เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วีลิสต์

ดัชนี วีลิสต์

วีลิสต์ เป็นโครงสร้างข้อมูลในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ออกแบบโดย ฟิล แบคเวลล์ (Phil Bagwell) ซึ่งวีลิซท์เกิดจากการดัดแปลงรายการโยง (linked list) แบบโยงทางเดียว (singly-linked) โดยการนำความสามารถของแถวลำดับ (array) มาใช้ เพื่อให้การเข้าสู่ข้อมูลที่ตำแหน่งใดๆ ในเวลา O(log n)ในขนาดที่การเพิ่มหรือลดข้อมูลที่ตำแหน่งหน้าสุด (ตำแหน่งสุดท้ายในรายการ) ใช้เวลา O(1) วีลิสต์มีประโยชน์อย่างมากในการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน (functional programming languages) และนำไปใช้ในการสร้างโครงสร้างข้อมูลแบบ persistent data structure.

สารบัญ

  1. 8 ความสัมพันธ์: ภาษาจาวารายการโยงวิทยาการคอมพิวเตอร์ตารางแฮชแถวลำดับแถวลำดับพลวัตแถวคอยสองหน้าโครงสร้างข้อมูล

ภาษาจาวา

ลโก้ของภาษาจาวา ภาษาจาวา (Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.

ดู วีลิสต์และภาษาจาวา

รายการโยง

รายการโยง เป็นรายการประเภทหนึ่ง ซึ่งจะใช้ประเภทข้อมูลประเภทโครงสร้าง วัตถุ หรือตัวชี้ (Pointer) เพื่อชี้สมาชิกตัวถัดไปที่เก็บไปเรื่อยๆ รายการโยงมีจุดเด่นทางด้านการเพิ่มหรือลดข้อมูลหรือชุดข้อมูลได้ง่าย จึงนำมาดัดแปลงในการสร้างโครงสร้างข้อมูลประเภทอื่นๆ เช่น กองซ้อน คิว ฯลฯ จึงนับว่าเป็นโครงสร้างข้อมูลที่ใช้บ่อยมากประเภทหนึ่ง.

ดู วีลิสต์และรายการโยง

วิทยาการคอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรก.

ดู วีลิสต์และวิทยาการคอมพิวเตอร์

ตารางแฮช

ตารางแฮช เป็นโครงสร้างข้อมูลในรูปแบบตาราง ซึ่งอาจใช้แถวลำดับในการทำ ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก เพื่อสะดวกต่อการเก็บและค้นหา โดยการผ่านฟังก์ชันแ.

ดู วีลิสต์และตารางแฮช

แถวลำดับ

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แถวลำดับ (array) คือโครงสร้างข้อมูลที่เป็นรายการอย่างหนึ่ง ข้อมูล (value) จะถูกเก็บบนหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ แบบอยู่ติดกันไปเรื่อย ๆ การเข้าถึงข้อมูลสามารถกระทำได้ผ่านดัชนี (index) หรืออาจเรียกว่า คีย์ โดยดัชนีจะเป็นจำนวนเต็มซึ่งบอกถึงลำดับที่ของข้อมูลในแถวลำดับ นอกจากนี้ ค่าของดัชนียังไปจับคู่กับที่อยู่หน่วยความจำ ผ่านสูตรคณิตศาสตร์ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ตัวอย่างเช่นแถวลำดับที่มีข้อมูล 10 ตัว โดยมีดัชนีตั้งแต่ 0 ถึง 9 สมมุติให้ข้อมูลแต่ละตัวใช้หน่วยความจำ 4 ไบต์ และแถวลำดับนี้มีที่อยู่ในหน่วยความจำคือ 2000 จะได้ว่าที่อยู่หน่วยความจำของข้อมูลตัวที่ i คือ 2000 + 4i แถวลำดับยังสามารถขยายมิติไปเป็นสองมิติหรือมากกว่านั้นได้ เนื่องจากรูปแบบของแถวลำดับสองมิติมีรูปร่างเป็นตาราง คล้ายกับเมตริกซ์ บางทีจึงอาจเรียกแถวลำดับสองมิติว่าเมตริกซ์หรือตาราง (สำหรับตารางโดยส่วนมากแล้วจะหมายความถึงตาราง lookup) เช่นเดียวกับแถวลำดับมิติเดียวที่บางครั้งก็อาจเรียกว่าเวกเตอร์หรือทูเพิล แถวลำดับถือได้ว่าเป็นโครงสร้างข้อมูลที่ถือกำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับการเขียนโปรแกรม และสำคัญมากในการเขียนโปรแกรมเช่นเดียวกัน และแทบจะไม่มีโปรแกรมใดเลยที่ไม่ใช้แถวลำดับ โดยแถวลำดับนี้ยังนำไปอิมพลีเมนต์โครงสร้างข้อมูลอื่นอีกมากมายเช่นรายการหรือสายอักขระ แม้แต่หน่วยเก็บข้อมูลที่มีที่อยู่หน่วยความจำก็อาจจะมองหน่วยเก็บข้อมูลเป็นแถวลำดับขนาดยักษ์ก็ได้.

ดู วีลิสต์และแถวลำดับ

แถวลำดับพลวัต

แถวลำดับพลวัต (dynamic array) หรืออาจเรียกว่า แถวลำดับที่ขยายได้ (growable array), แถวลำดับที่เปลี่ยนขนาดได้ (resizable array), ตารางพลวัต (dynamic table), รายการแถวลำดับ (array list) หรือ เวกเตอร์ (vector) เป็นรายการประเภทหนึ่ง มีคุณสมบัติการเข้าถึงโดยสุ่มเหมือนแถวลำดับ แต่ต่างจากแถวลำดับธรรมดาตรงที่สามารถขยายขนาดเองได้เมื่อใส่ข้อมูลเพิ่มเข้าไปสมชาย ประสิทธิ์จูตระกูล, การออกแบบและวิเคราะห์อัลกอริทึม, พิมพ์ครั้งที่ 4 แถวลำดับพลวัตไม่ใช่แถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัต เนื่องจากแถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัตมีขนาดคงที่ ในขณะที่แถวลำดับพลวัตสามารถขยายขนาดได้ อย่างไรก็ตาม ในการอิมพลีเมนต์แถวลำดับพลวัต ก็อาจใช้แถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัตเป็นส่วนประกอบได้การอิมพลีเมนต์แถวลำดับพลวัตในภาษาจาว.

ดู วีลิสต์และแถวลำดับพลวัต

แถวคอยสองหน้า

แถวคอยสองหน้า เป็นแบบชนิดข้อมูลนามธรรมที่เราสามารถนำข้อมูลแรกสุดหรือหลังสุดที่เราเพิ่มเข้าหรือออกก็ได้ เปรียบเสมือนเป็นแถวคอยที่มีหัวเปิดสองด้านให้เข้า-ออกได้ นั้นเอง แถวคอยสองหน้า สามารถประยุกต์ใช้ในแนวคิด กึ่งแถวคอยกึ่งกองซ้อนได้ ทำให้จัดการกับการเข้าออกของข้อมูลได้ทุกรูปแ.

ดู วีลิสต์และแถวคอยสองหน้า

โครงสร้างข้อมูล

ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โครงสร้างข้อมูล เป็นวิธีการจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บ่อยครั้งที่การเลือกโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมจะทำให้เราสามารถเลือกใช้ขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพไปพร้อมกันได้ การเลือกโครงสร้างข้อมูลนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นจากการเลือกแบบชนิดข้อมูลนามธรรม โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบเป็นอย่างดีจะสามารถรองรับการประมวลผลที่หนักหน่วงโดยใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งในแง่ของเวลาและหน่วยความจำ โครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบจะเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน และโครงสร้างข้อมูลบางแบบก็ออกแบบมาสำหรับบางงานโดยเฉพาะ อย่างเช่น ต้นไม้แบบบีจะเหมาะสำหรับระบบงานฐานข้อมูล ในกระบวนการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเลือกโครงสร้างข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งจากการพัฒนาระบบงานใหญ่ๆได้แสดงให้เห็นว่า ความยากในการพัฒนาและประสิทธิภาพของระบบจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างข้อมูลที่เลือกใช้อย่างมาก หลังจากตัดสินใจเลือกโครงสร้างข้อมูลที่จะใช้แล้วก็มักจะทราบถึงขั้นตอนวิธีที่ต้องใช้ได้ทันที แต่ในบางครั้งก็อาจจะกลับกัน คือ การประมวลผลที่สำคัญๆของโปรแกรมได้มีการใช้ขั้นตอนวิธีที่ต้องใช้โครงสร้างข้อมูลบางแบบโดยเฉพาะ จึงจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเลือกโครงสร้างข้อมูลด้วยวิธีการใด โครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากอยู่ดี แนวความคิดในเรื่องโครงสร้างข้อมูลนี้ส่งผล กับการพัฒนาวิธีการมาตรฐานต่างๆในการออกแบบและเขียนโปรแกรม หลายภาษาโปรแกรมนั้นได้พัฒนารวมเอาโครงสร้างข้อมูลนี้ไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบโปรแกรม เพื่อประโยชน์ในการใช้ซ้ำ.

ดู วีลิสต์และโครงสร้างข้อมูล

หรือที่รู้จักกันในชื่อ VList