โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระวินัยปิฎก

ดัชนี พระวินัยปิฎก

ระวินัยปิฎก (Vinaya Piṭaka วินะยะปิฏะกะ) ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก เป็นประมวลกฎข้อบังคับ เกี่ยวกับความประพฤติของเหล่าพระสงฆ์ ทั้งภิกษุและภิกษุณี ทว่า พระวินัยปิฎกนั้นมิได้มีแต่กฎข้อบังคับเท่านั้น หากยังมีเนื้อหาสะท้อนประวัติศาสตร์ของอินเดียในสมัยพุทธกาลด้วย รวมทั้ง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และประวัติของบุคคลสำคัญบางคนในยุคนั้น เช่น ชีวกโกมารภัจจ์ เดิมนั้น พระวินัยปิฎกแบ่งได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก.

15 ความสัมพันธ์: ชีวกโกมารภัจจ์พระสุตตันตปิฎกพระสงฆ์พระอภิธรรมปิฎกพระไตรปิฎกพุทธศักราชภิกษุภิกษุณีมหาวรรคศีล 227สุตตวิภังค์จูฬวรรคประเพณีประเทศอินเดียปริวาร

ชีวกโกมารภัจจ์

หมอ ชีวกโกมารภัจจ์ (อ่านว่า ชี-วะ-กะ-โก-มา-ระ-พัด) บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เรื่องราวขีวิตของท่านมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา ตลอดชีวิตของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้บำเพ็ญแต่คุณงามความดี ช่วยเหลือผู้เจ็บไข้โดยไม่เลือกฐานะ จนได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งปวงในทาง "เป็นที่รักของปวงชน".

ใหม่!!: พระวินัยปิฎกและชีวกโกมารภัจจ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระสุตตันตปิฎก

ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.

ใหม่!!: พระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระสงฆ์

ระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้ พระสงฆ์ จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์ คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า เพราะต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ถือเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระภิกษุปฏิบัติตามสิกขาบทที่กำหนดไว้จำนวน 227 ข้อ ส่วนพระภิกษุณีรักษาสิกขาบท 311 ข้อ บางครั้งเรียกว่าสงฆ์ ภิกษุรูปแรกในพระศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าคือพระอัญญาโกณฑัญญ.

ใหม่!!: พระวินัยปิฎกและพระสงฆ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอภิธรรมปิฎก

ระอภิธรรมปิฎก (Abhidhammapiṭaka) เป็นปิฎกฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามใน "พระไตรปิฎกภาษาบาลี" (Pali Canon) อภิธรรม แปลว่า "ธรรมอันยิ่ง" ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเล.

ใหม่!!: พระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎก

ระไตรปิฎก (Tipiṭaka; त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: พระวินัยปิฎกและพระไตรปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พุทธศักราช

ทธศักราช ย่อว.. เป็นศักราชที่เริ่มนับเมื่อพระโคตมพุทธเจ้าปรินิพพาน ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อปรินิพพานแล้ว 1 ปี แต่ในเช่น ในประเทศไทยเป็นปี..

ใหม่!!: พระวินัยปิฎกและพุทธศักราช · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: พระวินัยปิฎกและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุณี

กษุณี (ภิกฺขุณี; ภิกฺษุณี) เป็นคำใช้เรียกนักพรตหญิงในศาสนาพุทธ คู่กับภิกษุที่หมายถึงนักพรตชายในพระพุทธศาสนา คำว่า ภิกษุณี เป็นศัพท์ที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา โดยเป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่ใช้เรียกนักบวชในศาสนาอื่น ภิกษุณี หรือ ภิกษุณีสงฆ์ จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี โดยวิธีรับคุรุธรรม 8 ประการ ในคัมภีร์เถรวาทระบุว่าต่อมาในภายหลังพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทภิกษุณีให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น จนศีลของพระภิกษุณีมีมากกว่าพระภิกษุ โดยพระภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ ในขณะที่พระภิกษุมีศีลเพียง 227 ข้อเท่านั้น เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน และการตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์และพระพุทธศาสนาได้ หากได้บุคคลที่ไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวช จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏว่ามีการตั้งวงศ์ภิกษุณีเถรวาทขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตามในประเทศพุทธเถรวาทที่เคยมีหรือไม่เคยมีวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ในปัจจุบัน ต่างก็นับถือกันโดยพฤตินัยว่าการที่อุบาสิกาที่มีศรัทธาโกนศีรษะนุ่งขาวห่มขาว ถือปฏิบัติศีล 8 (อุโบสถศีล) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า แม่ชี เป็นการผ่อนผันผู้หญิงที่ศรัทธาจะออกบวชเป็นภิกษุณีเถรวาท แต่ไม่สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีเถรวาทได้ โดยส่วนใหญ่แม่ชีเหล่านี้จะอยู่ในสำนักวัดซึ่งแยกเป็นเอกเทศจากกุฎิสงฆ์ ภิกษุณีสายเถรวาทซึ่งสืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลด้วยการบวชถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท ที่ต้องบวชในสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ ได้ขาดสูญวงศ์ (ไม่มีผู้สืบต่อ) มานานแล้ว คงเหลือแต่ภิกษุณีฝ่ายมหายาน (อาจริยวาท) ที่ยังสืบทอดการบวชภิกษุณีแบบมหายาน (บวชในสงฆ์ฝ่ายเดียว) มาจนปัจจุบัน ซึ่งจะพบได้ในประเทศจีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และศรีลังกา ปัจจุบันมีการพยายามรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีในฝ่ายเถรวาท โดยทำการบวชมาจากภิกษุณีมหายาน และกล่าวว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานนั้น สืบวงศ์ภิกษุณีสงฆ์มาแต่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายมหายานมีการบวชภิกษุณีสืบวงศ์มาโดยมิได้กระทำถูกตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีศีลที่แตกต่างกันอย่างมากด้วย ทำให้มีการไม่ยอมรับภิกษุณี (เถรวาท) ใหม่ ที่บวชมาแต่มหายานว่า มิได้เป็นภิกษุณีที่ถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีการยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างว่าพระพุทธศาสนาจำกัดสิทธิสตรีด้วย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะพระพุทธเจ้าได้อนุญาตให้มีภิกษุณีที่นับเป็นการเปิดโอกาสให้มีนักบวชหญิงเป็นศาสนาแรกในโลก เพียงแต่การสืบทอดวงศ์ภิกษุณีได้สูญไปนานแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถบวชสตรีเป็นภิกษุณีตามพระวินัยเถรวาทได้.

ใหม่!!: พระวินัยปิฎกและภิกษุณี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวรรค

ัมภีร์มหาวรรค หรือ มหาวรรค คือหมวดหมู่หนึ่งในคัมภีร์ขันธกะ อันเป็นคัมภีร์ที่สองในพระวินัยปิฎกเถรวาท ตามการจัดแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ มหาวรรค มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 4-5 มีเนื้อหาว่าด้วยหลักในการประพฤติในด้านขนบธรรมเนียมเพื่ออาจาระที่เหมาะสมของพระสงฆ์ โดยรวมหลักสิกขาบทในคัมภีร์มหาวรรคเรียกว่า สิกขาบทฝ่ายอภิสมาจาร หรือ สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์ คัมภีร์มหาวรรคทั้งหมด จัดอยู่ในหมวดขันธกะ อันเป็นส่วนที่สองในพระวินัยปิฎก คู่กับอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ที่เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นสิกขาบทหลัก คือพระวินัยบัญญัติ อันเป็นสิกขาบทในพระปาติโมกข์ที่จัดอยู่ในหมวดสุตตวิภังค์ โดยสิกขาบทในคัมภีร์มหาวรรคไม่ได้จัดเป็นข้อห้ามตามสิกขาบทบัญญัติในพระปาติโมกข์ ดังนั้นพระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดข้อห้ามในคัมภีร์มหาวรรคก็ไม่ต้องอาบัติสูงสุดถึงปาราชิก โดยต้องเพียงอาบัติทุกกฎหรือถุลลัจจัย เนื้อหาในคัมภีร์มหาวรรค นอกจากขนบธรรมเนียมของพระสงฆ์แล้ว ยังมีเนื้อหาว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในพระพุทธประวัติจำนวนมาก เช่น ในหมวดมหาขันธกะอันเป็นหมวดย่อยในคัมภีร์มหาวรรค มีเนื้อหากล่าวถึงพระพุทธประวัติตั้งแต่ครั้งปฐมโพธิกาล จนถึงมัชฌิมโพธิกาล จัดเป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของพระพุทธศาสนาในยุคแรก ๆ อีกด้วย มหาวรรค มาคู่กับ จูฬวรรค อยู่ในหมวดหมู่คัมภีร์ขันธกะแห่งพระวินัยปิฎกเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: พระวินัยปิฎกและมหาวรรค · ดูเพิ่มเติม »

ศีล 227

ระวินัย 227 ข้อ ของพระ เป็นกฎหมายหรือข้อห้ามของพระภิกษุสงฆ์เถรวาทตามพระวินัยบัญญัติ จัดอยู่ในส่วนอาทิพรหมจาริยกาสิกขา พระวินัย 227บทในพระปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางข้อกำหนดไม่พึงละเมิดไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคณะสงฆ์ และเพื่อเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานอันเอื้อเฟื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์ มีโทษในการล่วงละเมิดร้ายแรงที่สุดถึงปาราชิก หรือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ พระวินัย 227 บ ไม่ใช่ศีลแต่เรียกว่า พระวินัย ผู้ทำผิดศีลเรียกว่า ล่วงพระวินัย เป็น อาบัติ ระดับชั้นต่าง ๆ ตามความหนักเบา สามารถแบ่งระดับอาบัติออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุด ในอาบัติระดับเบาจะต้องมีการเผยความผิด อาบัติระดับเบาเช่น ปาจิตตีย์ สามารถแก้ได้โดยกล่าวแสดงความผิดของตนกับพระภิกษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงถึงความสำนึกผิดและเพื่อจะตั้งใจประพฤติตนใหม่ หรือที่เรียกว่า การแสดงอาบัติ, ปลงอาบัติ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกย่อมขาดจากความเป็นพระ และไม่สามารถบวชเป็นพระสงฆ์ได้อีก ซึ่งพระวินัย ไม่ใช่ศีล แต่เป็นเสมือนกฎหมายของพระภิกษุ แต่หากจะกล่าวถึงศีลพระนั้น มีเพียง 43 ข้อ คือ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล จึงจะเป็นศีลพระที่แท้จริงตามพุทธบัญญัต.

ใหม่!!: พระวินัยปิฎกและศีล 227 · ดูเพิ่มเติม »

สุตตวิภังค์

ัมภีร์สุตตวิภังค์ หรือ วิภังค์ เป็นคัมภีร์หนึ่งในพระวินัยปิฎกเถรวาท มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 ถึง 3 ว่าด้วยสิกขาบทในพระปาติโมกข์ของพระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุณีสงฆ์ ซึ่งเป็นอาทิพรหมจาริยกาสิกขา การจัดแบ่งดังกล่าวเป็นการแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ของอังกฤษ ซึ่งแบ่งพระวินัยปิฎกออกเป็นสามหมวดคือ สุตตวิภังค์, ขันธกะ และปริวาร คัมภีร์สุตตวิภังค์ มีคัมภีร์อรรถกถาขยายความชื่อ สมันตปาสาทิกา (อรรถกถาพระวินัย ภาค 1 - 2) และมีคัมภีร์ฎีกาขยายความอรรถกถาชื่อ ฎีกาสารัตถทีปนี (ฎีกาพระวินัย ภาค 1 - 3).

ใหม่!!: พระวินัยปิฎกและสุตตวิภังค์ · ดูเพิ่มเติม »

จูฬวรรค

ัมภีร์จูฬวรรค หรือ จูฬวรรค (คัมภีร์จุลวรรค หรือ จุลวรรค) แปลว่า หมวดเล็ก คือหมวดหมู่ที่สองในคัมภีร์ขันธกะ อันเป็นคัมภีร์ที่สองในพระวินัยปิฎกเถรวาท ตามการจัดแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ จูฬวรรค มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 6-7 มีเนื้อหาว่าด้วยหลักโดยเบ็ดเตล็ดในการประพฤติในด้านขนบธรรมเนียมเพื่ออาจาระที่เหมาะสมของพระสงฆ์ รวมไปถึงส่วนสังฆกรรมประเภทนิคหกรรมของพระสงฆ์ด้วย โดยรวมหลักสิกขาบทในคัมภีร์จูฬวรรคเรียกว่า สิกขาบทฝ่ายอภิสมาจาร หรือ สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์ คัมภีร์จูฬวรรคทั้งหมด จัดอยู่ในหมวดขันธกะ อันเป็นส่วนที่สองในพระวินัยปิฎก คู่กับอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ที่เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นสิกขาบทหลัก คือพระวินัยบัญญัติ อันเป็นสิกขาบทในพระปาติโมกข์ที่จัดอยู่ในหมวดสุตตวิภังค์ โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ในคัมภีร์จูฬวรรคภาคแรกเกี่ยวกับสังฆกรรมวิธีการลงนิคหกรรม, ปริวาสกรรม, และวิธีการระงับอธิกรณ์ มีเนื้อหาเกี่ยวสิกขาบทแต่เพียงเล็กน้อย โดยสิกขาบทในคัมภีร์จูฬวรรคไม่ได้จัดเป็นข้อห้ามตามสิกขาบทบัญญัติในพระปาติโมกข์ ดังนั้นพระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดข้อห้ามในคัมภีร์มหาวรรคก็ไม่ต้องอาบัติสูงสุดถึงปาราชิก โดยต้องเพียงอาบัติทุกกฎหรือถุลลัจจัย เนื้อหาในคัมภีร์จูฬวรรค แสดงถึงกระบวนการในการแก้ปัญหาอย่างมีระบบของคณะสงฆ์ (ญัตติกรรม) บางตอนมีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมที่ผสมผสานกันระหว่างหลักเสียงข้างมาก (Majority rule) กับหลักการในพระธรรมวินัย เช่นใน เยภุยยสิกา เป็นต้น จูฬวรรค มาคู่กับ มหาวรรค อยู่ในหมวดหมู่คัมภีร์ขันธกะแห่งพระวินัยปิฎกเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: พระวินัยปิฎกและจูฬวรรค · ดูเพิ่มเติม »

ประเพณี

ประเพณี (Tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเท.

ใหม่!!: พระวินัยปิฎกและประเพณี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: พระวินัยปิฎกและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ปริวาร

ัมภีร์ปริวาร หรือ ปริวาร เป็นคัมภีร์สุดท้ายในส่วนพระวินัยปิฎกเถรวาท มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 8 มีเนื้อหาเป็นลักษณะคำถามคำตอบ โดยสรุปความจากเนื้อหาในพระวินัยปิฎก เพื่อประโยชน์ในการศึกษา การสอน รวมไปถึงการซักซ้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจในพระวินัยโดยชัดเจน ปริวาร จัดเป็นคัมภีร์ที่เปรียบเสมือนภาคผนวกของพระวินัยในส่วน อาทิพรหมจาริยกาสิกขา (สุตตวิภังค์) และอภิสมาจาริกาสิกขา (ขันธกะ) โดยคัมภีร์ปริวารแต่งโดยพระธรรมสังคหกาจารย์ในครั้งปฐมสังคายนา โดยได้ยกคัมภีร์ปริวารขึ้นสังคายนาหลังจากได้สังคายนารวบรวมในส่วนสุตตวิภังค์และขันธกะเสร็จแล้ว โดยคัมภีร์ปริวารจัดเป็นคัมภีร์สุดท้ายในพระวินัยปิฎก (การจัดแบ่งดังกล่าวเป็นการแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ของอังกฤษ ซึ่งแบ่งพระวินัยปิฎกออกเป็นสามหมวดคือ สุตตวิภังค์, ขันธกะ และปริวาร) คัมภีร์ปริวาร มีคัมภีร์อรรถกถาขยายความชื่อ สมันตปาสาทิกา (อรรถกถาพระวินัย ภาค 3) และมีคัมภีร์ฎีกาขยายความอรรถกถาชื่อ ฎีกาสารัตถทีปนี (ฎีกาพระวินัย ภาค 4).

ใหม่!!: พระวินัยปิฎกและปริวาร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วินัยวินัยปิฎกพระวินัยพระวินัยบรมพุทธานุญาตพระวินัยบัญญัติพระวินัยปิฎกเถรวาท

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »