สารบัญ
29 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2406พ.ศ. 2480พ.ศ. 2481พ.ศ. 2492พ.ศ. 2494พ.ศ. 2516พ.ศ. 2596พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี)พระอาจารย์ดี ฉนฺโนพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโตพระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล)ภาคอีสาน (ประเทศไทย)รายการรหัสไปรษณีย์ไทยวัดวัดสระแก้ววัดสุปัฏนารามวรวิหารวัดดอนธาตุวิปัสสนาธุระสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)อรัญวาสีอำเภอพิบูลมังสาหารจังหวัดอุบลราชธานีธรรมยุติกนิกายถนนสถิตนิมานการประเทศไทยเจ้าอาวาสเถรวาทเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
พ.ศ. 2406
ทธศักราช 2406 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1863.
พ.ศ. 2480
ทธศักราช 2480 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1937.
พ.ศ. 2481
ทธศักราช 2481 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1938.
พ.ศ. 2492
ทธศักราช 2492 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1949.
พ.ศ. 2494
ทธศักราช 2494 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1951.
พ.ศ. 2516
ทธศักราช 2516 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1973 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.
พ.ศ. 2596
ทธศักราช 2596 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2053 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ.
ดู วัดภูเขาแก้วและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี)
ระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) เป็นเจ้าเมืองพิบูลมังสาหารคนแรก ชาวอำเภอพิบูลมังสาหารให้ความเคารพนับถือและนิยมยกย่องเรียกขานนามท่านว่า พระจูมมณี.
ดู วัดภูเขาแก้วและพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี)
พระอาจารย์ดี ฉนฺโน
ระอาจารย์ดี ฉนฺโน หรือ หลวงปู่ดี ฉนฺโน เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ลูกศิษย์องค์สำคัญของ พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) และ พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยใจคอหนักแน่น เด็ดเดียว เก่งในด้านวิปัสสนากรรมฐาน ชำนาญด้านกสิณและอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เป็นนักเทศนาโวหาร เป็นผู้มีวิชาคาถาอาคมเก่งกล้า เป็นนักอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังชำนาญในด้านช่างไม้ ช่างก่อสร้าง ช่างปั้นดินเผา งานแกะสลัก และงานเขียนภาพ อีกทั้งยังมีความรู้ด้านยาสมุนไพร ถือได้ว่าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการช่างและแพทย์แผนโบราณอีกด้ว.
ดู วัดภูเขาแก้วและพระอาจารย์ดี ฉนฺโน
พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หรือนามตามสมณศักดิ์ว่า พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต (20 มกราคม พ.ศ. 2413 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เป็นบูรพาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนพระศาสดาอย่างเคร่งครัด และยึดถือธุดงควัตรด้วยจริยวัตรปฏิปทางดงาม จนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าเป็นพระผู้เลิศทางธุดงควัตร ท่านวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าให้แก่สมณะประชาชนอย่างกว้างขวาง จนมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีในนามว่า คำสอนพระป่า (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี..
ดู วัดภูเขาแก้วและพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต
พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล)
ระครูวิเวกพุทธกิจ หรือ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2402 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485) เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เป็นบูรพาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย ท่านเป็นอาจารย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในทางสมถะวิปัสสนา มีความเพียรเป็นเลิศ มีความสงบเสงี่ยม กิริยามารยาทเรียบร้อย สุขุม พูดน้อย และพอใจแนะนำสั่งสอนผู้อื่นในทางนั้นด้วย เป็นผู้ใฝ่ใจในธุดงควัตรหนักแน่นในพระธรรมวินัย ชอบวิเวกและไม่ติดถิ่นที่อยู่ เดินธุดงค์ไปหาสถานที่เจริญสมณธรรมตามชายป่าดงพงไพรภูเขาต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศลาว.
ดู วัดภูเขาแก้วและพระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล)
ภาคอีสาน (ประเทศไทย)
อีสาน (มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ऐशान aiśāna แปลว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ") หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาอีสานสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย (ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดของประเทศ เช่น อาหาร ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น.
ดู วัดภูเขาแก้วและภาคอีสาน (ประเทศไทย)
รายการรหัสไปรษณีย์ไทย
นี่คือรายชื่อรหัสไปรษณีย์ไทยเรียงตามจังหวั.
ดู วัดภูเขาแก้วและรายการรหัสไปรษณีย์ไทย
วัด
วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสามส่วนคือ พุทธาวาส สังฆาวาส และสัตวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา ส่วนสัตวาสเป็นส่วนที่อนุญาตให้พุทธศาสนิกชนนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยเพื่อให้วัด และพระภิกษุสงฆ์สามเณรได้เลี้ยงดู และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม.
วัดสระแก้ว
วัดสระแก้ว หรือ วัดใต้ เป็นวัดป่าอรัญวาสี สังกัดนิกายเถรวาท คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ก่อตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. 2406 โดย ท่านพนฺธุโล (ดี) พระมหาเถระผู้สถาปนาคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายในจังหวัดอุบลราชธานีและภาคอีสาน ซึ่ง วัดสระแก้ว เป็นวัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายวัดที่ 5 ในจังหวัดอุบลราชธานีและภาคอีสาน วัดตั้งอยู่บริเวณ แก่งสะพือ ติดกับแม่น้ำมูลในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 45 กิโลเมตร.
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร หรือที่ประชาชนทั่วไปเรียกว่า วัดสุปัฏน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม 53, ตอน 0 ง, 16 สิงหาคม 2489, หน้า 1029 เป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับพระราชทานนามวัดจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
ดู วัดภูเขาแก้วและวัดสุปัฏนารามวรวิหาร
วัดดอนธาตุ
วันดอนธาตุ หรือ วัดเกาะแก้วพระนอนคอนสวรรค์วิเวกพุทธกิจศาสนา เป็นวัดป่าอรัญวาสี สังกัดนิกายเถรวาท คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ก่อตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ.
วิปัสสนาธุระ
วิปัสสนาธุระ หมายถึง งานด้านวิปัสสนา, งานด้านบำเพ็ญวิปัสสนกรรมฐาน วิปัสสนาธุระ คืองานที่มุ่งอบรมปัญญาให้เกิดโดยการปล่อยวางภาระทั้งปวง ทำกายใจให้เบา ยินดีในเสนาสนะที่เงียบสงบ พิจารณาถึงความเสื่อมไปสิ้นไปในสังขารร่างกายจนเห็นสามัญลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ชัดเจน เจริญอบรมวิปัสสนาต่อเนื่องไปไม่ขาดสายจนถึงวิโมกข์คืออนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ และสุญญตวิโมกข์จนก้าวสู่หลักชัยคือวิมุตติคว้าอรหัตผลได้บรรลุกิจจ์ วิปัสสนาธุระ เป็นงานที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้ภิกษุปฏิบัติอย่างหนึ่งใน 2 อย่าง คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุร.
ดู วัดภูเขาแก้วและวิปัสสนาธุระ
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
มเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) (21 มีนาคม พ.ศ. 2410) - (26 มกราคม พ.ศ. 2499) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุปัฏนารามวรวิหาร อำเภอเมืองอุบลราชธานี วัดสุทธจินดาวรวิหาร มณฑลนครราชสีมา วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ แม่กองธรรมสนามมณฑลตลอดระยะที่ยังมิได้ยุบมณฑล รองแม่กองธรรมสนามหลวง กรรมการตรวจข้อสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวง กรรมการมหาเถระสมาคม กรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย กรรมการฝ่ายศึกษาประชาบาล เขตปทุมวัน รองเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เจ้าคณะตรวจการภาค 3, 4, 5 องค์ประธานคณะวินัยธร ชั้นฎีกาตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.
ดู วัดภูเขาแก้วและสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
อรัญวาสี
อรัญวาสี (อ่านว่า อะ-รัน-ยะ-วา-สี) แปลว่า ผู้อยู่ในป่า, ผู้อยู่ประจำป่า อรัญวาสี เป็นชื่อเรียกคณะสงฆ์โบราณคณะหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในป่าห่างชุมชน เรียกว่า คณะอรัญวาสี คู่กับ คณะคามวาสี ซึ่งตั้งวัดอยู่ในชุมชน อรัญวาสี ปัจจุบันหมายถึงภิกษุผู้อยู่ในป่าหรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า พระป่า ซึ่งมีกิจวัตรประจำวันเน้นหนักไปในทางวิปัสสนาธุระคืออบรมจิต เจริญปัญญา นุ่งห่มด้วยผ้าสีปอนหรือสีกรัก มุ่งการปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่เป็นหลัก ไม่เน้นงานด้านการบริหารปกครอง การศึกษาพระปริยัติธรรม และสาธารณูปการหรือการก่อสร้างพัฒนาวัด อรัญวาสี ถูกนำมาใช้เป็นสร้อยนามสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ระดับพระราชาคณะขึ้นไป เพื่อแสดงให้รู้ว่าเป็นพระป.
อำเภอพิบูลมังสาหาร
ูลมังสาหาร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากอำเภอเมืองอุบลราชธานี ประมาณ 45 กิโลเมตร เดินทางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217.
ดู วัดภูเขาแก้วและอำเภอพิบูลมังสาหาร
จังหวัดอุบลราชธานี
อุบลราชธานี เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและของประเทศไทย ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากว่า 200 ปี มีพื้นที่กว้างใหญ่ ภายหลังถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดใหม่คือจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ.
ดู วัดภูเขาแก้วและจังหวัดอุบลราชธานี
ธรรมยุติกนิกาย
ตราคณะธรรมยุต ธรรมยุติกนิกาย หรือ คณะธรรมยุต เป็นคณะสงฆ์ที่พระวชิรญาณเถระทรงตั้งขึ้นเพื่อฟื้นฟูศาสนาพุทธในสยาม และแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผนวชอยู่นั้น ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานทำให้มีพระวิจารณญาณเกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา และความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นเหตุให้มีพระราชดำริในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนา และการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยตามที่ได้ทรงศึกษา และทรงพิจารณาสอบสวนจนเป็นที่แน่แก่พระราชหฤทัยว่าถูกต้องเป็นจริงอย่างไร แล้วพระองค์ได้ทรงนำประพฤติปฏิบัติขึ้นก่อน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทรงเริ่มแก้ไขที่พระองค์เองเป็นอันดับแรก ต่อมาเมื่อมีบุคคลอื่นเห็นชอบและนิยมตาม จึงได้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์ขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จนเกิดเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่ง หรือนิกายหนึ่ง ที่ได้ชื่อในภายหลังว่า ธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ธรรมยุต” อันมีความหมายว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม หรือชอบด้วยธรรม หรือยุติตามธรรม ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่า ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ (คือคำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติข้อนั้น เว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นสัตถุศาสน์ แม้จะเป็นอาจินปฏิบัติ (ข้อปฏิบัติตามกันมาแต่ผิดพระธรรมวินัย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ.
ดู วัดภูเขาแก้วและธรรมยุติกนิกาย
ถนนสถิตนิมานการ
นนสถิตนิมานการ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 สายวารินชำราบ–ช่องเม็ก เริ่มจากเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นผ่านอำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอพิบูลมังสาหาร สุดท้ายผ่านอำเภอสิรินธร แล้วไปสิ้นสุดที่ด่านช่องเม็ก ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะทางได้ 86.067 กิโลเมตร เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรตลอดสาย ถนนสถิตนิมานการเดิมมีชื่อเรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายวาริน-พิบูล-ช่องเม็ก" - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม..
ดู วัดภูเขาแก้วและถนนสถิตนิมานการ
ประเทศไทย
ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.
เจ้าอาวาส
้าอาวาส คือพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ปกครองวัด มีหน้าที่ปกครองดูแลอำนวยกิจการทุกอย่างเกี่ยวกับวัด กฎหมายกำหนดให้วัดหนึ่งมีเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง แต่จะมีรองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาสได้หลายรูปตามควรแก่ฐานะของวัด เจ้าอาวาสเป็น พระสังฆาธิการ และเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้.
เถรวาท
รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).
เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร
ทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ที่อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพิบูลทั้งตำบล ที่ตั้งอยู่ในแหล่งอารยธรรม ธรรมชาติ และสถานที่ท่องเที่ยวสวยงาม ที่เดิมนั้นเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหารเป็นที่ตั้งของตำบล หรือมีชื่อเรียกในขณะนั้นว่า "พิมูล".
ดู วัดภูเขาแก้วและเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร