โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิทยาต่อมไร้ท่อ

ดัชนี วิทยาต่อมไร้ท่อ

วิทยาต่อมไร้ท่อ (endocrinology; มาจากภาษากรีกโบราณ ἔνδον, endon, "ภายใน"; κρίνω, krīnō, "แยก"; และ -λογία, -logia) เป็นสาขาหนึ่งของชีววิทยาและแพทยศาสตร์ว่าด้วยระบบต่อมไร้ท่อ โรคของระบบต่อมไร้ท่อ และการหลั่งสิ่งที่เรียก ฮอร์โมน นอกจากนี้ยังศึกษาบูรณาการและการเจริญ การเพิ่มจำนวน การเติบโตและการเปลี่ยนไปทำหน้าที่เฉพาะ (differentiation) และกัมมันตภาพทางจิตวิทยาหรือพฤติกรรมของเมแทบอลิซึม การเจริญเติบโต การทำหน้าที่ของเนื้อเยื่อ การหลับ การย่อย การหายใจ การขับถ่าย อารมณ์ ความเครียด การหลั่งน้ำนม การเคลื่อนไหว การสืบพันธุ์และการรับรู้สัมผัสที่เกิดจากฮอร์โมน สาขาเฉพาะทางได้แก่ วิทยาต่อมไร้ท่อพฤติกรรมและวิทยาต่อมไร้ท่อเปรียบเทียบ ระบบต่อมไร้ท่อประกอบด้วยหลายต่อมในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงโดยไม่ผ่านระบบท่อ ฮอร์โมนมีหน้าที่และกลไกการออกฤทธิ์หลายอย่าง ฮอร์โมนชนิดหนึ่งมีผลหลายอย่างต่ออวัยวะเป้าหมาย และในทางกลับกัน อวัยวะเป้ามายหนึ่งอาจได้รับผลจากฮอร์โมนมากกว่าหนึ่งชนิด หมวดหมู่:ระบบต่อมไร้ท่อ.

12 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาการหลับการหายใจการขับถ่ายภาษากรีกโบราณระบบต่อมไร้ท่ออารมณ์ฮอร์โมนความเครียด (ชีววิทยา)แพทยศาสตร์เมแทบอลิซึมเนื้อเยื่อ

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: วิทยาต่อมไร้ท่อและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

การหลับ

็กกำลังหลับ การหลับเป็นสถานะที่เกิดซ้ำตามธรรมชาติ โดยแสดงลักษณะที่มีความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป กิจกรรมรับความรู้สึกค่อนข้างถูกยับยั้ง และการยับยั้งกล้ามเนื้อที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจแทบทั้งหมด การหลับต่างจากความตื่นตัวเงียบตรงที่มีความสามารถสนองต่อสิ่งเร้าลดลง และสามารถผันกลับได้ง่ายกว่าอยู่ในสถานะจำศีลหรือโคม่ามาก การหลับเป็นสถานะที่มีแอแนบอลิซึมเพิ่มขึ้น โดยเน้นการเจริญเติบโตและการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน ประสาท กระดูกและกล้ามเนื้อ การหลับพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด นกทุกชนิด และสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลาหลายชนิด ความมุ่งหมายและกลไกของการหลับยังไม่ชัดเจนทั้งหมด และยังเป็นหัวข้อของการวิจัยอย่างจริงจัง มักคิดกันว่า การหลับช่วยรักษาพลังงาน.

ใหม่!!: วิทยาต่อมไร้ท่อและการหลับ · ดูเพิ่มเติม »

การหายใจ

การหายใจ (breathing) เป็นกระบวนการซึ่งนำอากาศเข้าหรือออกจากปอด สิ่งมีชีวิตที่ต้องการออกซิเจนต้องการไปเพื่อปลดปล่อยพลังงานผ่านการหายใจระดับเซลล์ในรูปเมแทบอลิซึมโมเลกุลพลังงานสูง เช่น กลูโคส การหายใจเป็นเพียงกระบวนการเดียวซึ่งส่งออกซิเจนไปยังที่ที่ต้องการในร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก อีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดโดยระบบไหลเวียน การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นในถุงลมปอดโดยการแพร่ของแก๊สระหว่างแก๊สในถุงลมและเลือดในหลอดเลือดฝอยปอด เมื่อแก๊สที่ละลายนี้อยู่ในเลือด หัวใจปั๊มเลือดให้ไหลไปทั่วร่างกาย นอกเหนือไปจากการนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก การหายใจส่งผลให้เกิดการสูญเสียน้ำจากร่างกาย อากาศที่หายใจออกมีความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 100% เพราะน้ำแพร่ข้ามพื้นผิวที่ชุ่มชื้นของทางเดินหายใจและถุงลมปอด หมวดหมู่:แก๊ส หมวดหมู่:การหายใจ หมวดหมู่:รีเฟล็กซ์ หมวดหมู่:ร่างกายของมนุษย์.

ใหม่!!: วิทยาต่อมไร้ท่อและการหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

การขับถ่าย

การขับถ่าย เป็นกระบวนการทาง ชีววิทยา ที่สิ่งมีชีวิตแยกของเสียออกจากร่างกายของมัน ของเสียจะถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยการกำจัด (elimination) ตัวอย่างในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระบวนการขับถ่ายคือ การทำให้เกิดปัสสาวะโดยไต และการทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์โดยปอด ของเสียจะถูกกำจัดโดยการปัสสาวะ และการหายใจ ฮอร์โมนที่ควบคุมการขับถ่ายจะอยู่ใน ดิสตัล ทิวบูล (distal tubules) ของไตโดยการสั่งการของไฮโปทาลามัส (hypothalmus) การขับเหงื่อ (Perspiration) เป็นกระบวนการขับถ่ายอีกอย่างหนึ่งที่จะจำกัดเกลือและน้ำออกจากร่างกาย ถึงแม้ว่างานหลักจะทำเพื่อระบายความร้อนก็ตาม สำหรับการอุจจาระนั้นไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการขับถ่ายตามหลักชีววิทยา เนื่องจากมันไม่เหมือนปัสสาวะที่แยกออกจากกระแสเลือด และอุจจาระไม่ได้อยู่ในส่วนของกระบวนการการเผาผลาญ ยกเว้นการอุจจาระของแมลง ระบบที่เกี่ยวข้องกับ มัลพิเจียน ทิวบูล ที่ใช้ในการขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญ ของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญ จะเคลื่อนย้ายเข้าไปอยู่ในทิวบูลและลำไส้เล็กตามลำดับ ดังนั้นอุจจาระของแมลงจึงมีของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญ จึงเรียกว่าเป็นการขับถ่ายได้.

ใหม่!!: วิทยาต่อมไร้ท่อและการขับถ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีกโบราณ

ทเปิดเรื่องมหากาพย์ ''โอดิสซีย์'' ภาษากรีกโบราณ เป็นรูปแบบของภาษากรีกที่ใช้ในยุคกรีซโบราณ และกรีซยุคคลาสสิค ตลอดจนโลกยุคโบราณของอารยธรรมเมดิเตอเรเนียน ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล จนถึง ศตวรรษที่ 6..

ใหม่!!: วิทยาต่อมไร้ท่อและภาษากรีกโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ สร้างและหลั่งพวกฮอร์โมน (Hormones) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลืองไปยังเป้าหมาย คือ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ต่อมไร้ท่อบางชนิดสร้างฮอร์โมน ออกมาร่วมทำงาน หรือถูกควบคุมการหลั่งโดยระบบประสาท เรียกว่า neuroendocrine system เช่น ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต้น.

ใหม่!!: วิทยาต่อมไร้ท่อและระบบต่อมไร้ท่อ · ดูเพิ่มเติม »

อารมณ์

ตัวอย่างอารมณ์พื้นฐาน ในทางจิตวิทยา ปรัชญา และสาขาย่อยอื่น ๆ อารมณ์ หมายถึงประสบการณ์ในความรู้สำนึกและอัตวิสัยที่ถูกกำหนดลักษณะเฉพาะโดยการแสดงออกทางจิตสรีรวิทยา ปฏิกิริยาทางชีววิทยา และสภาพจิตใจ อารมณ์มักจะเกี่ยวข้องและถูกจัดว่ามีอิทธิพลซึ่งกันและกันกับพื้นอารมณ์ พื้นอารมณ์แต่กำเนิด บุคลิกภาพ นิสัย และแรงจูงใจ เช่นเดียวกับที่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนและสารสื่อประสาท อาทิ โดพามีน นอราดรีนาลีน เซโรโทนิน ออกซิโทซิน และคอร์ซิทอล อารมณ์มักเป็นพลังขับดันเบื้องหลังพฤติกรรมไม่ว่าเชิงบวกหรือเชิงลบ Gaulin, Steven J. C. and Donald H. McBurney.

ใหม่!!: วิทยาต่อมไร้ท่อและอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอร์โมน

อร์โมน (hormone มาจากภาษากรีก horman แปลว่า เคลื่อนไหว) คือ ตัวนำส่งสารเคมีจากเซลล์กลุ่มของเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่น ๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) ทั้งพืชและสัตว์ สามารถผลิตฮอร์โมนได้ที่ ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) โมเลกุลของฮอร์โมนจะถูกปล่อยโดยตรงยังกระแสเลือด ของเหลวในร่างกายอื่นๆ หรือเนื้อเยื่อใกล้เคียง หน้าที่ของฮอร์โมน คือการส่งสัญญาณให้ทำงานหรือหยุดทำงาน เช่น.

ใหม่!!: วิทยาต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน · ดูเพิ่มเติม »

ความเครียด (ชีววิทยา)

วามเครียด ในความหมายทางจิตวิทยาและชีววิทยา เป็นคำยืมจากวิชาฟิสิกส์และวิศวกรรม ใช้ในบริบททางชีววิทยาครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1930 ซึ่งในทศวรรษหลังได้กลายมาเป็นคำใช้ทั่วไปในการสนทนา ความเครียดหมายความถึงผลสืบเนื่องจากการที่สิ่งมีชีวิต (ทั้งมนุษย์และสัตว์อื่น) ไม่สามารถตอบสนองอย่างพอเหมาะกับความต้องการทางจิต อารมณ์หรือกายได้อย่างพอเหมาะ ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือสมมติขึ้น สัญญาณของความเครียดอาจเกี่ยวเนื่องกับการรู้ทางอารมณ์ ทางกาย หรือทางพฤติกรรม สัญญาณอื่นมีตั้งแต่การตัดสินใจที่เลว ทัศนคติแง่ลบทั่วไป การวิตกกังวลเกินไป อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย ภาวะกายใจไม่สงบ การไม่สามารถพักผ่อนได้ ความรู้สึกโดดเดี่ยว การปลีกตัวหรือภาวะซึมเศร้า การปวดและความเจ็บปวด ท้องร่วงหรือท้องผูก อาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ เจ็บที่หน้าอก หัวใจเต้นเร็ว กินมากเกินหรือไม่พอ นอนมากเกินหรือไม่พอ การหลีกหนีสังคม การผลัดวันประกันพรุ่งหรือปฏิเสธความรับผิดชอบ การเพิ่มปริมาณบริโภคแอลกอฮอล์ นิโคตินหรือยาเสพติด และพฤติกรรมทางประสาท อย่างการกัดเล็บและการเจ็บที่คอ.

ใหม่!!: วิทยาต่อมไร้ท่อและความเครียด (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: วิทยาต่อมไร้ท่อและแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: วิทยาต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

ใหม่!!: วิทยาต่อมไร้ท่อและเนื้อเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Endocrinology

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »