โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิลเลียมดาบยาว

ดัชนี วิลเลียมดาบยาว

วิลเลี่ยมผู้ดาบยาว (William Longsword, Guillaume Longue-Épée, Willermus Longa Spata, ภาษานอร์สโบราณ: Vilhjálmr Langaspjót; ค.ศ. 893 – 17 ธันวาคม ค.ศ. 942) เป็นผู้ปกครองคนที่สองของนอร์ม็องดี ตั้งแต..

9 ความสัมพันธ์: พระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศสพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนการตัดขาดจากศาสนาภาษานอร์สโบราณรอลโลแห่งนอร์ม็องดีริชาร์ดที่ 1 แห่งนอร์ม็องดีดัชชีนอร์ม็องดีนอร์มันแฟลนเดอส์

พระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส (Louis IV de France) (10 กันยายน 920 - 30 กันยายน 954) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชนแฟรงค์ตะวันตก พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 13 ในราชวงศ์กาโรแล็งเชียง พระเจ้าหลุยส์ที่ 4 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งฝรั่งเศสกับเอดกิฟูแห่งอังกฤษ เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3ถูกโค่นล้มราชบัลลังก์ และพระเจ้าโรแบร์ที่ 1สิ้นพระชนม์ในสนามรบ รูดอล์ฟ ดยุกแห่งเบอร์กันดีจึงปกครองฝรั่งเศส แต่พระองค์ปกครองฝรั่งเศสได้ไม่นานก็สิ้นพระชนม์ เมื่อรูดอล์ฟสิ้นพระชนม์เหล่าขุนนางจึงตัดสินในไปทูลเชิญพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 ให้มาปกครองฝรั่งเศส พระองค์จึงได้เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในเวลาต่อม.

ใหม่!!: วิลเลียมดาบยาวและพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน

การให้บัพติศมาแก่ Neophytes วาดโดยมาซัชโช เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ฟลอเรนซ์ พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์ประชากรศาสตร์) พิธีบัพติศมาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 88 (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศีลล้างบาป (ศัพท์คาทอลิก) (Baptism มาจากภาษากรีก baptismos แปลว่า การล้าง) เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ ทำขึ้นเพื่อรับ "ผู้ที่เพิ่งรับเชื่อ" เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของคริสตจักร คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ระบุว่ายอห์นผู้ให้บัพติศมาเริ่มประกอบพิธีนี้ให้สาวกของตน โดยให้ผู้รับจุ่มตัวลงในแม่น้ำลึก ถือเป็นสัญลักษณ์ของการกลับใจและรอคอยอาณาจักรสวรรค์ซึ่งกำลังจะมาถึง พระเยซูทรงรับบัพติศมาจากยอห์นในครั้งนั้นด้วย จากนั้นจึงเริ่มปฏิบัติพระภารกิจของพระองค์ ต่อมาในศาสนาคริสต์ยุคแรก ผู้ให้บัพติศมาจะให้ผู้รับเปลือยกายลงแช่ในแม่น้ำ ซึ่งมีทั้งแบบให้จุ่มทั้งตัว ยืน หรือคุกเข่าในน้ำ แล้ว "ผู้ให้บัพติศมา" จะตักน้ำรดลงบน "ผู้รับบัพติศมา" ในปัจจุบันบางคริสตจักรยังรักษาวิธีการแบบเดิม บางคริสตจักรก็ใช้วิธีเทน้ำรดลงบนหน้าผากของผู้รับสามครั้ง การเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ก็ถือว่าเป็นการรับบัพติศมาด้วย เรียกว่า "พิธีบัพติศมาด้วยเลือด" เชื่อว่ามรณสักขีนั้นได้รับความรอดแล้วแม้จะยังไม่ได้รับบัพติศมาด้วยน้ำก็ตาม คริสตจักรโรมันคาทอลิกปัจจุบันรับรอง "พิธีบัพติศมาแห่งความปรารถนา" ซึ่งหมายถึงความตั้งใจจะรับบัพติศมาแต่เสียชีวิตเสียก่อนเข้าพิธี ก็ถือว่าได้รับความรอดแล้ว คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายประกอบพิธีบัพติศมาแก่ทารกด้วย เพราะเชื่อว่าบัพติศมาเป็นทางแห่งความรอด จนเมื่อฮุลดริช ซวิงลี นักเทววิทยาศาสนาคริสต์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวว่าพิธีนี้ไม่จำเป็น คริสตจักรแบปทิสต์จึงประกอบพิธีบัพติศมาแก่ผู้เชื่อเองเท่านั้น ทุกวันนี้คริสต์ศาสนิกชนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะเควเกอร์และแซลเวชันอาร์มีถือว่าพิธีนี้ไม่จำเป็นและไม่ประกอบพิธีนี้เลย แต่กลุ่มที่ยังมีพิธีนี้อยู่ก็มีรูปแบบพิธีแตกต่างกันไป ส่วนมากรับบัพติศมา "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" (โปรเตสแตนต์) หรือ "เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต" (คาทอลิก) โดยถือตามพระมหาบัญชาก่อนการเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซู.

ใหม่!!: วิลเลียมดาบยาวและพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

การตัดขาดจากศาสนา

การตัดขาดจากศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเททพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 204 (excommunication) คือการตำหนิโทษทางศาสนา เพื่อขับไล่บุคคลหนึ่งให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของศาสนจักร คำว่า excommunication หมายถึง การไม่ร่วมสมานฉันท์ (communion).

ใหม่!!: วิลเลียมดาบยาวและการตัดขาดจากศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษานอร์สโบราณ

ภาษานอร์สโบราณ (Norrœnt mál) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ พูดในสแกนดิเนเวียและอาณานิคมโพ้นทะเลของชาวสแกนดิเนเวียในยุคไวกิงจนถึงประมาณค.ศ. 1300 ภาษานอร์สโบราณพัฒนามาจากภาษานอร์สดั้งเดิมในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และพัฒนาไปเป็นภาษาเจอร์แมนิกเหนือหลายภาษาหลังยุคไวกิง ภาษาในปัจจุบันที่มาจากภาษานอร์สโบราณได้แก่ภาษาไอซ์แลนด์ แฟโร นอร์เวย์ เดนมาร์ก และสวีเดน นอร์สโบราณ นอร์สโบราณ นอร์สโบราณ หมวดหมู่:ประเทศกลุ่มนอร์ดิก.

ใหม่!!: วิลเลียมดาบยาวและภาษานอร์สโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

รอลโลแห่งนอร์ม็องดี

รอลโล หรือ กาอาง รอล์ฟ (Rollo หรือ Gaange Rolf, ภาษานอร์มัน: Rou, Hrólfr, Rollon; ค.ศ. 846 – 930) เป็นชาวไวกิ้งที่กลายเป็นผู้ปกครองคนแรกของนอร์ม็องดี บางครั้งก็ถูกเรียกว่าดยุคที่ 1 แห่งนอร์ม็องดี ชื่อสแกนดิเนเวียของเขาคือ รอล์ฟ ที่ถูกขยายเพิ่มว่า กาอาง รอล์ฟ เนื่องจากเขามีน้ำหนักตัวมากเกินกว่าที่ม้าโตเต็มวัยจะแบกไหว เขาจึงต้องเดิน (หรือ "gaa" ในภาษาดาโนนอร์วีเจียน) รอลโลปรากฏตัวขึ้นมาในฐานะบุคคลที่โดดเด่นท่ามกลางชาวนอร์ส ที่มีฐานที่มั่นถาวรที่มั่นคงบนผืนแผ่นดินของชาวแฟรงก์ในหุบเขาแม่น้ำเซนล่าง พระเจ้าชาร์ลผู้เรียบง่าย กษัตริย์แห่งเวสต์ฟรังเกีย ยกดินแดนระหว่างปากแม่น้ำเซนกับเมืองรูอ็องในปัจจุบันให้เขา แลกกับการให้รอลโลยินยอมยุติการปล้นทรัพย์และให้การคุ้มกันชาวแฟรงก์จากการรุกรานของชาวไวกิ้งในอนาคต รอลโลได้รับการบันทึกครั้งแรกในฐานะผู้นำของผู้ตั้งรกรากชาวไวกิ้งกลุ่มดังกล่าวในกฎบัตรของ..

ใหม่!!: วิลเลียมดาบยาวและรอลโลแห่งนอร์ม็องดี · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ดที่ 1 แห่งนอร์ม็องดี

ริชาร์ดที่ 1 (28 สิงหาคม ค.ศ. 932 – 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 996) หรือ ริชาร์ดผู้ไม่กลัวใคร (Richard the Fearless, Richard Sans-Peur, ภาษานอร์สโบราณ: Jarl Richart) เป็นเคานต์แห่งรูอ็องหรือยาร์ลแห่งรูอ็องตั้งแต..

ใหม่!!: วิลเลียมดาบยาวและริชาร์ดที่ 1 แห่งนอร์ม็องดี · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีนอร์ม็องดี

แผนที่นอร์ม็องดี ดัชชีนอร์ม็องดี (Duchy of Normandy) มีที่มามาจากการรุกรานของชนหลายชาติที่รวมทั้งชนเดนส์, ไฮเบอร์โน-นอร์ส, ไวกิงจากออร์กนีย์ และแองโกล-เดนส์ (จากบริเวณเดนลอว์) ในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ประมุขที่อาจจะเป็นอาณาจักรเคานต์ก่อตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาแซ็ง-แกลร์-ซูว์แร็ปต์ ในปี..

ใหม่!!: วิลเลียมดาบยาวและดัชชีนอร์ม็องดี · ดูเพิ่มเติม »

นอร์มัน

ีแดงเป็นบริเวณที่นอร์มันได้รับชัยชนะ นอกจากนั้นก็ยังได้รับชัยชนะต่อหมู่เกาะมอลตีส และบางส่วนของตูนิเซีย และลิเบีย นอร์มัน (Normans) คือกลุ่มชนผู้ให้นามแก่ดินแดนนอร์ม็องดีซึ่งเป็นบริเวณทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ชนนอร์มันสืบเชื้อสายมาจากไวกิงผู้ได้รับชัยชนะต่อผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่แต่เดิมที่เป็นชนแฟรงค์ (Franks) และกอลล์-โรมัน (Gallo-Roman) ความเป็น “ชนนอร์มัน” เริ่มเป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกราวครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 10 และค่อยๆ วิวัฒนาการเรื่อยมาในคริสต์ศตวรรษต่อๆ มาจนกระทั่งสูญหายไปจากการเป็นกลุ่มชนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 คำว่า “นอร์มัน” มาจากคำว่า “นอร์สเม็น” หรือ “นอร์ธเม็น” (Norsemen หรือ Northmen) ตามชื่อไวกิงจากสแกนดิเนเวียผู้ก่อตั้งนอร์ม็องดี หรือ “นอร์ธมานเนีย” เดิมในภาษาละติน ชนนอร์มันมีบทบาทสำคัญในทางการเมือง, การทหารและวัฒนธรรมของยุโรปและแม้แต่ในตะวันออกใกล้ (Near East) ชนนอร์มันมีชื่อเสียงในทางการรณรงค์และความศรัทธาทางคริสต์ศาสนา และยอมรับการใช้ภาษากอลล์-โรมานซ์ในดินแดนที่ไปตั้งถิ่นฐานอย่างรวดเร็ว สำเนียงการพูดและการใช้ภาษาที่ได้รับมากลายมาเป็นภาษานอร์มันซึ่งเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางวรรณกรรม อาณาจักรดยุคแห่งนอร์ม็องดี (Duchy of Normandy) ที่เป็นดินแดนที่เกิดจากสนธิสัญญากับราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอาณาบริเวณการปกครองที่มีความสำคัญที่สุดบริเวณหนึ่งในยุคกลางของฝรั่งเศส ทางด้านการสงครามชนนอร์มันขยายดินแดนโดยการรุกรานและยึดครองโดยเฉพาะในการยึดครองอังกฤษในการรุกรานและยึดครองอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 และการรุกรานและยึดครองอิตาลีตอนใต้ นอกจากในด้านการเมืองและการปกครองแล้วชนนอร์มันก็ยังมีชื่อเสียงทางด้านการสถาปัตยกรรมที่มีพื้นฐานมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ และความสามารถทางด้านดนตรี อิทธิพลของนอร์มันในด้านต่างๆ แผ่ขยายจากบริเวณที่ยึดครองตั้งแต่อาณาจักรครูเสดต่างๆ ในตะวันออกใกล้ไปจนถึงสกอตแลนด์ และเวลส์ ในสหราชอาณาจักร และในไอร์แลนด์ ในการศึกษาประวัติศาสตร์ (historiography) ของรัสเซีย คำว่า “นอร์มัน” มักจะใช้สำหรับชนวารันเจียน (Varangians) ซึ่งมาจากไวกิง ในการศึกษาประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสก็เช่นกันมักจะเป็นคำที่หมายถึงไวกิงกลุ่มต่างๆ ผู้รุกรานฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก่อนจะตั้งหลักแหล่งในนอร์ม็องดี.

ใหม่!!: วิลเลียมดาบยาวและนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

แฟลนเดอส์

งฟลานเดอร์ ฟลานเดอร์ ในความหมายปัจจุบันหมายถึงพื้นที่ทางตอนเหนือของเบลเยียม ซึ่งใช้ภาษาดัตช์ (หรือฟลามส์) ในทางประวัติศาสตร์ ฟลานเดอร์เป็นพื้นที่ ครอบคลุมบางส่วนของประเทศเบลเยียม ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ในทางการปกครอง ฟลานเดอร์ประกอบด้วยชุมชนฟลามส์และเขตฟลาม.

ใหม่!!: วิลเลียมดาบยาวและแฟลนเดอส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วิลเลี่ยมผู้ดาบยาววิลเลี่ยมดาบยาว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »