โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จารึกวัดศรีชุม

ดัชนี จารึกวัดศรีชุม

ำเนาจารึกวัดศรีชุม วัดศรีชุม สุโขทัย จารึกวัดศรีชุม หรือ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ เป็นศิลาจารึกภาษาไทยสมัยสุโขทัยที่สำคัญ ที่เล่าเรื่องราวการสถาปนากรุงสุโขทัย และ วีรกรรมของกษัตริย์ราชวงศ์นำถุม โดยสันนิษฐานว่าผู้สร้างศิลาจารึกหลักนี้คือ พระมหาเถรศรีศรัทธา ผู้เป็นเชื้อสายของ พ่อขุนศรีนาวนำถุม ผู้สถาปนาแคว้นสุโขทัย-ศรีสัชนาลั.

19 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาธรรมราชาที่ 1พระมหาเถรศรีศรัทธาพระยาคำแหงพระรามพระยาเลอไทยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครพ่อขุนรามคำแหงมหาราชพ่อขุนศรีอินทราทิตย์พ่อขุนศรีนาวนำถุมพ่อขุนผาเมืองยอร์ช เซเดส์วัดศรีชุมวัดศรีชุม (จังหวัดสุโขทัย)อาณาจักรสุโขทัยจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดสุโขทัยจังหวัดนครปฐมจารึกพ่อขุนรามคำแหงขอมสบาดโขลญลำพง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาธรรมราชาที่ 1

ระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช, พระบาทกมรเตงอัญฦๅไทยราช, พระยาลือไทย หรือ พระยาลิไทย (ครองราชย์ พ.ศ. 1890 - พ.ศ. 1919) พระมหากษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงลำดับที่ 6 เป็นพระโอรสพระยาเลอไทย และพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาร.

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและพระมหาธรรมราชาที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาเถรศรีศรัทธา

มเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลังกาทีปมหาสวามีเป็นเจ้า เป็นเชื้อสายของ พ่อขุนศรีนาวนำถุม ผู้สถาปนาแคว้นสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย สันนิษฐานว่าเป็นผู้สร้าง จารึกวัดศรีชุม หรือ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 เป็นสมเด็จพระสังฆราชในสมัยสุโขทัย พระมหาเถรศรีศรัทธาปรากฏนามตามจารึกวัดศรีชุมว่า สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลงกาทีปมหาสามี ตามเรื่องเล่าในศิลาจารึก กล่าวว่า พระมหาเถรศรีศรัทธา อยู่ในเชื้อสายตระกูลของ พ่อขุนศรีนาวนำถุม เกิดในเมืองสรลวงสองแคว (พิษณุโลก) เป็นบุตรของ พระยาคำแหงพระราม และ เป็นหลานของ พ่อขุนผาเมือง ในวัยหนุ่มเมื่ออายุ 17 ปีได้ช่วยบิดารบกับ ท้าวอีจาน จนชนะ ต่อมาเมื่ออายุได้ 26 ปีได้ช่วย พระยาเลอไทยในการสงคราม และทำการชนช้างชนะ ขุนจัง จนถูกยกย่องว่าเป็นนักรบที่เข้มแข็งมีฝีมือ เมื่ออายุ 31 ปี มีความจำเป็นทำให้ต้องสละทรัพย์สมบัติ ภรรยารวมทั้ง ธิดาอีกสองคน ออกบวชเดินทางจาริกแสวงบุญ ช่วยบูรณะศาสนสถานที่ต่าง ๆ จนถึงอินเดียและลังกา จนกระทั่งได้กลับมาสร้างจารึกเล่าเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของตระกูลไว้ในแคว้นสุโขทัยในสมัยการปกครองของพระยาลิไทย มีผู้สันนิษฐานว่าเนื่องจากกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงได้ขยายอำนาจของสุโขทัยเข้ามายังลุ่มน้ำน่านซึ่งเป็นบริเวณที่ตระกูลนาวนำถุมมีอำนาจครอบครองอยู่ อาจเป็นสาเหตุที่กดดันให้พระมหาเถรศรีศรัทธา ต้องออกบวช จารึกวัดศรีชุม ที่พระมหาเถรศรีศรัทธาได้สร้างขึ้น นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่บอกเล่าถึงการสถาปนาแคว้นสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ที่ไม่มีปรากฏในหลักฐานอื่น.

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและพระมหาเถรศรีศรัทธา · ดูเพิ่มเติม »

พระยาคำแหงพระราม

ระยาคำแหงพระราม ทรงเป็นเจ้าเมืองสรลวงสองแคว ซึ่งในจารึกวัดศรีชุมยืนยันได้ว่า ทรงมีการสัมพันธ์ใกล้ชิดทางเครือญาติ และเป็นพระบิดาใน พระมหาเถรศรีศรัทธา พระองค์จะเป็นพระโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถุมหรือพ่อขุนผาเมือง ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้.

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและพระยาคำแหงพระราม · ดูเพิ่มเติม »

พระยาเลอไทย

ระยาเลอไทย เป็นพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยอาณาจักรสุโขทัย ครองราชย์ระหว่างปี..

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและพระยาเลอไทย · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า ซึ่งก็คือพื้นที่พระราชวังของสมเด็จพระบวรราชเจ้าตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา มีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงตอนตะวันตก อนุสาวรีย์ทหารอาสา และโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่งต่าง ๆ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย หมู่พระวิมาน พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ และ อาคารมหาสุรสิงหนาท เดิมพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ที่หอคองคอเดีย (ศาลาสหทัยสมาคม ในปัจจุบัน) เรียกว่า "มิวเซียม" หรือ "พิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย" โดยมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน..

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร · ดูเพิ่มเติม »

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ พญาร่วง หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการยกย่องเป็น "มหาราช" ด้วยทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี:3.

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและพ่อขุนรามคำแหงมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ พระนามเดิม "พ่อขุนบางกลางหาว" เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง ตามประวัติศาสตร์ไทย ทรงครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 1792 ถึงปีใดนั้นยังไม่ทราบอย่างแน่ชั.

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

พ่อขุนศรีนาวนำถุม

อขุนศรีนาวนำถุม หรือ พ่อขุนศรีนาวนำถม แรกปรากฏพระนามตามศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 ว่าเป็น พ่อขุนผู้รวบรวมบ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำยม-น่าน และสถาปนาแคว้นสุโขทัย-ศรีสัชนาลัยขึ้นเป็นปึกแผ่น มีการตีความว่า อาจมีความเป็นไปได้ว่าสุโขทัยเริ่มมีการแยกตัวเป็นอิสระ จากอิทธิพลขอม-ละโว้ในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถุมนี้ อย่างไรก็ตามผู้ปกครองสุโขทัยต่อมา คือ ขอมสบาดโขลญลำพง อาจนำแคว้นสุโขทัยกลับเข้าอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอม-ละโว้ อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่ง พ่อขุนผาเมือง ร่วมกับ พ่อขุนบางกลางหาว ร่วมกันทำสงครามได้ชัยชนะเหนือขอมสบาดโขลญลำพง จนสามารถนำแคว้นสุโขทัยออกจากอิทธิพลของขอม-ละโว้ อีกครั้ง หลักฐานตามศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) ปรากฏเชื้อสายของราชวงศ์ของพ่อขุนศรีนาวนำถุมคือ.

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและพ่อขุนศรีนาวนำถุม · ดูเพิ่มเติม »

พ่อขุนผาเมือง

อขุนผาเมือง เป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดผู้หนึ่งในการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย เป็นผู้นำอพยพไพร่พลจากบริเวณลุ่มน้ำคาย เมืองเชียงทอง หรือล้านช้าง หลวงพระบาง นำไพร่พลมาตั้งเมืองใหม่ริมลำน้ำพุง ตั้งแต่บ้านหนองขี้ควาย มาจนถึงบริเวณวัดกู่แก้ว สถาปนาอาณาจักรขึ้นให้เรียกว่าเมืองลุ่ม อาณาจักรแห่งนี้เดิมอยู่ในเขตอิทธิพลของขอม นอกจากนั้นยังปรากฏหลักฐานในนิทานโบราณคดีของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงสันนิษฐานว่า เหตุจะเกิดเมืองหล่มเก่า เห็นจะเป็นด้วยพวกราษฎรที่หลบหนีภัยอันตรายในประเทศล้านช้าง มาตั้งซ่องมั่วสุมกันอยู่ก่อน แต่เป็นที่ดินดีมีน้ำบริบูรณ์เหมาะแก่การทำเรือกสวนไร่นาและเลี้ยงโคกระบือ จึงมีพวกตามมาอยู่มากขึ้นโดยลำดับจนเป็นเมือง แต่เป็นเมืองมาครั้งสุโขทัย มีปรากฏในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า เมืองลุ่ม ต่อมาภายหลังมาเรียกว่าเมือง หลุ่ม และยังเป็นอีกท่านที่กอบกู้แผ่นดินเอาไว้.

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและพ่อขุนผาเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ยอร์ช เซเดส์

รรณารักษ์ใหญ่ประจำหอสมุดวชิรญาณ พ.ศ. 2461 ยอร์ช เซเดส์ (George Cœdès;, พ.ศ. 2429-พ.ศ. 2512) เป็นนักวิชาการชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยอร์ช เซเดส์เดินทางมารับราชการในตำแหน่งบรรณารักษ์ใหญ่ประจำหอพระสมุดวชิรญาณ (ภายหลังเป็นหอสมุดแห่งชาติ) เมื่อ พ.ศ. 2461 และในปี พ.ศ. 2472 ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศและทำงานที่นั่นกระทั่ง พ.ศ. 2489 หลังจากนั้นได้เดินทางกลับกรุงปารีส และถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2512 ยอร์ช เซเดส์ได้เขียนเอกสารสัมมนาสองฉบับ เรื่อง The Indianized States of Southeast Asia (ค.ศ. 1968, 1975) และ The Making of South East Asia (ค.ศ. 1966) และบทความต่างๆ จำนวนมหาศาล ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาแนวคิดเรื่องอาณาจักรแบบอินเดีย (Indianized kingdom) ขึ้น อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอในสมัยใหม่ ว่า การรับแนวคิดอินเดียดังกล่าวนั้น มีความสมบูรณ์น้อยกว่าที่ที่เซเดส์เคยเชื่อ ด้วยยังมีการปฏิบัติที่หลงเหลืออยู่มากมายในอินเดี.

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและยอร์ช เซเดส์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดศรีชุม

วัดศรีชุม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและวัดศรีชุม · ดูเพิ่มเติม »

วัดศรีชุม (จังหวัดสุโขทัย)

ระอจนะ วัดศรีชุม เป็นที่เลื่องลือว่ามีเอกลักษณ์และมนต์เสนห์เฉพาะตัว วัดศรีชุม เป็นโบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ตัววัดเป็นโบราณสถานตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ นอกกำแพงเมืองวัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ซึ่งมีนามว่า "พระอจนะ" องค์พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในมณฑป พระพุทธอจนะ เป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์และมีมนต์เสน่ห์และเอกลักษณ์ชวนให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมและสักการะอย่างไม่ขาดสาย ในปัจจุบันทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ไม่ห่างจากตัวโบราณสถานนัก มีวัดสร้างใหม่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา ใช้ชื่อว่าวัดศรีชุมเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและวัดศรีชุม (จังหวัดสุโขทัย) · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย เคยเป็นรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อย ๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที.

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและอาณาจักรสุโขทัย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพิษณุโลก

ังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีประชากรในปี..

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและจังหวัดพิษณุโลก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุโขทัย

ทัย (ᩈᩩᨠᩮ᩠ᨡᩣᨴᩱ᩠ᨿ, เดิมสะกดว่า ศุโขไทย) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก และลำปาง (เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านเหนือ).

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและจังหวัดสุโขทัย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครปฐม

ังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและจังหวัดนครปฐม · ดูเพิ่มเติม »

จารึกพ่อขุนรามคำแหง

รึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) ลักษณะของตัวอักษรไทยที่ใช้ในจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือ จารึกหลักที่ 1 เป็นศิลาจารึกที่บันทึกประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัย ศิลาจารึกนี้ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ขณะผนวชอยู่เป็นผู้ทรงค้นพบเมื่อวันกาบสี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3..

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและจารึกพ่อขุนรามคำแหง · ดูเพิ่มเติม »

ขอมสบาดโขลญลำพง

อมสบาดโขลญลำพง ตามเรื่องราวในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 กล่าวว่าเป็นนายทหารขอมที่ได้นำกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัย ภายหลังพ่อขุนศรีนาวนำถุมสิ้นพระชนม์ โดยระยะเวลาการได้อำนาจการปกครองเมืองสุโขทัยของขอมสบาดโขลญลำพงยังไม่เป็นที่ชัดเจนในปัจจุบัน อาจเป็นไปได้ว่าขอมสบาดโขลญลำพงมีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติของตระกูลพ่อขุนศรีนาวนำถม แต่ยอมรับอำนาจอิทธิพลขอม-ละโว้ จนกระทั่งถูกพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยางและพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ซึ่งเป็นสหายสนิทกันและมีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติได้ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองดินแดนสุโขทัยได้ในที่สุด ต่อมาพ่อขุนผาเมืองได้นำกองทัพออกจากสุโขทัย เพื่อให้พ่อขุนบางกลางหาวได้ขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์สุโขทัยและเฉลิมพระนามเป็น "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ให้เป็นเกียรติแก่พ่อขุนบางกลางหาว พร้อมทั้งพระแสงขรรค์ชัยศรี แต่สุดท้ายพ่อขุนบางกลางหาวทรงใช้พระนามว่า "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์" ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้ให้ความหมายของคำว่า "ขอมสบาด" แปลว่าเขมรดง ส่วน "โขลญลำพง" คือคำสำหรับเรียกคนทำงานประจำเทวสถานหรือวัดวาอาราม นอกจากนี้เรื่องราวเกี่ยวกับขอมสบาดโขลญลำพงยังคงเป็นที่คลุมเครือเนื่องจากมีการกล่าวถึงชื่อนี้เฉพาะในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 เป็นหลักฐานอ้างอิงเพียงชิ้นเดียว (รวมทั้งชื่อของพ่อขุนศรีนาวนำถมและพ่อขุนผาเมืองด้วย).

ใหม่!!: จารึกวัดศรีชุมและขอมสบาดโขลญลำพง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2จารึกภาพชาดกวัดศรีชุม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »