โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาสนาพุทธแบบเนวาร

ดัชนี ศาสนาพุทธแบบเนวาร

ูปในวัดสวยัมภูนาถ ศาสนสถานที่มีชื่อของพุทธศาสนิกชนเนวาร วัชราจารยะ ขณะประกอบพิธีทางศาสนา ศาสนาพุทธแบบเนวาร (Newar Buddhism) คือพุทธศาสนานิกายวัชรยานรูปแบบหนึ่งที่ปฏิบัติในหมู่ชาวเนวาร ชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณหุบเขากาฐมาณฑุในประเทศเนปาล ซึ่งพัฒนากลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งในวิถีของชาวเนวาร มีเอกลักษณ์พิเศษคือไม่มีสังคมสงฆ์ มีการจัดชั้นวรรณะและมีลำดับการสืบสายบิดาตามแบบชาวเนวาร แม้ศาสนาพุทธแบบเนวารจะไม่มีพระสงฆ์แต่จะมีปุโรหิตที่เรียกว่าคุรุชุเป็นสื่อกลางในการประกอบพิธีกรรม บุคคลที่มาจากตระกูลวัชราจารยะหรือพัชราจารยะ (Vajracharya, Bajracharya) จะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแก่ผู้อื่น และตระกูลศากยะ (Shakya) จะประกอบพิธีกรรมที่ส่วนใหญ่มักทำภายในครอบครัว โดยศาสนาจะได้รับการอุปถัมภ์จากคนวรรณะอุราย (Uray) และคนในวรรณะดังกล่าวยังอุปถัมภ์ศาสนาพุทธแบบทิเบต นิกายเถรวาท หรือแม้แต่นักบวชญี่ปุ่นด้วย ศาสนาพุทธแบบเนวารเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงศตวรรษที่ 15 อันเป็นช่วงเวลาที่ศาสนาพุทธในกัศมีร์และอินโดนีเซียเสื่อมโทรม แม้ปัจจุบันศาสนาพุทธแบบเนวารจัดเป็นศาสนาดั้งเดิมที่ถือปฏิบัติในหุบเขากาฐมาณฑุ มีศาสนิกชนเนวารคิดเป็นร้อยละ 15.31 จากจำนวนชาวเนวารทั้งหมด แต่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้กลับมามีบทบาทในเนปาลอีกครั้งตั้งแต่ปี..

11 ความสัมพันธ์: พอร์ตแลนด์รัฐออริกอนวัชรยานวัชราจารยะศาสนาพุทธศาสนาพุทธแบบทิเบตสหรัฐหุบเขากาฐมาณฑุประเทศเนปาลนักบวชเถรวาท

พอร์ตแลนด์

อร์ตแลนด์ (Portland) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของรัฐออริกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2008 คาดว่าจะมีประชากรประมาณ 575,930 คน ทำให้พอร์ตแลนด์เป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 30 ของสหรัฐอเมริกา และยังได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่ร่มรื่นที่สุดในสหรัฐอเมริกาอีกด้ว.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธแบบเนวารและพอร์ตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐออริกอน

รัฐออริกอน (Oregon) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศ ภูมิประเทศในรัฐมีความหลากหลายตั้งแต่ ป่า และ ชายฝั่งทะเล รวมถึงที่ราบลุ่มและทะเลทราย เมืองหลวงของรัฐคือ เซเลม และเมืองสำคัญในรัฐได้แก่ พอร์ตแลนด์ ยูจีน และ ออริกอนซิตี มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยรัฐพอร์ตแลนด์ หรือ Portland State University มหาวิทยาลัยออริกอน ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ พอร์ตแลนด์ เทรลเบรเซอรส์ ในปี 2551 ออริกอนมีประชากรประมาณ 3,747,455 คน ชื่อรัฐออริกอน ออกเสียงตามคนในรัฐออริกอนว่า /ˈɔr.ə.g(ə)n/ (ออริกัน) โดยชื่อมักจะถูกออกเสียงเป็น /ˈɔr.ə.ˌgɑn/ (ออริกอน) โดยในรัฐจะเห็นชื่อรัฐเขียนเป็น "Orygun" เพื่อบอกให้นักท่องเที่ยวรู้คำอ่านของชื่อรัฐอย่างถูกต้อง.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธแบบเนวารและรัฐออริกอน · ดูเพิ่มเติม »

วัชรยาน

วัชรยาน (Vajrayāna) มันตรยาน (Mantrayāna) คุยหยาน (Esoteric Buddhism) หรือ ตันตรยาน (Tantric Buddhism) เป็นศาสนาพุทธแบบคุยหลัทธิ ที่สืบทอดขนบความเชื่อและการปฏิบัติแบบตันตระมาจากอินเดียสมัยกลาง วัชรยาน หมายถึง ยานเพชร ซึ่งผู้ศรัทธาในสายนี้เชื่อว่าเป็นยานที่ประเสริฐกว่าหีนยานและมหายาน.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธแบบเนวารและวัชรยาน · ดูเพิ่มเติม »

วัชราจารยะ

วัชราจารยะหรือพัชราจารยะ วัชราจารยะ หรือ พัชราจารยะ (Vajracharya, Bajracharya) เป็นปุโรหิตในคติศาสนาพุทธแบบเนวารซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของนิกายวัชรยาน ถือกำเนิดขึ้นหลังการเสื่อมโทรมของกฎเกณฑ์ที่พระสงฆ์ที่ถือพรหมจรรย์ และการก่อกำเนิดขึ้นของนิกายวัชรยาน ชาวเนวารจะเรียกบรรพชิตนี้ว่า คุรุ-ชุ (Guru-ju) หรือ คุ-ภาชุ (Gu-bhāju) ที่ย่อจากมาจากคำว่า คุรุภาชุ (Guru Bhāju) ซึ่งคำว่า "คุรุ" เป็นคำสันสกฤตแปลว่า ครูหรือผู้สั่งสอน ทั้งนี้วัชราจารยะหรือพัชราจารยะถือเป็นวรรณะสูงสุดของชาวเนวารที่นับถือศาสนาพุทธ ก่อนจะเป็นคุรุชุขั้นสูง คนวรรณะวัชราจารยะจะต้องผ่านพิธีกรรมหลายประการ หนุ่มวัชราจารยะจะต้องผ่านพิธีกรรมเบื้องต้นที่เรียกว่า "พัชรวิเศขะ" (Bajravishekha) ต้องปลงผม บิณฑบาตอย่างน้อยเจ็ดวันในสถานที่ต่าง ๆ ตามอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในหนังสือ กำเนิดใหม่พุทธศาสนา: นิกายเถรวาทในเนปาลช่วงศตวรรษที่ 20 (Rebuilding Buddhism: The Theravada Movement in Twentieth-century Nepal) พบความสัมพันธ์ด้านวินัยสงฆ์ระหว่างชายสกุลวัชราจารยะกับสกุลศากยะ "ต่างจากวัชราจารยะ ชายศากยะจะไม่เป็นปุโรหิตสำหรับใคร ๆ แต่ผู้ชายวัชราจารยะจะเป็นสมาชิกในอารามศาสนาพุทธแบบเนวารที่เรียกอย่างสมเกียรติว่า 'วิหาร' และถูกเรียกขานว่า 'พหะ' (baha) หรือ 'พหี' (bahi) ตราบเท่าที่ชายศากยะและวัชราจารยะยังมีบทบาทในอาราม พวกเขาเป็นนักบวช แต่ในทางปฏิบัติแล้วพวกเขาสมรสและเป็นนักบวชแค่บางเวลาเท่านั้น" ทั้งนี้นักวิชาการพุทธศาสนาสมัยใหม่ในเนปาลเป็นวัชราจาร.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธแบบเนวารและวัชราจารยะ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธแบบเนวารและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธแบบทิเบต

ระพุทธศาสนาแบบทิเบตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 587-8 (Tibetan Buddhism) คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธแบบเนวารและศาสนาพุทธแบบทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ศาสนาพุทธแบบเนวารและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

หุบเขากาฐมาณฑุ

หุบเขากาฐมาณฑุ คือแหล่งมรดกโลกของประเทศเนปาล โดยมรดกทางวัฒนธรรมของหุบเขากาฐมาณฑุแบ่งออกเป็น อนุสรณ์สถานและอาคารต่าง ๆ รวม ๗ กลุ่มด้วยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จอย่างสูงทางประวัติศาสตร์และศิลปะ ที่ทำให้หุบเขากาฐมาณฑุมีชื่อเสียงในโลก มรดกทั้ง ๗ อย่างได้แก่ จตุรัสเดอร์บาร์ (Durbar) แห่งพระราชวังหนุมานโธกา (Hanuman Dhoka) (กาฐมาณฑุ) ปาทาน (Patan) ภัคตปุระ (Bhaktapur) เจดีย์พุทธสวยัมภู (Swayambhu) และเจดีย์โพธินาถ (Bauddhanath) วัดฮินดูปศุปฏิ (Pashupati) และวัดชานกูนารายัน (Changu Narayan).

ใหม่!!: ศาสนาพุทธแบบเนวารและหุบเขากาฐมาณฑุ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธแบบเนวารและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

นักบวช

นักบวช หรือ บรรพชิต เป็นผู้สละชีวิตฆราวาสเข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธแบบเนวารและนักบวช · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: ศาสนาพุทธแบบเนวารและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »