุคนั้นเมื่อเทียบกับเมืองซีอานในอดีตแล้วยังนับว่าใหญ่กว่า 10 เท่า ถือว่าเป็นเมืองระดับนานาชาติเลยก็ว่าได้ พื้นที่ส่วนหนึ่งของฉางอาน ภายในเมืองฉางอานมีพระราชวังเป็นที่ประทับขององค์พระมหากษัตริย์และเป็นที่บริหารราชภารแผ่นดิน ทางทิศใต้ของเขตพระราชวังใช้เป็นที่ทำงานของขุนนางทั้งหลาย ถนนหนทางภายในตัวเมืองฉางอานและที่พักอาศัย ถูกออกแบบคล้ายกระดานหมายรุก เป็นระเบียบเรียบร้อย ถนนหลายสายภายในเมืองมีความกว้างกว่า 100 เมตร หนึ่งในนั้น ถนน "จูเชว่" ถือได้ว่าเป็นถนนที่กว้างมากที่สุด สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความรุ่งเรืองของบ้านเมือง เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์หมิงและชิงก็ได้นำเอาแบบอย่างการสร้างเมืองฉางอานไปใช้ในการสร้างเมืองปักกิ่ง เมืองฉางอานมีส่วนที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและส่วนที่ใช้ทำมาค้าขาย แบ่งเป็นสัดส่วน ภายในส่วนที่ใช้ทำมาค้าขาย มีร้านค้ามากมาย เรียกร้านค้าเหล่านี้ว่า "ห้าง" อาทิ ห้างขายเนื้อ ห้างขายปลา ห้างขายยา ห้างผ้า ห้างเหล็ก ห้างเงินทอง ฯลฯ ว่ากันว่าแค่เพียงส่วนค้าขายทางตะวันออก ก็มีร้านค้ากว่า 200 แห่ง สิ่งของหายากจากทั่วทุกสารทิศ สามารถหาซื้อได้ในเมืองฉางอาน เมืองฉางอานยังเป็นเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรม มีกิจกรรมความบันเทิงต่าง ๆ มากมาย อาทิ การร้องรำทำเพลง การแข่งขันชนไก่ ชักเย่อ โล้ชิงช้า ฯลฯ จิตกร นักอักษรศิลป์ กวีที่มีชื่อเสียงต่างก็พักอาศัยอยู่ในเมืองฉางอาน ผลงานของผู้คนเหล่านี้ทำให้เมืองฉางอานมีสีสันมากขึ้น เมืองฉางอานยังเป็นเมืองที่วัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกมาบรรจบกัน ในยุคนั้นประเทศต่าง ๆ กว่า 70 ประเทศ ได้มาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์ถัง เส้นทางสายไหมมีความเจริญสูงสุด ประเทศญี่ปุ่น สยาม และประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย ต่างส่งคนมาศึกษาเล่าเรียน พ่อค้าจากเปอร์เซีย (อิหร่านปัจจุบัน) กับทาจิกส์ (ส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกกลาง) ต่างมุ่งหน้ามาทำการค้าขายที่เมืองฉางอาน ในเวลานั้นเมืองฉางอานมีประชากรถึง 1 ล้านคน รวมกับชาวต่างชาติที่ย้ายมาพำนักอีกว่าหมื่นคน เมืองฉางอานไม่เพียงแต่เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม แต่ยังกลายเป็นเมืองระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงเมืองหนึ่งอีกด้ว.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและฉางอาน · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกี๋ยม

ตเกี๋ยม (Tao Qian) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองชีจิ๋ว ชื่อรองกงจู่ เป็นคนจิตใจอ่อนโยน เมื่อคราวที่ขบวนของโจโก๋ บิดาของโจโฉผ่านยังเมืองชีจิ๋ว โตเกี๋ยมได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และมอบหมายให้เตียวคีเป็นผู้คุ้มกันขบวนรถอีกด้วย แต่หลังจากเตียวคีนำทหารห้าร้อยนายติดตามขบวนรถของโจโก๋ เตียวคีเกิดความโลภด้วยเห็นว่าโจโก๋มีทรัพย์สมบัติเป็นจำนวนมาก จึงวางแผนฆ่าโจโก๋และปล้นชิงทรัพย์สินและหลบหนีไป เมื่อโจโฉทราบข่าวการเสียชีวิตของบิดา ก็โกรธแค้นโตเกี๋ยมเป็นอย่างยิ่ง เตรียมนำกองกำลังทหารจำนวนมากหมายเข้าตีเมืองชีจิ๋วให้ราบคาบ โตเกี๋ยมจึงปรึกษากับเหล่าขุนนางถึงการนำทัพมาของโจโฉเพื่อหาทางป้องกันเมือง โตเกี๋ยมตั้งใจจะมอบตัวแก่โจโฉเพื่อให้โจโฉฆ่าเสียให้หายโกรธ เนื่องจากตนเองเป็นต้นเหตุให้ราษฏรในเมืองต้องรับความเดือดร้อน แต่บิต๊กได้ไปขอกำลังทหารจากขงหยงและเล่าปี่มาช่วยป้องกันเมืองชีจิ๋ว เล่าปี่เขียนหนังสือให้ม้าใช้นำไปมอบให้แก่โจโฉ พร้อมกับส่งเตียวหุยไปเป็นทูตเพื่อเจรจาของสงบศึก แต่ในขณะเดียวกันลิโป้ก็นำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีค่ายทหารของโจโฉที่เมืองกุนจิ๋ว ซึ่งโจโฉมอบหมายให้โจหยินเป็นผู้ดูแลรักษาค่าย ลิโป้ตีค่ายทหารของโจโฉแตก โจหยินที่ดูแลรักษาค่ายทหารกำลังเพลี่ยงพล้ำต่อลิโป้ ทำให้โจโฉต้องนำกำลังทหารกลับยังค่ายเพื่อช่วยเหลือโจหยิน หลังจากเล่าปี่ยื่นมือเข้าช่วยเหลือโตเกี๋ยม ซึ่งเห็นว่าเล่าปี่เป็นผู้มีคุณธรรม มีความสามารถและกล้าหาญ สามารถปกครองเมืองชีจิ๋วต่อจากตนได้ จึงเชิญเล่าปี่ให้เป็นเจ้าเมืองชีจิ๋วแทนตน แต่เล่าปี่กลับปฏิเสธพร้อมกับให้เหตุผล ทำให้โตเกี๋ยมผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งล้มป่วยอย่างหนัก จึงขอร้องให้เล่าปี่รับเป็นเจ้าเมืองชีจิ๋วแทนตน ก่อนสิ้นใจอย่างสงบด้วยอายุ 62 ปี.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและโตเกี๋ยม · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เตียวหุย

ตียวหุย (เสียชีวิต ค.ศ. 221) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า จางเฟย์ มีชื่อรองว่า เอ๊กเต๊ก หรือ อี้เต๋อ เป็นแม่ทัพในวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก เป็นบุคคลคนหนึ่งที่อยู่ในสังกัดห้าทหารเสือแห่งจ๊กก๊กเป็นคนที่ 2.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและเตียวหุย · ดูเพิ่มเติม »

เซ็กเธาว์

ซ็กเธาว์ (Red Hare;; กระต่ายแดง) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก สุดยอดของม้าในยุคสามก๊ก มีเอกลักษณ์คือขนสีแดงทั้งตัว ในสามก๊กได้กล่าวถึง เซ็กเธาว์ ว่าสามารถวิ่งได้วันละพันลี้ เดิมทีเป็นม้าของตั๋งโต๊ะ ซึ่งต่อมาได้มอบให้กับ ลิโป้พร้อมกับเครื่องบรรณาการมากมาย เพื่อให้ลิโป้ทรยศพ่อบุญธรรม คือเต๊งหงวน ชื่อเซ็กเธาว์นั้นแท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ชื่อม้า แต่เป็นชื่อสายพันธุ์ม้า เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดแถบตะวันออกกลางหรือเติร์กเมนิสถาน ลิโป้นั้นเป็นคนเห็นแก่ลาภยศจึงได้บุกลอบเข้าไปฆ่าพ่อบุญธรรมของตนจนตายเสีย และจึงเข้าร่วมกับตั๋งโต๊ะในที่สุด ต่อมาหลังจาก ลิโป้ถูกโจโฉประหารที่เมืองเสียวพ่าย ม้าเซ็กเธาว์ก็ตกไปเป็นของโจโฉจนกระทั่ง เมื่อ กวนอูมาอยู่กับโจโฉระยะนึง โจโฉต้องการมัดใจกวนอูและมอบเครื่องบรรณาการมากมายให้รวมทั้งม้าเซ็กเธาว์ด้วย และกวนอูก็ใช้ม้าเซ็กเธาว์ได้เป็นอย่างดี ภายหลังเมื่อกวนอู ถูกจับตัวโดย ลิบอง และ ลกซุน เซ็กเธาว์ก็ตกเป็นของซุนกวน แต่ในที่สุดเมื่อกวนอูถูกประหาร มันก็ไม่ยอมกินอะไรและอดตายในที่สุด ขณะที่บันทึกในประวัติศาสตร์จริง ระบุว่าม้าเซ็กเธาว์หายไปพร้อมกับลิโป้ถูกจับ จุดประกาย 7 วัฒนธรรม, ม้าวิเศษในตำนานจีน โดย ดนุพล ศิริตานนท.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและเซ็กเธาว์ · ดูเพิ่มเติม »

เปาสิ้น

ปาสิ้น (Bao Xin) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีน้องชายชื่อเปาต๋ง เมื่อครั้งตั๋งโต๊ะเริ่มเข้ามามีอำนาจในเมืองหลวง เปาสิ้นคิดอ่านเห็นว่า หากนานไปตั๋งโต๊ะต้องคิดเหิมเกริมเป็นแน่แท้ จึงปรึกษาอ้วนเสี้ยวเพื่อหาทางกำจัดตั๋งโต๊ะ แต่อ้วนเสี้ยวยังมิเห็นด้วย อ้วนเสี้ยวว่าแผ่นดินเพิ่งสงบ ยังมิควรก่อการใดๆให้วุ่นวายอีก เปาสิ้นจึงไปปรึกษาอ้องอุ้น แต่อ้องอุ้นก็คิดอ่านเช่นเดียวกันกับอ้วนเสี้ยว อ้องอุ้นว่าจะทำการใดต้องคิดตรองดูให้ดีก่อน เปาสิ้นน้อยใจ พาพรรคพวกออกไปอยู่ป่า ภายหลังครั้งรวบรวมกองกำลังพันธมิตรปราบตั๋งโต๊ะ เปาสิ้นก็ได้นำทัพมาร่วมด้วย ครั้งนั้นเปาสิ้นสั่งให้เปาต๋งนำทหารม้า 5,000 นายบุกตีด่านกิสุยก๋วน แต่แตกพ่ายแก่ทัพของฮัวหยง เปาต๋งเสียชีวิตในการรบ ภายหลังเปาสิ้นเข้าเป็นขุนพลใต้สังกัดของแฮหัวตุ้น ปีหนึ่งโจรโพกผ้าเหลืองอาละวาดหนักในหลายพื้นที่ โจโฉส่งทัพไปปราบปรามโจรโพกผ้าเหลือง เปาสิ้นก็เข้าร่วมการรบด้วย แต่เสียชีวิตในการรบ รูปเปาสิ้นจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ใหม่!!: ศึกด่านเฮาโลก๋วนและเปาสิ้น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ศึกประตูหูเหลา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »