สารบัญ
8 ความสัมพันธ์: พระบรมสารีริกธาตุพระเจ้าเปิดโลกมหาเวสสันดรชาดกวัดสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดนครราชสีมาท้าวสุรนารีเจ้าอนุวงศ์
พระบรมสารีริกธาตุ
ระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานเมล็ดข้าวสาร พระบรมสารีริกธาตุ (शरीर; Śarīra) เรียกโดยย่อว่าพระบรมธาตุ คือ พระอัฐิของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ทรงอธิษฐานไว้ก่อนปรินิพพาน ให้คงเหลือไว้หลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธบริษัท พระบรมธาตุมีสองลักษณะคือ พระบรมธาตุที่ไม่แตกกระจาย และที่แตกกระจาย มีขนาดเล็กสุดประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด ชาวพุทธเชื่อว่าพระบรมสารีริกธาตุเป็นวัตถุแทนองค์พระบรมศาสดาที่ทรงคุณค่าสูงสุดในศาสนาพุทธ จึงนิยมกระทำการบูชาองค์พระบรมสารีริกธาตุโดยประการต่าง ๆ เช่น การสร้างเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระธาตุไว้สักการะ โดยเชื่อว่ามีอานิสงส์ประดุจได้กระทำการบูชาแด่พระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ ทั้งนี้ คำว่า "พระบรมสารีริกธาตุ" เป็นศัพท์เฉพาะใช้เรียกเฉพาะพระธาตุของพระพุทธเจ้า หากเป็นของพระอรหันตสาวกจะเรียกว่า "พระธาตุ" เท่านั้น.
ดู วัดศาลาลอยและพระบรมสารีริกธาตุ
พระเจ้าเปิดโลก
ระเจ้าเปิดโลก หมายถึง เหตุการณ์ที่พระโคตมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่เจ็ดของพระองค์หลังจากที่เสด็จขึ้นไปแสดงพระธรรมเทศนา ในโอกาสนั้น ทรงสำแดงฉัพพรรณรังสี เป็นเหตุให้โลก (ภูมิ) ทั้งหลายตั้งแต่พรหมภูมิไปจนถึงนรกภูมิเปิดสว่างจนแลเห็นซึ่งกันและกันได้ ในการนี้ อาจหมายถึง.
ดู วัดศาลาลอยและพระเจ้าเปิดโลก
มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก เป็นชีวประวัติเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก กล่าวถึงพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ในการบำเพ็ญทานบารมี ก่อนจะทรงอุบัติเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "มหาชาติชาดก" ในการเทศนา เรียกว่า "เทศน์มหาชาติ".
ดู วัดศาลาลอยและมหาเวสสันดรชาดก
วัด
วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสามส่วนคือ พุทธาวาส สังฆาวาส และสัตวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา ส่วนสัตวาสเป็นส่วนที่อนุญาตให้พุทธศาสนิกชนนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยเพื่อให้วัด และพระภิกษุสงฆ์สามเณรได้เลี้ยงดู และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม.
สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
ัญลักษณ์สมาคมสถาปนิกสยาม สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage of His Majesty the King) หรือ อาษา (ASA) เป็นสมาคมของบุคคลในวิชาชีพสถาปนิกและผู้ที่สนใจในงานสถาปัตยกรรมของประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในสี่สมาคมวิชาชีพออกแบบสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยาม เป็นสมาคมที่มีลักษณะเป็นนิติบุคคล.
ดู วัดศาลาลอยและสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
จังหวัดนครราชสีมา
นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏครั้งแรกเป็นเมืองพระยามหานครในการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ย้ายเมืองนครราชสีมามาตั้งบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน เมื่อ..
ดู วัดศาลาลอยและจังหวัดนครราชสีมา
ท้าวสุรนารี
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ท้าวสุรนารี หรือ คุณหญิงโม (ต้นฉบับว่า ท่านผู้หญิงโม้)ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพร.
เจ้าอนุวงศ์
้าอนุวงศ์ หรือ เจ้าอนุ (ສົມເດັຈພຣະເຈົ້າອະນຸວົງສ໌) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์พระองค์ที่ ๕ หรือพระองค์สุดท้าย ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นพระมหาวีรกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างและประเทศลาว นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องจากประชาชนชาวลาวว่า เป็นพระมหากษัตริย์ผู้พยายามกอบกู้เอกราชชาติลาวจากการเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม ทรงปกครองราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ราว..