เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วิภัชชวาท

ดัชนี วิภัชชวาท

ในการสังคายนาครั้งที่สามในศาสนาพุทธ พระโมคคลีบุตรติสสเถระถือว่า วิภัชชวาท เป็นอีกชื่อหนึ่งของนิกายเถรวาท แต่หลักฐานของจีนกล่าวว่านิกายปรัชญัปติวาท นิกายมหีศาสกะ และนิกายสางมิตียะ บางครั้งก็เรียกรวม ๆ ว่านิกายวิภัชวาทด้วย จึงอาจเป็นนิกายหนึ่งต่างหากที่แยกออกมาจากเถรวาท ส่วนหลักฐานฝ่ายทิเบตกล่าวว่า นิกายมหีศาสกะ นิกายกาศยปียะ และนิกายธรรมคุปต์แยกออกมาจากนิกายวิภัชชวาทนี้.

สารบัญ

  1. 8 ความสัมพันธ์: กาศยปียะมหีศาสกะสางมิตียะธรรมคุปต์ทิเบตประเทศจีนปรัชญัปติวาทเถรวาท

กาศยปียะ

นิกายกัสสปิกวาท หรือ นิกายกาศยปียะ เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ซึ่งแยกตัวออกมาจากนิกายสรวาสติวาทราว พ.ศ.

ดู วิภัชชวาทและกาศยปียะ

มหีศาสกะ

นิกายมหิสาสกวาท หรือ นิกายมหีศาสกะ เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่หลักฐานฝ่ายบาลีกล่าวว่าแยกมาจากเถรวาท ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายสรวาสติวาท อาจารย์ผู้เป็นต้นกำเนิดของนิกายนี้เป็นพราหมณ์ เมื่อมาบวชได้นำหลักธรรมในพระเวทมาผสมกับพระพุทธพจน์ แพร่หลายทางภาคตะวันตกและภาคใต้ของอินเดีย โดยเฉพาะแคว้นอวันตี วนวาสี มหาสมณฑล เกรละ และมีอิทธิพลในลังกาด้วย พระพุทธชีวะได้แปลวินัยของนิกายนี้เป็นภาษาจีน หลักธรรมของนิกายนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากนิกายอื่นๆ หลายประการ เช่น ไม่มีอันตรภพ ผู้สำเร็จอรหันต์แล้วไม่เสื่อมแต่พระโสดาบันเสื่อมได้ การบูชาสถูปเจดีย์ได้บุญน้อย การถวายทานให้คณะสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานมีผลมากกว่าถวายทานต่อพระพุทธเจ้าองค์เดียว เป็นต้น.

ดู วิภัชชวาทและมหีศาสกะ

สางมิตียะ

นิกายสมิติยวาท หรือ สางมิตียะ เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่แยกมาจากนิกายวาตสีปุตรียะ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายแม่ คือรับรองว่ามีอาตมันหรือบุคคล รุ่งเรืองในอินเดียจนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 แต่หลักฐานเหลือมาถึงปัจจุบันไม่มากนัก.

ดู วิภัชชวาทและสางมิตียะ

ธรรมคุปต์

รรมคุปต์ หรือ ธรรมคุปตวาท แยกมาจากนิกายมหีศาสกะ ในเวลาใกล้เคียงกับนิกายสรวาสติวาท โดยแตกต่างจากนิกายแม่ที่เรื่องการถวายทาน นิกายนี้เห็นว่าทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้าหรือแม้แต่สถูปเจดีย์มีผลมากกว่าถวายต่อสงฆ์ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายมหาสังฆิกะมากกว่านิกายมหีศาสกะ แพร่หลายในเอเชียกลางและจีน พระวินัยของนิกายนี้เป็นต้นแบบของนิกายวินัยในจีน นักวิชาการถือว่านิกายนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิกายเถรวาท แต่นิกายเถรวาทถือว่านิกายนี้เป็นฝ่ายอาจริยวาทและอธรรมวาที ในคัมภีร์กถาวัตถุปรากฏข้อมูลว่าเถรวาทกับธรรมคุปต์เห็นต่างกันหลายเรื่อง เช่น อานิสงส์ของการทำทาน การบูชาพระเจดีย์ วิมุตติของพระพุทธเจ้ากับพระอรหันตสาวก อภิญญาของศาสนาในศาสนาอื่น เป็นต้น.

ดู วิภัชชวาทและธรรมคุปต์

ทิเบต

ทิเบต (ภาษาทิเบต: བོད་ เป้อ, ภาษาจีน: 西藏 xīzàng ซีจ้าง) เป็นเขตที่ราบสูงในทวีปเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่อยู่ของชาวทิเบต และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ และปัจจุบันมีชาวฮั่นและหุยมาอยู่อาศัยด้วยเป็นจำนวนมาก ทิเบตเป็นบริเวณที่สูงที่สุดในโลก มีระดับความสูงเฉลี่ย 4,900 เมตร หมวดหมู่:เอเชียกลาง หมวดหมู่:เอเชียตะวันออก.

ดู วิภัชชวาทและทิเบต

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ดู วิภัชชวาทและประเทศจีน

ปรัชญัปติวาท

นิกายปรัชญัปติวาท เป็นนิกายฝ่ายอาจริยวาท ซึ่งแยกมาจากนิกายเอกัพยาวหาริกะตามหลักฐานฝ่ายบาลี ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายมหาสางฆิกะ หลักธรรมส่วนใหญ่เหมือนนิกายมหาสางฆิกะ ที่ต่างไปคือ ถือว่าทุกข์ไม่มีขันธ์ อายตนะ 12 เป็นมายา ไม่มีอกาล บุญกุศลเป็นเหตุปัจจัยให้ได้บรรลุอริยมรร.

ดู วิภัชชวาทและปรัชญัปติวาท

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ดู วิภัชชวาทและเถรวาท

หรือที่รู้จักกันในชื่อ นิกายวิภัชวาท